เซมินารี
1 นีไฟ 17–18: “ข้าพเจ้าวางใจพระผู้เป็นเจ้าของข้าพเจ้า”


“1 นีไฟ 17–18: ‘ข้าพเจ้าวางใจพระผู้เป็นเจ้าของข้าพเจ้า’” พระคัมภีร์มอรมอน คู่มือครู (2024)

“1 นีไฟ 17–18: ‘ข้าพเจ้าวางใจพระผู้เป็นเจ้าของข้าพเจ้า’” พระคัมภีร์มอรมอน คู่มือครู

1 นีไฟ 17–18

“ข้าพเจ้าวางใจพระผู้เป็นเจ้าของข้าพเจ้า”

หญิงสาวถูกกลั่นแกล้ง

ในชีวิตเราทุกคนจะมีบททดสอบและความทุกข์ บางส่วนจะเป็นผลมาจากการกระทำผิดของเราเอง หรือเป็นเพียงการใช้ชีวิตในโลกที่ตกและไม่สมบูรณ์ บททดสอบและความทุกข์บางอย่างจะเกิดขึ้นเมื่อคนรอบข้างใช้สิทธิ์เสรีในทางที่ผิด ดังที่นีไฟประสบมาตลอดการเดินทางไปยังแผ่นดินที่สัญญาไว้ พระเยซูคริสต์ประทานความเข้มแข็งและการเยียวยาแก่ผู้ที่แสวงหาพระองค์ ไม่ว่าที่มาของความทุกข์นั้นคืออะไร บทเรียนนี้จะช่วยให้ท่านรู้สึกรักและสำนึกคุณในพระเจ้า ไม่ว่าท่านจะกำลังเผชิญสภาวการณ์แบบใดอยู่

เข้าใจความต้องการเรียนรู้ของนักเรียนพยายามเข้าใจความต้องการเรียนรู้ของแต่ละคนในชั้นเรียน ซึ่งจะช่วยให้ท่านมอบประสบการณ์การเรียนรู้ที่ตรงกับความต้องการ และช่วยให้แต่ละคนเรียนรู้ได้หลากหลายวิธี ทั้งนี้ อาจรวมถึงการใช้โสตทัศนูปกรณ์ งานกลุ่ม หรือการศึกษาส่วนตัว ใส่ใจนักเรียนที่มีปัญหาในการเรียนรู้เป็นพิเศษ

การเตรียมของนักเรียน: เชื้อเชิญให้นักเรียนมาแบ่งปันประสบการณ์ที่เคยมี ซึ่งช่วยให้พวกเขารู้สึกรักและสำนึกคุณในพระผู้เป็นเจ้ามากขึ้น

กิจกรรมการเรียนรู้ที่เป็นไปได้

ท่านจะมีปฏิกิริยาอย่างไร?

ท่านเคยสังเกตเห็นปฏิกิริยาต่างๆ ที่ผู้คนมีต่อสถานการณ์ที่คล้ายกันหรือไม่? อ่านสถานการณ์ต่อไปนี้และคิดเกี่ยวกับการตอบสนองแบบต่างๆ ที่ผู้คนอาจมีต่อสถานการณ์ได้

ใช้สิ่งต่อไปนี้หรือคิดสถานการณ์อื่นๆ เพื่อช่วยให้นักเรียนพูดคุยเกี่ยวกับวิธีต่างๆ ในการตอบสนองต่อความยากลำบากหรือบททดสอบ

กิลเลอร์โมไปหาจักษุแพทย์เพราะสายตาของเขาพร่ามัว หมอบอกว่าเขามีความผิดปกติที่หายาก ซึ่งจะทำให้เขาตาบอดสนิทภายในหนึ่งปี

น้องชายของเลย์ล่าโกรธและผลักเธอจนทำให้เธอบาดเจ็บที่ข้อเท้า เธอควรจะได้ลงแข่งชิงชนะเลิศกับทีม แต่ตอนนี้เธอวิ่งไม่ได้

  • วิธีต่างๆ ที่ผู้คนอาจตอบสนองต่อสถานการณ์ที่ยากลำบากมีอะไรบ้าง?

  • ท่านคิดว่ามีเหตุผลอะไรบ้างที่ทำให้ผู้คนตอบสนองในเชิงบวกหรือเชิงลบต่อบททดสอบที่พวกเขาได้รับ?

มุมมองของนีไฟ

ขณะศึกษาพระคัมภีร์มอรมอน ท่านอาจสังเกตเห็นความแตกต่างระหว่างการกระทำและเจตคติของนีไฟเมื่อเทียบกับของเลมันและเลมิวเอล แม้ว่าพวกเขาได้รับความทุกข์ทรมานหลายอย่างเหมือนกัน ให้ความสนใจกับความแตกต่างนี้ขณะศึกษาข้อต่อไปนี้

สำหรับกิจกรรมการศึกษาต่อไปนี้ นักเรียนอาจอ่านการเปรียบเทียบครั้งแรกกับคู่ จากนั้นเปลี่ยนคู่กันในกลุ่มของข้ออื่นๆ ในทำนองเดียวกัน นักเรียนอาจพูดคุยเกี่ยวกับคำถามต่อไปนี้แบบเป็นคู่ เป็นกลุ่มเล็กๆ หรือในชั้นเรียน ก่อนที่จะศึกษาเหตุการณ์ใน 1 นีไฟ 18

การเดินทางไปในแดนทุรกันดาร:เปรียบเทียบเรื่องราวของนีไฟใน 1 นีไฟ 17:1–3 เพื่อดูว่าเลมันกับเลมิวเอลพูดว่าอย่างไรใน 1 นีไฟ 17:20–22

การต่อเรือ:เปรียบเทียบการตอบสนองของนีไฟใน 1 นีไฟ 17:8–9, 15 เพื่อดูปฏิกิริยาของเลมันกับเลมิวเอลใน 1 นีไฟ 17:17–18

ตัดสินใจว่าจะให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการสนทนาเกี่ยวกับสิ่งที่อ่านอย่างไรดี คำถามต่อไปนี้อาจช่วยในการสนทนานี้

  • ท่านมีความคิดหรือความประทับใจอย่างไร เมื่อเปรียบเทียบคำพูดและการกระทำของนีไฟกับของเลมันและเลมิวเอล?

  • ท่านสังเกตเห็นอะไรบ้างเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของแต่ละบุคคลกับพระผู้เป็นเจ้า?

เราทุกคนต่างมีช่วงเวลาที่ตอบสนองต่อสถานการณ์ที่ยากลำบากทั้งดีและไม่ดี ลองคิดดูว่าท่านมักจะทำตัวเหมือนนีไฟ หรือเหมือนเลมันกับเลมิวเอลมากกว่ากันเมื่อเผชิญกับสถานการณ์ที่ยากลำบาก ขณะศึกษาต่อ ให้มองหาคำสอนที่จะช่วยให้ท่านตอบสนองในเชิงบวกมากขึ้น เมื่อต้องเผชิญกับความยากลำบากหรือการทดลอง

ลีไฮและครอบครัวล่องเรือไปยังแผ่นดินที่สัญญาไว้

หลังจากนีไฟและบรรดาพี่น้องต่อเรือเสร็จ พระเจ้าทรงบัญชาให้ลีไฮและครอบครัวเริ่มเดินทางไปยังแผ่นดินที่สัญญาไว้ (ดู 1 นีไฟ 18:1–8)

อ่าน 1 นีไฟ 18:9–21 มองหาความยากลำบากที่ประสบระหว่างการเดินทางนี้ ขณะศึกษา ให้เปรียบเทียบการกระทำและเจตคติของนีไฟกับของเลมันและเลมิวเอล หรืออาจรับชมวิดีโอ “ครอบครัวของลีไฮล่องเรือไปยังแผ่นดินที่สัญญาไว้” ตั้งแต่รหัสเวลา 3:13 ถึง 11:31 ที่ ChurchofJesusChrist.org

12:53
  • เรื่องราวนี้มีอะไรที่สะดุดตาท่านบ้าง?

  • สังเกตสิ่งที่นีไฟบันทึกใน 16 ถ้าท่านมีโอกาสตั้งคำถามเกี่ยวกับการกระทำของนีไฟตามข้อนี้ ท่านจะถามว่าอย่างไร?

  • ท่านคิดว่านีไฟจะตอบว่าอย่างไร?

เอ็ลเดอร์เดล จี. เรนลันด์ แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองแบ่งปันเหตุผลหนึ่งที่นีไฟสามารถตอบสนองต่อความยากลำบากอย่างที่เขาทำ

13:39

เพราะความห่างเหินจากพระผู้ช่วยให้รอด เลมันกับเลมิวเอลพร่ำบ่น ขัดแย้งและไร้ซึ่งศรัทธา พวกเขารู้สึกว่าชีวิตอยุติธรรมและพวกเขามีสิทธิ์โดยชอบธรรมที่จะได้รับพระคุณของพระผู้เป็นเจ้า ตรงกันข้ามเพราะเขาเข้าใกล้พระผู้เป็นเจ้า นีไฟต้องยอมรับว่าชีวิตน่าจะอยุติธรรมที่สุดต่อพระเยซูคริสต์ แม้ทรงเป็นผู้บริสุทธิ์อย่างแท้จริง แต่พระผู้ช่วยให้รอดต้องทนทุกข์มากที่สุด

ยิ่งเราใกล้ชิดพระเยซูคริสต์ในความคิดและเจตนารมณ์แห่งใจมากเท่าใด เรายิ่งซาบซึ้งในการทนทุกข์ที่ไร้ความผิดของพระองค์ ยิ่งสำนึกในพระคุณและการให้อภัย และยิ่งต้องการกลับใจและเป็นเหมือนพระองค์ (เดล จี. เรนลันด์, “เพื่อเราจะดึงมนุษย์ทั้งปวงมาหาเราเลียโฮนา, พฤษภาคม 2016, 40)

  • ท่านเรียนรู้ความจริงใดจากข้อความของเอ็ลเดอร์เรนลันด์ที่ช่วยท่านได้ในการทดลอง?

ท่านอาจแบ่งปันความจริงต่อไปนี้ หากนักเรียนไม่ได้ระบุสิ่งที่คล้ายกันด้วยตนเอง

ความจริงอย่างหนึ่งที่ท่านอาจระบุได้คือ เมื่อเราใกล้ชิดกับพระเยซูคริสต์ เราจะรู้สึกรักและสำนึกคุณต่อพระองค์แม้ในช่วงเวลาที่ยากลำบาก

  • ทำไมท่านจึงคิดว่าเรามีแนวโน้มที่จะรู้สึกรักและสำนึกคุณต่อพระเยซูคริสต์เมื่ออยู่ใกล้ชิดกับพระองค์มากขึ้น?

หากนักเรียนตอบคำถามก่อนหน้านี้ได้ ลองตั้งคำถามเพิ่มเติม เช่น “พระเจ้าทรงทำอะไรให้ท่านที่ทำให้ท่านสำนึกคุณต่อพระองค์?” หรือ “เมื่อใดที่ท่านรู้สึกสำนึกคุณต่อพระผู้ช่วยให้รอดเป็นพิเศษ?”

ท่านอาจให้ดูคำถามต่อไปนี้ และให้นักเรียนเขียนคำตอบอย่างน้อยหนึ่งข้อลงในสมุดบันทึกการศึกษา จากนั้นเชิญอาสาสมัครมาร่วมแสดงความคิดเห็น

  • ท่านจะรู้ว่าอยู่ห่างจากพระเจ้าได้อย่างไร? ท่านจะทำอะไรได้บ้างเพื่อลดระยะห่างนั้น?

  • มีอะไรบ้างที่ช่วยให้ท่านเข้าใกล้พระเยซูคริสต์มากขึ้น?

ท่านอาจให้เวลานักเรียนไตร่ตรองและสวดอ้อนวอนในใจว่าพวกเขารู้สึกใกล้ชิดกับพระบิดาบนสวรรค์และพระเยซูคริสต์เพียงใด แล้วบันทึกความคิดหรือความประทับใจที่มีระหว่างบทเรียนนี้ในสมุดบันทึกการศึกษา ย่อหน้าต่อไปนี้เป็นวิธีหนึ่งที่ท่านอาจทำได้