เซมินารี
แอลมา 1:1–18: ความชั่วร้ายของการฉ้อฉลในอำนาจปุโรหิต


“แอลมา 1:1–18: ความชั่วร้ายของการฉ้อฉลในอำนาจปุโรหิต,” พระคัมภีร์มอรมอน คู่มือครู (2024)

“แอลมา 1:1–18,” พระคัมภีร์มอรมอน คู่มือครู

แอลมา 1:1–18

ความชั่วร้ายของการฉ้อฉลในอำนาจปุโรหิต

นีฮอร์กำลังสั่งสอน

เราอยู่ในโลกที่ผู้คนส่งเสริมตนเองกับแนวคิดที่ยกย่องและหาผลประโยชน์ส่วนตัว การเชื่อในการกระทำผิดเหล่านี้ทำให้คนจำนวนมากทำบาปและปฏิเสธพระผู้ช่วยให้รอด พระเยซูคริสต์ นี่คือเรื่องจริงที่เกิดกับชาวนีไฟเช่นกัน ชายคนหนึ่งชื่อนีฮอร์สอนหลักคำสอนเท็จที่ทำให้ผู้คนสมัยนั้น และคนอื่นในหลายปีต่อมาต่างปฏิเสธพระผู้ช่วยให้รอด บทเรียนนี้จะช่วยให้ท่านแยกแยะและปฏิเสธคำสอนเท็จที่อาจทำให้ท่านออกห่างจากพระเยซูคริสต์

มุ่งความสำคัญไปที่พระเยซูคริสต์ดึงความสนใจนักเรียนไปที่พระผู้ช่วยให้รอดและพระกิตติคุณของพระองค์ ไม่ใช่ที่ตัวท่านเอง เอ็ลเดอร์พอล วี. จอห์นสันแห่งโควรัมสาวกเจ็ดสิบสังเกตว่า: “ถ้าครูของเราเป็นอิสระจากการฉ้อฉลในอำนาจปุโรหิต นักเรียนจะรักพวกเขา แต่ไม่ได้ขึ้นอยู่กับพวกเขา พวกเขาจะรักท่านและขอบคุณสำหรับสิ่งที่ท่านสอน แต่พวกเขาจะหันไปหาพระเจ้า” (พอล วี. จอห์นสัน, “The Dangers of Priestcraft,” Religious Educator 9, เล่มที่ 3 [2008]: 11)

การเตรียมของนักเรียน: ท่านอาจให้นักเรียนศึกษาโครงร่าง “พระวจนะของพระผู้เป็นเจ้าจะช่วยให้ฉันแยกแยะและปฏิเสธหลักคำสอนอันเป็นเท็จได้” ในโครงร่าง “3–9 มิถุนายน โมไซยาห์ 29–แอลมา 4: ‘พวกเขายังแน่วแน่และไม่หวั่นไหว’” ใน จงตามเรามา—สำหรับบุคคลและครอบครัว: พระคัมภีร์มอรมอน 2024

กิจกรรมการเรียนรู้ที่ทำได้

คำสอนเท็จ

ให้นักเรียนทำกิจกรรมประเมินตนเองดังต่อไปนี้เป็นการส่วนตัว แสดงข้อความหรืออ่านออกเสียง แล้วขอให้นักเรียนคิดหาคำตอบ

  • ท่านเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับข้อความต่อไปนี้มากน้อยเพียงใด? โปรดให้คะแนนตั้งแต่ 1 ถึง 5 (1 คือไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง และ 5 คือเห็นด้วยอย่างยิ่ง) เพราะเหตุใด?

ข้อมูลส่วนใหญ่ที่ฉันได้รับในแต่ละวันเป็นความจริง (ตัวอย่างเช่น ในโซเชียลมีเดีย ในโฆษณา จากผู้นำและผู้มีอิทธิพลในสังคม)

ข้อมูลที่ฉันได้รับมีอิทธิพลต่อความเชื่อของฉันในพระเยซูคริสต์

พระผู้เป็นเจ้าประทานความช่วยเหลือแก่ฉันในการแยกแยะความจริงจากสิ่งผิด

เราอยู่ในโลกที่มีข่าวสารเท็จจำนวนมากบั่นทอนศรัทธาของเราในพระเยซูคริสต์ ขณะศึกษา แอลมา 1 ให้แสวงหาการนำทางของพระวิญญาณที่จะช่วยให้ท่านแยกแยะคำสอนเท็จในโลกที่มีอยู่รอบตัวและอาจทำให้ท่านออกห่างจากพระเยซูคริสต์

ก่อนที่กษัตริย์โมไซยาห์จะสิ้นชีวิต เขาจัดตั้งรัฐบาลรูปแบบใหม่ขึ้นมา ประชาชนเลือกผู้พิพากษาที่บังคับใช้กฎหมายแทนการมีกษัตริย์ แอลมาผู้บุตรได้รับเลือกเป็นหัวหน้าผู้พิพากษาคนแรกหรือผู้ปกครอง (ดู แอลมา 2:16) เขายังเป็นมหาปุโรหิตและผู้นำศาสนจักรอีกด้วย (ดู โมไซยาห์ 29) ผู้คนเริ่มติดตามนับตั้งแต่เปลี่ยนรัฐบาล

ในปีแรกแห่งการปกครองของผู้พิพากษา คนชั่วร้ายคนหนึ่งชื่อนีฮอร์เริ่มมีอิทธิพลเหนือชาวนีไฟ เอ็ลเดอร์ดี. ท็อดด์ คริสทอฟเฟอร์สันแห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองสอนว่าทำไมเรื่องราวของนีฮอร์จึงมีอยู่ในพระคัมภีร์มอรมอน

พระคัมภีร์มอรมอนมีเรื่องราวของชายผู้หนึ่งชื่อนีฮอร์ เป็นเรื่องเข้าใจได้ง่ายว่าเหตุใดมอรมอนจึงคิดว่าสำคัญที่จะรวมเรื่องบางอย่างเกี่ยวกับชายผู้นี้และอิทธิพลยั่งยืนจากหลักคำสอนของเขาไว้ในการย่อบันทึกหลายพันปีของชาวนีไฟ มอรมอนพยายามเตือนเรา เพราะรู้ว่าปรัชญาดังกล่าวจะเป็นที่รู้อีกครั้งในยุคปัจจุบัน (ดี. ทอดด์ คริสทอฟเฟอร์สัน, “ของประทานอันสูงส่งแห่งการกลับใจ,” เลียโฮนา, พ.ย. 2011, 47)

อ่าน แอลมา 1:2–6 โดยมองหาสิ่งที่นีฮอร์สอนผู้คน ทำรายการคำสอนของนีฮอร์ ติดป้ายกำกับว่า “จริง” “เท็จ” หรือ “ปนกัน”

หากต้องการช่วยให้นักเรียนมีส่วนร่วม ท่านอาจให้พวกเขาแสดงรายการและติดป้ายคำสอนของนีฮอร์บนกระดาน เชื้อเชิญให้นักเรียนหลายคนแบ่งปันความคิด

ท่านอาจสังเกตเห็นว่านีฮอร์เอาคำสอนเท็จของเขากับความจริงมาปนกัน นี่แสดงให้เห็นถึงเล่ห์เหลี่ยมที่ซาตานใช้ด้วย ขณะเปรียบเทียบนีฮอร์กับซาตาน เราเรียนรู้ว่า ซาตานใช้การโกหกปะปนกับความจริงเพื่อหลอกลวงผู้คนและทำให้พวกเขาออกห่างจากพระเยซูคริสต์

  • ท่านเห็นหลักฐานอะไรบ้างในยุคสมัยนี้?

เอ็ลเดอร์เดล จี. เรนลันด์แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองแสดงให้เห็นว่าแนวคิดที่ผิดของนีฮอร์ส่งผลกระทบต่อคนบางคนในวันนี้อย่างไร:

15:45

[คำสอนเท็จจะกันเราให้ห่างจากการกลับใจ] คือ คิดว่าบาปของเราไม่สำคัญเพราะไม่ว่าเราจะทำอะไรพระผู้เป็นเจ้าก็ทรงรักเราอยู่ดี เป็นการล่อลวงเมื่อเราเชื่อสิ่งที่นีฮอร์ผู้หลอกลวงสอนชาวเซราเฮ็มลา “ว่ามนุษยชาติทั้งปวงจะได้รับการช่วยให้รอดในวันสุดท้าย, และว่าคนทั้งหลายไม่ต้องเกรงกลัวหรือตัวสั่น, … และในที่สุดมนุษย์ทั้งปวงจะมีชีวิตนิรันดร์” [แอลมา 1:4] แต่แนวคิดที่ลวงล่อนี้ผิด พระผู้เป็นเจ้าทรงรักเราจริง แต่สิ่งที่เราทำมีความสำคัญต่อพระองค์และต่อตนเอง พระองค์ประทานคำชี้แนะที่ชัดเจนว่าเราควรประพฤติอย่างไร เราเรียกสิ่งเหล่านี้ว่าพระบัญญัติ ความเห็นชอบของพระองค์และชีวิตนิรันดร์ของเราขึ้นอยู่กับพฤติกรรมของเรา รวมถึงความเต็มใจที่เราจะแสวงหาการกลับใจที่แท้จริงด้วยความอ่อนน้อมถ่อมตน (เดล จี. เรนลันด์, “การกลับใจ: การเลือกอันน่าปีติยินดี,” เลียโฮนา, พ.ย. 2016, 123)

แยกแยะคำสอนเท็จ

กาแยกแยะคำสอนเท็จ เช่น คำสอนของนีฮอร์ บางครั้งก็อาจเป็นเรื่องยาก โชคดีที่ท่านแยกแยะคำสอนเหล่านั้นได้ มอรมอนสอนว่าหากมีข่าวสารหรือคำสอนชักชวนให้เรา “ทำชั่วและไม่เชื่อในพระคริสต์, และปฏิเสธพระองค์, และไม่รับใช้พระผู้เป็นเจ้า,” เราจะรู้ว่าข่าวสารนี้เป็นเท็จและมาจากมาร (โมโรไน 7:17)

  • คำสอนข้อใดของนีฮอร์ที่อาจทำให้คนบางคนรู้สึกว่าพวกเขาไม่ต้องการพระผู้ช่วยให้รอด?

    คำถามต่อไปนี้จะช่วยให้นักเรียนแยกแยะคำสอนเท็จได้ กระตุ้นให้นักเรียนแบ่งปันความคิดของพวกเขา

  • คำสอนเท็จอื่นๆ ในปัจจุบันที่ทำให้คนออกห่างจากพระเยซูคริสต์คืออะไร?

คำถามต่อไปนี้มีไว้ให้ทบทวนตนเอง ซึ่งไม่ได้มีไว้สำหรับการสนทนาในชั้นเรียน

นึกถึงข่าวสารที่ท่านได้ยินหรืออ่านเป็นประจำ ข่าวสารเหล่านั้นมีอิทธิพลต่อท่านอย่างไร? ข่าวสารเหล่านั้นส่งผลเสียต่อศรัทธาของท่านในพระเยซูคริสต์หรือไม่?

หากท่านกำลังบริโภคข่าวสารจากสื่อเท็จที่ส่งผลเสียต่อศรัทธาในพระเยซูคริสต์ ให้ปิดหรือลบแหล่งที่มาของข่าวสารเหล่านั้นออกจากชีวิตท่าน แทนที่ข่าวสารเท็จด้วยข่าวสารที่จะเสริมสร้างศรัทธาในพระเยซูคริสต์ ตัวอย่างเช่น นิตยสาร เพื่อความเข้มแข็งของเยาวชน และ เลียโฮนา ที่ ChurchofJesusChrist.orgมีเนื้อหาเสริมสร้างศรัทธา

อาจเป็นประโยชน์ที่จะชี้ให้เห็นว่าคำสอนของนีฮอร์มีอิทธิพลสำหรับความชั่วร้ายอย่างมีนัยสำคัญ มีผู้คนหลากหลายกลุ่มปฏิเสธพระผู้ช่วยให้รอดเพราะคำสอนของนีฮอร์ตลอดทั้งหนังสือแอลมา หากรู้สึกว่านักเรียนอาจได้ประโยชน์จากการเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องนี้ โปรดดู “ผลกระทบจากคำสอนของนีฮอร์” ในส่วนกิจกรรมเสริมการเรียนรู้

การฉ้อฉลในอำนาจปุโรหิต

ท่านอาจพูดคุยถึงความซื่อสัตย์ของกิเดียนในการปกป้องพระคริสต์ ท่านอาจเน้นไปที่ แอลมา 1:7 หรืออาจชี้ประเด็นไปที่ แอลมา 1:8 และเตือนให้นักเรียนเห็นถึงการกระทำที่ซื่อสัตย์ของกิเดียนใน โมไซยาห์ 22:3–9

วันหนึ่งนีฮอร์พบกับผู้นำศาสนจักรผู้สูงวัยชื่อกิเดียน เมื่อนีฮอร์พยายามนำผู้คนออกห่างจากศาสนจักร กิเดียน “ทัดทาน [นีฮอร์] โดยเตือนสติเขาด้วยพระวจนะของพระผู้เป็นเจ้า” (แอลมา 1:7) นีฮอร์กลับโกรธและสังหารกิเดียน จากนั้นนีฮอร์ถูกนำตัวไปอยู่ต่อหน้าแอลมาและถูกประหารชีวิตตามกฎ (ดู แอลมา 1:9–15)

อ่าน แอลมา 1:12 โดยมองหาว่าแอลมาอธิบายคำสอนของนีฮอร์ไว้อย่างไร

ท่านอาจต้องการช่วยให้นักเรียนฝึกใช้เชิงอรรถ ท่านอาจให้นักเรียนแบ่งปันวิธีต่างๆ ที่ใช้ในการเรียนรู้ว่าการฉ้อฉลในอำนาจปุโรหิตคืออะไร ถ้าไม่มีใครเสนอแนะ ให้นักเรียนเปิดดู เชิงอรรถ 12a

อ่าน แอลมา 1:16 และ 2 นีไฟ 26:29 โดยมองหาคำอธิบายถึงการฉ้อฉลในอำนาจปุโรหิต

  • ท่านเห็นว่าการสั่งสอนของนีฮอร์เป็นตัวอย่างของการฉ้อฉลในอำนาจปุโรหิตอย่างไร?

  • เหตุใดท่านจึงคิดว่าแนวคิดที่ผิดๆ เป็นที่นิยม?

  • เหตุใดท่านจึงคิดว่าการฉ้อฉลในอำนาจปุโรหิตเป็นอันตราย?

ปฏิเสธคำสอนเท็จ

เราสามารถใช้พระวจนะของพระผู้เป็นเจ้าเพื่อช่วยให้เราปฏิเสธคำสอนเท็จได้เช่นเดียวกับกิเดียน (ดู แอลมา 1:7, 9) เลือกคำสอนเท็จของนีฮอร์หรือบางเรื่องที่ท่านเคยได้ยินมาผิดๆ ในปัจจุบันอย่างน้อยหนึ่งข้อ จากนั้นหาพระคัมภีร์ที่แก้ไขข้อความผิดๆ ให้เป็นถูกได้ ตัวอย่างเช่น ท่านอาจตอบโต้คำสอนของนีฮอร์ใน แอลมา 1:3 ด้วยคำสอนของพระผู้ช่วยให้รอดใน มัทธิว 23:11

ตัวอย่างบางส่วนของพระคัมภีร์ที่นักเรียนอาจใช้ ได้แก่ มัทธิว 7:15–23; 2 นีไฟ 26:29–31; โมไซยาห์ 18:24–26; ฮีลามัน 12:25–26; และ หลักคำสอนและพันธสัญญา 1:31–32

  1. แบ่งปันคำสอนเท็จที่ท่านเลือกไว้และพระคัมภีร์ที่ท่านรู้สึกว่าจะแก้ไขให้ถูกต้องได้

  2. แสดงสิ่งที่ท่านเรียนรู้จาก แอลมา 1 เกี่ยวกับวิธีแยกแยะและปฏิเสธคำสอนเท็จ