เซมินารี
ยอห์น 3:1–8


ยอห์น 3:1–8

“พวกท่านต้องเกิดใหม่”

Jesus and Nicodemus standing near a pool of water at night talking. Outtakes include the two sitting by the pool with their fingers near the water, Jesus standing and touching a branch of a tree while Nicodemus sits, and some of the shots taken from above.

นิโคเดมัสเป็นชาวฟาริสีและเป็น “ขุนนางของพวกยิว” (ยอห์น 3:1) เขามาหาพระผู้ช่วยให้รอดตอนกลางคืนเพื่อถามคำถามสำคัญเกี่ยวกับความรอด บทเรียนนี้จะช่วยให้ท่านเข้าใจและรู้สึกถึงความสำคัญของการเกิดใหม่ “จากน้ำและพระวิญญาณ” (ยอห์น 3:5) เพื่อเข้าอาณาจักรของพระผู้เป็นเจ้า

การเตรียมของนักเรียน: เชื้อเชิญให้นักเรียนมาชั้นเรียนพร้อมสนทนาถึงการเปลี่ยนแปลงที่พวกเขาหรือคนอื่นที่รู้จักทำเพื่อเป็นเหมือนพระเยซูคริสต์มากขึ้น

กิจกรรมการเรียนรู้ที่อาจทำได้

ความปรารถนาที่จะเปลี่ยน

คิดหาวิธีเริ่มบทเรียนนี้ซึ่งสามารถช่วยให้นักเรียนสำรวจพรรวมทั้งความท้าทายของการเปลี่ยนแปลงเพื่อเป็นเหมือนพระผู้ช่วยให้รอดมากขึ้น วิธีหนึ่งในการทำสิ่งนี้คือเชื้อเชิญให้นักเรียนทำกิจกรรมต่อไปนี้ซึ่งจะขอให้พวกเขาจินตนาการถึงสถานการณ์ที่เกี่ยวข้อง ช่วยพวกเขาเพิ่มรายละเอียดอย่างเพียงพอเพื่อให้สถานการณ์สมมุติรู้สึกเหมือนจริงและดึงความสนใจของพวกเขาไว้

นึกถึงสถานการณ์สมมุติเกี่ยวกับวัยรุ่นที่ต้องการเปลี่ยนแปลง เข้าใกล้พระผู้ช่วยให้รอดมากขึ้น และสัมผัสสันติสุขมากขึ้นแต่ไม่แน่ใจว่าจะทำอย่างไร นึกถึงบางสิ่งเจาะจงที่บุคคลนี้ อาจ ต้องการเปลี่ยนแปลงและอุปสรรคบางอย่างที่พวกเขา อาจ เผชิญในการเปลี่ยนแปลง ท่านอาจต้องการนึกถึงประสบการณ์ที่ท่านหรือผู้อื่นเคยมีจากการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกที่อาจให้ความหวังแก่วัยรุ่นคนนี้ว่าจะเปลี่ยนแปลงได้

  • เหตุใดท่านจึงคิดว่าพระบิดาบนสวรรค์ทรงเรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลงในผู้ที่ต้องการเข้าอาณาจักรของพระองค์?

ในสมุดบันทึกการศึกษาของท่าน เขียนวิธีที่ท่านรู้สึกได้รับการกระตุ้นให้เปลี่ยนแปลงและเป็นเหมือนพระเยซูคริสต์มากขึ้นตลอดบทเรียนนี้ ให้เชื้อเชิญการดลใจจากพระวิญญาณบริสุทธิ์ขณะท่านเรียนรู้ว่าจะแสวงหาความช่วยเหลือจากพระผู้ช่วยให้รอดเพื่อเปลี่ยนแปลงตามที่พระองค์ทรงต้องการจากท่านอย่างไร

พระเยซูทรงสอนนิโคเดมัสเกี่ยวกับการเกิดใหม่

ชายคนหนึ่งชื่อนิโคเดมัสมาหาพระเยซูตอนกลางคืน นิโคเดมัสคือชาวฟาริสี เป็นขุนนางของพวกยิว ในภายหลังเขาปกป้องพระคริสต์ต่อหน้าชาวฟาริสี (ดู ยอห์น 7:50–53) และเข้าร่วมกับผู้ที่เชื่อในการฝังพระศพของพระเยซู (ดู ยอห์น 19:39–40) นิโคเดมัสมาหาพระผู้ช่วยให้รอดในคืนนี้โดยยอมรับว่าพระเยซูทรงเป็น “ครูที่มาจากพระเจ้า” ( ยอห์น 3:2)

อ่าน ยอห์น 3:1–5 โดยมองหาว่าพระผู้ช่วยให้รอดทรงสอนอะไรแก่นิโคเดมัสที่เขาต้องทำเพื่อเข้าอาณาจักรของพระผู้เป็นเจ้า

  • ท่านคิดว่าการ “เกิดใหม่” หมายถึงอะไร? ( ยอห์น 3:3)

หากจำเป็น ช่วยให้นักเรียนเข้าใจว่าการเกิดใหม่หมายถึงการเปลี่ยนแปลงและกลายเป็นคนใหม่ การให้นักเรียนอ่าน โมไซยาห์ 27:25 อาจเป็นประโยชน์ โดยมองหาสิ่งที่พระเจ้าทรงสอนแอลมาเกี่ยวกับการเกิดใหม่

  • ท่านคิดว่าเหตุใดเราจำเป็นต้องเกิดใหม่เพื่อเห็นอาณาจักรของพระผู้เป็นเจ้า?

  • เมื่อนิโคเดมัสไม่เข้าใจว่าจะเกิดใหม่อย่างไร พระผู้ช่วยให้รอดทรงสอนอะไร (ดังที่บันทึกไว้ใน ข้อ 5)?

หลักธรรมข้อหนึ่งที่เราเรียนรู้จากคำสอนของพระผู้ช่วยให้รอดต่อนิโคเดมัสคือ เราต้องเกิดจากน้ำและพระวิญญาณเพื่อเข้าอาณาจักรของพระผู้เป็นเจ้า

ขณะนักเรียนสนทนาคำถามต่อไปนี้ ให้แน่ใจว่าพวกเขาเข้าใจว่าเราต้องรับบัพติศมาและการยืนยันเพื่อเกิดใหม่จากน้ำและพระวิญญาณ

  • ท่านคิดว่าการเกิดใหม่จากน้ำและพระวิญญาณหมายความว่าอย่างไร?

  • ท่านคิดว่าการรับบัพติศมาและการยืนยันจะช่วยให้เราเกิดใหม่และเข้าอาณาจักรของพระผู้เป็นเจ้าในทางใดบ้าง?

  • พระผู้ช่วยให้รอดทรงสอนอะไรแก่นิโคเดมัสที่ท่านต้องการให้บุคคลในสถานการณ์สมมุติที่ท่านสร้างเข้าใจด้วย?

พิธีบัพติศมาและการยืนยันเป็นศาสนพิธีที่จำเป็นสองอย่างแห่งความรอดและความสูงส่งที่แต่ละบุคคลต้องได้รับเพื่อรับอาณาจักรซีเลสเชียลเป็นมรดก ศาสนพิธีเหล่านี้คือประตูที่เราเข้าไปเพื่ออยู่บนเส้นทางพันธสัญญาที่นำไปสู่ชีวิตนิรันดร์ (ดู 2 นีไฟ 31:17–20) ขณะที่เราเดินตามเส้นทางนี้และรักษาพันธสัญญาของเรา เราสัมผัสการเปลี่ยนแปลงและการเกิดใหม่ทางวิญญาณศาสดาพยากรณ์แอลมาในพระคัมภีร์มอรมอนอธิบายถึงบทบาทของพระผู้ช่วยให้รอดที่ทำให้เราเกิดใหม่ได้ อ่าน แอลมา 7:14 และมองหาว่าพระผู้ช่วยให้รอดทรงสามารถช่วยให้เราเกิดใหม่อย่างไร

  • บทบาทของพระผู้ช่วยให้รอดในการช่วยให้เราเกิดใหม่คืออะไร?

จาก 2 นีไฟ 31:17 เราเรียนรู้บทบาทของพระวิญญาณบริสุทธิ์เช่นกันในการช่วยให้เราเกิดใหม่: “และเมื่อนั้นการปลดบาปของท่านจะมาถึงโดยไฟและโดยพระวิญญาณบริสุทธิ์”

  • บทบาทของพระวิญญาณบริสุทธิ์ในการช่วยให้เราเกิดใหม่คืออะไร?

ท่านอาจใช้วีดิทัศน์ต่อไปนี้หรือตัวอย่างอื่นของการเกิดใหม่เพื่อช่วยให้นักเรียนเห็นว่าการรับศาสนพิธีบัพติศมาและการยืนยันสามารถช่วยให้เราเปลี่ยนแปลงและเกิดใหม่ด้วยความช่วยเหลือของพระผู้ช่วยให้รอดอย่างไร

ดูวีดิทัศน์ “I Love Loud Boys” (10:48) ซึ่งเอ็ลเดอร์ยุน ฮวาน ชอยแห่งสาวกเจ็ดสิบเล่าถึงกลุ่มเยาวชนชายที่ชีวิตเปลี่ยนไปเมื่อพวกเขาเปลี่ยนใจเลื่อมใสพระเจ้า ดูวีดิทัศน์จากช่วงเวลาตั้งแต่ 0:00 ถึง 4:34 (วีดิทัศน์นี้มีอยู่ที่ ChurchofJesusChrist.org)

2:3
  • ท่านประทับใจอะไรเกี่ยวกับสิ่งที่เด็กหนุ่มเหล่านี้เปลี่ยน?

นักเรียนอาจใคร่ครวญถึงการเตรียมสำหรับชั้นเรียนขณะพวกเขาตอบคำถามต่อไปนี้

  • ท่านหรือคนที่ท่านรู้จักเปลี่ยนแปลงอะไรบ้างเพื่อเป็นเหมือนพระเยซูคริสต์มากขึ้น?

  • ศาสนพิธีบัพติศมาและการยืนยันมีบทบาทอะไรในการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้?

หากยากสำหรับนักเรียนที่จะตอบคำถามก่อนหน้านี้ ช่วยให้พวกเขาเห็นว่าศาสนพิธีเหล่านี้ทำให้พวกเขามีพระวิญญาณบริสุทธิ์เป็นเพื่อนอย่างสม่ำเสมออย่างไร ท่านอาจสนทนาด้วยว่าการรับศีลระลึกช่วยให้เราเปลี่ยนแปลงต่อไปได้อย่างไรโดยช่วยให้เราระลึกถึงพระเยซูคริสต์และพันธสัญญาที่เราทำเมื่อรับบัพติศมา

บางครั้งเราสงสัยว่าเราเป็นอย่างไรบ้างในการเกิดใหม่ทางวิญญาณของเราเอง พระผู้ช่วยให้รอดทรงสอนใน ยอห์น 3:8 ว่าเราสามารถเห็นผลของลมแต่ไม่เห็นว่ามาจากไหนหรือจะไปที่ไหน ในทำนองเดียวกัน เราไม่สามารถเข้าใจได้เสมอว่าการเกิดใหม่เริ่มอย่างไรหรือการเปลี่ยนแปลงภายในตัวเราเป็นอย่างไร อย่างไรก็ตาม เราจะเห็นผลของมันเมื่อความปรารถนาและการกระทำของเราเปลี่ยน (ดู โมไซยาห์ 5:1–2)เขียนในสมุดบันทึกการศึกษาของท่านเกี่ยวกับหลักฐานที่ท่านเห็นจากการที่พระผู้ช่วยให้รอดทรงช่วยท่านเปลี่ยนแปลง ให้ความสนใจกับการกระตุ้นเตือน ความคิด และความประทับใจที่ท่านอาจได้รับจากพระวิญญาณ

การช่วยเหลือผู้อื่น

ให้นึกถึงสถานการณ์สมมุติที่ท่านสร้างเมื่อเริ่มต้นบทเรียน ใคร่ครวญสิ่งที่ท่านเรียนรู้และรู้สึกวันนี้ เขียนจดหมายสั้นๆ ถึงวัยรุ่นจากสถานการณ์สมมุติของท่าน อธิบายว่าพระผู้ช่วยให้รอดทรงสามารถช่วยพวกเขาเปลี่ยนแปลงอย่างไร คำถามต่อไปนี้อาจช่วยท่านขณะท่านทำดังนี้

  • ท่านคิดว่าบุคคลนี้อาจทำอะไรได้บ้างเพื่อแสวงหาความช่วยเหลือจากพระผู้ช่วยให้รอดในการเปลี่ยนแปลง? เหตุใดท่านจึงคิดว่าการกระทำเหล่านั้นจะช่วยได้?

  • ศาสนพิธีบัพติศมา การยืนยัน และการรับส่วนสัญลักษณ์ของศีลระลึกช่วยให้บุคคลนี้เปลี่ยนแปลงและเกิดใหม่อย่างไร?

  • ท่านเรียนรู้อะไรเกี่ยวกับพระเยซูคริสต์ขณะท่านประสบกับกระบวนการเกิดใหม่หรือเคยเห็นกระบวนการนี้ในผู้อื่น?

เชื้อเชิญให้นักเรียนแบ่งปันเป็นคู่หรือเป็นกลุ่มเล็กในสิ่งที่พวกเขาเขียนถึงวัยรุ่นในสถานการณ์สมมุติ ท่านอาจแสดงประจักษ์พยานและแบ่งปันประสบการณ์ส่วนตัวที่อาจเป็นประโยชน์

บทวิจารณ์และข้อมูลภูมิหลัง

การเกิดใหม่หมายถึงอะไร?

เอ็ลเดอร์เดวิด เอ. เบดนาร์แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองอธิบายดังนี้

Elder David A. Bednar, Quorum of the Twelve Apostles official portrait. 2020.

ผู้รับใช้ที่ได้รับมอบอำนาจจากพระเจ้าพร่ำสอนว่าจุดประสงค์หลักประการหนึ่งของการดำรงอยู่ในมรรตัยของเราคือเพื่อได้รับการเปลี่ยนแปลงและแปรสภาพทางวิญญาณผ่านการชดใช้ของพระเยซูคริสต์ …

เราได้รับคำแนะนำว่าให้ “มาหาพระคริสต์, และได้รับการทำให้ดีพร้อมในพระองค์, และปฏิเสธตนจากความไม่เป็นเหมือนพระผู้เป็นเจ้าทุกอย่าง” ( โมโรไน 10:32) เพื่อเป็น “คนที่ถูกสร้างใหม่” ในพระคริสต์ (ดู 2 โครินธ์ 5:17) เพื่อทิ้งความเป็น “มนุษย์ปุถุชน” ( โมไซยาห์ 3:19) และเพื่อประสบกับ “การเปลี่ยนแปลงอันลึกล้ำในเรา, หรือในใจเรา, จนเราไม่มีใจที่จะทำความชั่วอีก, แต่จะทำความดีโดยตลอด” ( โมไซยาห์ 5:2) โปรดสังเกตว่าการเปลี่ยนใจเลื่อมใสที่อธิบายในข้อเหล่านี้ยิ่งใหญ่ ไม่ใช่เรื่องเล็กน้อย นั่นคือ—การเกิดใหม่ทางวิญญาณและการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในสิ่งที่เรารู้สึกและปรารถนา สิ่งที่เราคิดและทำ และสิ่งที่เราเป็น แท้จริงแล้ว เนื้อแท้ของพระกิตติคุณของพระเยซูคริสต์ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอันเป็นพื้นฐานและถาวรของนิสัยเราซึ่งเกิดขึ้นได้จากการที่เราวางใจใน “ความดีงาม, และพระเมตตา และพระคุณของพระเมสสิยาห์ผู้บริสุทธิ์” ( 2 นีไฟ 2:8) ขณะที่เราเลือกทำตามพระอาจารย์ เราเลือกที่จะเปลี่ยน—ที่จะบังเกิดใหม่ทางวิญญาณ

(เดวิด เอ. เบดนาร์, “ท่านทั้งหลายต้องบังเกิดใหม่,” เลียโฮนา, พ.ค. 2007, 25)

ฉันจะเกิดใหม่ได้อย่างไร?

เอ็ลเดอร์เดวิด เอ. เบดนาร์แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองกล่าวคำปราศรัยเรื่อง “การปลดบาปของท่านจะมีอยู่เสมอ” ( เลียโฮนา, พ.ค. 2016, 59–62) ที่มีความเข้าใจลึกซึ้งเกี่ยวกับคำถามนี้

เหตุใดจึงอาจเป็นการยากที่จะตระหนักว่าฉันเกิดใหม่แล้ว?

เอ็ลเดอร์ดี. ทอดด์ คริสทอฟเฟอร์สันแห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองสอนดังนี้

Portrait of Elder D. Todd Christofferson. Photographed in March 2020.

ท่านอาจถามว่า ทำไมการเปลี่ยนแปลงอันใหญ่หลวงนี้ไม่เกิดขึ้นกับฉันเร็วกว่านี้ … สำหรับเราส่วนใหญ่ การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไปและใช้เวลา การเกิดอีกครั้ง … เป็นกระบวนการมากกว่าเป็นเหตุการณ์ และการได้เข้าไปอยู่ในกระบวนการนั้นคือจุดประสงค์สำคัญของความเป็นมรรตัย

ในเวลาเดียวกัน ขอให้เราอย่าหาข้อแก้ตัวต่อการกระทำที่เราไม่ตั้งใจ ขอเราอย่าพอใจที่จะเก็บความประสงค์บางอย่างที่จะทำความชั่วร้าย ขอให้เรารับส่วนศีลระลึกอย่างมีค่าควรทุกสัปดาห์และให้พระวิญญาณศักดิ์สิทธิ์ทรงถอนรากถอนโคนซากที่หลงเหลือของสิ่งไม่บริสุทธิ์ภายในตัวเราต่อไป ข้าพเจ้ายืนยันว่าขณะที่ท่านดำเนินต่อไปในเส้นทางของการเกิดอีกครั้งทางวิญญาณ พระคุณแห่งการชดใช้ของพระเยซูคริสต์จะขจัดบาปของท่านรวมทั้งสิ่งแปดเปื้อนอันเกิดจากบาปเหล่านั้นในตัวท่าน การล่อลวงจะหมดเสน่ห์ และโดยผ่านพระคริสต์ท่านจะบริสุทธิ์ ดังที่พระองค์และพระบิดาของเราทรงบริสุทธิ์

(ดี. ทอดด์ คริสทอฟเฟอร์สัน, “การเกิดใหม่เลียโฮนา พ.ค. 2008, 95)

ความแตกต่างระหว่าง “การเห็น” และ “การเข้า” อาณาจักรของพระผู้เป็นเจ้าคืออะไร?

ท่านศาสดาพยากรณ์โจเซฟ สมิธ (1805–1844) สอนเกี่ยวกับพระวจนะของพระผู้ช่วยให้รอดใน [ ยอห์น 3:3, 5 ] ซึ่งพูดถึง “การเห็น” และ “การเข้า” อาณาจักรของพระผู้เป็นเจ้า: “การเห็นอาณาจักรของพระผู้เป็นเจ้าเป็นเรื่องหนึ่งและการเข้าอาณาจักรเป็นอีกเรื่อง เราต้องมีการเปลี่ยนแปลงในใจเพื่อเห็นอาณาจักรของพระผู้เป็นเจ้าและยอมรับทุกอย่างที่ต้องทำเพื่อเข้าไปในนั้น” (ใน Journal, December 1842–June 1844; Book 3, 15 July 1843–29 February 1844, 130, josephsmithpapers.org] เมื่อบุคคลหนึ่ง “เห็น” อาณาจักรของพระผู้เป็นเจ้า พระวิญญาณบริสุทธิ์ทรงทำให้บุคคลนั้นมี “การเปลี่ยนแปลง” อันลึกซึ้ง “ในใจ” (ดู แอลมา 5:14) จากนั้นบุคคลดังกล่าวจะต้องมีส่วนร่วมในศาสนพิธีแห่งพระกิตติคุณเพื่อ “เข้า” อาณาจักรของพระผู้เป็นเจ้า

(“ยอห์น 2–4,” ใน คู่มือนักเรียน พันธสัญญาใหม่ [2018], ChurchofJesusChrist.org)

กิจกรรมการเรียนรู้เพิ่มเติม

เส้นทางพันธสัญญา

ศาสดาพยากรณ์นีไฟสอนว่าการกลับใจ บัพติศมา และรับของประทานแห่งพระวิญญาณบริสุทธิ์คือ “ประตูซึ่งโดยทางนั้น [เรา] ต้องเข้าไป” ( 2 นีไฟ 31:17) เส้นทางที่นีไฟหมายถึงในข้อพระคัมภีร์ต่อไปนี้คือสิ่งที่ผู้นำศาสนจักรมักกล่าวถึงว่าเป็น “เส้นทางพันธสัญญา”อ่าน 2 นีไฟ 31:19–20 และสนทนาว่าการเดินตามเส้นทางพันธสัญญาจะช่วยให้เราเข้าถึงพลังอำนาจของพระผู้ช่วยให้รอดเพื่อช่วยเราเปลี่ยนแปลงอย่างไร