พันธสัญญาเดิม 2022
3–9 ตุลาคม อิสยาห์ 58–66: “องค์พระผู้ไถ่จะเสด็จมายังศิโยน”


“3–9 ตุลาคม อิสยาห์ 58–66: ‘องค์พระผู้ไถ่จะเสด็จมายังศิโยน’” จงตามเรามา—สำหรับบุคคลและครอบครัว: พันธสัญญาเดิม 2022 (2021)

“3–9 ตุลาคม อิสยาห์ 58–66” จงตามเรามา—สำหรับบุคคลและครอบครัว: 2022

พระเยซูทรงสอนในธรรมศาลา

พระเยซูในธรรมศาลาที่นาซาเร็ธ โดย เกรก เค. โอลเซ็น

3–9 ตุลาคม

อิสยาห์ 58–66

“องค์พระผู้ไถ่จะเสด็จมายังศิโยน”

ขณะศึกษา อิสยาห์ 58–66 ให้พิจารณาว่าถ้อยคำของอิสยาห์ทำให้ท่านเกิดปีติและความหวังสำหรับอนาคตอย่างไร

บันทึกความประทับใจของท่าน

ในการปฏิบัติศาสนกิจบนแผ่นดินโลกช่วงแรกของพระเยซูคริสต์ พระองค์เสด็จเยือนธรรมศาลาแห่งหนึ่งในนาซาเร็ธหมู่บ้านที่พระองค์ทรงเติบโตมา ที่นั่นพระองค์ทรงยืนอ่านพระคัมภีร์ เปิดหนังสืออิสยาห์ และอ่านที่เรารู้เวลานี้ว่าคือ อิสยาห์ 61:1–2 พระองค์ทรงประกาศต่อจากนั้นว่า “พระ‍คัมภีร์ตอน‍นี้ที่พวก‍ท่านได้‍ยินกับหูก็สำเร็จแล้วในวัน‍นี้” นี่เป็นคำประกาศที่ตรงไปตรงมาที่สุดข้อหนึ่งของพระผู้ช่วยให้รอดว่าพระองค์ทรงเป็นผู้ได้รับการเจิม ผู้จะทรง “เยียวยาคนชอกช้ำใจ” และ “ประกาศอิสรภาพแก่พวกเชลย” (ดู ลูกา 4:16–21) พระคัมภีร์ข้อนี้เกิดสัมฤทธิผลในสมัยนั้น และเช่นเดียวกับคำพยากรณ์อีกมากมายของอิสยาห์ คำพยากรณ์ดังกล่าวยังคงเกิดสัมฤทธิผลในสมัยของเรา พระผู้ช่วยให้รอดยังคงเยียวยาคนชอกช้ำใจทุกคนที่มาหาพระองค์ ยังมีเชลยอีกมากมายที่ต้องประกาศอิสรภาพแก่พวกเขา และมีอนาคตอันรุ่งโรจน์ที่ต้องเตรียมพร้อม—เวลาที่พระเจ้าจะทรง “สร้างฟ้าสวรรค์ใหม่และสร้างแผ่นดินโลกใหม่” (อิสยาห์ 65:17) และ “ทำให้ความชอบธรรมและการสรรเสริญงอกขึ้นมาต่อหน้าประชาชาติทั้งหลาย” (อิสยาห์ 61:11) การอ่านอิสยาห์เปิดตาเราให้เห็นสิ่งที่พระเจ้าทรงทำแล้ว สิ่งที่พระองค์ทรงทำอยู่ และสิ่งที่พระองค์จะทรงทำเพื่อผู้คนของพระองค์

ไอคอนการศึกษาส่วนตัว

แนวคิดสำหรับการศึกษาพระคัมภีร์เป็นส่วนตัว

อิสยาห์ 58:3–12

การอดอาหารนำมาซึ่งพร

ข้อเหล่านี้บอกเป็นนัยว่าคนอิสราเอลมากมายในสมัยโบราณถือว่าการอดอาหารเป็นภาระมากกว่าพร พวกเราหลายคนสามารถเชื่อมโยงกับความรู้สึกนั้นได้บางครั้ง ถ้าท่านต้องการพบความหมายและจุดประสงค์มากขึ้นในการอดอาหารของท่าน ให้อ่าน อิสยาห์ 58:3–12 เพื่อหาคำตอบของพระเจ้าให้กับคำถามที่ว่า “เราอดอาหารเพราะเหตุใด?” ในประสบการณ์ของท่าน การอดอาหารจะ “แก้พันธนะอธรรม” และ “หักแอกทั้งหมด” ได้อย่างไร? (อิสยาห์ 58:6) การอดอาหารทำให้ท่านได้รับพรที่บรรยายไว้ใน อิสยาห์ 58:8–12 อย่างไร? อิสยาห์ 58:3–12 ส่งผลต่อวิธีที่ท่านคิดเกี่ยวกับการอดอาหารอย่างไร?

ในข่าวสารของประธานเฮนรีย์ บี. อายริงก์เรื่อง “เราเลือกการอดอาหารอย่างนี้ไม่ใช่หรือ?” (เลียโฮนา, พ.ค. 2015, 22–25) ท่าน ยกตัวอย่างของหลายคนที่ได้รับพรจากการอดอาหารและการบริจาคเงินอดอาหาร ท่านเคยเห็นพรคล้ายกันในชีวิตท่านอย่างไร?

ดู Gospel Topics, “Fasting and Fast Offerings” ด้วย (topics.ChurchofJesusChrist.org)

อิสยาห์ 59:9–21; 61:1–3; 63:1–9

พระเยซูคริสต์ทรงเป็นพระผู้ช่วยให้รอดและพระผู้ไถ่ของฉัน

ใน อิสยาห์ 58–66 ท่านจะพบข้ออ้างอิงหลายข้อถึงพันธกิจการชดใช้ของพระเยซูคริสต์ ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างบางข้อ พร้อมคำถามบางข้อที่จะช่วยท่านไตร่ตรองเรื่องนี้

  • อิสยาห์ 59:9–21 ท่านจะสรุปสภาพทางวิญญาณของคนที่บรรยายไว้ใน ข้อ 9–15 ว่าอย่างไร? ท่านประทับใจอะไรเกี่ยวกับคำบรรยายถึงผู้ “อ้อนวอน” ใน ข้อ 16–21 และพันธสัญญาที่พระองค์ทรงทำกับคนที่หันมาหาพระองค์?

  • อิสยาห์ 61:1–3 พระเยซูคริสต์ทรงอวยพรท่านอย่างไรในวิธีที่บรรยายไว้ในข้อเหล่านี้? พระองค์ทรงนำ “ข่าวดี” อะไรมาให้ท่าน? พระองค์ประทานมงกุฎ​ให้ท่านแทนขี้เถ้าอย่างไร?

  • อิสยาห์ 63:7–9 ท่านจะกล่าวถึง “ความรักมั่นคงของพระยาห์เวห์” อะไรได้บ้าง? ข้อเหล่านี้ดลบันดาลให้ท่านเกิดความรู้สึกอะไรในใจท่านต่อพระผู้ช่วยให้รอด?

ท่านพบข้ออ้างอิงถึงพระเยซูคริสต์ข้อใดอีกบ้างใน อิสยาห์ 58–66?

ดู โมไซยาห์ 3:7; หลักคำสอนและพันธสัญญา 133:46–53 ด้วย

ผู้หญิงจุดตะเกียงดินจากตะเกียงที่ผู้ชายคนหนึ่งถืออยู่

“พระยาห์เวห์จะทรงเป็นความสว่างของเจ้าเป็นนิตย์” (อิสยาห์ 60:19) ของประทานแห่งแสงสว่าง โดย อีวา ทิโมธี

อิสยาห์ 60; 62

“พระยาห์เวห์จะทรงเป็นความสว่างของเจ้าเป็นนิตย์”

อิสยาห์ 60 และ 62 พูดถึงความสว่างและความมืด ดวงตาและการมองเห็น เพื่อสอนว่าพระกิตติคุณของพระเยซูคริสต์จะเป็นพรแก่โลกในวันเวลาสุดท้ายอย่างไร จงมองหาแนวคิดเหล่านี้โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน อิสยาห์ 60:1–5, 19–20; 62:1–2 ขณะที่ท่านอ่านบทเหล่านี้ ให้ไตร่ตรองว่าพระผู้เป็นเจ้าทรงกำลังรวบรวมบุตรธิดาของพระองค์ออกจากความมืดมาสู่ความสว่างของพระองค์อย่างไร ท่านมีบทบาทอะไรในงานนี้?

ดู 1 นีไฟ 22:3–12; 3 นีไฟ 18:24; หลักคำสอนและพันธสัญญา 14:9; บอนนี่ เอช. คอร์ดอน, “เพื่อพวกเขาจะเห็น,” เลียโฮนา, พ.ค. 2020, 78–80 ด้วย

อิสยาห์ 64:1–5; 65:17–25; 66

พระคริสต์จะทรงปกครองแผ่นดินโลกในช่วงมิลเลเนียม

อิสยาห์พูดถึงวันที่ “ความลำบากเมื่อครั้งก่อนก็ถูกลืมกันไปแล้ว” (อิสยาห์ 65:16) แม้คำพยากรณ์นี้มีสัมฤทธิผลสมบูรณ์ที่สุดหลายครั้ง แต่วันนั้นจะมาถึง—เมื่อพระเยซูคริสต์จะเสด็จกลับแผ่นดินโลกและสถาปนายุคแห่งสันติสุขและความชอบธรรมที่เรียกว่ามิลเลเนียม อิสยาห์พูดถึงวันในอนาคตนี้ไว้ใน อิสยาห์ 64:1–5; 65:17–25; 66 สังเกตว่าเขาใช้คำอย่างเช่น “​เปรม‍ปรีดิ์​” บ่อยเพียงใด ไตร่ตรองว่าเหตุใดการเสด็จกลับของพระผู้ช่วยให้รอดจึงจะเป็นวัน​เปรม‍ปรีดิ์​สำหรับท่าน ท่านจะทำอะไรได้บ้างเพื่อเตรียมรับการเสด็จมาของพระองค์?

ดู หลักแห่งความเชื่อ 1:10; รัสเซลล์ เอ็ม. เนลสัน, “อนาคตของศาสนจักร: การเตรียมโลกเพื่อรับการเสด็จมาครั้งที่สองของพระผู้ช่วยให้รอด,” เลียโฮนา, เม.ย. 2020, 13–17 ด้วย

ไอคอนการศึกษากับครอบครัว

แนวคิดสำหรับการศึกษาพระคัมภีร์กับครอบครัวและยามค่ำที่บ้าน

อิสยาห์ 58:3–11สมาชิกครอบครัวน่าจะเข้าใจข่าวสารของอิสยาห์เกี่ยวกับการอดอาหารดีขึ้นถ้าพวกเขาทำท่าชนิดของการอดอาหารตามที่บรรยายไว้ใน อิสยาห์ 58:3–5 และใน อิสยาห์ 58:6–8 เราจะทำให้การอดอาหารของเราเหมือน “การอดอาหารที่ [พระผู้เป็นเจ้าทรง] เลือก” ได้อย่างไร? ท่านเคยเห็นพรอะไรบ้างจากการอดอาหาร?

อิสยาห์ 58:13–14อะไรคือความแตกต่างระหว่างการ “ทำตามความพอใจ [ของเราเอง]” กับการพบ “ปีติยินดีในพระยาห์เวห์” ในวันสะบาโต? เราจะทำให้วันสะบาโตเป็น “วันปีติยินดี” ได้อย่างไร?

อิสยาห์ 60:1–5ขณะที่ท่านอ่าน อิสยาห์ 60:1–3 สมาชิกครอบครัวจะเปิดไฟเมื่อข้อนั้นพูดถึงความสว่างและปิดไฟเมื่อข้อนั้นพูดถึงความมืด พระกิตติคุณของพระเยซูคริสต์เปรียบเสมือนความสว่างต่อเราอย่างไร? อิสยาห์เห็นล่วงหน้าว่าอะไรจะเกิดขึ้นเมื่อผู้คนของพระผู้เป็นเจ้าแบ่งปันความสว่างของพระกิตติคุณ? (ดู อิสยาห์ 60:3–5)

อิสยาห์ 61:1–3พระผู้ช่วยให้รอดทรงทำให้คำพยากรณ์ของอิสยาห์ในข้อเหล่านี้เกิดสัมฤทธิผลอย่างไร? ท่านอาจจะเชื้อเชิญให้สมาชิกครอบครัวหาภาพพระผู้ช่วยให้รอดที่รู้สึกว่าอธิบายแง่มุมเหล่านี้ของพระพันธกิจของพระองค์ (ภาพเหล่านี้หาได้ในนิตยสารศาสนจักรหรือ หนังสือภาพพระกิตติคุณ) ท่านอาจจะร้องเพลงๆ หนึ่งเกี่ยวกับพระผู้ช่วยให้รอดทรงอวยพรเราอย่างไรด้วย เช่น “ฉันรู้สึกถึงความรักของพระผู้ช่วย” (หนังสือเพลงสำหรับเด็ก, 42–43)

ดูแนวคิดเพิ่มเติมสำหรับสอนเด็กได้จาก โครงร่างของสัปดาห์นี้ ใน จงตามเรามา—สำหรับปฐมวัย

เพลงที่แนะนำ: “คราพระเสด็จมาหนังสือเพลงสำหรับเด็ก, 46–47

ปรับปรุงการศึกษาส่วนตัว

เตรียมสภาพแวดล้อมรอบตัวท่าน สภาพแวดล้อมของเราสามารถส่งผลต่อความสามารถในการเรียนรู้ของเรา หาที่ศึกษาพระคัมภีร์ซึ่งท่านสามารถรู้สึกถึงอิทธิพลของพระวิญญาณ (ดู การสอนในวิธีของพระผู้ช่วยให้รอด, 15)

พระเยซูบนฟ้า

“จงลุก‍ขึ้น ฉาย‍แสง เพราะ‍ว่าความสว่างของเจ้ามาแล้วและพระ‍สิริของพระ‍ยาห์‌เวห์ขึ้นมาเหนือเจ้า” (อิสยาห์ 60:1) ความสว่างและชีวิต โดย มาร์ค มาบรีย์