เซมินารี
แอลมา 42, ตอน 2: “ความเมตตาอ้างสิทธิ์ในผู้สำนึกผิด”


“แอลมา 42, ตอน 2: ‘ความเมตตาอ้างสิทธิ์ในผู้สำนึกผิด’” พระคัมภีร์มอรมอน คู่มือครู (2024)

“แอลมา 42, ตอน 2” พระคัมภีร์มอรมอน คู่มือครู

แอลมา 42, ตอน 2

“ความเมตตาอ้างสิทธิ์ในผู้สำนึกผิด”

ภาพวาดพระเยซูคริสต์ทรงยื่นพระหัตถ์อันเปี่ยมด้วยเมตตา

เพื่อช่วยให้โคริแอนทอนบุตรชายของท่านกลับใจ แอลมาจึงสอนเขาเรื่องความยุติธรรมและความเมตตาของพระผู้เป็นเจ้าและ “ไม่มีผู้ใดได้รับการช่วยให้รอดนอกจากคนที่สำนึกผิดอย่างแท้จริง” (แอลมา 42:24) เมื่อเราเข้าใจแผนแห่งความเมตตาของพระบิดาบนสวรรค์ เรามักจะกลับใจ บทเรียนนี้จะช่วยให้ท่านเข้าใจว่าการชดใช้ของพระเยซูคริสต์ช่วยให้ท่านได้รับความเมตตาตามที่สัญญาไว้ในแผนของพระบิดาบนสวรรค์อย่างไร

เชิญผู้เรียนเป็นพยานถึงพระเยซูคริสต์ ใจของผู้เรียนจะเปลี่ยนเมื่อพวกเขาเปลี่ยนจากการพูดคุยธรรมดาเกี่ยวกับพระเยซูคริสต์เป็นการเป็นพยานถึงพระองค์ในฐานะพระผู้ไถ่ส่วนตัวที่พวกเขารู้จัก รัก และวางใจ มองหาวิธีที่มีประสิทธิภาพในการเชื้อเชิญให้นักเรียนแบ่งปันประจักษ์พยานเกี่ยวกับพระเยซูคริสต์กับอีกคนหนึ่ง

การเตรียมของนักเรียน: เชื้อเชิญให้นักเรียนหาตัวอย่างในพระคัมภีร์ของคนหรือกลุ่มคนที่แสดงการกลับใจอย่างแท้จริง

กิจกรรมการเรียนรู้ที่ทำได้

กฎทำให้มีการลงโทษ

สิ่งต่อไปนี้มุ่งหมายจะช่วยท่านประเมินความเข้าใจของนักเรียนในเรื่องความยุติธรรมและความเมตตาของพระผู้เป็นเจ้า เมื่อจำเป็นให้ทบทวนนิยามของความยุติธรรมและความเมตตาจากบทเรียน “แอลมา 42, ตอน 1

  • ความยุติธรรมเป็นที่พึงปรารถนาในสถานการณ์ใดบ้าง? ความเมตตาคืออะไร?

เราทุกคนได้รับพรเพราะพระบิดาบนสวรรค์ทรงเที่ยงธรรมและเมตตา เพราะแผนของพระบิดาบนสวรรค์ เราทุกคนจึงถูกนำกลับไปที่ประทับของพระผู้เป็นเจ้าเพื่อรับการพิพากษา (ดู แอลมา 42:23) ในสภาพที่เต็มไปด้วยบาป โคริแอนทอนไม่พร้อมรับการพิพากษา แอลมาหวังว่าการสอนโคริแอนทอนเกี่ยวกับแผนของพระบิดาบนสวรรค์จะนำเขาให้กลับใจและรับใช้พระผู้เป็นเจ้า ขณะศึกษา แอลมา 42 ให้ดูว่าแอลมาสอนอะไรโคริแอนทอนที่เขาจะทำได้เพื่อรับความเมตตาจากพระผู้เป็นเจ้า

นักเรียนอาจได้ประโยชน์จากการสนทนากฎต่างๆ ในสังคม สังคมได้ประโยชน์อย่างไรเมื่อรักษากฎ และเหตุใดการได้รับผลของการฝ่าฝืนกฎจึงสำคัญ นี่จะช่วยเตรียมนักเรียนให้พร้อมอ่าน แอลมา 42:17–21

เฉกเช่นกฎมีบทบาทสำคัญในสังคม กฎเป็นส่วนจำเป็นในแผนของพระบิดาบนสวรรค์เช่นกัน

อ่าน แอลมา 42:17–21 เพื่อมองหาจุดประสงค์บางประการของกฎในแผนของพระบิดาบนสวรรค์ (ดู 2 นีไฟ 2:13 ด้วย)

  • ท่านเรียนรู้อะไรเกี่ยวกับกฎในแผนของพระบิดาบนสวรรค์?

วาดตาชั่งคล้ายภาพต่อไปนี้ไว้บนกระดาน ท่านอาจจะใช้ภาพวาดช่วยให้นักเรียนเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างความยุติธรรม กฎ และความเมตตา กระตุ้นให้นักเรียนถามคำถามตลอดบทเรียน

เมื่อนักเรียนมีคำถาม อาจเป็นประโยชน์ถ้าแบ่งปันอย่างน้อยหนึ่งข้อความจากหมวด “ข้อคิดเห็นและข้อมูลภูมิหลัง

วาดตาชั่งคล้ายภาพต่อไปนี้ลงในสมุดบันทึกการศึกษาของท่าน

ภาพวาดลายเส้นตาชั่งน้ำหนัก

ติดป้ายตาชั่งว่า “ความยุติธรรม”

ตามกฎแห่งความยุติธรรม เราได้รับผลจากการกระทำของเรา เราได้รับพรเมื่อเราเชื่อฟังกฎ และได้รับการลงโทษเมื่อเราฝ่าฝืนกฎ

ติดป้ายด้านหนึ่งของตาชั่งว่า “การละเมิดกฎ” และอีกด้านหนึ่งว่า “การลงโทษที่คนบาปได้รับ”

หากเราละเมิดกฎ ตาชั่งจะไม่สมดุล ความยุติธรรมกำหนดให้ตาชั่งมีความสมดุล ต้องมีการชำระ (หรือการลงโทษ) เพื่อปรับสมดุลตาชั่ง (ดู แอลมา 42:22)

  • จะเกิดอะไรขึ้นกับเราหากตาชั่งแห่งความยุติธรรมสมดุลได้โดยการลงโทษเราเท่านั้น?

การลงโทษเพราะทำบาปคือความตายทางวิญญาณ การ “ถูกตัดขาดจากที่ประทับของพระเจ้า” (แอลมา 42:11)

ความเมตตาอ้างสิทธิ์ในคนที่กลับใจ

เพราะพระผู้เป็นเจ้าทรง “ดีพร้อม, เที่ยงธรรม, และพระผู้เป็นเจ้าที่ทรงเมตตาด้วย” (แอลมา 42:15) พระองค์จึงทรงเตรียมแผนให้เราได้รับความเมตตาเมื่อเราทำบาป

อ่าน แอลมา 42:15, 22–25 เพื่อดูว่าแผนของพระบิดาบนสวรรค์จัดเตรียมอะไรไว้ปรับสมดุลตาชั่งแห่งความยุติธรรม

ปรับป้ายของตาชั่งบนกระดานตามคำแนะนำต่อไปนี้

ขีดฆ่าหรือลบคำว่า คนบาป ออกจากตาชั่งแห่งความยุติธรรมและแทนที่ด้วย พระผู้ช่วยให้รอด

เพื่อช่วยให้นักเรียนจดจ่ออยู่กับพระเยซูคริสต์และมีการสนทนามีความหมาย ท่านอาจจะอ่านพระคัมภีร์บางข้อหรือทั้งหมดที่เขียนไว้ในวงเล็บ สนทนาว่าข้อความที่แนะนำช่วยตอบคำถามอย่างไร

  • ท่านจะอธิบายแผนภาพตาชั่งแห่งความยุติธรรมด้วยคำพูดของท่านเองว่าอย่างไร?

  • พระเยซูคริสต์ทรงทำอะไรเพื่อแสดงความเมตตา? (ดู หลักคำสอนและพันธสัญญา 19:16–19)

  • เราต้องทำอะไรเพื่อรับความเมตตาของพระผู้ช่วยให้รอด? (ดู แอลมา 12:32–34; 34:15–16)

หลักธรรมหนึ่งที่เราเรียนรู้คือ หากเราสำนึกผิดอย่างแท้จริง เราจะได้รับความเมตตาผ่านการชดใช้ของพระผู้ช่วยให้รอด

เพื่อเข้าใจความหมายของคำว่า “สำนึกผิดอย่างแท้จริง” นักเรียนจะอ่านพระคัมภีร์บางข้อที่แนะนำไว้ด้านล่าง พวกเขาจะนึกถึงการเตรียมของนักเรียนและยกตัวอย่างจากพระคัมภีร์ของคนที่สำนึกผิดอย่างแท้จริงด้วย

สำนึกผิด หมายถึงนอบน้อมถ่อมตนและแสดงความเสียใจเพราะทำบาป (ดู 2 โครินธ์ 7:10; 2 นีไฟ 2:7; โมไซยาห์ 4:10)

  • ท่านคิดว่าเหตุใดคนที่สำนึกผิดอย่างแท้จริงเท่านั้นจึงจะรอด?

สมมติว่าท่านเป็นโคริแอนทอนและยังไม่ได้กลับใจจากบาปทั้งหมดของท่าน อ่าน แอลมา 42:26–30 เพื่อมองหาคำหรือวลีที่จะจูงใจท่านให้กลับใจ

  • คำหรือวลีใดจะจูงใจท่านให้กลับใจ? เพราะเหตุใด?

หลังจากสอนโคริแอนทอนเรื่องแผนของพระบิดาบนสวรรค์ (ดู แอลมา 40–42) แอลมาย้ำเตือนโคริแอนทอนว่าเขาได้รับ “การเรียกจากพระผู้เป็นเจ้าให้สั่งสอนพระวจนะ” เพื่อ “นำจิตนำวิญญาณทั้งหลายมาสู่การกลับใจ” (แอลมา 42:31) โคริแอนทอนกลับใจจากบาปและทำการเรียกจนสำเร็จ (ดู แอลมา 49:30)

ใคร่ครวญว่าท่านจำเป็นต้องกลับใจ และคิดว่าท่านจะสำนึกผิดจริงๆ ได้อย่างไร จำไว้ว่าพระบิดาบนสวรรค์จะทรงให้อภัยเมื่อท่านกลับใจ (ดู โมไซยาห์ 26:30; อิสยาห์ 1:18)

เขียนสามหรือสี่ประโยคอธิบายบทบาทการชดใช้ของพระเยซูคริสต์ในแผนของพระบิดาบนสวรรค์ รวมถึงบทบาทของความยุติธรรมและความเมตตาและสิ่งที่เราต้องทำเพื่อได้รับความเมตตา บันทึกความรู้สึกที่ท่านต้องการแสดงออกเกี่ยวกับพระผู้ช่วยให้รอด

ท่านอาจจะเชื้อเชิญให้นักเรียนเดินรอบๆ ห้องและอธิบายบทบาทการชดใช้ของพระเยซูคริสต์ในแผนของพระบิดาบนสวรรค์ให้เพื่อนร่วมชั้นหลายๆ คนฟัง กระตุ้นให้พวกเขาสนทนาเรื่องความยุติธรรมและความเมตตา ความสำคัญของการสำนึกผิดอย่างแท้จริง และวิธีที่พระเยซูคริสต์ทรงทำให้ความเมตตาเกิดขึ้นได้

อีกทางเลือกหนึ่งคือกลับไปดูสถานการณ์สมมติที่ใช้ตอนเริ่มบทเรียน “แอลมา 42, ตอน 1” ให้นักเรียนตอบสนองสถานการณ์สมมติเหล่านั้นโดยใช้สิ่งที่พวกเขาเรียนรู้จากการศึกษา แอลมา 42

แบ่งปันประจักษ์พยานของท่านเกี่ยวกับความเมตตาและการไถ่ผ่านพระเยซูคริสต์และการชดใช้ของพระองค์