พันธสัญญาใหม่ 2023
25 กันยายน–1 ตุลาคม กาลาเทีย: “ดำเนินชีวิตตามพระวิญญาณ”


“25 กันยายน–1 ตุลาคม กาลาเทีย: ‘จงดำเนินชีวิตตามพระวิญญาณ,’” จงตามเรามา—สำหรับบุคคลและครอบครัว: พันธสัญญาใหม่ 2023 (2022)

“25 กันยายน–1 ตุลาคม กาลาเทีย,” จงตามเรามา—สำหรับบุคคลและครอบครัว: 2023

พระคริสต์ทรงปรากฏต่อเปาโลในคุก

พระผู้ช่วยให้รอดผู้ฟื้นคืนพระชนม์เสด็จเยี่ยมเปาโลในคุก (ดู กิจการของอัครทูต 23:11) พระเยซูคริสต์ทรงปลดปล่อยเราจาก “แอกแห่งความเป็นทาส” (กาลาเทีย 5:1) ได้

25 กันยายน–1 ตุลาคม

กาลาเทีย

“จงดำเนินชีวิตตามพระวิญญาณ”

ขณะที่ท่านอ่าน กาลาเทีย ให้บันทึกความประทับใจที่ท่านได้รับ การทำเช่นนี้จะช่วยให้ท่านจดจำและไตร่ตรองความประทับใจเหล่านั้นในอนาคต

บันทึกความประทับใจของท่าน

พระกิตติคุณของพระเยซูคริสต์ให้อิสรภาพจากพันธนาการทางวิญญาณ แต่บางครั้งคนที่เคยมีอิสรภาพของพระกิตติคุณก็ละทิ้งอิสรภาพนั้นและ “อยากจะเป็นทาส [อีก]” (กาลาเทีย 4:9) นี่คือสิ่งที่วิสุทธิชนชาวกาลาเทียบางคนทำอยู่—พวกเขาทิ้งเสรีภาพที่พระคริสต์ทรงมอบให้ (ดู กาลาเทีย 1:6) สาส์นของเปาโลถึงชาวกาลาเทียจึงเป็นคำขอเร่งด่วนให้กลับสู่ “เสรีภาพนั้นเอง [ที่] พระคริสต์ได้ทรงให้เราเป็นไท” (กาลาเทีย 5:1) คำขอนี้เป็นคำขอที่เราต้องฟังและใส่ใจเช่นกันเพราะถึงแม้สภาวการณ์เปลี่ยนไป แต่การต่อสู้ระหว่างอิสรภาพกับพันธนาการยังเหมือนเดิมเสมอ ตามที่เปาโลสอน การ “ถูกเรียกให้มีเสรีภาพ” (กาลาเทีย 5:13) เท่านั้นไม่พอ เราต้อง “ตั้งมั่น” ในเสรีภาพนั้นด้วย (กาลาเทีย 5:1) โดยพึ่งพาพระคริสต์

ไอคอนการศึกษาส่วนตัว

แนวคิดสำหรับการศึกษาพระคัมภีร์เป็นส่วนตัว

กาลาเทีย 1–5

กฎของพระคริสต์ทำให้ฉันเป็นไท

เปาโลเขียนถึงวิสุทธิชนชาวกาลาเทียเมื่อเขาทราบว่าคนเหล่านั้นถูกคำสอนเท็จชักนำให้หลงผิด (ดู กาลาเทีย 1:6–9) คำสอนหนึ่งในนั้นคือเพื่อให้ได้รับความรอด คนต่างชาติที่ยอมรับพระกิตติคุณต้องเข้าสุหนัตและรักษาประเพณีอื่นตามกฎของโมเสส (ดู กาลาเทีย 2) เปาโลเรียกประเพณีเหล่านี้ว่า “แอกแห่งความเป็นทาส” (กาลาเทีย 5:1) ในขณะที่ท่านอ่านคำแนะนำของเปาโลต่อชาวกาลาเทีย ให้มองหาหลักธรรมที่จะช่วยให้ท่านเข้าใจว่าเสรีภาพที่แท้จริงคืออะไร ท่านอาจจะไตร่ตรองด้วยว่าประเพณีเท็จหรือแอกของการเป็นทาสอะไรอาจจะมีอยู่ในชีวิตท่าน มีอะไรบ้างไหมที่กำลังขัดขวางท่านไม่ให้ประสบอิสรภาพที่พระกิตติคุณมอบให้? พระคริสต์และพระกิตติคุณของพระองค์ทำ “ให้ [ท่าน] เป็นไท” อย่างไร? (กาลาเทีย 5:1)

ดู 2 นีไฟ 2:27; 9:10–12

กาลาเทีย 3

ฉันเป็นทายาทสืบทอดพรที่สัญญาไว้กับอับราฮัม

วิสุทธิชนชาวกาลาเทียบางคนเป็นห่วงว่าเพราะพวกเขาไม่ได้เป็นสายเลือดแท้ (“พงศ์พันธุ์”) ของอับราฮัม พวกเขาจะไม่ได้รับพรที่สัญญาไว้กับอับราฮัม รวมทั้งความสูงส่ง ตามที่กล่าวไว้ใน กาลาเทีย 3:7–9, 13–14, 27–29 อะไรทำให้บุคคลมีคุณสมบัติเป็น “พงศ์พันธุ์ของอับราฮัม”?

เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับพรที่สัญญาไว้กับอับราฮัมและพรที่เราจะสืบทอดในฐานะพงศ์พันธุ์ของเขา ดู คู่มือพระคัมภีร์ “พันธสัญญาแห่งอับราฮัม,” topics.ChurchofJesusChrist.org เหตุใดพรที่สัญญาไว้กับอับราฮัมจึงสำคัญต่อท่าน?

กาลาเทีย 3:6–25

อับราฮัมมีสอนพระกิตติคุณของพระเยซูคริสต์

ศาสดาพยากรณ์โจเซฟ สมิธอธิบายว่า “เราจะเชื่อไม่ได้ว่าคนสมัยโบราณทุกยุคทุกสมัยไม่นำพาระบบของสวรรค์อย่างที่หลายคนคิด เพราะทั้งหมดที่เคยรอด ล้วนรอดผ่านพลังอำนาจของแผนอันสำคัญยิ่งนี้แห่งการไถ่ ก่อนการเสด็จมาของพระคริสต์มีมากเท่าใด หลังจากการเสด็จมามีมากเท่านั้น … อับราฮัมถวายเครื่องบูชา และที่เป็นเช่นนี้เพราะได้สั่งสอนพระกิตติคุณให้เขา” (“The Elders of the Church in Kirtland to Their Brethren Abroad,” The Evening and the Morning Star, Mar. 1834, 143, JosephSmithPapers.org) ท่านคิดว่าเหตุใดจึงสำคัญที่วิสุทธิชนในสมัยของเปาโลรู้ว่าอับราฮัมและศาสดาพยากรณ์สมัยโบราณท่านอื่นๆ มีพระกิตติคุณของพระเยซูคริสต์? เหตุใดการรู้เรื่องนี้จึงสำคัญสำหรับท่าน? (ดู ฮีลามัน 8:13–20; โมเสส 5:58–59; 6:50–66)

ดู คำสอนของประธานศาสนาจักร: โจเซฟ สมิธ (2007), 45–56 ด้วย

กาลาเทีย 5:13–26; 6:7–10

ถ้าฉัน “ดำเนินชีวิตตามพระวิญญาณ” ฉันจะได้รับ “ผลของพระวิญญาณ”

การศึกษาข้อเหล่านี้จะช่วยท่านประเมินว่าท่านกำลังดำเนินชีวิตตามพระวิญญาณเต็มที่เพียงใด ท่านกำลังประสบผลของพระวิญญาณดังกล่าวใน ข้อ 22–23 หรือไม่? ท่านสังเกตเห็นผลอะไรอีกบ้างของการดำเนินชีวิตตามพระวิญญาณ? ไตร่ตรองสิ่งที่ท่านจำเป็นต้องทำเพื่อปลูกผลนี้มากขึ้น การปลูกผลนี้จะปรับปรุงสัมพันธภาพที่มีความสำคัญในชีวิตท่านอย่างไร?

แอปเปิลบนต้น

ฉันต้องเสาะหา “ผลของพระวิญญาณ” ในชีวิตฉัน

หากท่านกำลังพยายามดำเนินชีวิตตามพระวิญญาณแต่ดูเหมือนว่าความพยายามของท่านจะไม่เกิดผลที่สัญญาไว้ ให้อ่าน กาลาเทีย 6:7–10 ท่านรู้สึกว่าพระเจ้าทรงมีข่าวสารอะไรให้ท่านในข้อเหล่านี้?

ดู แอลมา 32:28, 41–43; หลักคำสอนและพันธสัญญา 64:32–34 ด้วย

ไอคอนการศึกษากับครอบครัว

แนวคิดสำหรับการศึกษาพระคัมภีร์กับครอบครัวและยามค่ำที่บ้าน

กาลาเทีย 3:11“มีชีวิตอยู่​โดย​ความ​เชื่อ” หมายความว่าอย่างไร? เราดำเนินชีวิตด้วยศรัทธาเป็นครอบครัวอย่างไร?

กาลาเทีย 4:1–7ท่านอาจจะนำเข้าสู่ กาลาเทีย 4 โดยสนทนาความแตกต่างระหว่างทาสของกษัตริย์กับบุตรของเขา บุตรของกษัตริย์มีโอกาสหรือศักยภาพอะไรบ้างที่ทาสไม่มี? นึกถึงสิ่งนี้ขณะที่ท่านอ่าน ข้อ 1–7 ด้วยกัน ข้อเหล่านี้สอนอะไรเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของเรากับพระบิดาบนสวรรค์?

กาลาเทีย 5:16–26ท่านอาจจะสนทนาความแตกต่างระหว่าง “การงานของเนื้อหนัง” และ “ผลของพระวิญญาณ” เพื่อเพิ่มความสนุกสนานให้การสนทนา ครอบครัวของท่านอาจจะเขียนคำที่เปาโลใช้อธิบายผลของพระวิญญาณไว้ตามผลไม้ชนิดต่างๆ จากนั้นให้สมาชิกครอบครัวเลือกคนละหนึ่งผล ให้นิยาม และพูดถึงคนบางคนที่เป็นตัวอย่างของผลนั้น อาจจะนำไปสู่การสนทนาเกี่ยวกับวิธีที่ครอบครัวท่านจะอัญเชิญพระวิญญาณเข้ามาในบ้านและปลูกผลนั้น หลังจากสนทนา ท่านอาจจะรับประทานสลัดผลไม้ด้วยกัน

กาลาเทีย 6:1–2อาจมีหลายครั้งที่บางคนในครอบครัวท่าน “[ถูก] จับได้ว่าละเมิด” ท่านพบคำแนะนำอะไรใน กาลาเทีย 6:1–2 เกี่ยวกับสิ่งที่ต้องทำในสถานการณ์เช่นนั้น?

กาลาเทีย 6:7–10หากครอบครัวท่านเคยปลูกพืชบางอย่างด้วยกัน ท่านอาจจะใช้ประสบการณ์นั้นอธิบายหลักธรรมว่า “ใครหว่านอะไรลง ก็จะเก็บเกี่ยวสิ่งนั้น” (ข้อ 7) หรือท่านอาจจะถามสมาชิกครอบครัวเกี่ยวกับผลไม้หรือผักที่พวกเขาชอบเป็นพิเศษ และพูดถึงสิ่งที่ต้องใช้ปลูกพืชที่ออกผลนั้น (ดูภาพที่ส่วนท้ายของโครงร่างนี้) จากนั้นท่านอาจพูดถึงพรที่ครอบครัวหวังจะได้รับและวิธี “เก็บเกี่ยว” พรเหล่านั้น

ดูแนวคิดเพิ่มเติมสำหรับสอนเด็กได้จาก โครงร่างของสัปดาห์นี้ ใน จงตามเรามา—สำหรับปฐมวัย

เพลงที่แนะนำ: “สอนฉันเดินในแสงหนังสือเพลงสำหรับเด็ก, 70

ปรับปรุงการสอนของเรา

ช่วยให้ครอบครัวท่านเปรียบพระคัมภีร์กับตนเอง นีไฟกล่าวว่า “ข้าพเจ้าเปรียบพระคัมภีร์ทั้งหมดกับเรา, ว่ามันจะเป็นประโยชน์และเป็นการเรียนรู้ของเรา” (1 นีไฟ 19:23) เพื่อช่วยครอบครัวท่านทำสิ่งนี้ ท่านอาจจะเชื้อเชิญให้พวกเขาไตร่ตรองเวลาที่พวกเขาเคยประสบผลของพระวิญญาณดังที่อธิบายไว้ใน กาลาเทีย 5:22–23 (ดู การสอนในวิธีของพระผู้ช่วยให้รอด, 21)

ลูกแพร์บนต้น

เปาโลสอนว่าเมื่อเราดำเนินชีวิตตามพระวิญญาณ เราจะประสบ “ผลของพระวิญญาณ” ในชีวิตเรา