เซมินารี
ยอห์น 18:33–40; ลูกา 23:8–11


ยอห์น 18:33–40; ลูกา 23:8–11

พระเยซูทรงถูกสอบสวนและทรงถูกโบย

Ecce Homo, by Antonio Ciseri.

หลังจากพระเยซูทรงถูกจับกุมและสอบสวนใส่ความเท็จต่อหน้าผู้นำชาวยิว พระองค์ทรงถูกส่งไปรับการสอบสวนต่อหน้าปีลาตซึ่งมีอำนาจทางกฎหมายโรมัน พระผู้ช่วยให้รอดทรงยอมต่อชาวโรมันอย่างอ่อนน้อมและทรงถูกโบยและถูกตัดสินประหารชีวิต บทเรียนนี้ตั้งใจช่วยให้ท่านเรียนรู้มากขึ้นเกี่ยวกับความรักของพระผู้ช่วยให้รอดสำหรับทุกคน รวมถึงพระอุปนิสัยที่ดีพร้อมของพระองค์ และท่านจะสามารถทำตามแบบอย่างของพระองค์ได้ดียิ่งขึ้นอย่างไร

ให้ทางเลือกแก่นักเรียน การอนุญาตให้นักเรียนเลือกสิ่งที่พวกเขาต้องการเรียนจะเป็นประโยชน์ได้ ซึ่งสามารถทำได้โดยการให้ศึกษาหลายๆ เรื่องราวที่คล้ายกัน ให้คำถามที่ต้องตอบ หรือกิจกรรมต่างๆ ให้เลือก

การเตรียมของนักเรียน: เตือนนักเรียนว่าอุปนิสัยของบุคคลประกอบด้วยคุณลักษณะทางศีลธรรมที่สร้างและทำให้พวกเขาแตกต่างในฐานะปัจเจกบุคคล เชิญนักเรียนให้ไตร่ตรองถึงพระอุปนิสัยของพระเยซูคริสต์และให้คิดว่าพระอุปนิสัยใดที่พวกเขาต้องการพัฒนาให้เต็มที่มากขึ้น เชิญนักเรียนมาชั้นเรียนและพร้อมแบ่งปันพระอุปนิสัยของพระเยซูคริสต์อย่างน้อยหนึ่งอย่างและเหตุผลที่พวกเขารู้สึกว่าพระอุปนิสัยนั้นจะเป็นอุปนิสัยที่ดีที่ควรมี

กิจกรรมการเรียนรู้ที่อาจทำได้

รู้สึกไม่ได้รับการปฏิบัติที่ดี

เชื้อเชิญให้นักเรียนระดมความคิดเพื่อตอบคำถามต่อไปนี้

  • มีสถานการณ์ทั่วไปอะไรบ้างที่วัยรุ่นคนหนึ่งอาจถูกล้อเลียน ถูกกล่าวหาผิดๆ หรือไม่ได้รับการปฏิบัติที่ดี?

  • วัยรุ่นทั่วไปอาจตอบสนองต่อการปฏิบัติเช่นนี้อย่างไรบ้าง?

กิจกรรมนี้มีจุดประสงค์เพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียนสนทนาถึงตัวอย่างทั่วไปของการถูกล้อเลียน ถูกกล่าวหาผิดๆ หรือได้รับการปฏิบัติที่ไม่ดี หากนักเรียนกล่าวถึงการกระทำทารุณกรรมทางร่างกายหรือทางเพศ ให้อธิบายอย่างชัดเจนว่าการกระทำทารุณกรรมนั้นยอมรับไม่ได้และเราไม่ควรยอมต่อการกระทำทารุณกรรมนั้นแต่ควรขอความช่วยเหลือจากผู้ใหญ่ที่ไว้ใจได้ทันที หากนักเรียนพูดถึงประสบการณ์ส่วนตัวที่มีการกระทำทารุณกรรมทางร่างกายหรือทางเพศ ให้พูดคุยกับพวกเขาหลังเลิกเรียนและให้ผู้นำศาสนจักรของพวกเขารับรู้ทันที

พระเจ้าจะทรงอยู่กับเราและช่วยให้เราเติบโตจากประสบการณ์ที่ยากลำบาก พระองค์จะทรงช่วยเราตอบสนองต่อความยากลำบากและการต่อต้านในวิธีเหมือนพระคริสต์ได้ นึกถึงประสบการณ์ส่วนตัวของท่านในการถูกล้อเลียน ถูกกล่าวหาผิดๆ หรือได้รับการปฏิบัติที่ไม่ดี รวมถึงวิธีที่ท่านตอบสนองและเหตุผลในการตอบสนองเช่นนั้น

ขณะพระเยซูคริสต์ทรงเข้าใกล้เหตุการณ์สุดท้ายของพระชนม์ชีพของพระองค์ พระองค์ทรงถูกล้อเลียน ถูกกล่าวหาผิดๆ และได้รับการปฏิบัติที่ไม่ดี ขณะท่านศึกษาเหตุการณ์สุดท้ายเหล่านี้ของพระชนม์ชีพของพระผู้ช่วยให้รอด ให้มองหาพระอุปนิสัยที่ช่วยให้พระองค์ทรงสามารถอดทนและทำพระพันธกิจของพระองค์ให้สำเร็จได้อย่างซื่อสัตย์ นอกจากนี้ ให้พิจารณาร่วมกับการสวดอ้อนวอนว่าท่านจะทำตามแบบอย่างของพระองค์ได้อย่างไร

พระเยซูทรงถูกสอบสวนอย่างไม่เป็นธรรมและถูกตัดสินด้วยโทษประหาร

ให้ดู สรุป หรือแบ่งปันสั้นๆ ถึงข้อมูลต่อไปนี้

หลังจากพระเยซูทรงทนทุกข์ทรมานในสวนเกทเสมนี พระองค์ทรงถูกจับกุม และผู้นำชาวยิว (สภาซานเฮดริน) สอบสวนพระองค์อย่างไม่เป็นธรรมและตัดสินพระองค์ด้วยโทษประหาร อย่างไรก็ตาม เนื่องจากอิสราเอลอยู่ภายใต้การปกครองของชาวโรมัน การดำเนินการต้องได้รับอนุมัติจากชาวโรมันเท่านั้น ด้วยเหตุผลนี้ ชาวยิวจึงส่งพระเยซูไปให้ปีลาต ผู้นำชาวโรมันเหนือยูเดีย โดยกล่าวหาว่าพระองค์ทรงกบฏต่อรัฐบาลโรมันในการอ้างว่าเป็น “กษัตริย์ของพวกยิว” (ดู มาระโก 15:2) ปีลาตส่งพระเยซูไปให้เฮโรด อันทีพาที่อยู่ในเยรูซาเล็มเพื่อเทศกาลปัสกา โดยหวังว่าเฮโรดจะสอบสวนพระองค์ในกาลิลี แต่เฮโรดส่งพระเยซูกลับไปให้ปีลาต

ท่านอาจมอบหมายให้นักเรียนอ่านเรื่องราวเพื่อให้แน่ใจว่าอ่านเรื่องราวทั้งหมดแล้ว

อ่านเรื่องราวต่อไปนี้อย่างน้อยสองเรื่องซึ่งเล่าว่าพระเยซูทรงถูกกล่าวหาอย่างไม่เป็นธรรมและถูกตัดสินโทษในที่สุดอย่างไร ขณะท่านอ่านให้มองหาว่าพระเยซูทรงตอบสนองอย่างไรในแต่ละสถานการณ์เหล่านี้ จำไว้ว่าพระองค์ทรงมีเดชานุภาพที่จะปลดปล่อยพระองค์เองจากสภาวการณ์เหล่านี้ (ดู มัทธิว 26:52–54)

1. พระเยซูทรงถูกไต่สวนโดยสภายิว อ่าน มัทธิว 26:57–68 วีดิทัศน์นี้มีอยู่ที่ ChurchofJesusChrist.org

4:25

2. พระเยซูทรงถูกไต่สวนโดยปีลาต อ่าน ยอห์น 18:33–40,

3:19

.

27:12
27:12

3. พระเยซูทรงอยู่ต่อหน้าเฮโรด อ่าน ลูกา 23:8–11

4. พระเยซูทรงถูกทหารโรมันโบย และถูกปีลาตไต่สวนในภายหลังเป็นครั้งที่สอง อ่าน ยอห์น 19:1–16 อาจเป็นประโยชน์ที่จะรู้ว่าการโบยด้วยแส้หวดคือแส้ซึ่งมักมีวัตถุแหลมคม (เช่น ชิ้นหิน โลหะ หรือกระดูก) ถักเข้ากันเป็นเกลียวหลายเกลียว หลายคนไม่รอดจากการโบยตีเนื่องจากการบาดเจ็บทางร่างกายแสนสาหัสที่เกิดขึ้น

4:49
27:12

ขณะนักเรียนแบ่งปันคำตอบสำหรับคำถามต่อไปนี้ พยายามให้มีคำตอบจากนักเรียนที่อ่านเรื่องราวที่แตกต่างออกไป

  • พระผู้ช่วยให้รอดทรงตอบสนองในสถานการณ์เหล่านี้อย่างไร?

  • ทำไมท่านคิดว่าพระผู้ช่วยให้รอดอาจทรงตอบสนองในลักษณะนี้?

พระอุปนิสัยของพระเยซูคริสต์

(ดู มัทธิว 26:52–54) และข้อความต่อไปนี้เพื่อค้นหาความเข้าใจในพระอุปนิสัยของพระผู้ช่วยให้รอด

เอ็ลเดอร์โรเบิร์ต ดี. เฮลส์ (1932–2017) แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองแบ่งปันประสบการณ์ดังต่อไปนี้:

Official portrait of Elder Robert D. Hales of the Quorum of the Twelve Apostles, 2003

การโต้ตอบในวีถีแห่งความเป็นเหมือนพระคริสต์ไม่สามารถเขียนบทไว้ล่วงหน้าหรือมีสูตรตายตัว พระผู้ช่วยให้รอดทรงโต้ตอบในวิธีที่แตกต่างกันในแต่ละสถานการณ์ เมื่อพระองค์ทรงเผชิญหน้ากับกษัตริย์เฮโรดผู้ชั่วร้าย พระองค์ทรงนิ่งเงียบ เมื่อพระองค์ทรงยืนอยู่ต่อหน้าปีลาตพระองค์ทรงแสดงประจักษ์พยานที่เรียบง่ายและทรงพลังถึงความเป็นพระเจ้าและจุดประสงค์ของพระองค์ …

คนบางคนคิดอย่างผิดๆ ว่าการโต้ตอบเช่นการนิ่งเงียบ สุภาพอ่อนน้อม ให้อภัย และแสดงประจักษ์พยานเรียบง่าย เป็นความเฉยเฉื่อยหรืออ่อนแอ แต่การ “รักศัตรู [ของเรา] อวยพรผู้ที่สาปแช่ง [เรา] ทำดีต่อผู้ที่เกลียดชัง [เรา] และสวดอ้อนวอนเพื่อพวกเขาผู้ที่ใช้ [เรา] อย่างมุ่งร้าย และข่มเหง [เรา]” ( มัทธิว 5:44) ต้องใช้ศรัทธา ความเข้มแข็ง และเหนือสิ่งอื่นใด ความกล้าหาญแบบชาวคริสต์ …

(ดู โรเบิร์ต ดี. เฮลส์, “ความกล้าหาญแบบชาวคริสต์: คุณค่าแห่งความเป็นสานุศิษย์,” เลียโฮนา, พ.ย. 2008, 89)

เอ็ลเดอร์เดวิด เอ. เบดนาร์แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองสอนดังนี้

Elder David A. Bednar, Quorum of the Twelve Apostles official portrait. 2020.

ลองพิจารณาว่าพระอาจารย์ทรงถูกกล่าวหาต่อหน้าปีลาตและถูกลงโทษให้ตรึงกางเขนอย่างไร [ดู มัทธิว 27:2 , 11–26 ]. … ความอ่อนโยนของพระผู้ช่วยให้รอดประจักษ์ชัดในการตอบรับอย่างดีของพระองค์ การยับยั้งชั่งใจได้ดี และการไม่ยอมใช้อำนาจของพระองค์เพื่อประโยชน์ส่วนตน

(เดวิด เอ. เบดนาร์, “อ่อนโยนและใจนอบน้อม,” เลียโฮนา, พ.ค. 2018, 33)

  • ท่านเรียนรู้อะไรบ้างเกี่ยวกับพระผู้ช่วยให้รอดจากวิธีที่พระองค์ทรงตอบสนองในสภาวการณ์ที่ยากลำบากเหล่านี้?

  • การกระทำของพระผู้ช่วยให้รอดแสดงถึง “ความการุณย์รักของพระองค์ … ต่อลูกหลานมนุษย์” อย่างไร? ( 1 นีไฟ 19:9)

  • การรู้ว่าพระเยซูคริสต์ทรงมีคุณลักษณะเหล่านี้ช่วยให้ท่านรักและวางใจพระองค์มากขึ้นได้อย่างไร?

ข้อสังเกตที่สำคัญคือ ในหลายโอกาสพระผู้ช่วยให้รอดทรงกล้าหาญในการให้ผู้อื่นรับผิดชอบต่อการกระทำของตนเอง (ดู มาระโก 11:15–17 , ยอห์น 2:13–16 , หลักคำสอนและพันธสัญญา 133:48–51) ในฐานะผู้ติดตามของพระเยซูคริสต์ เราต้องการตอบสนองต่อการล้อเลียน การกล่าวหาผิดๆ หรือการปฏิบัติที่ไม่ดีด้วยความรัก ความกล้าหาญ และความอ่อนโยน อย่างไรก็ตาม ไม่ได้หมายความว่าเราควรยอมให้ผู้อื่นข่มเหงหรือทำร้ายเรา “พระเจ้าทรงประณามพฤติกรรมที่เป็นการกระทำทารุณกรรมทุกรูปแบบ—รวมถึงการละเลยและการกระทำทารุณกรรมทางกาย ทางเพศ หรือทางวาจา” (จดหมายจากฝ่ายประธานสูงสุด, “Preventing and Responding to Abuse,” 26 มี.ค., 2018) หากเราถูกกระทำทารุณกรรม สิ่งสำคัญคือเราต้องขอความช่วยเหลือจากผู้ใหญ่ที่เราไว้ใจทันที

  1. คิดย้อนกลับไปเมื่อท่านรู้สึกถูกล้อเลียน ถูกกล่าวหาผิดๆ หรือได้รับการปฏิบัติที่ไม่ดี แสวงหาความช่วยเหลือจากพระบิดาบนสวรรค์ผ่านทางพระวิญญาณบริสุทธิ์เพื่อรู้วิธีที่เหมาะสมเหมือนพระคริสต์ซึ่งท่านอาจใช้รับมือกับสถานการณ์นี้ เขียนสิ่งที่ท่านทำได้ดีและวิธีที่ท่านอาจต้องการปรับปรุง

  2. เขียนตัวอย่างช่วงเวลาหรือสภาวการณ์สองตัวอย่างที่การจดจำพระอุปนิสัยของพระคริสต์เคยช่วยท่านหรืออาจช่วยท่านได้ ชีวิตท่านอาจแตกต่างออกไปอย่างไรหากท่านพยายามพัฒนาอุปนิสัยเหมือนพระคริสต์อย่างสม่ำเสมอ?

  3. เลือกอุปนิสัยเหมือนพระคริสต์หนึ่งอย่างที่ท่านต้องการพัฒนาให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น นึกถึงช่วงเวลาของวันที่ท่านอาจฝึกใช้อุปนิสัยนี้

เชิญนักเรียนที่เต็มใจแบ่งปันสิ่งที่เขียนกับชั้นเรียน ให้กำลังใจและอาจแบ่งปันประจักษ์พยานส่วนตัวว่าเมื่อนักเรียนหันไปหาพระเยซูคริสต์ พระองค์จะทรงช่วยให้พวกเขาพัฒนาอุปนิสัยเหมือนพระคริสต์ที่พวกเขาระบุไว้

บทวิจารณ์และข้อมูลภูมิหลัง

ยอห์น 18:36 พระเยซูตรัสถึงราชอาณาจักรใด?

เอ็ลเดอร์ดี. ทอดด์ คริสทอฟเฟอร์สันสอนว่า

Portrait of Elder D. Todd Christofferson. Photographed in March 2020.

เมื่อดาเนียลทำนายพระสุบินของเนบูคัดเนสซาร์กษัตริย์บาบิโลน ท่านทำให้กษัตริย์ทรงทราบ “สิ่งซึ่งจะเกิดขึ้นในยุคสุดท้าย” [ ดาเนียล 2:28 ] ท่านประกาศว่า “พระเจ้าแห่งฟ้าสวรรค์ [จะ] ทรงสถาปนาราชอาณาจักรหนึ่ง ซึ่งไม่มีวันถูกทำลาย หรือถูกมอบให้ชนชาติอื่น ราชอาณาจักรนั้นจะทำให้ราชอาณาจักร [อื่นๆ] เหล่านี้ทั้งหมดแตกเป็นเสี่ยงจนพินาศไป และราชอาณาจักรนั้นจะตั้งมั่นอยู่เป็นนิตย์” [ ดาเนียล 2:44 ] ศาสนจักรคืออาณาจักรยุคสุดท้ายที่พยากรณ์ไว้นั้นซึ่งมิได้สร้างโดยมนุษย์ แต่จัดตั้งขึ้นโดยพระผู้เป็นเจ้าแห่งฟ้าสวรรค์และกลิ้งออกมาดังก้อนหินที่ “ถูกตัดออกจากภูเขา ไม่ใช่ด้วยมือมนุษย์” เพื่อจะเต็มแผ่นดินโลก [ ดาเนียล 2:45 ; ดู ข้อ35 ด้วย]

เป้าหมายของอาณาจักรคือการสถาปนาไซอันเพื่อเตรียมรับการเสด็จกลับมาและการปกครองหนึ่งพันปีของพระเยซูคริสต์ ก่อนวันนั้นไซอันจะไม่เป็นอาณาจักรในสำนึกด้านการเมือง—ดังที่พระผู้ช่วยให้รอดตรัสไว้ “ราชอำนาจของเราไม่ได้เป็นของโลก นี้” [ ยอห์น 18:36 ; เน้นตัวเอน] แต่เป็นขุมพลังแห่งสิทธิอำนาจในแผ่นดินโลก เป็นผู้บริหารแห่งพันธสัญญาศักดิ์สิทธิ์ เป็นนักการแห่งพระวิหาร เป็นผู้พิทักษ์และผู้ประกาศความจริงของพระองค์ เป็นสถานที่รวมพลของอิสราเอลที่กระจายไป และเป็น “เพื่อการคุ้มภัยและเพื่อเป็นที่พักพิงจากพายุ และจากพระพิโรธเมื่อจะเทลงมาโดยมิได้เจือจางบนทั้งผืนแผ่นดินโลก” [ หลักคำสอนและพันธสัญญา 115:6 ].

(ดี. ทอดด์ คริสทอฟเฟอร์สัน, “เหตุใดจึงต้องมีศาสนจักร,” เลียโฮนา, พ.ย. 2015, 111)

กิจกรรมการเรียนรู้เพิ่มเติม

ทางเลือกในการศึกษาสำหรับนักเรียน

ท่านอาจแบ่งชั้นเรียนออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละสี่คน มอบหมายเรื่องราวต่อไปนี้หนึ่งเรื่องให้แต่ละคนในกลุ่ม: มัทธิว 27:11–31; มาระโก 15:1–20; ลูกา 23:1–25; หรือ ยอห์น 18:28–40 ; 19:1–16 . ขอให้นักเรียนค้นหารายละเอียดที่สำคัญขณะอ่าน พวกเขาอาจเปรียบเทียบเรื่องราวและดูว่าผู้เขียนแต่ละคนใส่หรือตัดอะไรบ้าง (ย้ำเตือนนักเรียนว่าผู้เขียนพระกิตติคุณไม่ได้บันทึกเหตุการณ์ตามลำดับแบบเดียวกันเสมอไป) ถามว่าการมีผู้เขียนหลายคนให้ภาพที่ดีกว่าเกี่ยวกับพระผู้ช่วยให้รอดอย่างไร

การเปรียบเทียบพระเยซูกับปีลาต

ท่านอาจเชิญนักเรียนอ่าน มัทธิว 27:11–31 และดูว่าพระเยซูทรงตอบสนองอย่างไรขณะเผชิญกับการต่อต้านเมื่อเปรียบเทียบกับการตอบสนองของปีลาต เชิญนักเรียนให้พิจารณาว่าพวกเขาอาจทำตามแบบอย่างของพระผู้ช่วยให้รอดและยืนหยัดเพื่อความจริงได้อย่างไร