จงตามเรามา
เอมิลี่ ริชาร์ด มี “บางสิ่งจะพูด” อย่างไร
31 พฤษภาคม–6 มิถุนายน
เอมิลี่ ริชาร์ดก้าวขึ้นสู่แท่นพูดแคบๆ ในการประชุม National Woman Suffrage Association (สมาคมเพื่อสิทธิในการลงคะแนนของสตรีแห่งชาติ) ในวอชิงตัน ดี.ซี. เมืองหลวงของสหรัฐอเมริกา เธอรู้ว่านี่เป็นประสบการณ์หนึ่งที่สำคัญที่สุดในชีวิตของเธอ ปีนี้คือปี 1889 และหัวข้อสิทธิในการออกเสียงของผู้หญิงในยูทาห์และการสมรสซ้อนกำลังเป็นที่ถกเถียงกันอย่างดุเดือด แม้ว่าเอมิลี่จะรู้สึกกังวล แต่เธอก็พร้อมที่จะพูดในนามของบ้านเกิด เพศ และศาสนาของเธอ
แหล่งข่าวรายหนึ่งกล่าวว่า “มีความกลัวว่าสตรีจากยูทาห์จะไม่สามารถส่งเสียงให้ได้ยินไปทั่วห้องโถงได้—ซึ่งผู้พูดคนอื่นๆ ก็ล้มเหลวในเรื่องนี้—แต่ผู้ร่วมงานรู้สึกประหลาดใจและยินดีที่สามารถได้ยินเสียงของเธอได้ชัดเจน เสียงที่ก้องกังวานของเธอดังทะลุไปถึงช่องที่ไกลที่สุดของอาคารและสุนทรพจน์ของเธอเป็นชัยชนะที่แท้จริง”1
แม้จะไม่มีบันทึกว่าเอมิลี่พูดอะไรในวันนั้น แต่นักข่าวคนหนึ่งรายงานว่าเธอพูดอยู่ประมาณครึ่งชั่วโมง เธอให้ “การนำเสนอทางวิชาการที่เป็นระเบียบ” ซึ่งนำเสนอข้อเท็จจริงและความคิดที่ “ลดอคติลง” นักข่าวกล่าวต่อไปว่าคำพูดของเอมิลีมี “จิตวิญญาณที่อ่อนโยน” ซึ่งทำให้หัวใจหลายคนอ่อนลงในวันนั้นต่อดินแดนยูทาห์2
อย่างไรก็ตามเอมิลี่ไม่ใช่นักพูดที่มีทักษะความสามารถ เธอจำได้ว่าเอไลซา อาร์. สโนว์ ประธานสมาคมสงเคราะห์สามัญในช่วงเวลานั้นเคยให้คำแนะนำกับเธออย่างไร: “ครั้งแรกที่ [ซิสเตอร์สโนว์] ขอให้ฉันพูดในที่ประชุม ดิฉันทำไม่ได้ และเธอก็พูดว่า ‘ไม่เป็นไร แต่เมื่อขอให้คุณพูดอีกครั้ง ลองพยายามมีอะไรจะพูดสักอย่าง’”3
เอมิลี่นำเอาคำแนะนำนี้มาปฏิบัติและแน่ใจว่าเธอพร้อมที่จะพูดในยามจำเป็น เราต้องพร้อมตลอดเวลาที่จะ “อ้าปาก [ของเรา]” และประกาศพระวจนะของพระเจ้าดังเช่นเอมิลี่ ริชาร์ด (หลักคำสอนและพันธสัญญา 60:2)