2023
คู่มือการเอาตัวรอดในชั้นเรียนและโควรัม
กุมภาพันธ์ 2023


“คู่มือการเอาตัวรอดในชั้นเรียนและโควรัม,” เพื่อความเข้มแข็งของเยาวชน, ก.พ. 2023

คู่มือ การเอาตัวรอด ในชั้นเรียนและโควรัม

ภาพ
คู่มือการเอาตัวรอดในชั้นเรียนและโควรัม

ดาวน์โหลด PDF

1. เป็นผู้เชี่ยวชาญในการทำความรู้จัก

ลองทำตามคำแนะนำเหล่านี้เพื่อทำความรู้จักกับผู้คนในโควรัมหรือชั้นเรียนของท่าน!

  • จงกล้าหาญ หากมีคนมาเคาะประตูบ้านท่านเพื่อทำความรู้จักกับท่าน ท่านจะหงุดหงิดหรือไม่? อาจจะไม่ ดังนั้นจงกล้าหาญ ลองส่งข้อความ โทร หรือเคาะประตู

  • จำชื่อของพวกเขาไว้ ครั้งต่อไป หากมีคนบอกชื่อของเขา พยายามจำชื่อนั้นให้ได้ ชื่อของพวกเขาคล้องจองกับบางสิ่งหรือไม่? พวกเขามีชื่อเดียวกันกับลูกพี่ลูกน้องของท่านหรือไม่? อย่าลืมชื่อของพวกเขาล่ะ!

  • เลือกที่นั่งของท่านให้ดี ระหว่างชั้นเรียนหรือกิจกรรม ลองนั่งข้างคนที่ท่านไม่ค่อยรู้จัก กล่าวทักทายและแนะนำตัว จากนั้น ฟัง และเรียนรู้เกี่ยวกับพวกเขา! พวกเขาชอบทำอะไร? พวกเขาเป็นอย่างไรบ้าง?

  • ทำสิ่งที่ดี! ท่าน ชื่นชมสิ่งใด? ขนม รอยยิ้ม หรือคำชม? ให้ท่านทำสิ่งที่ท่านชื่นชมต่อผู้อื่นด้วย

2. ช่วยให้ผู้อื่นรู้สึกเป็นที่ต้อนรับ

หากสังเกตให้ดี ท่านอาจสังเกตเห็นบางคนในโควรัมหรือในชั้นเรียนที่เข้ากับผู้อื่นได้ยาก บางทีพวกเขาอาจจะไม่ได้ทำกิจกรรมหรือไปโบสถ์บ่อยนัก หรือบางทีพวกเขาอาจจะไม่ค่อยมีเพื่อนในกลุ่ม ท่าน สร้างความแตกต่างได้ ท่านสามารถ:

  • เชิญพวกเขาไปโบสถ์และทำกิจกรรมประจำสัปดาห์

  • เชิญพวกเขาให้นั่งข้างๆ ท่านในชั้นเรียนวันอาทิตย์หรือที่กิจกรรม

  • กล่าวทักทายกับพวกเขาที่ด้านนอกโบสถ์

  • ให้พวกเขารักในสิ่งที่เป็น ให้แน่ใจว่าท่านอยู่ที่นั่นเพื่อพวกเขาไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น

3. เข้ากับผู้อื่น

ท่านกำลังดิ้นรนเพื่อให้เข้ากับบางคนในโควรัมหรือชั้นเรียนของท่านหรือไม่? นั่นเป็นเรื่องปกติ แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าเป็นเรื่องที่ ดี พระเยซูคริสต์ทรงสอนให้เรารักผู้อื่น เช่นเดียวกับที่พระองค์ทรงรักเรา ท่านไม่จำเป็นต้องเป็นเพื่อนที่ดีที่สุดของทุกคน แต่ท่าน สามารถ เป็นคนที่คนอื่นในกลุ่มสามารถพึ่งพาความเมตตา ความเคารพ และมิตรภาพของท่านได้

เมื่อผู้อื่นทำไม่ดีกับท่าน: พระเยซูทรงสอนให้เรา “รักศัตรูของท่าน และจงอธิษฐานเพื่อบรรดาคนที่ข่มเหงพวกท่าน” (มัทธิว 5:44) ไม่ใช่เรื่องง่ายเสมอไป แต่พระบิดาบนสวรรค์จะทรงช่วยท่านเมื่อท่านทำสุดความสามารถในการมีน้ำใจต่อผู้อื่นแล้ว

เมื่อผู้อื่นแตกต่างจากท่าน: เป็นเรื่องปกติหากท่านมีความสนใจหรือมีบุคลิกที่แตกต่างกับผู้อื่น ในความเป็นจริง นั่นอาจเป็นสิ่งที่ดี (ดูส่วนที่ 4) ท่านไม่จำเป็นต้องเหมือนกับผู้อื่นอย่างสิ้นเชิงในการสนับสนุนซึ่งกันและกัน ท่านอาจลองเข้าชมการแข่งขัน คอนเสิร์ต หรือกิจกรรมของใครบางคนเพื่อแสดงความใส่ใจ

4. กายของพระคริสต์

อัครสาวกเปาโลสอนว่าเราทุกคนเป็นกายของพระคริสต์ อาจดูสับสน แต่ไม่ได้หมายถึงร่างกายจริงๆ ท่านอธิบายว่าเราเป็นเหมือนส่วนต่างๆ ของร่างกายเพราะเราทุกคนต่างกันแต่มีความสำคัญต่อส่วนรวม (ดู 1 โครินธ์ 12:16–18) ท่านกล่าวว่า: “เพื่อไม่ให้มีการแตกแยกกัน [ไม่เห็นด้วย] ในร่างกาย แต่ให้อวัยวะต่างๆ มีความห่วงใยแบบเดียวกันต่อกันและกัน ถ้าอวัยวะหนึ่งทุกข์ อวัยวะทั้งหมดก็ร่วมทุกข์ด้วย ถ้าอวัยวะหนึ่งได้รับเกียรติ อวัยวะทั้งหมดก็ร่วมชื่นชมยินดีด้วย” (1 โครินธ์ 12:25–26)

ในฐานะสมาชิกชั้นเรียนหรือโควรัม ท่านมีหน้าที่ดูแลผู้อื่นในกลุ่มของท่าน ใครที่กำลังเผชิญปัญหา? ท่าน “ทนทุกข์” หรือ “ปีติยินดี” กับใครได้บ้าง? ใครต้องการรู้สึกได้รับการสนับสนุน มีส่วนร่วม และรัก? (คำใบ้: อาจเป็นทุกคน!)

ตอนนี้ ใช้เวลาสักครู่เพื่อตัดสินใจว่าสิ่งใดที่ท่านสามารถทำได้เพื่อใครสักคนและวางแผนจะทำสิ่งนั้น แนวคิดเหล่านั้นมักจะมาจากพระวิญญาณบริสุทธิ์

5. สำหรับฝ่ายประธานโควรัมและชั้นเรียน

ถึงแม้ทุกคนมีหน้าที่ดูแลสมาชิกคนอื่นๆ ในโควรัมหรือชั้นเรียน แต่ท่านได้รับเรียกและได้รับการวางมือที่จะทำเช่นนั้น การเปิดเผยส่วนตัวสามารถช่วยท่านได้ จงสวดอ้อนวอนให้รู้ว่าใครต้องการความช่วยเหลือและท่านสามารถทำสิ่งใดได้บ้าง จากนั้นให้ทำตามการกระตุ้นเตือนที่ท่านได้รับ

พิมพ์