“24–30 พฤษภาคม หลักคำสอนและพันธสัญญา 58–59: ‘ทำงานอย่างทุ่มเทในอุดมการณ์ดี’” จงตามเรามา—สำหรับโรงเรียนวันอาทิตย์: หลักคำสอนและพันธสัญญา 2021 (2020)
“24–30 พฤษภาคม หลักคำสอนและพันธสัญญา 58–59” จงตามเรามา—สำหรับโรงเรียนวันอาทิตย์
อินดิเพนเดนซ์ มิสซูรี โดย อัล ราวด์
24–30 พฤษภาคม
หลักคำสอนและพันธสัญญา 58–59
“ทำงานอย่างทุ่มเทในอุดมการณ์ดี”
หลังจากอ่าน หลักคำสอนและพันธสัญญา 58–59 ให้พิจารณาคำถามต่อไปนี้: ท่านรู้สึกได้รับการดลใจให้แบ่งปันอะไรกับชั้นเรียนของท่าน? ท่านหวังจะให้พวกเขาค้นพบอะไร? ท่านจะช่วยให้พวกเขาค้นพบสิ่งเหล่านี้อย่างไร?
บันทึกความประทับใจของท่าน
เชื้อเชิญให้แบ่งปัน
เพื่อกระตุ้นให้สมาชิกชั้นเรียนแบ่งปันสิ่งที่พวกเขาเรียนรู้ในการศึกษาพระคัมภีร์ของตน ท่านจะเขียนคำถามต่อไปนี้ไว้บนกระดาน: เราเรียนรู้อะไร? เราจะดำเนินชีวิตตามสิ่งที่เราเรียนรู้อย่างไร? สมาชิกชั้นเรียนจะเขียนความจริงที่พบใน หลักคำสอนและพันธสัญญา 58–59 ไว้เป็นข้อๆ ใต้คำถามข้อแรก จากนั้นจะใช้เวลาสองสามนาทีสนทนาแนวคิดสำหรับการดำเนินชีวิตตามความจริงเหล่านั้นและเขียนแนวคิดไว้ใต้คำถามข้อสอง
สอนหลักคำสอน
หลักคำสอนและพันธสัญญา 58:1–5, 26–33
พรมาตามจังหวะเวลาของพระผู้เป็นเจ้าและความขยันหมั่นเพียรของเรา
-
หลักคำสอนและพันธสัญญา 58 สอนความจริงที่จะทำให้เกิดสันติสุขในช่วงของการทดลอง สมาชิกชั้นเรียนอาจค้นพบความจริงบางประการเหล่านี้ระหว่างศึกษาภาคนี้ด้วยตนเอง ให้พวกเขาแบ่งปันสิ่งที่พบ หรือพวกเขาจะค้นคว้า ข้อ 1–5, 26–33 ในชั้นเป็นรายตัวหรือในกลุ่มเพื่อหาสิ่งที่อาจจะช่วยผู้กำลังประสบความยากลำบากหรือรอพรที่สัญญาไว้ หลังจากแบ่งปันสิ่งที่พบ สมาชิกชั้นเรียนบางคนอาจจะแบ่งปันประสบการณ์หรือพระคัมภีร์ข้ออื่นที่ยืนยันความจริงในข้อเหล่านี้
-
ส่วนหนึ่งของการสนทนาหลักธรรมนี้คือท่านจะฉายวีดิทัศน์เรื่อง “Hope Ya Know, We Had a Hard Time” (ChurchofJesusChrist.org) และสนทนาสิ่งที่เราอาจทำได้เพื่อช่วยคนที่กำลังประสบช่วงเวลายากๆ คำพูดอ้างอิงของซิสเตอร์ลินดา เอส. รีฟส์ ใน “แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม” จะช่วยการสนทนาของท่านเช่นกัน คำพูดของซิสเตอร์รีฟส์ส่งผลต่อท่าทีที่เรามองการทดลองของเราอย่างไร?
3:31
หลักคำสอนและพันธสัญญา 58:26–29
เราสามารถ “ทำให้เกิดความชอบธรรมยิ่ง” ด้วย “เจตจำนงอิสระ” ของเราเอง
-
สมาชิกชั้นเรียนรียนรู้อะไรจากการศึกษา หลักคำสอนและพันธสัญญา 58:26–29 ของพวกเขาสัปดาห์นี้? ท่านอาจจะแบ่งชั้นเรียนออกเป็นกลุ่มๆ และให้สมาชิกชั้นเรียนสนทนาวลีที่พวกเขาพบว่ามีความหมายในข้อเหล่านี้ในกลุ่มของตน ข้อเหล่านี้เป็นแรงบันดาลใจให้เรา “ทำให้เกิดความชอบธรรมยิ่ง” (ข้อ 27) อย่างไร? เหตุใดพระเจ้าไม่ทรงต้องการให้เรา “ถูกบีบบังคับในทุกเรื่อง”? (ข้อ 26) ข้อเหล่านี้เสนอแนะอะไรเกี่ยวกับสิ่งที่พระเจ้าทรงปรารถนาให้เราเป็น?
สะบาโตเป็นวันของพระเจ้า
-
เพื่อช่วยสมาชิกชั้นเรียนสำรวจสิ่งที่พระเจ้าทรงสอนวิสุทธิชนยุคแรกในมิสซูรีเกี่ยวกับสะบาโต ท่านจะเชื้อเชิญให้พวกเขาค้นคว้า หลักคำสอนและพันธสัญญา 59:9–19 และเขียนสิ่งที่แต่ละข้อสอนเราเกี่ยวกับสะบาโตไว้บนกระดาน สมาชิกชั้นเรียนจะแบ่งปันเช่นกันว่าประจักษ์พยานเกี่ยวกับวันสะบาโตของพวกเขาเพิ่มพูนขึ้นอย่างไรเมื่อพวกเขารักษาวันสะบาโตให้ศักดิ์สิทธิ์ Sabbath.ChurchofJesusChrist.org มีวีดิทัศน์บางเรื่องที่จะช่วยเริ่มการสนทนา
-
ใน หลักคำสอนและพันธสัญญา 59 พระเจ้าทรงสอนเกี่ยวกับวันสะบาโตโดยใช้คำอย่างเช่น “การชื่นชมยินดี” “รื่นเริง” และ “ยินดี” (ข้อ 14–15) สมาชิกชั้นเรียนจะหาคำเช่นคำเหล่านี้ใน ข้อ 9–19 จากนั้นจะแบ่งปันสิ่งที่พวกเขาทำเพื่อทำให้สะบาโตเปี่ยมด้วยปีติ เราจะใช้ข้อเหล่านี้สอนผู้อื่นถึงสาเหตุที่เราให้เกียรติวันสะบาโตได้อย่างไร?
-
การสนทนานี้จะเป็นโอกาสให้สมาชิกชั้นเรียนได้แบ่งปันแนวคิดด้วยว่าพวกเขาและครอบครัวใช้สะบาโตทำให้บ้านเป็นศูนย์กลางของการเรียนพระกิตติคุณอย่างไร ให้พวกเขาแบ่งปันว่าความพยายามช่วยให้พวกเขา “หมดจดจากโลกได้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น” (ข้อ 9) อย่างไร
ศีลระลึกเป็นส่วนสำคัญยิ่งของการให้เกียรติสะบาโต
แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม
ความยากลำบากของเราสามารถนำเราไปหาพระผู้ช่วยให้รอด
ลินดา เอส. รีฟส์ อดีตสมาชิกในประธานสมาคมสงเคราะห์สามัญสอนว่า
“พระเจ้าทรงยอมให้เราถูกทดลองและถูกทดสอบ บางครั้งจนถึงที่สุดของเรา เราได้เห็นชีวิตของคนที่เรารัก—และอาจจะชีวิตของเราด้วย—เปรียบเสมือนมอดไหม้เป็นผุยผงและข้องใจว่าเหตุใดพระบิดาบนสวรรค์ผู้เปี่ยมด้วยความรักและความเอาใจใส่จึงทรงปล่อยให้สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้น แต่พระองค์ไม่ทรงทิ้งเราไว้ในกองเถ้าถ่าน พระองค์ทรงยืนกางพระพาหุเชื้อเชิญเราอย่างกระตือรือร้นให้มาหาพระองค์ …
“… พระองค์ทรงปรารถนาจะช่วยเรา ปลอบโยนเรา และบรรเทาความเจ็บปวดของเราเมื่อเราพึ่งพาพลังแห่งการชดใช้และให้เกียรติพันธสัญญาของเรา การทดลองและความยากลำบากที่เราประสบอาจเป็นสิ่งที่นำเรามาสู่พระองค์และยึดมั่นในพันธสัญญาของเราเพื่อเราจะได้กลับไปในที่ประทับของพระองค์และรับทุกสิ่งที่พระบิดาทรงมี” (“จงมารับพรแห่งพันธสัญญาของท่าน,” เลียโฮนา, พ.ย. 2013, 119–120)
ปรับปรุงการสอนของเรา
พึงแน่ใจว่าท่านกำลังสอนหลักคำสอนที่แท้จริง “ถามตัวเองอยู่เสมอว่า ‘สิ่งที่ฉันกำลังสอนช่วยสมาชิกชั้นเรียนเสริมสร้างศรัทธาในพระคริสต์ กลับใจ ทำและรักษาพันธสัญญากับพระผู้เป็นเจ้า และรับพระวิญญาณบริสุทธิ์ได้อย่างไร’” (การสอนในวิธีของพระผู้ช่วยให้รอด, 20)