“ประเมินผลการเรียนรู้ของท่าน 4: อีนัส–โมไซยาห์ 17,” พระคัมภีร์มอรมอน คู่มือครู (2024)
“ประเมินผลการเรียนรู้ของท่าน 4,” พระคัมภีร์มอรมอน คู่มือครู
ประเมินผลการเรียนรู้ของท่าน 4
บทเรียนนี้มีเจตนาจะช่วยให้ท่านประเมินเป้าหมายที่ตั้งไว้ รวมถึงประสบการณ์การเติบโตที่ได้รับระหว่างศึกษาพระคัมภีร์มอรมอน
กิจกรรมการเรียนรู้ที่อาจทำได้
“ประเมิน … และพยายามต่อไป”
การใช้เวลาใคร่ครวญและประเมินเป็นครั้งคราวว่าเราทำได้ดีมากน้อยเพียงใดเป็นสิ่งสำคัญ เอ็ลเดอร์เดล จี. เรนลันด์ แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองกล่าวว่า:
ข้าพเจ้าขอเชื้อเชิญให้เราทุกคนประเมินชีวิตของเรา กลับใจ และพยายามต่อไป เมื่อเราเปลี่ยน เราจะพบว่าพระผู้เป็นเจ้าทรงห่วงใยเราอย่างแท้จริงว่าเราเป็นใครและเรากำลังจะเป็นใครมากยิ่งกว่าที่เราเคยเป็นใคร (เดล จี. เรนลันด์, “วิสุทธิชนยุคสุดท้ายพยายามต่อไป,” เลียโฮนา, พ.ค. 2015, 58)
-
ท่านรู้สึกว่าท่านกำลังเติบโตหรือเปลี่ยนแปลงไปในด้านใดเพราะสิ่งที่ท่านกำลังเรียนรู้จากพระคัมภีร์มอรมอน?
-
ท่านทำให้เป้าหมายที่ตั้งไว้ก้าวหน้าไปอย่างไร?
-
ท่านต้องการทำอะไรต่อหรือการเลือกมุ่งเน้นด้านอื่นจะเป็นประโยชน์หรือไม่?
กิจกรรมต่อไปนี้จะช่วยท่านประเมินความเข้าใจ ความรู้ และความก้าวหน้าที่ท่านพยายามทำอยู่ อัญเชิญพระวิญญาณบริสุทธิ์เพื่อช่วยให้ท่านตระหนักถึงความพยายามและรู้สึกถึงความรักของพระบิดาบนสวรรค์
อธิบายบทบาทของศาสดาพยากรณ์
เมื่อท่านศึกษาเกี่ยวกับศาสดาพยากรณ์อบินาไดใน โมไซยาห์ 11–17 ท่านอาจตระหนักได้ว่าแอลมาเชื่อว่าเขาเป็นศาสดาพยากรณ์และทำตามคำสอนขณะที่กษัตริย์โนอาห์และปุโรหิตคนอื่นๆ ปฏิเสธอย่างตรงไปตรงมา ท่านอาจสังเกตเห็นในยุคสมัยของเราว่าบางคนยอมรับศาสดาพยากรณ์ขณะที่คนอื่นๆ ปฏิเสธ
ใช้แหล่งช่วยต่อไปนี้หรือแหล่งช่วยอื่นๆ ที่ท่านค้นพบเพื่อเตรียมคำตอบสั้นๆ ที่จะช่วยให้คนอื่นเข้าใจว่าศาสดาพยากรณ์คืออะไรและเหตุใดจึงจำเป็นต้องมีศาสดาพยากรณ์ในปัจจุบัน ระบุพระคัมภีร์อย่างน้อยหนึ่งข้อเพื่อสนับสนุนคำตอบ
แหล่งช่วยพระคัมภีร์ที่อาจเป็นประโยชน์ ได้แก่
-
. topics.ChurchofJesusChrist.org.
คำถามที่ท่านอาจพิจารณาในการเตรียมคำตอบ:
-
ศาสดาพยากรณ์คืออะไร และมีหน้าที่อะไร?
-
ผู้คนอาจมีคำถามหรือความเข้าใจผิดอะไรบ้างเกี่ยวกับศาสดาพยากรณ์?
-
มีอะไรอีกบ้างที่ท่านอาจแบ่งปันเพื่อช่วยให้ผู้อื่นเข้าใจเหตุผลที่พระผู้เป็นเจ้าทรงเรียกศาสดาพยากรณ์ในปัจจุบัน?
ช่วยรวบรวมอิสราเอลและรับใช้ผู้อื่น
หนึ่งในความจริงที่พระผู้เป็นเจ้าทรงเปิดเผยผ่านศาสดาพยากรณ์ของพระองค์ได้แก่งานและรัศมีภาพของพระองค์คือช่วยให้บุตรธิดาของพระองค์รับชีวิตนิรันดร์ (ดู โมเสส 1:39) ในพระคัมภีร์มอรมอน กษัตริย์เบ็นจามินทรงชี้ให้เห็นว่าการรับใช้ผู้อื่นเป็นวิธีหนึ่งที่เราจะช่วยบรรลุงานของพระผู้เป็นเจ้า (ดู โมไซยาห์ 2:17) เมื่อเร็วๆ นี้ ประธานบอนนี่ เอช. คอร์ดอน ประธานเยาวชนหญิงสามัญสอนว่า
จุดประสงค์นิรันดร์ของเราคือการมาหาพระคริสต์และร่วมงานอันยิ่งใหญ่กับพระองค์อย่างแข็งขัน ซึ่งเรียบง่ายพอๆ กับการทำตามสิ่งที่ประธาน [รัสเซลล์ เอ็ม.] เนลสันสอน: “เมื่อใดก็ตามที่เราทำสิ่งที่ช่วยคนอื่นให้ทำและรักษาพันธสัญญากับพระผู้เป็นเจ้า เรากำลังช่วยรวบรวมอิสราเอล” และเมื่อเราทำงานของพระองค์ร่วมกับพระองค์ เราจะรู้จักและรักพระองค์ยิ่งขึ้น (บอนนี่ เอช. คอร์ดอน, “จงมาหาพระคริสต์ แต่อย่ามาคนเดียว,” เลียโฮนา, พ.ย. 2021, 11)
นึกถึงเป้าหมายหรือแผนที่ท่านอาจทำในบทเรียนก่อนหน้านี้ที่จะช่วยให้ท่านมีส่วนร่วมในงานของพระผู้เป็นเจ้าโดย:
-
ช่วยเหลือพระเจ้าในงานของพระองค์เพื่อรวบรวมอิสราเอล (ดู เจคอบ 5:71–72, 75)
-
รับใช้ผู้อื่นในวิธีที่เหมือนพระคริสต์ (ดู โมไซยาห์ 2:17)
-
ทำตามเป้าหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับพระกิตติคุณที่ท่านมีหรือต้องการเริ่มทำ
-
ท่าน (หรือเหตุใดท่านจึงต้องการ) ก้าวหน้าในด้านนี้อย่างไร? ท่านทำ (หรือจะ) ทำอะไรได้บ้างเพื่อความก้าวหน้านี้?
-
อะไรคืออุปสรรคหรือปัญหาที่ท่านได้ (หรือคาดว่าจะ) พบเจอ? ท่านพยายาม (หรือจะ) พยายามเอาชนะสิ่งเหล่านั้นอย่างไร?
-
ท่านรู้สึกถึงความรักของพระบิดาบนสวรรค์อย่างไรเมื่อทำตามเป้าหมายนี้? เหตุใดท่านจึงคิดว่าพระองค์จะพอพระทัยกับความพยายามของท่าน?
รู้สึกถึงความสุขและปีติผ่านพระเยซูคริสต์
ในการศึกษาพระคัมภีร์มอรมอน ท่านได้อ่านเรื่องราวของผู้คนมากมายที่ค้นพบความสุขและปีติผ่านพระเยซูคริสต์และพระกิตติคุณของพระองค์ ใช้เวลาสักครู่เพื่อทบทวนตัวอย่างเหล่านี้ ซึ่งมีดังนี้:
-
ลีไฮและผู้ที่มาถึงต้นไม้แห่งชีวิต (ดู 1 นีไฟ 8:10–12, 30)
-
อีนัส (ดู อีนัส 1:1–8)
-
ผู้คนของกษัตริย์เบ็นจามินที่ชื่นชมยินดีเพราะสิ่งที่พวกเขาเรียนรู้เกี่ยวกับพระเยซูคริสต์และพระกิตติคุณของพระองค์ (ดู โมไซยาห์ 2:41; 4:3; 5:1–5)
คิดดูว่าท่านอาจอธิบายหรือแสดงให้เห็นถึงความสุขที่มีผ่านพระกิตติคุณของพระเยซูคริสต์อย่างไร
เขียนคำว่า ปีติและความสุขผ่านพระเยซูคริสต์ กลางหน้ากระดาษเปล่าในสมุดบันทึกการศึกษาหรือกระดาษอีกแผ่นหนึ่ง ขีดวงกลมรอบคำดังกล่าว ทีนี้ให้เริ่มใส่แนวคิดต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับคำนี้ ในการเริ่มต้น ท่านอาจพิจารณาว่าจะตอบคำถามต่อไปนี้อย่างไร
-
ท่านรู้สึกว่าพระกิตติคุณของพระเยซูคริสต์มีส่วนทำให้ชีวิตท่านมีปีติหรือไม่? เหตุใดจึงรู้สึกหรือไม่รู้สึกเช่นนั้น?
-
สิ่งใดที่ท่านได้เรียนรู้ในพระคัมภีร์มอรมอนที่ช่วยให้ท่านรู้สึกมีความสุขมากขึ้น?
-
ท่านรู้สึกว่าความสัมพันธ์ของท่านกับพระบิดาบนสวรรค์และพระเยซูคริสต์ดีขึ้นเพราะการศึกษาพระคัมภีร์หรือไม่? เหตุใดจึงรู้สึกหรือไม่รู้สึกเช่นนั้น?
ขณะที่ท่านได้แนวคิดต่างๆ ให้เขียนลงบนกระดาษและวงรอบแนวคิดเหล่านั้น เชื่อมโยงแนวคิดแต่ละอย่างหรือโยงแต่ละแนวคิดไปยังวลีที่อยู่ตรงกลาง เมื่อท่านเพิ่มความคิดและแนวคิด แผนผังความคิดอาจเริ่มต้นด้วยลักษณะดังนี้:
หลังจากทำแผนผังความคิดเสร็จแล้ว ให้วางไว้ในที่ที่ท่านจะเห็นในสัปดาห์ถัดไป ท่านอาจต้องการสวดอ้อนวอนพระบิดาบนสวรรค์เพื่อทูลขอความช่วยเหลือในการค้นหาและรับรู้ถึงปีติและความสุขในพระเยซูคริสต์และพระกิตติคุณของพระองค์ยิ่งขึ้น