เซมินารี
บทเรียน 46: หลักคำสอนและพันธสัญญา 29:36–50: ผู้มีสิทธิ์เสรีของตนเอง


“หลักคำสอนและพันธสัญญา 29:36–50: ผู้มีสิทธิ์เสรีของตนเอง” หลักคำสอนและพันธสัญญาคู่มือครูเซมินารี (2025)

“หลักคำสอนและพันธสัญญา 29:36–50” หลักคำสอนและพันธสัญญา คู่มือครูเซมินารี

บทเรียน 46: หลักคำสอนและพันธสัญญา 29

หลักคำสอนและพันธสัญญา 29:36–50

ผู้มีสิทธิ์เสรีของตนเอง

เลือกอย่างถูกต้อง

พระเจ้าทรงสอนโจเซฟ สมิธตลอดเกี่ยวกับการตกของอาดัมกับเอวาและสิทธิ์เสรีระหว่างที่ท่านทำงานแปลพระคัมภีร์ไบเบิลด้วยการดลใจ ใน หลักคำสอนและพันธสัญญา 29 พระเจ้าทรงสอนเรื่องการไถ่จากการตกของอาดัมกับเอวาผ่านการชดใช้ของพระเยซูคริสต์ จุดประสงค์ของบทเรียนนี้คือช่วยให้นักเรียนเข้าใจดีขึ้นเรื่องสิทธิ์เสรีที่พระผู้เป็นเจ้าประทานแก่เราและการไถ่ที่พระเยซูคริสต์ทรงมอบให้

กิจกรรมการเรียนรู้ที่อาจทำได้

การเลือก

เชื้อเชิญให้นักเรียนหวนนึกถึงการเลือกในช่วง 24 ชั่วโมงที่ผ่านมาขณะอ่านข้อความต่อไปนี้จากประธานโธมัส เอส. มอนสัน (1927–2018)

ประธานโธมัส เอส. มอนสัน

แทบไม่มีสักชั่วโมงในหนึ่งวันผ่านไปโดยที่เราไม่ต้องเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง การเลือกบางอย่างเป็นเรื่องเล็กน้อย บางอย่างมีผลกระทบยาวไกล บางอย่างจะไม่ส่งผลใดๆ ในนิรันดร และบางอย่างส่งผล ทั้งหมด (โธมัส เอส. มอนสัน, “สามอาร์ (R) ในการเลือก,” เลียโฮนา, พ.ย. 2010, 67)

ท่านอาจเขียน เล็กน้อย และ ส่งผลกระทบยาวไกล บนกระดาน เชื้อเชิญให้นักเรียนเขียนการเลือกทั่วไปที่ผู้คนทำไว้ใต้แต่ละหัวข้อ จากนั้นให้พวกเขาสนทนาว่าการเลือกใดสำคัญที่สุดถ้ามองไกลถึงนิรันดรก่อนที่เราจะเลือก

  • ท่านได้ทำหรือจะทำการตัดสินใจใดบ้างที่ส่งผลกระทบยาวไกลและสามารถมีอิทธิพลอย่างยิ่งต่อความสัมพันธ์ของท่านกับพระบิดาบนสวรรค์?

สิทธิ์เสรีของเรา

อ่าน หลักคำสอนและพันธสัญญา 29:36–38 เพื่อมองหาการตัดสินใจที่ส่งผลกระทบยาวไกลที่ลูกทุกคนของพระผู้เป็นเจ้าต้องทำก่อนชีวิตนี้

  • เราทุกคนมีการเลือกอะไรก่อนชีวิตนี้

เอ็ลเดอร์โรเบิร์ต•ดี. เฮลส์ (1932–2017) แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองอธิบายผลกระทบยาวไกลของการเลือกก่อนเราเกิด

2:3
เอ็ลเดอร์โรเบิร์ต ดี. เฮลส์

เพราะลูซิเฟอร์กบฏ ความขัดแย้งทางวิญญาณครั้งใหญ่จึงเกิดขึ้น ลูกแต่ละคนของพระบิดาบนสวรรค์มีโอกาสใช้สิทธิ์เสรีที่พระบิดาบนสวรรค์ประทานให้ เราเลือกมีศรัทธาในพระผู้ช่วยให้รอดพระเยซูคริสต์—มาหาพระองค์ ติดตามพระองค์ และยอมรับแผนที่พระบิดาบนสวรรค์ทรงเสนอเพื่อเห็นแก่เรา แต่ลูกหนึ่งในสามของพระบิดาบนสวรรค์ไม่มีศรัทธาจะติดตามพระผู้ช่วยให้รอดและเลือกติดตามลูซิเฟอร์หรือซาตานแทน

พระผู้เป็นเจ้าตรัสว่า “ดังนั้น เพราะว่าซาตานกบฏต่อเรา และหมายมั่นจะทำลายสิทธิ์เสรีของมนุษย์ ซึ่งเรา, พระเจ้า พระผู้เป็นเจ้า, ให้เขาไว้, … เราจึงทำให้เขาถูกโยนลงไป” [โมเสส 4: 3] (โรเบิร์ต ดี. เฮลส์, “สิทธิ์เสรี: จำเป็นต่อแผนแห่งชีวิต,เลียโฮนา, พ.ย. 2010, 29)

ทำเครื่องหมายคำว่า สิทธิ์เสรี ใน ข้อ 36

  • ท่านจะอธิบายความหมายของคำว่า สิทธิ์เสรี อย่างไร?

หากนักเรียนต้องการความช่วยเหลือในการนิยามสิทธิ์เสรี ท่านอาจเชื้อเชิญให้พวกเขาดูคู่มือพระคัมภีร์

ความจริงอย่างหนึ่งที่เราสามารถเรียนรู้ได้จากข้อเหล่านี้คือ เพราะพระผู้เป็นเจ้าประทานสิทธิ์เสรีแก่เรา เราจึงเลือกได้ว่าจะติดตามหรือปฏิเสธพระองค์

  • การที่พระผู้เป็นเจ้าประทานความสามารถในการเลือกให้เราแสดงความรักที่พระองค์ทรงมีต่อเราอย่างไร?

การตกและสิทธิ์เสรีของเรา

ไอคอนเอกสารแจกท่านอาจเชื้อเชิญให้นักเรียนจัดกลุ่มเล็กๆ โดยจัดเตรียมเอกสารแจกต่อไปนี้ให้หมวดละกลุ่ม เชื้อเชิญให้พวกเขาอ่านข้อที่แนะนำและสนทนาคำถามด้วยกัน บอกพวกเขาว่าพระคัมภีร์บางข้อพูดเกี่ยวกับการตกของอาดัมกับเอวาโดยตรง แต่พระวิญญาณทรงสามารถช่วยให้พวกเขาเห็นว่าประสบการณ์ของอาดัมกับเอวาประยุกต์ใช้กับชีวิตเราในยุคสมัยนี้ได้อย่างไร

สิทธิ์เสรีและการไถ่ผ่านพระเยซูคริสต์

การล่อลวงของมาร

อ่าน หลักคำสอนและพันธสัญญา 29:39 และ 2 นีไฟ 2:16–18 และสนทนาคำถามต่อไปนี้:

  • โดยที่รู้ว่าเราเลือกทำตามแผนของพระบิดาบนสวรรค์ก่อนชีวิตนี้ อะไรมักจะทำให้เลือกติดตามพระองค์บนโลกนี้ได้ยาก?

  • กลวิธีที่ได้ผลที่สุดของซาตานเพื่อให้คนบนแผ่นดินโลกเลือกไม่ทำตามคำแนะนำของพระผู้เป็นเจ้าคืออะไร?

  • พระผู้เป็นเจ้าประทานพรอะไรแก่เราบ้างเพื่อช่วยเอาชนะการล่อลวงของซาตาน?

ผลจากการเลือกของเรา

อ่าน หลักคำสอนและพันธสัญญา 29:40–41 และ แอลมา 41:10–11; 42: 9, 14 และสนทนาคำถามต่อไปนี้:

  • เราอยู่ใต้อาณัติของมารในด้านใดบ้างเมื่อเราเลือกกบฏต่อพระผู้เป็นเจ้า?

  • ท่านคิดว่าเหตุใดคำว่า “ความตายทางวิญญาณ” จึงเป็นคำอธิบายที่ดีของการแยกจากพระบิดาบนสวรรค์?

  • ท่านจะอธิบายความรู้สึกที่เราประสบหลังจากใช้สิทธิ์เสรีต่อต้านพระประสงค์ของพระบิดาบนสวรรค์ว่าอย่างไร?

การไถ่ผ่านพระบุตรองค์เดียวที่ถือกำเนิดของพระผู้เป็นเจ้า

อ่าน หลักคำสอนและพันธสัญญา 29:42–43 และ 2 นีไฟ 2:6–9 และสนทนาคำถามต่อไปนี้:

  • พระเยซูคริสต์ทรงทำอะไรบ้างเพื่อทำให้การไถ่มีผลแม้หลังจากที่เราเลือกไม่ดี?

  • ท่านอยากแบ่งปันอะไรบ้างเกี่ยวกับพระบิดาบนสวรรค์และพระเยซูคริสต์ที่จะให้ความหวังแก่คนที่รู้สึกว่าตนไปไกลมากแล้ว?

  • ท่านจะยกตัวอย่างอะไรบ้างเพื่อแสดงให้เห็นลักษณะการไถ่และการให้อภัยของพระบิดาบนสวรรค์และพระเยซูคริสต์?

หลังจากนักเรียนมีเวลาสนทนาคำถามในกลุ่มของตนแล้ว ให้พวกเขาจัดกลุ่มใหม่กับนักเรียนที่ศึกษาเอกสารแจกส่วนอื่นๆ และผลัดกันแบ่งปันสิ่งที่ได้เรียนรู้

เมื่อนักเรียนแบ่งปันเสร็จแล้ว ท่านอาจอ่าน 2 นีไฟ 2:26–29 กับชั้นเรียน เชื้อเชิญให้นักเรียนมองหาและแบ่งปันวลีที่ยืนยันหรือเสริมสิ่งที่พวกเขาเรียนรู้ในกิจกรรมก่อนหน้านี้

การเลือกการไถ่ผ่านพระเยซูคริสต์

นักเรียนบางคนอาจรู้สึกว่าการเลือกของพวกเขาทำให้ห่างเหินจากพระผู้เป็นเจ้าอย่างถาวรแล้ว เพื่อเปิดโอกาสให้พวกเขามุ่งเน้นไปที่การไถ่ของพระคริสต์ ท่านอาจให้ดูสถานการณ์สมมติ เช่นสถานการณ์ต่อไปนี้ เชื้อเชิญให้นักเรียนเพิ่มรายละเอียดที่พวกเขารู้สึกว่าเป็นจริงสำหรับวัยรุ่นในปัจจุบัน

เยาวชนหญิงคนหนึ่งชื่อมารีได้ทำการเลือกบางอย่างที่เธอรู้ว่าผิด เธอรู้สึกเสียใจและเหินห่างจากพระผู้เป็นเจ้าและสงสัยว่ามีความหวังสำหรับเธอหรือไม่

ใช้สิ่งที่ท่านได้เรียนรู้ในวันนี้เกี่ยวกับสิทธิ์เสรีและการไถ่ผ่านพระคริสต์เขียนคำตอบที่ท่านจะแบ่งปันกับมารีเพื่อกระตุ้นเธอให้ปฏิบัติด้วยความหวังและศรัทธาแม้จะเคยเลือกไม่ดีมาก่อน

ท่านอาจให้นักเรียนสองสามคนแบ่งปันคำตอบของพวกเขากับชั้นเรียน ขณะที่นักเรียนฟังคำตอบของเพื่อนร่วมชั้น กระตุ้นให้พวกเขาจินตนาการว่ามารีน่าจะรู้สึกอย่างไรเมื่อได้ยินพวกเขา

อ่านข้อความของประธานโธมัส เอส. มอนสัน (1927–2018) โดยมองหาการเลือกที่ท่านจะกระตุ้นให้มารีทำ

ประธานโธมัส เอส. มอนสัน

เมื่อเราใคร่ครวญการตัดสินใจที่เราทำในชีวิตแต่ละวัน—ไม่ว่าจะทำการเลือกใด—หากเราเลือกพระคริสต์ เราจะเลือกได้ถูกต้อง (โธมัส เอส. มอนสัน, “การเลือก,” เลียโฮนา, เม.ย. 2016, 86)

ท่านอาจจะสรุปชั้นเรียนโดยให้นักเรียนเขียนคำตอบของคำพูดกระตุ้นต่อไปนี้ลงในสมุดบันทึกการศึกษาหรือที่ใดที่หนึ่งที่พวกเขาจะเห็นซ้ำๆ ตลอดทั้งสัปดาห์

ไอคอนการอบรมเชื้อเชิญให้นักเรียนแบ่งปัน: ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างการใช้คำพูดกระตุ้นเพื่อช่วยให้นักเรียนแบ่งปันความคิด ดูวิธีเพิ่มเติมเกี่ยวกับการสร้างคำพูดกระตุ้นที่ช่วยให้นักเรียนแบ่งปันความคิดได้จากการอบรมเรื่อง “คิดคำพูดกระตุ้นที่ช่วยให้นักเรียนบอกความรู้สึก ประสบการณ์ และประจักษ์พยานของพวกเขา” การอบรมนี้อยู่ใน ทักษะการพัฒนาครู

สัปดาห์นี้ฉันจะใช้สิทธิ์เสรีของฉันเลือกพระคริสต์โดย …