ศึกษาพระคัมภีร์
ฟังเสียงพระเจ้าผ่านพระคัมภีร์
พระเยซูทรงสอนว่าพระคัมภีร์เป็นพยานถึงพระองค์ (ดู ยอห์น 5:39) บทเรียนนี้สามารถช่วยให้ท่านมาหาพระคริสต์และรู้จักพระองค์ดียิ่งขึ้นผ่านการศึกษาพระคำของพระผู้เป็นเจ้าโดยช่วยท่านพัฒนาทักษะการศึกษาพระคัมภีร์และกำหนดเป้าหมายการศึกษาพระคัมภีร์
กิจกรรมการเรียนรู้ที่อาจทำได้
เหตุใดจึงศึกษาพระคัมภีร์?
ท่านอาจให้นักเรียนสวมบทบาทสมมุติในสถานการณ์สมมุตินี้เป็นคู่ๆ หรือทั้งชั้นเรียนเพื่อเพิ่มการมีส่วนร่วม
ลองจินตนาการว่าเพื่อนคนหนึ่งพูดว่า “ฉันไม่มีเวลาศึกษาพระคัมภีร์เพราะฉันมีหลายอย่างที่ต้องทำ ฉันไม่เข้าใจพระคัมภีร์พวกนี้ด้วย!”
-
ท่านจะพูดอะไรกับเพื่อนของท่าน?
-
มีเหตุผลอื่นใดอีกบ้างที่ผู้คนอาจไม่ศึกษาพระคัมภีร์ทุกวัน?
ท่านอาจใช้การประเมินผลจากกิจกรรมการเตรียมของนักเรียนเพื่อช่วยให้นักเรียนทบทวนว่าการศึกษาพระคัมภีร์ของพวกเขาเองเป็นอย่างไรบ้าง
ทำการประเมินผลการศึกษาพระคัมภีร์ ท่านจะอ้างอิงคำตอบของท่านในช่วงหลังของชั้นเรียน
ตอบคำถามต่อไปนี้ลงในสมุดบันทึกการศึกษาของท่าน
-
มีสิ่งดีอะไรบ้างที่เกิดขึ้นจากการที่ท่านศึกษาพระคัมภีร์? ท่านจะทำอะไรให้ดีกว่านี้?
แสดงข้อความต่อไปนี้และคำถามที่ตามมา นักเรียนอาจได้รับประโยชน์จากการตอบคำถามในสมุดบันทึกของพวกเขาก่อนจะตอบคำถามต่อหน้าชั้นเรียน ถามคำถามเพื่อติดตามผลกับนักเรียนที่แบ่งปันประสบการณ์เพื่อเชื้อเชิญให้พวกเขาแบ่งปันมากขึ้น
อ่านข้อความต่อไปนี้ของประธานรัสเซลล์ เอ็ม. เนลสัน โดยมองหาสิ่งที่เราสามารถเรียนรู้เกี่ยวกับเหตุผลที่การศึกษาพระคัมภีร์เป็นประจำคุ้มค่าทั้งเวลาและความพยายาม
ขณะที่เราหมายมั่นเป็นสานุศิษย์ของพระเยซูคริสต์ เราต้องพยายาม
ตั้งใจฟังพระองค์ มากขึ้น ต้องใช้ความพยายามอย่างมีสติและสม่ำเสมอที่จะทำให้ชีวิตประจำวันของเราเต็มไปด้วยพระวจนะ คำสอน และความจริงของพระองค์ …
…แล้วเราจะไปฟังพระองค์
ได้จากที่ใด?
เราสามารถไปที่พระคัมภีร์ได้ พระคัมภีร์สอนเราเกี่ยวกับพระเยซูคริสต์และพระกิตติคุณ ความยิ่งใหญ่ของการชดใช้ของพระองค์ ตลอดจนแผนอันสำคัญยิ่งแห่งความสุขและการไถ่ของพระบิดา การจดจ่ออยู่กับพระวจนะของพระผู้เป็นเจ้าทุกวันสำคัญยิ่งต่อความอยู่รอดทางวิญญาณ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงกลียุคเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เช่นนี้ เมื่อเราดื่มด่ำพระวจนะของพระคริสต์ทุกวัน พระวจนะของพระคริสต์จะบอกวิธีรับมือกับความยุ่งยากทั้งหลายที่เราไม่คิดว่าจะพบเจอมาก่อน …
อะไรจะเกิดขึ้นเมื่อเราตั้งใจฟัง สดับฟัง และเอาใจใส่มากขึ้นต่อสิ่งที่พระผู้ช่วยให้รอดตรัสไว้และสิ่งที่พระองค์กำลังตรัสเวลานี้ผ่านศาสดาพยากรณ์ของพระองค์? ข้าพเจ้าสัญญาว่าท่านจะมีพลังมากขึ้นที่จะรับมือกับการล่อลวง ความลำบาก และความอ่อนแอ ข้าพเจ้าสัญญาว่าจะเกิดปาฏิหาริย์ในชีวิตแต่งงาน ความสัมพันธ์ในครอบครัว และงานประจำวันของท่าน ข้าพเจ้าสัญญาว่าท่านจะสามารถรู้สึกถึงปีติมากขึ้นแม้มีความโกลาหลเพิ่มขึ้นในชีวิต
รัสเซลล์ เอ็ม. เนลสัน, “ฟังพระองค์,” เลียโฮนา, พ.ค. 2020, 89, 90
-
ท่านเรียนรู้อะไรบ้างจากข้อความนี้เกี่ยวกับวิธีที่พระผู้ช่วยให้รอดทรงสามารถอวยพรท่านขณะท่านศึกษาพระคัมภีร์?
-
ท่านเคยประสบพรใดบ้างเมื่อท่านศึกษาพระคัมภีร์สม่ำเสมอ?
-
สิ่งใดที่ได้ช่วยหรือสามารถช่วยให้ท่านจัดเวลาศึกษาพระคัมภีร์ได้อย่างต่อเนื่อง?
ท่านอาจทำกิจกรรมร่วมกับนักเรียนเพื่อช่วยให้พวกเขาพัฒนาทักษะการศึกษาพระคัมภีร์ กิจกรรมต่อไปนี้ช่วยให้พวกเขาเรียนรู้วิธีใช้เชิงอรรถอย่างมีประสิทธิภาพแต่หากพวกเขาได้รับประโยชน์จากทักษะอื่นให้พิจารณากิจกรรมอื่นที่จะช่วยเพิ่มความสามารถในการศึกษาพระคัมภีร์ แนวคิดบางอย่างอยู่ในเอกสารเพิ่มเติมท้ายบทเรียน
ฉันจะใช้เชิงอรรถอย่างมีประสิทธิภาพได้อย่างไร?
วิธีหนึ่งที่จะทำให้ท่านมีการศึกษาพระคัมภีร์ที่ยกระดับจิตวิญญาณมากขึ้นคือการใช้เชิงอรรถ เชิงอรรถจะอยู่ในเล่มหนังสือพระคัมภีร์ด้านล่างของหน้า และในพระคัมภีร์ฉบับอิเล็กทรอนิกส์โดยแตะที่ตัวอักษรขนาดเล็กถัดจากถ้อยคำในข้อพระคัมภีร์ เชิงอรรถเหล่านี้มีการอ้างอิงถึงข้ออื่นๆ หรือเครื่องมือเพิ่มเติมที่จะช่วยให้ท่านเข้าใจสิ่งที่กำลังสอนได้ดียิ่งขึ้น
ท่านจะพบหมายเหตุงานแปลของโจเซฟ สมิธบ่อยๆ ในเชิงอรรถของพันธสัญญาใหม่ งานแปลของโจเซฟ สมิธเป็นงานตรวจแก้ต้นฉบับหรืองานแปลพระคัมภีร์ไบเบิลที่ได้รับการดลใจและทำเสร็จสมบูรณ์โดยโจเซฟ สมิธ งานดังกล่าวฟื้นฟูความจริงที่หายไปจากพระคัมภีร์ไบเบิลและเพิ่มความชัดเจนให้คำสอนในพระคัมภีร์ไบเบิล ภายใต้การดลใจ ศาสดาพยากรณ์แก้ไขข้อพระคัมภีร์มากกว่า 3,400 ข้อในพระคัมภีร์ไบเบิลซึ่งหลายข้อสามารถพบได้ในเชิงอรรถของพระคัมภีร์ไบเบิลฉบับต่างๆ ของวิสุทธิชนยุคสุดท้าย แต่ข้อความบางส่วนที่ยาวกว่านี้อยู่ในภาคผนวกของพระคัมภีร์ไบเบิล
ลูกาบทที่ 2 อธิบายเรื่องราวของโยเซฟและมารีย์ที่พบพระเยซูวัย 12 ปีในวิหารหลังจากค้นหาพระองค์เป็นเวลาสามวัน (ดู ลูกา 2:40–45) ลูกา 2:46 เป็นตัวอย่างที่งานแปลของโจเซฟ สมิธเพิ่มความกระจ่างแก่สิ่งที่สอนในข้อความนั้น และยังช่วยทำให้ความหมายสอดคล้องกับสิ่งที่สอนใน ข้อ 47
ศึกษา ลูกา 2:46 โดยไม่มีเชิงอรรถและค้นหาสิ่งที่ท่านเรียนรู้เกี่ยวกับพระเยซูคริสต์
ศึกษาข้อความอีกครั้งโดยใช้เชิงอรรถ    
-
เครื่องมือการศึกษาพระคัมภีร์เหล่านี้ช่วยเสริมสิ่งที่ข้อพระคัมภีร์สอนเกี่ยวกับพระเยซูคริสต์อย่างไร?
เป้าหมายที่จะเป็นเหมือนพระเยซูคริสต์มากขึ้น
หนึ่งในเป้าหมายหลักของเซมินารีคือการช่วยให้ท่านติดตามพระเยซูคริสต์และกลายเป็นสานุศิษย์ของพระองค์ การศึกษาพระคัมภีร์อย่างต่อเนื่องเป็นหนึ่งในวิธีที่ดีที่สุดซึ่งท่านสามารถกลายเป็นผู้ติดตามที่ดียิ่งขึ้นของพระเยซูคริสต์ และยังเป็นหนึ่งในข้อกำหนดในการรับหน่วยกิตสำหรับเซมินารีอีกด้วย ท่านสามารถสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับข้อกำหนดในการศึกษาพระคัมภีร์ได้จากครูของท่านหากมีข้อสงสัย
อาจเป็นความท้าทายที่จะหาเวลาศึกษาพระคัมภีร์โดยส่วนตัว เอ็ลเดอร์เดวิด เอ. เบดนาร์แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองให้คำแนะนำดังนี้
จังหวะชีวิตที่ก้าวเร็วมาก เจตนาดีและ “การหวัง” แต่เพียงว่าจะมีเวลาศึกษาพระคัมภีร์อย่างเต็มที่เท่านั้นไม่พอ ประสบการณ์ของข้าพเจ้าบ่งบอกว่า ต้องมีเวลาที่กำหนดแน่นอนในแต่ละวัน และหากเป็นไปได้คือมีสถานที่สำหรับศึกษาโดยเฉพาะ จะเพิ่มประสิทธิภาพของการค้นคว้าและการศึกษาพระคัมภีร์อย่างมาก
(เดวิด เอ. เบดนาร์, “เพราะเรามีพระคัมภีร์อยู่ต่อหน้าเรา,” เลียโฮนา, เม.ย. 2006, 16)
นึกถึงสิ่งที่ท่านเรียนรู้และรู้สึกในวันนี้ ท่านอาจทบทวนคำตอบของท่านต่อการประเมินผลการศึกษาพระคัมภีร์อีกครั้ง ในสมุดบันทึกการศึกษาของท่าน ให้ตั้งเป้าหมายการศึกษาพระคัมภีร์ ท่านสามารถกำหนดให้เป็นเป้าหมายทางวิญญาณสำหรับโปรแกรมเด็กและเยาวชนหรือตั้งเป้าหมายแยกต่างหากได้ นึกถึงคำถามต่อไปนี้ขณะท่านตั้งเป้าหมาย:
-
ท่านทราบหรือเชื่ออะไรเกี่ยวกับพระคัมภีร์? สิ่งที่ท่านทราบหรือเชื่อเกี่ยวกับพระคัมภีร์เพิ่มความปรารถนาที่จะศึกษาพระคัมภีร์อย่างไร?
-
ท่านพบความท้าทายอะไรบ้างในการศึกษาพระคัมภีร์? ท่านเอาชนะความท้าทายเหล่านั้นได้อย่างไร?
-
ท่านจะศึกษามากเพียงใด? ท่านจะทำที่ไหนและเมื่อใด?
บทวิจารณ์และข้อมูลภูมิหลัง
พรที่มาจากการศึกษาพระคัมภีร์มีอะไรบ้าง?
เอ็ลเดอร์ดี. ทอดด์ คริสทอฟเฟอร์สันแห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองเป็นพยานถึงพรที่มาจากการศึกษาพระคัมภีร์
ฉันสามารถศึกษาพระคัมภีร์อย่างมีประสิทธิภาพได้อย่างไร?
เอ็ลเดอร์ดี. ทอดด์ คริสทอฟเฟอร์สันแห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองแบ่งปันความเข้าใจลึกซึ้งเหล่านี้ว่า
เมื่อกล่าวว่า “ศึกษา” ข้าพเจ้าหมายความถึงสิ่งที่มากกว่าการอ่าน เป็นสิ่งที่ดีหากจะอ่านพระคัมภีร์โดยกำหนดเวลาไว้เพื่อได้รู้ถึงข่าวสารจากพระคัมภีร์นั้นโดยรวม แต่สำหรับการเปลี่ยนใจเลื่อมใส ท่านควรสนใจกับเวลาที่ใช้ไปกับพระคัมภีร์นั้นมากกว่าปริมาณที่อ่านได้ในเวลาเดียวกัน บางครั้งข้าพเจ้ามองเห็นภาพว่าท่านกำลังอ่านพระคัมภีร์สองสามข้อ แล้วหยุดไตร่ตรอง อ่านข้อเดิมอีกครั้งอย่างครุ่นคิด และขณะที่ท่านคิดถึงความหมายอยู่นั้น สวดอ้อนวอนเพื่อความเข้าใจด้วย โดยถามข้อสงสัยที่มีอยู่ในใจ รอคอยความประทับใจทางวิญญาณให้เกิดขึ้นจริงๆ และบันทึกความประทับใจและความเข้าใจอันลึกซึ้งนั้นไว้เพื่อจะทบทวนและเรียนรู้ได้มากขึ้นภายหลัง โดยการศึกษาแบบนี้ท่านอาจอ่านพระคัมภีร์ได้ไม่กี่บทไม่กี่ข้อในเวลาครึ่งชั่วโมง แต่ท่านกำลังทำให้พระคำของพระผู้เป็นเจ้ามีที่อยู่ในใจ และขณะนั้นพระองค์กำลังตรัสกับท่าน
(ดี. ทอดด์ คริสทอฟเฟอร์สัน, “เมื่อท่านได้หันกลับแล้ว,”
Ensign
หรือ
เลียโฮนา
, พ.ค. 2004, 13)
เครื่องมือและแหล่งข้อมูลบางอย่างที่ช่วยให้ท่านศึกษาพระคัมภีร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นประกอบด้วย:
-
เอกสารแนะนำในคู่มือ จงตามเรามา—สำหรับบุคคลและครอบครัว
-
คู่มือนักเรียน พันธสัญญาใหม่ ของสถาบันประกอบด้วยภาพ ความเห็น และคำอธิบายต่างๆ ที่เป็นประโยชน์
เครื่องมือต่อไปนี้พบได้ในหมวด “สิ่งช่วยศึกษา” ของแอปคลังค้นคว้าพระกิตติคุณหรือในดัชนีของพระคัมภีร์รวมสามเล่มของท่าน:
-
คู่มือพระคัมภีร์ ช่วยท่านศึกษาตามหัวข้อหรือค้นหาการอ้างโยงระหว่างพระคัมภีร์ คำนิยาม และคำอธิบายตามบริบทได้อีกด้วย
-
แผนที่ในพระคัมภีร์ไบเบิล ช่วยให้ท่านเข้าใจบริบททางภูมิศาสตร์ของเรื่องราวพระคัมภีร์ได้ดียิ่งขึ้น
-
เครื่องมือ ภาพถ่ายในพระคัมภีร์ไบเบิล ซึ่งมีรูปภาพสถานที่ต่างๆ ในแผ่นดินศักดิ์สิทธิ์จะช่วยให้ท่านนึกภาพเรื่องราวในพระคัมภีร์ไบเบิลได้ดียิ่งขึ้น
-
The Harmony of the Gospels ซึ่งเป็นดัชนีเพื่อค้นหาเรื่องราวที่หลากหลายในเรื่องราวแต่ละเล่มของพระกิตติคุณสี่เล่มช่วยให้ท่านเข้าใจเหตุการณ์เหล่านั้นมากขึ้น
กิจกรรมการเรียนรู้เพิ่มเติม
การประสานเรื่องราวพระกิตติคุณอย่างกลมกลืน
พิจารณาใช้แบบฝึกหัดนี้เพิ่มเติมหรือแทนที่กิจกรรมเชิงอรรถของงานแปลของโจเซฟ สมิธ
นักเรียนอาจได้รับประโยชน์จากการศึกษาเรื่องราวเดียวกันในพันธสัญญาใหม่จากมุมมองของนักเขียนหลายคน ซึ่งจะช่วยให้นักเรียนได้รับความเข้าใจลึกซึ้งเพิ่มเติมเกี่ยวกับพระผู้ช่วยให้รอด เรื่องราวหนึ่งที่จะฝึกอาจเกี่ยวกับความทุกข์ทรมานของพระผู้ช่วยให้รอดในเกทเสมนีที่พบในมัทธิว 26:36–46; มาระโก 14:32–42; ลูกา 22:40–46 หลังจากนักเรียนศึกษาเรื่องราวเหล่านี้แล้วพวกเขาสามารถแบ่งปันความเข้าใจลึกซึ้งที่พวกเขาได้รับโดยการศึกษาพระคัมภีร์ด้วยวิธีนี้