พันธสัญญาเดิม 2022
21–27 พฤศจิกายน โยนาห์; มีคาห์: “พระ‍องค์​ท่าน​พอ‍พระ‍ทัย​ใน​ความ​รัก‍มั่น‍คง”


“21–27 พฤศจิกายน โยนาห์; มีคาห์: ‘พระ‍องค์​ท่าน​พอ‍พระ‍ทัย​ใน​ความ​รัก‍มั่น‍คง’” จงตามเรามา—สำหรับปฐมวัย: พันธสัญญาเดิม 2022 (2021)

“21–27 พฤศจิกายน โยนาห์; มีคาห์ จงตามเรามา—สำหรับปฐมวัย: 2022

ชายคนหนึ่งคลานอยู่บนชายหาดโดยมีปลาวาฬในมหาสมุทรอยู่ข้างหลังเขา

โยนาห์บนชายหาดที่นีนะเวห์ โดย แดเนียล เอ. ลูอิส

21–27 พฤศจิกายน

โยนาห์; มีคาห์

“พระ‍องค์​ท่าน​พอ‍พระ‍ทัย​ใน​ความ​รัก‍มั่น‍คง”

ค้นหาหลักธรรมข้อสำคัญในโยนาห์และมีคาห์ที่จะเป็นพรแก่เด็กที่ท่านสอน ไตร่ตรองว่าท่านจะช่วยให้เด็กเรียนรู้หลักธรรมเหล่านี้อย่างไร แนวคิดในโครงร่างนี้อาจช่วยได้

บันทึกความประทับใจของท่าน

ไอคอนการแบ่งปัน

เชื้อเชิญให้แบ่งปัน

เพื่อช่วยให้เด็กจดจำเรื่องราวของโยนาห์หรือความจริงอื่นๆ ที่พวกเขาอาจเรียนรู้ที่บ้าน ให้ร้องเพลงด้วยกันหนึ่งเพลง เช่นข้อ 7 ของเพลง “ทำตามศาสดา” (หนังสือเพลงสำหรับเด็ก, 58)

ไอคอนการสอน

สอนหลักคำสอน: เด็กเล็ก

โยนาห์ 1:4–17; 3:3–5

พระเจ้าทรงอวยพรฉันเมื่อฉันเชื่อฟังพระองค์

เมื่อพระเจ้าทรงขอให้โยนาห์สั่งสอนชาวนีนะเวห์ โยนาห์ไม่เชื่อฟัง ช่วยให้เด็กเข้าใจว่าเราได้รับพรเมื่อเราเชื่อฟังพระเจ้า

กิจกรรมที่ทำได้

  • ให้ดูภาพเรื่องราวของโยนาห์ และเชื้อเชิญให้เด็กบอกสิ่งที่พวกเขารู้เกี่ยวกับเรื่องนี้ (ดู “ศาสดาพยากรณ์โยนาห์” ใน เรื่องราวในพันธสัญญาเดิม; หน้ากิจกรรมของสัปดาห์นี้; หรือ โครงร่างของสัปดาห์นี้ ใน จงตามเรามา—สำหรับบุคคลและครอบครัว) ถามคำถามทำนองนี้: เกิดอะไรขึ้นเมื่อโยนาห์ไม่เชื่อฟังพระเจ้า? (ดู โยนาห์ 1:4–17) เกิดอะไรขึ้นเมื่อเขาเชื่อฟัง? (ดู โยนาห์ 3:3–5) แบ่งปันประจักษ์พยานของท่านว่าพระเจ้าจะทรงอวยพรเราเมื่อเราเชื่อฟังพระองค์

  • ร้องเพลงด้วยกันหนึ่งเพลงเกี่ยวกับการเชื่อฟังพระเจ้า เช่น “ฉันเชื่อฟังเร็วพลัน” (หนังสือเพลงสำหรับเด็ก, 71) พูดคุยว่าน่าจะดีที่สุดสำหรับโยนาห์ที่จะเชื่อฟังตั้งแต่ครั้งแรก ช่วยให้เด็กนึกถึงสิ่งที่พระผู้เป็นเจ้าทรงต้องการให้พวกเขาทำแล้วลงมือทำตามวิธีที่พวกเขาสามารถเชื่อฟังได้ทันที

ผู้สอนศาสนาสอนชายคนหนึ่ง

พระบิดาบนสวรรค์ทรงต้องการให้ทุกคนได้ยินพระกิตติคุณ

โยนาห์ 3

พระกิตติคุณมีไว้สำหรับทุกคน

ชาวนีนะเวห์กลับใจเมื่อโยนาห์แบ่งปันข่าวสารของพระเจ้าให้กับพวกเขา เด็กมีโอกาสใดบ้างที่จะแบ่งปันพระกิตติคุณ?

กิจกรรมที่ทำได้

  • เล่าประสบการณ์เมื่อท่านแบ่งปันพระกิตติคุณของพระเยซูคริสต์ หรือสองสามวันก่อนชั้นเรียน ให้เชิญใครบางคนมาเยี่ยมชั้นเรียนของท่านและบอกเด็กเกี่ยวกับช่วงเวลาที่เขาแบ่งปันพระกิตติคุณหรือเมื่อบางคนแบ่งปันพระกิตติคุณกับเขา กระตุ้นให้บุคคลนั้นแสดงภาพให้ดู หากอยู่ในวิสัยที่ทำได้ ช่วยเด็กคิดวิธีที่พวกเขาสามารถเป็นผู้สอนศาสนาได้ตั้งแต่ตอนนี้

มีคาห์ 5:2

พระเยซูคริสต์ประสูติในเบธเลเฮม

มีคาห์พยากรณ์ว่าอนาคต “​ผู้​ที่​จะ​ปก‍ครอง​ใน​อิสรา‌เอล” จะประสูติในเบธเลเฮม ท่านสามารถช่วยให้เด็กรู้ว่าการประสูติของพระเยซูคริสต์ทำให้คำพยากรณ์นี้เกิดสัมฤทธิผล

กิจกรรมที่ทำได้

  • ให้ดูภาพเหตุการณ์ในช่วงการประสูติของพระเยซูคริสต์ (ดู หนังสือภาพพระกิตติคุณ ภาพที่ 28, 29, 30, 31) เชื้อเชิญให้เด็กพูดคุยเกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้นในแต่ละภาพ อ่าน มีคาห์ 5:2 และเชื้อเชิญให้เด็กยืนขึ้นเมื่อพวกเขาได้ยินคำว่า “เบธเลเฮม” เป็นพยานว่าการประสูติของพระเยซูสำคัญมากจนศาสดาพยากรณ์รู้เรื่องนี้ก่อนที่พระองค์จะประสูติ

  • เชื้อเชิญให้เด็กวาดรูปการประสูติของพระเยซู ขณะที่พวกเขาแสดงภาพ ขอให้พวกเขาแบ่งปันว่าเหตุใดพวกเขาจึงขอบพระทัยพระเยซูคริสต์

ไอคอนการสอน

สอนหลักคำสอน: เด็กโต

โยนาห์ 1:10–12; 2:1–4, 9; 3:1–5

การกลับใจคือการตระหนักถึงบาปของฉันและทูลขอการให้อภัย

แบบอย่างของโยนาห์สามารถสร้างแรงบันดาลใจให้เด็กหันมาหาพระเจ้าเมื่อพวกเขาทำบาป

กิจกรรมที่ทำได้

  • ช่วยเด็กเขียนองค์ประกอบพื้นฐานบางส่วนของการกลับใจบนกระดาน (ดู คู่มือพระคัมภีร์, “กลับใจ (การ),” scriptures.ChurchofJesusChrist.org) ทบทวนเรื่องราวของโยนาห์ด้วยกัน และเชิญให้เด็กระบุหลักฐานที่โยนาห์กลับใจ (ดูตัวอย่าง โยนาห์ 1: 10–12; 2:1–4, 9; 3:1–5) เราจะแสดงให้พระเจ้าเห็นได้อย่างไรว่าเรากลับใจอย่างแท้จริง?

  • ร้องเพลงหนึ่งเพลงเกี่ยวกับการกลับใจ เช่น “การกลับใจ” (หนังสือเพลงสำหรับเด็ก, 148) ถามเด็กว่าคำหรือวลีใดจากเพลงที่พวกเขาจะแบ่งปันกับโยนาห์เพื่อช่วยให้เขากลับใจ

โยนาห์ 2:7–10; 3:10; 4:2; มีคาห์ 7:18–19

พระเจ้าทรงมีพระเมตตาต่อทุกคนที่หันมาหาพระองค์

เมื่อเด็กเข้าใจว่าพระเจ้าทรงมีพระเมตตากรุณา พวกเขาจะหันมาหาพระองค์เมื่อพวกเขาต้องการความเมตตา

กิจกรรมที่ทำได้

  • เชื้อเชิญให้เด็กค้นหานิยามของคำว่า ความเมตตา ในพจนานุกรมหรือใน คู่มือพระคัมภีร์ (scriptures.ChurchofJesusChrist.org) เหตุใดโยนาห์จึงต้องการความเมตตา? เหตุใดชาวนีนะเวห์จึงต้องการความเมตตา? (ดู โยนาห์ 1:1–3) ขอให้เด็กจินตนาการว่าพวกเขาอาจสัมภาษณ์โยนาห์ได้ โยนาห์อาจให้หลักฐานอะไรเพื่อแสดงให้เห็นว่าพระเจ้าทรงมีพระเมตตา? (ดูตัวอย่าง โยนาห์ 2:7–10; 3:10; 4:2) พระเจ้าทรงแสดงความเมตตาต่อเราอย่างไร?

  • ขอให้เด็กเขียนสิ่งที่พวกเขา “พอใจ” ไว้บนกระดาน เช่น งานอดิเรก พรจากพระเจ้า เป็นต้น เชื้อเชิญให้พวกเขาอ่าน มีคาห์ 7:18–19 เพื่อค้นพบสิ่งหนึ่งที่พระเจ้าพอพระทัย ความจริงอะไรในข้อเหล่านี้จะช่วยคนกลัวที่จะกลับใจ?

  • ช่วยให้เด็กนึกถึงแบบอย่างเมื่อพระผู้ช่วยให้รอดทรงแสดงความเมตตาต่อผู้อื่น เช่น มาระโก 2: 3–12; ลูกา 23:33–34; และ ยอห์น 8:1–11 ให้ดูภาพเหตุการณ์เหล่านี้ หากอยู่ในวิสัยที่ทำได้ ช่วยให้เด็กนึกถึงโอกาสที่พวกเขาต้องเมตตาและใจดีต่อผู้อื่น

มีคาห์ 6:8

พระเจ้าทรงต้องการให้ฉัน​ทำ​ความ​ยุติ‍ธรรม​ ​​รัก​ความ​เมตตา และ​​ดำ‌เนิน​ชีวิต​ไป​กับ​พระองค์ด้วย​ความ​ถ่อม‍ใจ

มีคาห์ 6:8 ให้แบบแผนในการดำเนินชีวิตอย่างชอบธรรม ท่านจะช่วยให้เด็กค้นพบและดำเนินชีวิตตามคำสอนในข้อนี้ได้อย่างไร?

กิจกรรมที่ทำได้

  • อ่าน มีคาห์ 6:8 ด้วยกัน และช่วยให้เด็กเข้าใจความหมายของวลีเหล่านี้: “ทำ​ความ​ยุติ‍ธรรม” “รักความเมตตา” และ “ดำ‌เนิน​ชีวิต​ไป​กับ​พระเจ้าของเจ้าด้วย​ความ​ถ่อม‍ใจ” เชื้อเชิญให้เด็กวาดภาพตนเองทำบางสิ่งที่เกี่ยวข้องกับวลีหนึ่ง

  • เขียนบนกระดานว่า “​พระ‍ยาห์‌เวห์​ทรง​ประ‌สงค์​อะไร​จาก​เจ้า?” เชื้อเชิญให้พวกเขาหาคำตอบใน มีคาห์ 6:8 การเชื่อฟังพระบัญญัติของพระเจ้าช่วยให้เราทำสิ่งที่พระเจ้าทรงเรียกร้องจากเราในข้อนี้สำเร็จอย่างไร?

ไอคอนการเรียนรู้

กระตุ้นให้เรียนรู้ที่บ้าน

เขียนวลีสำคัญบนแผ่นกระดาษให้เด็กแต่ละคนจากพระคัมภีร์หนึ่งข้อที่ท่านสนทนาในชั้นเรียน เชื้อเชิญให้เด็กพยายามท่องจำวลีและขอให้สมาชิกครอบครัวแบ่งปันความคิดของเขาเกี่ยวกับวลีนี้

ปรับปรุงการสอนของเรา

เอาใจใส่เด็กๆ เด็กในชั้นเรียนของท่านตอบรับกิจกรรมการเรียนรู้อย่างไร หากพวกเขาดูเหมือนซุกซนไม่อยู่นิ่ง อาจได้เวลาลองทำกิจกรรมอื่น กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ หากท่านสังเกตเห็นเด็กมีส่วนร่วมในกิจกรรม อย่ารู้สึกว่าต้องเปลี่ยนเรื่องเพราะยังไม่ได้สอนให้ครอบคลุมเนื้อหาทั้งหมด