แผนที่ ๙
โลกของภาคพันธสัญญาเดิม
-
ภูเขาอารารัต สถานที่ซึ่งเชื่อสืบกันมาว่านาวาของโนอาห์ไปเกยตื้นอยู่ที่นี่ (ปฐก. ๘:๔). จุดที่นาวาเกยตื้นไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด.
-
เออร์ สถานที่อยู่อาศัยแห่งแรกของอับราฮัม, ซึ่งที่นั่นเขาเกือบตกเป็นเหยื่อของการฆ่ามนุษย์เป็นเครื่องสังเวย, เห็นเทพของพระเยโฮวาห์, และได้รับอูริมกับทูมมิม (ปฐก. ๑๑:๒๘–๑๒:๑; อับรา. ๑; ๓:๑). (สังเกตด้วยว่าสถานที่อีกแห่งหนึ่งที่อาจเป็นเออร์อยู่ในเมโสโปเตเมียตอนเหนือ.)
-
บาบิโลน, บาเบล (ชินาร์) คูช, บุตรของฮาม, ตั้งถิ่นฐานอยู่ที่นี่เป็นคนแรก, และนิมโรดด้วย. เป็นพื้นที่ดั้งเดิมของชาวยาเรดสมัยหอบาเบลในที่ราบชินาร์. ต่อมาเป็นเมืองหลวงของแคว้นบาบิโลเนียและที่พำนักของบรรดากษัตริย์บาบิโลน, รวมทั้งเนบูคัดเนสซาร์ซึ่งกวาดต้อนเชลยชาวยิวมากมายไปยังเมืองนี้ภายหลังความพินาศของเยรูซาเล็ม (๕๘๗ ปีก่อนคริสตกาล). ชาวยิวยังคงเป็นเชลยในบาบิโลนเป็นเวลา ๗๐ ปีจนกระทั่งสมัยกษัตริย์ไซรัส, ผู้ที่อนุญาตให้ชาวยิวกลับเยรูซาเล็มเพื่อบูรณะพระวิหาร. ดาเนียล ศาสดาพยากรณ์พำนักอยู่ที่นี่เช่นกันภายใต้การปกครองของเนบูคัดเนสซาร์, เบลชัสซาร์, และดาริอัสที่หนึ่ง (ปฐก. ๑๐:๑๐; ๑๑:๑–๙; ๒ พกษ. ๒๔–๒๕; ยรม. ๒๗:๑–๒๙:๑๐; อสค. ๑:๑; ดนล. ๑–๑๒; ออมไน ๑:๒๒; อีเธอร์ ๑:๓๓–๔๓).
-
ชูชาน (สุสา) เมืองหลวงของจักรวรรดิเปอร์เซียภายใต้การปกครองของดาริอัสที่หนึ่ง (ดาริอัสมหาราช), เซอร์ซีส (อาหสุเอรัส), และอารทาเซอร์ซีส. สถานที่พำนักของราชินีเอสเธอร์, ซึ่งความกล้าหาญและศรัทธาของนางได้ช่วยชาวยิวให้รอด. ดาเนียลและต่อมาเนหะมีย์รับใช้ที่นี่ (นหม. ๑:๑; ๒:๑; อสธ. ๑:๑; ดนล. ๘:๒).
-
ที่ราบดูรา ชัดรัค, เมชาค, และเอเบดเนโกถูกโยนเข้าไปในเตาหลอมที่ลุกโชนเมื่อพวกเขาปฏิเสธที่จะนมัสการรูปเคารพทองคำซึ่งเนบูคัดเนสซาร์สร้างขึ้นมา; พระบุตรของพระผู้เป็นเจ้าทรงปกปักรักษาพวกเขา, และพวกเขาออกมาจากเตาหลอมโดยไม่ได้รับอันตรายใด ๆ (ดนล. ๓).
-
อัสซีเรีย อัสชูรเป็นเมืองหลวงแห่งแรกของอัสซีเรีย, ตามด้วยนีนะเวห์. ผู้ปกครองอัสซีเรีย แชลมาเนเสอร์ที่ห้าและซาร์กอนที่สองพิชิตอาณาจักรตอนเหนือของอิสราเอลและจับชนเผ่า ๑๐ เผ่าไปเป็นเชลยเมื่อ ๗๒๑ ปีก่อนคริสตกาล (๒ พกษ. ๑๔–๑๕, ๑๗–๑๙). อัสซีเรียเป็นภัยต่อยูดาห์จน ๖๑๒ ปีก่อนคริสตกาล, เมื่ออัสซีเรียต้องพ่ายแพ้ต่อบาบิโลน.
-
นีนะเวห์ เมืองหลวงของอัสซีเรีย. อัสซีเรียโจมตีแผ่นดินของยูดาห์ระหว่างการปกครองของเฮเซคียาห์และการปฏิบัติศาสนกิจของศาสดาพยากรณ์อิสยาห์. เยรูซาเล็ม, นครหลวงของยูดาห์, รอดมาได้อย่างปาฏิหาริย์เมื่อเทพองค์หนึ่งสังหารทหารอัสซีเรีย ๑๘๕,๐๐๐ คน (๒ พกษ. ๑๙:๓๒–๓๗). พระเจ้ารับสั่งกับศาสดาพยากรณ์โยนาห์ให้เรียกเมืองนี้สู่กลับใจ (โยนาห์ ๑:๒; ๓:๑–๔).
-
ฮาราน อับราฮัมตั้งถิ่นฐานที่นี่ระยะหนึ่งก่อนไปยังคานาอัน. บิดาและน้องชายของเขาอยู่ที่นี่ต่อไป. เรเบคาห์ (ภรรยาของอิสอัค), และราเชล, เลอาห์, บิลฮาห์, และศิลปาห์ (บรรดาภรรยาของยาโคบ), มาจากพื้นที่นี้ (ปฐก. ๑๑:๓๑–๓๒; ๒๔:๑๐; ๒๙:๔–๖; อับรา. ๒:๔–๕).
-
คารเคมิช ฟาโรห์เนโคพ่ายแพ้ต่อเนบูคัดเนสซาร์ที่นี่, ซึ่งทำให้สิ้นสุดอำนาจของอียิปต์ในคานาอัน (๒ พศด. ๓๕:๒๐–๓๖:๖).
-
ไซดอน ไซดอน, หลานชายของฮาม, เป็นผู้ค้นพบเมืองนี้และเป็นเมืองของชาวคานาอันตอนเหนือสุด (ปฐก. ๑๐:๑๕–๒๐). เมืองนี้เป็นที่พำนักของเยเซเบล, ผู้ซึ่งนำการนมัสการพระบาอัลเข้ามาในอิสราเอล (๑ พกษ. ๑๖:๓๐–๓๓).
-
ไทระ ที่นี่เป็นเมืองท่าและการพาณิชย์ที่สำคัญในซีเรีย. ฮีรามแห่งไทระส่งไม้สนสีดาร์กับทองคำและบรรดาช่างมาช่วยซาโลมอนสร้างพระวิหารของเขา (๑ พกษ. ๕:๑–๑๐, ๑๘; ๙:๑๑).
-
ดามัสกัส อับราฮัมช่วยชีวิตโลทใกล้สถานที่แห่งนี้. เมืองนี้เป็นเมืองสำคัญของซีเรีย. ระหว่างการปกครองของกษัตริย์ดาวิด, ชาวอิสราเอลพิชิตเมืองนี้ไว้ได้. เอลียาห์เจิมฮาซาเอลเป็นกษัตริย์เหนือดามัสกัส (ปฐก. ๑๔:๑๔–๑๕; ๒ ซมอ. ๘:๕–๖; ๑ พกษ. ๑๙:๑๕).
-
คานาอัน พระเจ้าประทานแผ่นดินนี้แก่อับราฮัมและลูกหลานของเขาเพื่อเป็นกรรมสิทธิ์นิรันดร์ (ปฐก. ๑๗:๘).
-
ภูเขาซีนาย (โฮเรบ) พระเจ้ารับสั่งกับโมเสสจากพุ่มไม้ที่ลุกเป็นไฟ (อพย. ๓:๑–๒). โมเสสได้รับกฎและพระบัญญัติสิบประการ (อพย. ๑๙–๒๐). พระเจ้ารับสั่งกับเอลียาห์ด้วยสุรเสียงสงบ, แผ่วเบา (๑ พกษ. ๑๙:๘–๑๒).
-
เอซีโอนเกเบอร์ กษัตริย์ซาโลมอนสร้าง “กองเรือกำปั่น” ในเอซีโอนเกเบอร์ (๑ พกษ. ๙:๒๖). อาจเป็นท่าเรือแห่งนี้ที่ราชินีแห่งเชบา, ขึ้นฝั่งไปพบกับซาโลมอน, หลังจากได้ยินถึงชื่อเสียงของเขา (๑ พกษ. ๑๐:๑–๑๓).
-
อียิปต์ อับราฮัมเดินทางมาที่นี่เนื่องจากเกิดความอดอยากครั้งรุนแรงในเออร์ (อับรา. ๒:๑, ๒๑). พระเจ้าทรงบอกอับราฮัมให้สอนชาวอียิปต์ในสิ่งที่พระองค์ทรงเปิดเผยแก่เขา (อับรา. ๓:๑๕). พี่ ๆ ของโยเซฟขายเขาเป็นทาส (ปฐก. ๓๗:๒๘). โยเซฟกลายเป็นต้นห้องของโปทิฟาร์ที่นี่. เขาถูกโยนเข้าคุก. เขาแก้ฝันให้ฟาโรห์และได้รับตำแหน่งที่มีอำนาจในอียิปต์. โยเซฟกับพี่น้องได้มาอยู่ด้วยกัน. ยาโคบและครอบครัวย้ายมาอยู่ที่นี่ (ปฐก. ๓๙–๔๖). ลูกหลานของอิสราเอลพำนักในโกเชนระหว่างการเดินทางในอียิปต์ (ปฐก. ๔๗:๖).
ชาวอิสราเอลขยายเผ่าพันธุ์ “และมีกำลังมากทีเดียว”; จากนั้นชาวอียิปต์จับพวกเขาให้อยู่ในพันธนาการ (อพย. ๑:๗–๑๔). หลังจากประสบภัยพิบัติหลายระลอกฟาโรห์จึงอนุญาตให้อิสราเอลออกจากอียิปต์ (อพย. ๑๒:๓๑–๔๑). เยเรมีย์ถูกพาไปอียิปต์ (ยรม. ๔๓:๔–๗).
-
คัฟโทร์ (ครีต) แผ่นดินครั้งโบราณของชาวมีโนอัน.