สตรียุคแรกของการฟื้นฟู
ผจญเพลิงทางการเมืองของวอชิงตัน ดี.ซี.
เอ็มเมอลีน บี. เวลส์และซีนา ยังก์ วิลเลียมส์ได้รับพรด้วยความเชื่อมั่นขณะทั้งคู่ปราศรัยถึงปัญหาที่ไม่ได้รับความนิยมกับผู้นำรัฐบาล
สตรีสองคนผู้ลงจากรถไฟในเมืองหลวงของสหรัฐที่วอชิงตันดี. ซี. รู้สึกเหนื่อยล้าแต่มุ่งมั่น หลังจากเดินทางมาห้าวันจากซอล์ทเลคซิตี้ เอ็มเมอลีน บี. เวลส์และซีนา ยังก์ วิลเลียมส์หวังว่าจะสร้างความคืบหน้าในอุดมการณ์ของสมาชิกศาสนจักร แต่ทั้งสองรู้ดีว่าพวกเธอต้องเผชิญกับการต่อต้าน
ในเดือนมกราคมปี 1879 พวกเธอเข้าร่วมการประชุมระดับชาติเกี่ยวกับสิทธิสตรีที่จะลงคะแนนเสียงเลือกตั้งและยื่นคำร้องต่อสภาคองเกรสของสหรัฐ โดยขอให้สมาชิกสภายกเลิกกฎหมายที่รุนแรงต่อศาสนจักร
“ฉันอยากจะทำทุกอย่างที่ทำได้เพื่อช่วยยกระดับสภาวะผู้คนของฉัน โดยเฉพาะสตรี” เอ็มเมอลีนเขียนไว้ในบันทึกประจำวันของเธอ1 ตั้งแต่ปี 1877 ถึง 1914 เธอเป็นบรรณาธิการสำนักพิมพ์สตรีแห่งศาสนจักรที่เรียกว่า Woman’s Exponent ซึ่งเธอเป็นผู้สนับสนุนผลงานในครอบครัวและชุมชน
ผู้นำด้านสิทธิในการลงคะแนนเสียงระดับชาติ อลิซาเบ็ธ เคดี้ สแตนตัน และซูซาน บี. แอนโธนี “ให้การต้อนรับอย่างอบอุ่น” แก่สตรีสองคนจากยูทาห์2 พวกเธอช่วยเหลืออย่างเต็มที่ด้วยการมอบหมายให้ทั้งสองเป็นสมาชิกคณะกรรมการ และนำข่าวสารส่งต่อไปยังรัทเทอร์ฟอร์ด บี. เฮส์ ประธานาธิบดีสหรัฐ3
เอ็มเมอลีนกล่าวกับเขาอย่างมั่นใจ ด้วยการรายงานว่า “หลังจากเราได้ให้ข้อเท็จจริงบางอย่างกับเขาเกี่ยวกับสภาวะของคนกลุ่มนี้แล้ว และสิ่งที่น่าจะเป็นผลตามมาจากมาตรการที่รุนแรงและร้ายแรง เขาบอกว่าเขาไม่เคยพิจารณาเรื่องนี้ในมุมมองที่เรานำเสนอมาก่อน” ประธานาธิบดีเฮส์เชิญลูซี่ภรรยาของเขามาฟังข้อร้องเรียนของทั้งสองด้วย “ความเห็นใจอย่างสตรีของเธอนั้นถูกปลุกเร้าขึ้นมาอย่างเห็นได้ชัด”4
ตลอดสองสัปดาห์ต่อมา เอ็มเมอลีนและซีนานำข่าวสารไปแจ้งแก่สมาชิกสภานิติบัญญัติที่ทรงอำนาจแทนศาสนจักร เอ็มเมอลีนจำได้ว่าพวกเธอ “มักพบกับผู้คนที่แสดงให้เห็นถึงความสนใจอย่างยิ่ง” ในข่าวสารของพวกเขา5
แม้ว่าพวกเธอจะไม่ประสบความสำเร็จในการเปลี่ยนแปลงความคิดเห็นของสาธารณชน แต่ก็เป็นเวลาอีก 17 ปีที่เอ็มเมอลีนและพี่น้องสตรีจากสมาคมสงเคราะห์แสดงออกถึงสิทธิสตรีและสมาชิกศาสนจักร ด้วยความสุขยิ่งในปี 1896 ยูทาห์กลายเป็นรัฐและมีการฟื้นฟูสิทธิทางศาสนาและสิทธิพลเมืองจำนวนมาก