พันธสัญญาเดิม 2022
10–16 ตุลาคม เยเรมีย์ 1–3; 7; 16–18; 20: “เราได้รู้จักเจ้าก่อนที่เราได้ก่อร่างตัวเจ้าขึ้นในครรภ์”


“10–16 ตุลาคม เยเรมีย์ 1–3; 7; 16–18; 20: ‘เราได้รู้จักเจ้าก่อนที่เราได้ก่อร่างตัวเจ้าขึ้นในครรภ์’” จงตามเรามา—สำหรับบุคคลและครอบครัว: พันธสัญญาเดิม 2022 (2021)

“10–16 ตุลาคม เยเรมีย์ 1–3; 7; 16–18; 20” จงตามเรามา—สำหรับบุคคลและครอบครัว: 2022

ภาพ
ศาสดาพยากรณ์พูดกับผู้ชายทั้งหลาย

เยเรมีย์ โดย วอลเตอร์ เรน

10–16 ตุลาคม

เยเรมีย์ 1–3; 7; 16–18; 20

“เราได้รู้จักเจ้าก่อนที่เราได้ก่อร่างตัวเจ้าขึ้นในครรภ์”

เอ็ลเดอร์เดวิด เอ. เบดนาร์กล่าวว่า “วิธีหนึ่งที่ข้าพเจ้าฟัง [พระเจ้า] คือในพระคัมภีร์ พระคัมภีร์เป็นสุรเสียงของพระเจ้าที่บันทึกไว้ล่วงหน้า” (“‘Hear Him’ in Your Heart and in Your Mind,” ChurchofJesusChrist.org)

บันทึกความประทับใจของท่าน

ตอนแรก เยเรมีย์ไม่คิดว่าเขาจะเป็นศาสดาพยากรณ์ที่ดี “ดูเถิด ข้าพระองค์พูดไม่เป็น” เขาท้วงเมื่อพระเจ้าทรงเรียกเขาครั้งแรก (เยเรมีย์ 1:6) พระเจ้าทรงยืนยันกับเขาอีกครั้งว่า “เราเอาถ้อยคำของเราใส่ในปากของเจ้า” (ข้อ 9) เยเรมีย์รู้สึกว่าเขาเป็น “เด็ก” อ่อนหัด (ข้อ 6) แต่พระเจ้าทรงอธิบายว่าเขาพร้อมมากกว่าที่ตนคิด—เขาได้รับแต่งตั้งสู่การเรียกนี้แม้ก่อนที่เขาเกิด (ดู ข้อ 5) ด้วยเหตุนี้เยเรมีย์จึงละทิ้งความกลัวและยอมรับการเรียก เขาเตือนกษัตริย์และปุโรหิตทั้งหลายของเยรูซาเล็มว่าความบริสุทธิ์ที่เสแสร้งของพวกเขาจะไม่ช่วยให้ตนรอดพ้นจากความพินาศ “เด็ก” ที่คิดว่าตนพูดไม่เก่งรู้สึกถึงพระคำของพระผู้เป็นเจ้า “ในใจ [เขา] เหมือนไฟไหม้” และไม่อาจนิ่งเงียบได้ (เยเรมีย์ 20:9)

เรื่องราวของเยเรมีย์เป็นเรื่องราวของเราเช่นกัน พระผู้เป็นเจ้าทรงรู้จักเราก่อนเราเกิดและทรงเตรียมเราให้ทำงานของพระองค์บนแผ่นดินโลกด้วย นอกจากสิ่งอื่นแล้ว งานนั้นยังรวมถึงสิ่งที่เยเรมีย์เห็นล่วงหน้าด้วย นั่นคือ การรวบรวมผู้คนของพระผู้เป็นเจ้าทีละคนเพื่อ “นำ [พวกเขา] มาถึงศิโยน” (เยเรมีย์ 3:14) และถึงแม้เราไม่รู้แน่ชัดว่าต้องทำหรือพูดอะไร แต่เรา “อย่ากลัว … เพราะเราอยู่กับเจ้า … พระยาห์เวห์ตรัส” (เยเรมีย์ 1:8, 19)

ดูคำอธิบายพอสังเขปของหนังสือเยเรมีย์ได้จาก “เยเรมีย์” ในคู่มือพระคัมภีร์

ภาพ
ไอคอนการศึกษาส่วนตัว

แนวคิดสำหรับการศึกษาพระคัมภีร์เป็นส่วนตัว

เยเรมีย์ 1:4–19; 7:1–7; 20:8–10

ศาสดาพยากรณ์ได้รับเรียกให้พูดพระคำของพระเจ้า

ขณะที่ท่านอ่าน เยเรมีย์ 1:4–19 เกี่ยวกับการเรียกเยเรมีย์เป็นศาสดาพยากรณ์ ให้ไตร่ตรองบทบาทของศาสดาพยากรณ์ในชีวิตท่าน ท่านเรียนรู้อะไรเกี่ยวกับศาสดาพยากรณ์จากพระดำรัสของพระเจ้าต่อเยเรมีย์? (ดู เยเรมีย์ 7:1–7 ด้วย) การสั่งสอนของเยเรมีย์มักถูกปฏิเสธ (ดู เยเรมีย์ 20:8, 10) ท่านเรียนรู้อะไรจากถ้อยคำของเยเรมีย์ใน เยเรมีย์ 20:9? นึกถึงความคิดเหล่านี้ตลอดการศึกษาคำสอนของเยเรมีย์ ท่านพบอะไรในคำสอนเหล่านี้ที่เป็นแรงบันดาลใจให้ท่านทำตามศาสดาพยากรณ์ยุคสุดท้ายของเรา?

เยเรมีย์ 1:5

พระผู้เป็นเจ้าทรงรู้จักฉันก่อนฉันเกิด

ก่อนเยเรมีย์เกิด พระผู้เป็นเจ้าทรงรู้จักเขาและทรงเลือกเขาหรือทรงแต่งตั้งเขาล่วงหน้าให้ทำพันธกิจเฉพาะเจาะจงบนแผ่นดินโลกให้ลุล่วง (ดู เยเรมีย์ 1:5) ท่านคิดว่าเหตุใดการรู้เช่นนี้จึงมีค่าต่อเยเรมีย์?

พระผู้เป็นเจ้าทรงรู้จักท่านก่อนท่านเกิดเช่นกันและทรงแต่งตั้งท่านล่วงหน้าให้ทำความรับผิดชอบเฉพาะด้าน (ดู แอลมา 13:1–4; หลักคำสอนและพันธสัญญา 138:53–56; อับราฮัม 3:22–23) ความรู้นี้สร้างความแตกต่างอะไรในชีวิตท่าน? ถ้าท่านได้รับปิตุพรแล้ว ท่านอาจจะทบทวนร่วมกับการสวดอ้อนวอนและทูลถามพระผู้เป็นเจ้าว่าจะบรรลุผลสำเร็จในสิ่งที่พระองค์ทรงแต่งตั้งท่านล่วงหน้าให้ทำได้อย่างไร

ดู Gospel Topics, “Foreordination,” “Premortality,” topics.ChurchofJesusChrist.org ด้วย

ภาพ
คนยืนอยู่ในบ่อน้ำสมัยโบราณ

คนในอิสราเอลสมัยโบราณใช้บ่อน้ำเก็บน้ำที่มีค่า

เยเรมีย์ 2; 7

“เขาได้ทอดทิ้งเราซึ่งเป็นน้ำพุที่มีน้ำแห่งชีวิต”

ในเขตแห้งแล้งที่คนอิสราเอลอยู่ คนเก็บน้ำมีค่าไว้ในอ่างเก็บน้ำใต้ดินเรียกว่าบ่อน้ำ เหตุใดการได้รับน้ำจากน้ำพุจึงดีกว่าพึ่งบ่อน้ำ? ทิ้ง “น้ำพุที่มีน้ำแห่งชีวิต” หมายความว่าอย่างไร? ท่านคิดว่า “บ่อแตก” ที่กล่าวไว้ใน เยเรมีย์ 2:13 น่าจะเป็นสัญลักษณ์ของอะไร? ขณะที่ท่านอ่าน เยเรมีย์ 2 และ 7 ให้สังเกตว่าคนกำลังทิ้งน้ำแห่งชีวิตของพระเจ้าอย่างไร และคิดดูว่าท่านกำลังรับน้ำแห่งชีวิตในชีวิตท่านอย่างไร

เยเรมีย์ 7 กล่าวถึงคนที่กำลังเข้า “ประตูกำแพงพระนิเวศของพระยาห์เวห์ … เพื่อจะนมัสการพระยาห์เวห์” (เยเรมีย์ 7:2) แม้จะเห็นภายนอกว่าดูอุทิศตน แต่พวกเขาทำความชั่วร้ายใหญ่หลวง (ดู ข้อ 2–11) ท่านรู้สึกว่าพระเจ้าทรงมีข่าวสารอะไรให้ท่านใน ข้อ 21–23?

เยเรมีย์ 3:14–18; 16:14–21

พระเจ้าจะทรงรวบรวมผู้คนของพระองค์

เมื่อเยเรมีย์พยากรณ์เรื่องการรวบรวมอิสราเอลที่กระจัดกระจาย เขากล่าวว่าการรวบรวมจะยิ่งใหญ่กว่าการอพยพจากอียิปต์ (ดู เยเรมีย์ 16:14–15) ประธานรัสเซลล์ เอ็ม. เนลสันกล่าวด้วยเจตนารมณ์คล้ายกันว่า “พระองค์ทรงส่งท่านมาแผ่นดินโลกในเวลานี้โดยเฉพาะ … เพื่อช่วยรวบรวมอิสราเอล ไม่มี สิ่งใด ที่เกิดขึ้นบนแผ่นดินโลกเวลานี้สำคัญไปกว่า [การรวบรวม] นั้น … การรวบรวมนี้ควรมีความหมาย ทุกอย่าง ต่อท่าน” (รัสเซลล์ เอ็ม. เนลสันและเวนดี้ ดับเบิลยู. เนลสัน, “ความหวังอิสราเอล” [การให้ข้อคิดทางวิญญาณสำหรับเยาวชนทั่วโลก, 3 มิถุนายน 2018] ส่วนเสริมใน New Era และ Ensign, Aug. 2018, 12, ChurchofJesusChrist.org)

ขณะที่ท่านศึกษา เยเรมีย์ 3:14–18; 16:14–21 อะไรเป็นแรงบันดาลใจให้ท่านเกี่ยวกับการรวบรวมอิสราเอลในยุคสุดท้าย? ข้อเหล่านี้บอกอะไรเกี่ยวกับการรวบรวมนั้นว่าจะเกิดขึ้นอย่างไร? ท่านพบข้อคิดเพิ่มเติมอะไรบ้างในข่าวสารที่เหลือของประธานเนลสันตามที่อ้างอิงไว้ข้างต้น?

ภาพ
ไอคอนการศึกษากับครอบครัว

แนวคิดสำหรับการศึกษาพระคัมภีร์กับครอบครัวและยามค่ำที่บ้าน

เยเรมีย์ 1:5ท่านอาจจะใช้ข้อนี้พูดถึงชีวิตเรากับพระบิดาบนสวรรค์ก่อนเราเกิด แหล่งข้อมูลเช่น “I Lived in Heaven” (Children’s Songbook,4) และ “บทนำ: แผนของพระบิดาบนสวรรค์ของเรา” (ใน เรื่องราวในพันธสัญญาใหม่, 1–5) อาจช่วยได้ การรู้เกี่ยวกับชีวิตก่อนเกิดของเราจะส่งผลต่อวิธีที่เราดำเนินชีวิตมรรตัยได้อย่างไร?

เยเรมีย์ 2:13; 17:13–14เพื่อช่วยให้สมาชิกครอบครัวเห็นภาพข้อเหล่านี้ ท่านอาจสาธิตสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อท่านเทน้ำใส่ภาชนะแตกหรือรั่ว “น้ำพุที่มีน้ำแห่งชีวิต” และ “บ่อแตก” น่าจะแทนอะไร? (เยเรมีย์ 2:13) เราดื่มจากน้ำแห่งชีวิตของพระเจ้าอย่างไร?

เยเรมีย์ 16:16ประธานรัสเซลล์ เอ็ม. เนลสันเปรียบเทียบชาวประมงและพรานในข้อนี้กับผู้สอนศาสนายุคสุดท้าย (ดู “การรวบรวมอิสราเอลที่กระจัดกระจาย,”เลียโฮนา, พ.ย. 2006, 102) สมาชิกครอบครัวอาจจะ “ล่า” หาของต่างๆ รอบบ้านและพูดคุยกันว่าท่านจะช่วย “จับ” และ “ล่า” อิสราเอลที่กระจัดกระจายได้อย่างไร

เยเรมีย์ 18:1–6เพื่อสำรวจข้อเหล่านี้ท่านอาจจะสนทนาหรือแสดงวิธีปั้นหม้อ พระเจ้าทรงมีข่าวสารอะไรให้อิสราเอลใน เยเรมีย์ 18:1–6? การเป็นดินเหนียวในพระหัตถ์ของพระเจ้าหมายความว่าอย่างไร? (ดู อิสยาห์ 64:8) ดูอีกเรื่องหนึ่งที่เปรียบเทียบเรากับดินเหนียวของช่างปั้นหม้อในข่าวสารของเอ็ลเดอร์ริชาร์ด เจ. เมนส์ เรื่อง “ปีติของการดำเนินชีวิตที่มีพระคริสต์เป็นศูนย์กลาง” (เลียโฮนา, พ.ย. 2015, 27–30)

ดูแนวคิดเพิ่มเติมสำหรับสอนเด็กได้จาก โครงร่างของสัปดาห์นี้ ใน จงตามเรามา—สำหรับปฐมวัย

เพลงที่แนะนำ: “อิสเร็ล อิสเร็ล พระเป็นเจ้าเรียกเพลงสวด บทเพลงที่ 6

ปรับปรุงการสอนของเรา

ใช้เรื่องเล่า พระผู้ช่วยให้รอดทรงสอนโดยใช้เรื่องเล่าบ่อยครั้ง ลองนึกถึงเรื่องเล่าจากชีวิตท่านเองที่สามารถทำให้หลักธรรมพระกิตติคุณมีชีวิตขึ้นมา (ดู การสอนในวิธีของพระผู้ช่วยให้รอด, 22)

ภาพ
ดินเหนียวบนแป้นหมุน

“นี่‍แน่ะ พงศ์‍พันธุ์อิสรา‌เอลเอ๋ย เจ้าอยู่ในมือของเราอย่าง ดิน‍เหนียวอยู่ในมือของช่าง‍ปั้น‍หม้อ” (เยเรมีย์ 18:6)

พิมพ์