ประสบการณ์การเรียนรู้ 10
การตัดสินใจว่าจะสอนอะไร: ใช้พระคัมภีร์และคู่มือครู
สาระโดยสังเขป
ประสบการณ์การเรียนรู้นี้ครอบคลุมแนวคิดต่อไปนี้
-
การแนะนำคู่มือครู
-
การนำมาใช้และปรับให้เหมาะกับหลักสูตร
-
การใช้คู่มือครูและพระคัมภีร์เตรียมบทเรียน
แนวคิดหลัก
ซิสเตอร์เมอร์เรย์มีความสุขกับการสอนชั้นเรียนหลักคำสอนพระกิตติคุณเดือนละสองครั้งในวอร์ดของเธอ แม้จะตื่นเต้นกับการเป็นครูเซมินารีที่ได้รับเรียกใหม่ แต่เธอสงสัยว่าจะเตรียมบทเรียนให้มีประสิทธิภาพทุกวันได้อย่างไร “การเตรียมและการสอนบทเรียนทุกวันดูเหมือนเป็นพันธะใหญ่หลวง มีแหล่งข้อมูลอะไรช่วยดิฉันบ้าง”
การแนะนำคู่มือครู
การเตรียมบทเรียนทุกวันธรรมดาดูเหมือนเป็นภารกิจที่น่าท้อใจและใช้เวลามาก
ฉายวีดิทัศน์เรื่อง “คำเกริ่นนำคู่มือครู” (4:01) มีอยู่ที่ LDS.org ในวีดิทัศน์เรื่องนี้ ท่านจะเรียนรู้วิธีใช้พระคัมภีร์และคู่มือครูเตรียบทเรียนให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
หมายเหตุ: ถ้าท่านยังไม่ได้คู่มือครู ให้ติดต่อหัวหน้าของท่าน ท่านสามารถหาคู่มือทั้งหมดสำหรับสถาบันใน lds.org/manual/institute และสำหรับเซมินารีใน lds.org/manual/seminary ได้เช่นกัน
หลักพื้นฐานของการสอนและการเรียนรู้พระกิตติคุณในคู่มือครู
คู่มือครูเซมินารีและสถาบันจัดทำไว้ช่วยให้ท่านใช้หลักพื้นฐานของการสอนและการเรียนรู้พระกิตติคุณขณะที่ท่านเตรียมและสอนบทเรียนแต่ละบท
ดูวีดิทัศน์เรื่อง “หลักพื้นฐานในหลักสูตร” (2:15) มีอยู่ที่ LDS.org ขณะที่ท่านดูวีดิทัศน์ ให้มองหาว่าคู่มือครูเซมินารีและสถาบันช่วยครูใช้หลักพื้นฐานของการสอนและการเรียนพระกิตติคุณในบทเรียนแต่ละบทอย่างไร
นำมาใช้และปรับหลักสูตรให้เหมาะสม
เอ็ลเดอร์ดัลลิน เอช. โอ๊คส์ แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสอง สอนดังต่อไปนี้ว่าครูควรใช้เนื้อหาหลักสูตรของเซมินารีและสถาบันอย่างไร
“เรานำมาใช้ก่อน แล้วค่อยปรับให้เหมาะสม ถ้าเราคุ้นเคยกับบทเรียนที่เราต้องสอนเป็นอย่างดี เราสามารถทำตามพระวิญญาณเพื่อปรับให้เหมาะสมได้” (“A Panel Discussion with Elder Dallin H. Oaks” [Seminaries and Institutes of Religion satellite broadcast, Aug. 7, 2012], 6; si.lds.org)
ในฐานะครูเซมินารีและสถาบัน เรานำหลักสูตรในคู่มือครูมาใช้และปรับให้เหมาะกับความต้องการของนักเรียนของเรา
นำมาใช้ |
ปรับให้เหมาะสม |
---|---|
การนำมาใช้ หมายถึงการอ่านและตั้งใจศึกษาพระคัมภีร์และบทเรียนที่กำหนดไว้ในคู่มือครูของท่าน หลักสูตรช่วยให้ท่านเข้าใจพระคัมภีร์ เจตนาของผู้เขียนที่ได้รับการดลใจ หลักธรรมที่ทำให้เปลี่ยนใจเลื่อมใส และหลักคำสอนพื้นฐาน วางใจเนื้อหาและใช้ในห้องเรียนของท่าน |
การปรับให้เหมาะสม หมายความว่าท่านกำหนดรายละเอียดของบทเรียนตามที่พระวิญญาณทรงนำเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของนักเรียนแต่ละคนและช่วยให้พวกเขาประสบความสำเร็จ |
การใช้พระคัมภีร์และคู่มือครูเตรียมบทเรียน
เมื่อท่านใช้คู่มือครูอย่างมีประสิทธิภาพ ท่านจะสามารถเตรียมบทเรียนจรรโลงใจที่ไม่ต้องใช้เวลาเตรียมหลายชั่วโมง
ดูวีดิทัศน์เรื่อง “สาระโดยสังเขปของหลักสูตร” (4:45) มีอยู่ที่ LDS.org วีดิทัศน์เรื่องนี้สรุปว่าการใช้พระคัมภีร์พร้อมกับคู่มือครูจะช่วยท่านเตรียมบทเรียนที่มีประสิทธิภาพให้นักเรียนของท่านได้อย่างไร
ดูวีดิทัศน์เรื่อง “การใช้พระคัมภีร์และคู่มือครู” (5:11) มีอยู่ที่ LDS.org ในวีดิทัศน์เรื่องนี้ ซิสเตอร์วิลสันแบ่งปันคำแนะนำที่สำคัญเกี่ยวกับการใช้พระคัมภีร์คู่กับหลักสูตรในการเตรียมบทเรียน ขณะดูวีดิทัศน์ ให้มองหาแนวคิดสำคัญที่พึงจดจำขณะเตรียมบทเรียน
สรุปและการประยุกต์ใช้
หลักธรรมที่พึงจดจำ
พระคัมภีร์เป็นแหล่งเนื้อหาของการสอน และคู่มือครูเป็นแหล่งช่วยเตรียมบทเรียนของท่าน
-
หลักสูตรจัดเรียงในลักษณะที่จะช่วยให้ท่านเตรียมบทเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
-
ท่านสามารถนำมาใช้และปรับหลักสูตรให้เหมาะกับความต้องการของนักเรียน
-
ขณะปรับหลักสูตรให้เหมาะสม พึงพิจารณาความต้องการของนักเรียนและการกระตุ้นเตือนของพระวิญญาณบริสุทธิ์
-
ท่านสามารถสอนตามความต้องการของนักเรียนได้เมื่อท่านเตรียมบทเรียนโดยใช้หลักสูตรอย่างมีประสิทธิภาพ
“คนเหล่านั้นที่ศาสดาพยากรณ์เรียกให้รับรองความถูกต้องของหลักคำสอนที่สอนในศาสนจักรจะทบทวนทุกคำ ทุกภาพ ทุกแผนภาพในหลักสูตรที่ท่านได้รับ เราสามารถไขพลังของหลักสูตรได้อย่างง่ายดายโดยทำตามศรัทธาของเราที่ว่าหลักสูตรได้รับการดลใจจากพระผู้เป็นเจ้า …
“การยึดตามเนื้อหาหลักสูตรและลำดับเนื้อหาจะไขของประทานพิเศษในการสอนของเรา ไม่ใช่ปิดกั้นของประทานเหล่านั้น” (เฮนรีย์ บี. อายริงก์, “The Lord Will Multiply the Harvest” [ยามค่ำกับเอ็ลเดอร์เฮนรีย์ บี. อายริงก์, 6 ก.พ. 1998], 4, 5, si.lds.org)
“ฉะนั้น เราต้องทำอะไร”
เพื่อสรุปประสบการณ์การเรียนรู้นี้ ให้จดบางสิ่งที่ท่านจะทำโดยยึดหลักธรรมที่ท่านเรียนรู้วันนี้