จงตามเรามา
17–23 มิถุนายน มัทธิว 27; มาระโก 15; ลูกา 23; ยอห์น 19: ‘สำเร็จแล้ว’


“17–23 มิถุนายน มัทธิว 27; มาระโก 15; ลูกา 23; ยอห์น 19: ‘สำเร็จแล้ว’” จงตามเรามา—สำหรับปฐมวัย: พันธสัญญาใหม่ 2019 (2019)

“17–23 มิถุนายน มัทธิว 27; มาระโก 15; ลูกา 23; ยอห์น 19,” จงตามเรามา—สำหรับปฐมวัย: 2019

พระคริสต์ต่อหน้าปีลาต

Ecce Homo โดย อันโตนิโอ ซิเซรี

17–23 มิถุนายน

มัทธิว 27; มาระโก 15; ลูกา 23; ยอห์น 19

“สำเร็จแล้ว”

เริ่มการเตรียมของท่านโดยอ่าน มัทธิว 27; มาระโก 15; ลูกา 23; และ ยอห์น 19 พยายามเข้าใจความต้องการของเด็กร่วมกับการสวดอ้อนวอน

บันทึกความประทับใจของท่าน

ไอคอนการแบ่งปัน

เชื้อเชิญให้แบ่งปัน

ให้เด็กแต่ละคนถือภาพจาก โครงร่างของสัปดาห์นี้ ใน จงตามเรามา—สำหรับบุคคลและครอบครัว ขณะถือภาพ เด็กแต่ละคนอาจจะแบ่งปันบางสิ่งที่เขารู้เกี่ยวกับการสิ้นพระชนม์ของพระเยซู

ไอคอนการสอน

สอนหลักคำสอน

เด็กเล็ก

มัทธิว 27:11–66; ลูกา 23; ยอห์น 19

เพราะพระเยซูสิ้นพระชนม์เพื่อฉัน ฉันจึงสามารถฟื้นคืนชีวิต

เด็กเล็กอาจจะรู้สึกไม่ดีกับเรื่องราวการตรึงกางเขนพระเยซู “บทที่ 52: การไต่สวนพระเยซู” และ “บทที่ 53: พระเยซูทรงถูกตรึงกางเขน” เรื่องราวในพันธสัญญาใหม่, หน้า 133–138 หรือวีดิทัศน์เกี่ยวกับเรื่องนี้ (LDS.org) ให้ต้นแบบที่ดีสำหรับวิธีที่จะเล่าเรื่องนี้อย่างเหมาะสม

กิจกรรมที่ทำได้

  • ให้ดูภาพใน โครงร่างของสัปดาห์นี้ ใน จงตามเรามา—สำหรับบุคคลและครอบครัว ขณะท่านเล่าเรื่องการไต่สวน การตรึงกางเขน และการฝังพระศพของพระเยซู (ดู หนังสือภาพพระกิตติคุณ ภาพที่ 57 และ 58) เชื้อเชิญให้เด็กแบ่งปันสิ่งที่พวกเขารู้เกี่ยวกับเหตุการณ์เหล่านี้ เน้นว่าในวันที่สาม พระเยซูฟื้นคืนพระชนม์ หมายความว่าพระองค์มีชีวิตอีกครั้ง

  • ขอให้เด็กบอกบางสิ่งที่พ่อแม่ทำให้พวกเขาเพราะพวกเขาทำเองไม่ได้ ให้ดูภาพพระผู้ช่วยให้รอด อธิบายว่าเพราะพระเยซู เราจึงสามารถฟื้นคืนชีวิต—สิ่งที่เราทำเองไม่ได้

  • ให้ดูภาพคนที่สิ้นชีวิตแล้วที่ท่านรู้จัก แบ่งปันประจักษ์พยานของท่านว่าเพราะพระเยซู บุคคลนั้นจะมีชีวิตอีกครั้ง

การฝังพระคริสต์

การฝังพระศพ โดย คาร์ล ไฮน์ริค บลอค

มัทธิว 27:26–37; ลูกา 23:34

ฉันสามารถให้อภัยผู้อื่นเหมือนกับพระเยซู

ท่านจะช่วยให้เด็กเข้าใจวิธีให้อภัยคนใจร้ายเหมือนกับพระเยซูทรงให้อภัยได้อย่างไร

กิจกรรมที่ทำได้

  • บรรยายว่าทหารทำไม่ดีต่อพระเยซูอย่างไร (ดู มัทธิว 27:26–37 แล้วอ่าน ลูกา 23:34 อธิบายว่าเมื่อเราให้อภัยผู้อื่น เราปล่อยความรู้สึกไม่ดีต่อคนเหล่านั้นไปและแสดงความรัก

  • บอกเหตุการณ์ที่มีคนพูดหรือทำไม่ดีบางอย่าง เชื้อเชิญให้เด็กแสดงว่าพวกเขาจะให้อภัยคนนั้นอย่างไร

  • เขียนคำหรือวลีจาก “พระบิดาโปรดช่วยฉัน” หนังสือเพลงสำหรับเด็ก, หน้า 52 ไว้บนกระดาน ให้เด็กร้องเพลงนี้หลายๆ รอบโดยลบคำบางคำทุกรอบจนกว่าพวกเขาจะร้องได้ทั้งเพลง ตามคำร้องของเพลงนี้ เราควรให้อภัยใคร ใครจะช่วยเราได้เมื่อการให้อภัยทำได้ยาก

  • ค้นคว้า เลียโฮนา ฉบับล่าสุดเพื่อหาเรื่องราวเกี่ยวกับเด็กที่ให้อภัยบางคน เล่าเรื่องนี้ให้เด็กฟัง

ลูกา 23:32–33, 39–43

เพราะพระเยซูทรงทนทุกข์และสิ้นพระชนม์เพื่อฉัน ฉันจึงสามารถกลับใจและได้รับการให้อภัย

ถึงแม้เด็กอายุต่ำกว่าแปดขวบยังรับผิดชอบไม่ได้ แต่พวกเขาจำเป็นต้องเริ่มเรียนรู้วิธีกลับใจจากการเลือกผิดๆ ตั้งแต่ตอนนี้

กิจกรรมที่ทำได้

  • สรุป ลูกา 23:32–33, 39–43 และชี้ให้ดูโจรสองคนใน ภาพ 57 ใน หนังสือภาพพระกิตติคุณ อธิบายว่าเมื่อโจรคนแรกหัวเราะเยาะพระเยซู คนที่สองยอมรับว่าเขาได้ทำผิดบางอย่าง—เขาเริ่มกลับใจ

  • อ่าน หลักคำสอนและพันธสัญญา 19:16 ให้เด็กฟัง เหตุใดพระเยซูทรงทนทุกข์เพื่อเรา

  • ฉายวีดิทัศน์เรื่อง “The Shiny Bicycle” (LDS.org) อธิบายว่าพระบิดาบนสวรรค์และพระเยซูคริสต์ทรงสามารถช่วยเราแก้ไขบาปและความผิดของเรา และช่วยให้เราได้รับการให้อภัย

  • ให้เด็กทำเครื่องหมายบนกระดานแทนการเลือกผิดๆ จากนั้นขอให้พวกเขาลบกระดานเพื่อหมายถึงการกลับใจ ให้ดูภาพพระผู้ช่วยให้รอด และเป็นพยานว่าเราสามารถกลับใจได้เพราะพระองค์

ไอคอนการสอน

สอนหลักคำสอน

เด็กโต

มัทธิว 27:11–66; ลูกา 23; ยอห์น 19

พระเยซูสิ้นพระชนม์เพื่อฉันเพราะทรงรักฉัน

เหตุใดท่านจึงสำนึกคุณที่พระเยซูสิ้นพระชนม์เพื่อท่าน พิจารณาว่าท่านจะช่วยให้เด็กเข้าใจนัยสำคัญของการพลีพระชนม์ชีพของพระผู้ช่วยให้รอดเพื่อเราได้อย่างไร

กิจกรรมที่ทำได้

  • เขียนเหตุการณ์สำคัญจาก มัทธิว 27:11–66 ออกมาเป็นข้อๆ (ดูความช่วยเหลือในการทำสิ่งนี้ใน “บทที่ 52: การไต่สวนพระเยซู” และ “บทที่ 53: พระเยซูทรงถูกตรึงกางเขน” เรื่องราวในพันธสัญญาใหม่, หน้า133–138) ให้เด็กศึกษาข้อเหล่านี้และเรียงลำดับเหตุการณ์ให้ถูกต้อง

  • ฉายวีดิทัศน์เรื่อง “Jesus Is Condemned before Pilate” และ “Jesus Is Scourged and Crucified” (LDS.org) (ดูเรื่อง “The Atonement,” LDS.orgด้วย) เหตุใดพระเยซูจึงเต็มพระทัยทนทุกข์เพื่อเรา

  • ขอให้เด็กคนหนึ่งอ่าน มัทธิว 27:54 เชื้อเชิญให้เด็กแบ่งปันเหตุการณ์ต่างๆ เกี่ยวกับพระเยซูที่ช่วยให้พวกเขารู้ว่าพระองค์ทรงเป็นพระบุตรของพระผู้เป็นเจ้า

  • ถามเด็กว่าพวกเขาเรียนรู้อะไรเกี่ยวกับการตรึงกางเขนจาก “ดูเถิด พระผู้ไถ่ใหญ่ยิ่งม้วย,” เพลงสวด, บทเพลงที่ 85 หรือเพลงสวดศีลระลึกเพลงอื่น

มัทธิว 27:26–37; ลูกา 23:34

ฉันสามารถให้อภัยผู้อื่นเหมือนกับพระเยซู

การให้อภัยผู้อื่นอาจทำได้ยาก เด็กที่ท่านสอนจะได้รับพรเมื่อพวกเขาทำตามแบบอย่างของพระผู้ช่วยให้รอดและให้อภัยทุกคน

กิจกรรมที่ทำได้

  • เชื้อเชิญให้เด็กผลัดกันอ่านเรื่องทหารปฏิบัติไม่ดีต่อพระเยซูใน มัทธิว 27:26–37 และพระเยซูทรงให้อภัยพวกเขาใน ลูกา 23:34 (ดูข้อคิดที่งานแปลของโจเซฟ สมิธให้ไว้ใน Luke 23:34, footnote c) เราเรียนรู้อะไรจากแบบอย่างของพระเยซู

  • เขียนบนกระดานว่า หนูจะทำอะไรได้บ้างเพื่อให้อภัยคนที่ทำไม่ดีต่อหนู ให้เด็กผลัดกันเขียนแนวคิดบนกระดาน เช่น สวดอ้อนวอนให้มีความรู้สึกดีต่อคนนั้น หรือ นึกถึงสิ่งดีๆ เกี่ยวกับคนนั้น

  • ให้เด็กวาดภาพสถานการณ์ต่างๆ ซึ่งมีคนทำไม่ดีและพวกเขาจะให้อภัยคนนั้นอย่างไร ให้พวกเขาอธิบายภาพวาดกับชั้นเรียน

ลูกา 23:32–33, 39–43

เพราะพระเยซูทรงทนทุกข์และสิ้นพระชนม์เพื่อฉัน ฉันจึงสามารถกลับใจและได้รับการให้อภัย

บทนี้เป็นเวลาดีที่จะเป็นพยานว่าเพราะพระเยซูคริสต์ เราจึงสามารถกลับใจจากบาปของเราและรับการให้อภัย

กิจกรรมที่ทำได้

  • เชิญเด็กคนหนึ่งอ่าน ลูกา 23:32–33, 39–43 อธิบายว่าสองคนที่ถูกตรึงกางเขนพร้อมพระเยซูเป็นโจร โจรคนหนึ่งแสดงให้เห็นอย่างไรว่าเขาเริ่มกลับใจ

  • เขียนประโยคต่อไปนี้ไว้บนกระดานโดยเว้นช่องว่างให้เติมคำที่เป็นตัวเอน: “ฉันได้รับ การให้อภัย เมื่อฉัน กลับใจ เพราะ การชดใช้ ของ พระเยซูคริสต์” บอกใบ้ให้เด็กช่วยเติมคำในช่องว่าง

  • เชื้อเชิญให้เด็กคนหนึ่งถือถุง และใส่หินก้อนเล็กลงไปให้เต็มขณะที่เด็กคนอื่นๆ บอกการเลือกผิดๆ ที่บางคนอาจจะทำ ช่วยเด็กเปรียบเทียบถุงกับภาระทางวิญญาณที่เราแบกไว้เมื่อเราทำบาป การกลับใจเหมือนกับการนำเอาก้อนหินออกจากถุงอย่างไร

  • ใช้บทความ “You Can Repent and Forgive” (Friend, Aug. 2015, 10) สอนให้เด็กรู้วิธีกลับใจ

ไอคอนการเรียนรู้

กระตุ้นให้เรียนรู้ที่บ้าน

กระตุ้นให้เด็กนึกถึงคนที่พวกเขาต้องให้อภัยและตัดสินใจทำสิ่งหนึ่งเพื่อแสดงให้คนนั้นเห็นว่าให้อภัยเขาแล้ว

ปรับปรุงการสอนของเรา

ฝึกรับรู้การเปิดเผย บ่อยครั้งการเปิดเผยมาเป็น “บรรทัดมาเติมบรรทัด” (2 นีไฟ 28:30) ไม่ได้มาพร้อมกันคราวเดียว ขณะท่านสวดอ้อนวอนและไตร่ตรองพระคัมภีร์กับโครงร่างนี้ ท่านจะพบว่าแนวคิดและความประทับใจเกิดขึ้นได้ทุกที่ทุกเวลา—ขณะท่านเดินทางไปทำงาน ทำงานบ้าน หรือปฏิสัมพันธ์กับครอบครัวหรือเพื่อนๆ

หน้ากิจกรรม: ฉันจะฟื้นคืนชีวิต