ความช่วยเหลือเพิ่มเติมสำหรับการพัฒนาครู
ประสบการณ์การเรียนรู้ 1: การดำเนินชีวิตและการสอนในวิธีของพระผู้ช่วยให้รอด


ประสบการณ์การเรียนรู้ 1

การดำเนินชีวิตและการสอนในวิธีของพระผู้ช่วยให้รอด

สาระโดยสังเขป

ประสบการณ์การเรียนรู้นี้ครอบคลุมแนวคิดต่อไปนี้

  • การสอนเป็นความรับผิดชอบที่ยิ่งใหญ่ของท่าน

  • พระเยซูคริสต์ พระปรมาจารย์

  • การดำเนินชีวิตและการสอนตามอย่างพระผู้ช่วยให้รอด

ชั้นเรียนเซมินารี

แนวคิดหลัก

ยินดีต้อนรับเข้าสู่เซมินารีและสถาบันศาสนา (เอสแอนด์ไอ) ในโปรแกรมเซมินารีและสถาบันทั่วโลก ครูและผู้นำหลายพันคนช่วยให้เยาวชนและคนหนุ่มสาวของศาสนจักรเรียนรู้และประยุกต์ใช้หลักคำสอนและหลักธรรมพระกิตติคุณของพระเยซูคริสต์ เรารู้สึกปลื้มปีติที่ท่านปรารถนาจะรับใช้พระเจ้าในงานมอบหมายอันสำคัญนี้

ความรับผิดชอบที่ยิ่งใหญ่ของการสอนบุตรธิดาของพระผู้เป็นเจ้า

เอ็ลเดอร์เจฟฟรีย์ อาร์. ฮอลแลนด์ แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองสอนเกี่ยวกับความรับผิดชอบของการสอนบุตรธิดาของพระผู้เป็นเจ้าดังนี้

เอ็ลเดอร์เจฟฟรีย์ อาร์. ฮอลแลนด์

“เราสำนึกคุณ อย่างยิ่ง ต่อทุกคนที่สอน เรารักท่านและชื่นชมท่านเกินกว่าจะกล่าว เรามีความเชื่อมั่นในตัวท่านมาก การสอนอย่างมีประสิทธิภาพและรู้สึกว่าท่านประสบความสำเร็จเป็นงานที่เรียกร้องอย่างแท้จริง แต่สิ่งนั้นคุ้มค่า เราจะได้รับการเรียกที่ ‘ไม่มีการเรียกใดยิ่งใหญ่กว่า’ [ไม่มีการเรียกใดยิ่งใหญ่กว่าการสอน (เนื้อหาข้อมูลสำหรับการพัฒนาครู, 1978)] …

“สำหรับเราแต่ละคน การ ‘มาหาพระคริสต์’ [คพ. 20:59] การรักษาพระบัญญัติ และทำตามแบบอย่างของพระองค์เพื่อกลับไปหาพระบิดาเป็นจุดประสงค์สูงสุดและศักดิ์สิทธิ์ที่สุดในการดำรงอยู่ของมนุษย์ การช่วยให้ผู้อื่นทำเช่นเดียวกัน—สอน ชักชวน และนำพวกเขาร่วมกับการสวดอ้อนวอนให้เดินไปตามเส้นทางแห่งการไถ่—จะต้องเป็นภารกิจสำคัญที่สุดอันดับสองในชีวิตเราโดยแน่แท้ บางทีนี่อาจเป็นสาเหตุที่ประธานเดวิด โอ. แมคเคย์กล่าวไว้ว่า ‘ไม่มีความรับผิดชอบใดที่ตกอยู่กับชาย [หรือหญิง] จะยิ่งใหญ่กว่าการเป็นครูสอนบุตรธิดาของพระผู้เป็นเจ้า’ [เดวิด โอ. แมคเคย์ ใน Conference Report, Oct. 1916, 57]” (“ครูที่มาจากพระเจ้า,” เลียโฮนา, ก.ค. 1998, 28)

พระคริสต์ทรงสอนในธรรมศาลา

พระเยซูคริสต์ พระปรมาจารย์

ท่านจะได้รับความช่วยเหลือจากสวรรค์เมื่อท่านพยายามเติบโตและพัฒนาในฐานะครูสอนบุตรธิดาของพระผู้เป็นเจ้าและพยายามเลียนแบบชีวิตท่านและการสอนของท่านตามอย่างพระผู้ช่วยให้รอด

ไอคอนวีดิทัศน์ ใช้เวลาสักครู่ดูวีดิทัศน์เรื่อง “พระปรมาจารย์” (3:51) มีอยู่ที่ LDS.org ในวีดิทัศน์เรื่องนี้ ประธานบอยด์ เค. แพคเกอร์ (1924-2015) แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองพูดถึงแง่มุมต่างๆ ของการสอนพระกิตติคุณ

3:51

ไอคอนแบ่งปันขณะดูวีดิทัศน์ ให้ฟังเหตุผลจำเป็นที่ท่านต้องดำเนินชีวิตและสอนตามอย่างพระผู้ช่วยให้รอด จดความเข้าใจและความประทับใจของท่านลงในสมุดบันทึกการศึกษาหรืออีกที่หนึ่งซึ่งท่านสามารถเปิดอ่านและแบ่งปันกับหัวหน้าหรือกลุ่มนิเทศของท่านได้

กิจกรรมหนังสือคู่มือการสอนและเรียนรู้พระกิตติคุณ

ปกหนังสือคู่มือ

ประธานบอยด์ เค. แพคเกอร์แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองสอนเกี่ยวกับพระผู้ช่วยให้รอดในฐานะต้นแบบสำหรับครู ดังนี้

ประธานบอยด์ เค. แพคเกอร์

“เราจะหาต้นแบบใดดีกว่านี้ได้เล่า เราจะใช้วิธีศึกษาใดดีไปกว่าการวิเคราะห์แนวความคิด เป้าหมาย และวิธีการของเรา และเปรียบเทียบกับวิธีการของพระเยซูคริสต์” (Teach Ye Diligently, rev. ed. [1991], 22)

กิจกรรมต่อไปนี้จะช่วยให้ท่านเข้าใจลึกซึ้งขึ้นว่าพระผู้ช่วยให้รอดทรงสอนและทรงเป็นอิทธิพลต่อผู้อื่นอย่างไร พระองค์ทรงช่วยให้พวกเขาเรียนรู้ เติบโตทางวิญญาณ และเปลี่ยนใจเลื่อมพระกิตติคุณของพระองค์อย่างไร

ศึกษา คำนำ ในหน้า v-vii ของ การสอนและการเรียนรู้พระกิตติคุณ: คู่มือสำหรับครูและผู้นำในเซมินารีและสถาบันศาสนา (2012) ใช้ปากกาเน้นข้อความหรือขีดเส้นใต้คำกริยาที่พูดถึงวิธีต่างๆ ที่พระผู้ช่วยให้รอดทรงสอนและปฏิบัติศาสนกิจ

หลังจากท่านศึกษาหน้าเหล่านี้ใน การสอนและการเรียนรู้พระกิตติคุณ แล้ว ให้จดคำตอบของคำถามต่อไปนี้ไว้ตรงช่องว่างริมหน้าหนังสือคู่มือของท่าน (ขอให้ท่านเขียนหมายเหตุไว้ตรงช่องว่างริมหน้าหนังสือคู่มือของท่านตลอดบทเรียนเหล่านี้)

  • ท่านสังเกตเห็นอะไรเกี่ยวกับวิธีดำเนินชีวิต วิธีสอน และวิธีนำของพระผู้ช่วยให้รอด

  • พระองค์ทรงช่วยให้คนอื่นๆ เรียนรู้ เติบโตทางวิญญาณ และเปลี่ยนใจเลื่อมใสพระกิตติคุณของพระองค์อย่างไร

สรุปและการประยุกต์ใช้

หลักธรรมที่พึงจดจำ

  • ไม่มีความรับผิดชอบที่ตกอยู่กับบุคคลใดจะยิ่งใหญ่กว่าการเป็นครูสอนบุตรธิดาของพระผู้เป็นเจ้า

  • พระคริสต์ทรงเป็นพระปรมาจารย์ เราควรพยายามดำเนินชีวิตและสอนตามอย่างพระองค์

  • เราสอนสิ่งที่เราเป็น ซึ่งหมายความว่าการเป็นสานุศิษย์ของเรา คุณสมบัติของเรา ประจักษ์พยานของเรา และคำมั่นสัญญาของเราต่อพระกิตติคุณจะมีอิทธิพลต่อผู้อื่นได้มากเท่ากับคำพูดของเรา

ประธานบอยด์ เค. แพคเกอร์

“เราต้องได้รับของประทานในการสอน และเมื่อได้แล้ว เราต้องบำรุงเลี้ยงหากจะรักษาของประทานนั้นไว้” (บอยด์ เค. แพคเกอร์, Teach Ye Diligently, 345)

“ฉะนั้น เราต้องทำอะไร”

ประธานบอยด์ เค. แพคเกอร์แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองมักจะถามตอนท้ายการประชุมกับโควรัมอัครสาวกสิบสองว่า “ฉะนั้น เราต้องทำอะไร” เพื่อกระตุ้นการสนทนาว่าจะประยุกต์ใช้หัวข้อนั้นเพื่อเปลี่ยนชีวิตผู้คนอย่างไร (ดู เจฟฟรีย์ อาร์. ฮอลแลนด์, “Therefore, What?” [CES Conference on the New Testament, Aug. 8, 2000], si.lds.org). ตอนท้ายประสบการณ์การเรียนรู้แต่ละบท จงถามตนเองว่า “ฉะนั้น เราต้องทำอะไร” และคิดดูว่าตัวท่านจะประยุกต์ใช้หัวข้อและหลักธรรมที่สนทนาไปแล้วอย่างไร

เพื่อสรุปประสบการณ์การเรียนรู้นี้ ให้จดบางสิ่งที่ท่านจะทำโดยยึดหลักธรรมที่ท่านเรียนรู้วันนี้