เซมินารี
การได้มาซึ่งความรู้ทางวิญญาณ ภาค 2: “พินิจแนวคิดและคำถามด้วยมุมมองนิรันดร์”


“การได้มาซึ่งความรู้ทางวิญญาณ ภาค 2: ‘พินิจแนวคิดและคำถามด้วยมุมมองนิรันดร์’” พระคัมภีร์มอรมอน คู่มือครู (2024)

“การได้มาซึ่งความรู้ทางวิญญาณ ภาค 2” พระคัมภีร์มอรมอน คู่มือครู

หน้าคำนำพระคัมภีร์มอรมอน

การได้มาซึ่งความรู้ทางวิญญาณ ภาค 2

พินิจแนวคิดและคำถามด้วยมุมมองนิรันดร์

นักเรียนกำลังพูดกัน

หนึ่งในจุดประสงค์ของผู้เชี่ยวชาญหลักคำสอนคือ ช่วยให้ท่านเรียนรู้และใช้หลักธรรมของการได้มาซึ่งความรู้ทางวิญญาณ เพื่อเป็นเช่นพระเยซูคริสต์มากขึ้น บทเรียนนี้จะช่วยให้นักเรียนพินิจแนวคิดและคำถามด้วยมุมมองนิรันดร์ และมองอย่างที่พระผู้ช่วยให้รอดทรงมองได้มากขึ้น

เข้าใจบทบาทของท่านในผู้เชี่ยวชาญหลักคำสอนในการปราศรัยต่อครูในเซมินารีและสถาบัน ประธานเอ็ม. รัสเซลล์ บัลลาร์ด แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองสอนว่า “โครงการนี้ได้รับการดลใจและเหมาะกับยุคสมัย และจะเป็นอิทธิพลที่ดีเยี่ยมต่อเยาวชนของเรา อย่างไรก็ตาม ความสำเร็จของผู้เชี่ยวชาญหลักคำสอนและโปรแกรมการศึกษาอื่นๆ ทั้งหมดใน [เซมินารีและสถาบันศาสนา] นั้นจะขึ้นอยู่กับท่านเป็นสำคัญ” (“โอกาสและความรับผิดชอบของครูซีอีเอสในศตวรรษที่ 21” [ยามค่ำกับเจ้าหน้าที่ชั้นผู้ใหญ่, 26 ก.พ. 2016], broadcasts.ChurchofJesusChrist.org)

การเตรียมของนักเรียน: เชื้อเชิญให้นักเรียนสวดอ้อนวอนขอบพระทัยพระบิดาบนสวรรค์ที่ประทานความรู้ที่พวกเขาได้รับเกี่ยวกับแผนแห่งความรอด หรือเชิญให้นักเรียนทูลถามพระองค์ว่าจะนำความรู้ที่ได้ไปทำประโยชน์ได้อย่างไร

กิจกรรมการเรียนรู้ที่เป็นไปได้

หลักธรรมของการได้มาซึ่งความรู้ทางวิญญาณ

เมื่อต้องเผชิญกับความท้าทายในชีวิตหรือพบคำถามที่หาคำตอบไม่ได้ หลักธรรมจากการได้มาซึ่งความรู้ทางวิญญาณต่อไปนี้จะช่วยเราได้:

  1. กระทำด้วยศรัทธา

  2. พินิจแนวคิดและคำถามด้วยมุมมองนิรันดร์

  3. แสวงหาความเข้าใจเพิ่มเติมผ่านแหล่งช่วยที่กำหนดไว้จากสวรรค์

ในบทเรียนนี้เราจะมุ่งไปที่การพินิจแนวคิดและคำถามด้วยมุมมองนิรันดร์

มุมมองที่จำกัด

ทำกิจกรรมที่คล้ายกันต่อไปนี้ เพื่อช่วยให้นักเรียนสนทนาถึงมุมมองและบริบทว่ามีความสำคัญต่อความเข้าใจอย่างไร:

เชิญอาสาสมัครสองคนออกมาหน้าชั้นเรียน ให้กระดาษคนละแผ่นที่เจาะรูเล็กๆ ตรงกลางไว้หนึ่งรู ขอให้นักเรียนใช้ตาข้างหนึ่งมองผ่านกระดาษ แล้วถามว่ามองเห็นหรือเปล่า จากนั้นท้าให้ลองรับและโยนวัตถุที่อ่อนนุ่มขณะมองผ่านกระดาษเท่านั้น ถ้าเขาทำได้ลำบาก ให้ถามนักเรียนว่าทำไมถึงจับได้ยากนักในเมื่อพวกเขายืนยันแล้วว่ามองเห็นได้

  • สิ่งนี้เหมือนกับการตัดสินใจที่พลิกชีวิตหรือการตอบคำถามสำคัญด้วยความเข้าใจที่จำกัดในแผนแห่งความรอดอย่างไร?

การมีมุมมองครบถ้วนจะเป็นประโยชน์เมื่อปฏิสัมพันธ์กับโลกรอบตัวเรา ในทำนองเดียวกัน มุมมองนิรันดร์จะช่วยเราเมื่อได้ความรู้ทางวิญญาณ

ท่านอาจทำเครื่องหมายประโยคต่อไปนี้จากย่อหน้าที่ 8 ในหมวด “การได้มาซึ่งความรู้ทางวิญญาณ” ของเอกสารหลักผู้เชี่ยวชาญหลักคำสอน (2022): เพื่อพินิจแนวคิดหลักคำสอน คำถาม และประเด็นปัญหาทางสังคมด้วยมุมมองนิรันดร์ เราจะพิจารณาจากบริบทของแผนแห่งความรอดและคำสอนของพระผู้ช่วยให้รอด

ให้นักเรียนสรุปสิ่งที่ทราบแล้วเกี่ยวกับหลักธรรมของการได้มาซึ่งความรู้ทางวิญญาณก่อนที่จะอ่านย่อหน้าต่อไปนี้

ศึกษาย่อหน้าที่ 8–10 เพื่อหาสิ่งที่ช่วยท่านพินิจแนวคิดและคำถามด้วยมุมมองนิรันดร์

เชื้อเชิญให้นักเรียนทำเครื่องหมายคำบางคำหรือบางวลีแล้วรายงานสิ่งที่พบ ตั้งคำถามติดตามผลเพื่อช่วยให้นักเรียนเข้าใจว่าพระบิดาบนสวรรค์และพระเยซูคริสต์ทรงมองสิ่งต่างๆ ด้วยมุมมองนิรันดร์ การเรียนรู้ที่จะทำสิ่งนี้ในชีวิตช่วยให้เราเป็นเหมือนพระองค์มากขึ้น คำถามต่อไปนี้อาจช่วยได้

  • ท่านคิดว่าพระผู้ช่วยให้รอดอาจมองปัญหาและคำถามต่างจากหลายๆ คนบนแผ่นดินโลกอย่างไร?

  • การพินิจแนวคิดและคำถามในบริบทของแผนแห่งความรอดจะช่วยให้เราเห็นสิ่งต่างๆ เฉกเช่นพระบิดาบนสวรรค์และพระเยซูคริสต์เพิ่มขึ้นอย่างไร? (ดู โมไซยาห์ 4:9)

  • ทำไมสิ่งนี้จึงอาจเป็นทักษะสำคัญที่ท่านควรเรียนรู้ ฝึกฝน และนำไปใช้ในชีวิต?

ตัวอย่างจากพระคัมภีร์

แอลมาผู้บุตรแสดงให้เราเห็นวิธีมองสิ่งต่างๆ ด้วยมุมมองนิรันดร์ ขณะตอบคำถามยากๆ ที่โคริแอนทอนผู้เป็นบุตรชายประสบ

อ่านแอลมา 40:1; 42:1 เพื่อมองหาข้อกังวลสองเรื่องที่โคริแอนทอนมี ท่านอาจเรียบเรียงข้อกังวลของเขาด้วยคำพูดของท่านเอง

อ่านหัวบทของ แอลมา 40; 4142 เพื่อดูบทสรุปว่าแอลมาสอนโคริแอนทอนอย่างไรเมื่อเขาแก้ไขข้อกังวลของเขา มองหาองค์ประกอบของแผนแห่งความรอดที่แอลมาสอน

  • ท่านเห็นองค์ประกอบใดของแผนนั้น?

  • วิธีนี้อาจช่วยให้โคริแอนทอนเห็นข้อกังวลจากมุมมองนิรันดร์ได้อย่างไร?

วางกรอบใหม่

ผู้หญิงทำนิ้วมือเป็นกรอบรูป

ใช้นิ้วชี้และนิ้วหัวแม่มือทำเป็นกรอบรูป เลือกอะไรก็ได้ในห้องเป็นสิ่งหลักของภาพ

  • ท่านเลือกแสดงอะไรในกรอบ? เพราะเหตุใด?

  • ท่านไม่ให้อะไรอยู่ในรูป? เพราะเหตุใด?

คำถามมีบริบทหรือกรอบเช่นเดียวกันกับรูปภาพ กรอบจะแสดงถึงความเชื่อและสมมติฐานของบุคคล ซึ่งจะนำไปสู่มุมมองบางอย่างที่มีต่อคำถาม ความเชื่อและสมมติฐานเหล่านั้นอาจเกิดจากความเข้าใจผิดหรือบางสิ่งที่ไม่เป็นจริง ในกรณีดังกล่าว การวางกรอบใหม่จะช่วยได้ การวางกรอบใหม่จะเกิดขึ้นเมื่อเราพินิจความเชื่อหรือสมมติฐานในบริบทของแผนแห่งความรอดและคำสอนของพระผู้ช่วยให้รอด

ประธานดัลลิน เอช. โอ๊คส์ แห่งฝ่ายประธานสูงสุดสอนว่า

เนื่องจากความรู้ของเราเรื่องแผนดังกล่าวและความจริงอื่นที่พระผู้เป็นเจ้าทรงเปิดเผย เราจึงเริ่มด้วยสมมุติฐานต่างจากคนที่ไม่มีความรู้เหมือนเรา ด้วยเหตุนี้เราจึงมีข้อสรุปต่างออกไปในเรื่องสำคัญมากมายที่คนอื่นตัดสินตามความเห็นของพวกเขาเกี่ยวกับชีวิตมรรตัยเท่านั้น (ดัลลิน เอช. โอ๊คส์, “As He Thinketh in His Heart” [ยามค่ำกับเจ้าหน้าที่ชั้นผู้ใหญ่, 8 ก.พ. 2013], broadcasts.ChurchofJesusChrist.org)

ลองนึกภาพตามว่าแอดรีย์เพื่อนของท่านถามว่า “ถ้ามีพระผู้เป็นเจ้าที่ทรงรักเราจริง ทำไมพระองค์จึงยอมให้ผู้คนต้องทนทุกข์ทรมาน?”

เพื่อวางกรอบคำถามของแอดรีย์ใหม่ ให้ระบุสมมติฐานหรือความเชื่อที่อาจนำเธอให้ถามคำถามนี้ก่อน

2:56

ตัวอย่างเช่น บางทีเธออาจเชื่อว่าการทนทุกข์ทรมานไม่มีคุณค่า ระบุอีกสองสามข้อ

  • ช่วยนักเรียนระบุสมมติฐานหรือความเชื่อที่เป็นไปได้อื่นๆ เช่น “พระผู้เป็นเจ้าควรยุติความทุกข์ทรมานทั้งมวล” “พระผู้เป็นเจ้าไม่สนพระทัย” หรือ “พระผู้เป็นเจ้าไม่มีจริง”

    2:56
  •  

    2:56

ท่านอาจนำคำถามด้านล่างมาใช้เพื่อช่วยให้ทราบว่านักเรียนเข้าใจทักษะการวางกรอบใหม่ได้ดีเพียงใด

  • ทำไมท่านจึงคิดว่าการนึกถึงความเชื่อหรือสมมุติฐานที่อาจมีมีอิทธิพลต่อการตั้งคำถามเกี่ยวกับพระเจ้าของแอดรีย์จะเป็นประโยชน์?

  • บริบทของสิ่งที่เรารู้เกี่ยวกับพระบิดาบนสวรรค์และแผนของพระองค์จะช่วยให้เรามองเห็นคำถามแตกต่างกันไปอย่างไร?

  • ท่านรู้สึกอย่างไรเกี่ยวกับความสามารถในการไขข้อสงสัยที่ตอบได้ยากโดยการวางกรอบใหม่? ท่านมีคำถามหรือข้อกังวลอะไรเกี่ยวกับเรื่องนี้บ้าง ถ้ามี?

ท่านอาจให้เวลานักเรียนฝึกทักษะการวางกรอบใหม่กับคำถามหรือข้อกังวลของตนเอง ดูส่วน “กิจกรรมการเรียนรู้เพิ่มเติม” เพื่อดูแนวคิดเกี่ยวกับวิธีที่ทำเช่นนี้ได้

ท่านอาจแบ่งปันประสบการณ์ส่วนตัวเกี่ยวกับการมองปัญหาหรือข้อกังวลด้วยมุมมองนิรันดร์

มีโอกาสมากมายที่ท่านจะได้ฝึกวางกรอบใหม่ในเซมินารีและในชีวิตจริง ขณะที่ท่านแสวงหาความช่วยเหลือจากพระวิญญาณบริสุทธิ์และทำความเข้าใจเกี่ยวกับแผนแห่งความรอดและหลักคำสอนของพระคริสต์ให้ลึกซึ้งขึ้น ความสามารถของท่านในการพินิจแนวคิดและคำถามด้วยมุมมองนิรันดร์จะเพิ่มขึ้น ซึ่งจะสร้างความเชื่อมั่นในการแบ่งปันสิ่งที่ท่านรู้ และช่วยเหลือผู้อื่นที่มีคำถามยากๆ และข้อกังวล