2018
การเดินทางผ่านพลับพลาสมัยโบราณ
March 2018


การเดินทางผ่าน พลับพลาสมัยโบราณ

สัญลักษณ์ในพลับพลาเช่นเดียวกับในพระวิหารสมัยปัจจุบันสามารถสอนเราเกี่ยวกับการเดินทางกลับไปที่ประทับของพระผู้เป็นเจ้า

พระวิหารเป็นสถานที่ซึ่งพระผู้เป็นเจ้าทรงใช้ศาสนพิธีฐานะปุโรหิตและพันธสัญญาศักดิ์สิทธิ์สอนบุตรธิดาของพระองค์มาหลายพันปีเพื่อให้รู้ความจริงนิรันดร์เกี่ยวกับแผนแห่งความรอดของพระองค์

ระหว่างการเดินทางในถิ่นทุรกันดาร ผู้คนของอิสราเอลได้รับบัญชาให้สร้างพลับพลาเพื่อพระผู้เป็นเจ้าจะได้ทรง “อยู่ท่ามกลางเขาทั้งหลาย” (อพยพ 29:46) “พลับพลา แท้ที่จริงหมายถึง ‘ที่อยู่อาศัย’ และเชื่อกันว่าพระผู้เป็นเจ้าประทับอยู่ในสถานศักดิ์สิทธิ์นั้น เมื่ออิสราเอลตั้งค่ายพักแรม พวกเขาจะตั้งพลับพลาตรงกลางค่ายพอดี (สัญลักษณ์แทนความคิดว่าพระผู้เป็นเจ้าทรงเป็นศูนย์กลางของชีวิตผู้คนของพระองค์)”1

ลองพิจารณาสิ่งเหล่านี้ในพลับลาและดูว่าสอนอะไรเราเกี่ยวกับการกลับไปที่ประทับของพระผู้เป็นเจ้า

tabernacle

ภาพประกอบโดย สตีฟ ไครทซ์ / ได้รับอนุญาตจาก GOODSALT.COM

พลับพลา: พลับพลามีสามส่วนที่ต้องผ่านไปถึงที่ประทับของพระผู้เป็นเจ้า ได้แก่ ลานด้านนอก วิสุทธิสถาน และอภิสุทธิสถาน (ดู อพยพ 25–30)

altar

แท่นบูชา: กฎของโมเสสกำหนดให้ถวายเครื่องพลีบูชาบนแท่นนี้ อันหมายถึงพระผู้ช่วยให้รอดและ “การพลีบูชาครั้งสุดท้ายและสำคัญยิ่ง” ของพระองค์ (ดู แอลมา 34:10) การพลีบูชาเป็นสัญลักษณ์ของการกลับใจได้เช่นกัน—การทิ้งบาปของเราและการถวายใจที่ชอกช้ำและวิญญาณที่สำนึกผิด (ดู 3 นีไฟ 9:19–20; คู่มือพระคัมภีร์, “เครื่องพลีบูชา”)

laver of water

อ่างน้ำ: ก่อนเข้าไปในวิสุทธิสถาน ปุโรหิตจะใช้น้ำในอ่างทองสัมฤทธิ์ล้างมือและเท้า (ดู อพยพ 30:19–21) เป็นการเตือนให้เราระลึกว่าเราต้องสะอาดขณะเตรียมกลับไปที่ประทับของพระเจ้า (ดู 3 นีไฟ 27:19–20)

table of shewbread

คันประทีป: ประทีบทั้งเจ็ดเผาน้ำมันมะกอกบริสุทธิ์เพื่อให้แสงสว่างแก่วิสุทธิสถาน (ดู เลวีนิติ 24:2–4) เป็นการเตือนให้เราระลึกถึงแสงสว่างของพระคริสต์และพระวิญญาณบริสุทธิ์ผู้ทรงเป็นแหล่งกำเนิดของแสงสว่างทางวิญญาณ

candlestick

โต๊ะขนมปัง: ทุกวันสะบาโตจะวางขนมปังไร้เชื้อสิบสองก้อนไว้บนโต๊ะขนมปัง คำนี้ในภาษาฮีบรูหมายถึง “ขนมปังแห่งที่ประทับ” (ดู อพยพ 25:30) ทุกวันสะบาโตจะกินขนมปังในวิสุทธิสถานเพื่อเป็น “พันธสัญญานิรันดร์” (ดู เลวีนิติ 24:5–9)

altar of incense

แท่นวางเครื่องหอม: ปุโรหิตเผาเครื่องหอมทุกเช้าค่ำบนแท่นที่ตั้งอยู่หน้าม่าน ควันที่ลอยขึ้นหมายถึงคำสวดอ้อนวอนขึ้นถึงสวรรค์ (ดู วิวรณ์ 5:8)

veil

ม่าน: มหาปุโรหิตเข้าไปในอภิสุทธิสถานผ่านม่าน ลวดลายบนผ้าม่านปักเป็นรูปของเหล่าเครูบ หรือเหล่าเทพ (ดู อพยพ 26:31–33; คพ. 132:19) ม่านจะเตือนให้เราระลึกว่าขณะม่านบังเราจากที่ประทับของพระผู้เป็นเจ้าเวลานี้ องค์มหาปุโรหิตผู้ยิ่งใหญ่—พระเยซูคริสต์—ทรงสามารถแหวกม่านได้

holy of holies

อภิสุทธิสถาน: มหาปุโรหิตเข้าไปในส่วนศักดิ์สิทธิ์ที่สุดนี้ของพลับพลาปีละครั้งในวันแห่งการชดใช้ อภิสุทธิสถานหมายถึงที่ประทับของพระผู้เป็นเจ้า มีหีบแห่งสักขีพยานและฝาหีบที่เรียกว่าพระที่นั่งกรุณาอยู่ในนั้น “เราจะพบกับเจ้า ณ ที่นั้น” พระเจ้ารับสั่งกับโมเสส “และเราจะบอกกับเจ้า” (อพยพ 25:22; ดู อพยพ 29:43; 30:36 ด้วย)2

อ้างอิง

  1. The Life and Teachings of Jesus and His Apostles (1979), 390.

  2. ในสาส์นของเปาโลถึงชาวฮีบรู (บทที่ 8–10) ท่านใช้พลับพลาสอนว่าพระเยซูคริสต์องค์มหาปุโรหิตผู้ยิ่งใหญ่ “เสด็จเข้าไปในสถานศักดิ์สิทธิ์ครั้งเดียวเป็นพอ จึงได้มาซึ่งการไถ่บาปชั่วนิรันดร์” (9:12) เพราะการไถ่ดังกล่าว เราจึงสามารถ “เข้าไปในสถานศักดิ์สิทธิ์โดยพระโลหิตของพระเยซู” (10:19)