ความช่วยเหลือเพิ่มเติมสำหรับการพัฒนาครู
ประสบการณ์การเรียนรู้ 13: การตัดสินใจว่าจะสอนอย่างไร: ใช้ศรัทธา


ประสบการณ์การเรียนรู้ 13

การตัดสินใจว่าจะสอนอย่างไร: ใช้ศรัทธา

สาระโดยสังเขป

ประสบการณ์การเรียนรู้นี้ครอบคลุมแนวคิดต่อไปนี้

  • การมีความมั่นใจในพลังแห่งพระวจนะของพระผู้เป็นเจ้า

  • การใช้ศรัทธาในพระเจ้าและในพระวิญญาณ

  • การวางใจนักเรียนของท่าน

แนวคิดหลัก

ความเชื่อหลักสามประการ

ย่อหน้า “การสอน” ของวัตถุประสงค์ของเซมินารีและสถาบันกล่าวว่า “เราสอนนักเรียนให้รู้หลักคำสอนและหลักธรรมพระกิตติคุณตามที่มีอยู่ในพระคัมภีร์และถ้อยคำของศาสดาพยากรณ์ โดยหลักคำสอนและหลักธรรมเหล่านี้สอนในวิธีที่ทำให้เกิดความเข้าใจและความจรรโลงใจ เราช่วยให้นักเรียนมีสัมฤทธิผลในบทบาทของพวกเขาในกระบวนการเรียนรู้และเตรียมพวกเขาให้พร้อมสอนพระกิตติคุณแก่ผู้อื่น” (การสอนและการเรียนพระกิตติคุณ: คู่มือสำหรับครูและผู้นำในเซมินารีและสถาบันศาสนา [2012], x)

ย่อหน้านี้บอกเป็นนัยว่าการกระทำของครูที่มีประสิทธิภาพสะท้อนความเชื่อหลักที่สำคัญสามประการ คือ

  1. เรามีความมั่นใจในพลังแห่งพระวจนะ

  2. เราสามารถใช้ศรัทธาในพระเจ้าและในพระวิญญาณ

  3. เราสามารถวางใจนักเรียน

ในประสบการณ์การเรียนรู้นี้ ท่านจะสำรวจแนวคิดหลักที่จัดทำไว้ให้ท่านมีความเข้าใจและความเชื่อลึกซึ้งขึ้นในองค์ประกอบทั้งสามนี้

ม้านั่ง 3 ขา

เหมือนขาแต่ละข้างของม้านั่งสามขา ความเชื่อหลักทั้งสามต่างจำเป็น ครูจะประสบความสำเร็จมากขึ้นเมื่อวิธีการของพวกเขาสอดคล้องกับความเชื่อหลักทั้งสามนี้

ม้านั่ง 2 ขา

อย่างไรก็ดี บางครั้งวิธีการของครูไม่สอดคล้องกับสิ่งที่พวกเขาเชื่อในใจ เฉกเช่นม้านั่งสามขาจะสมดุลไม่ได้ถ้าขาข้างหนึ่งหักหรือหายไป หนังสือคู่มือ การสอนและการเรียนรู้พระกิตติคุณ แนะนำว่าเมื่อครูไม่ประสบความสำเร็จ นั่นมักจะเป็นเพราะขาดองค์ประกอบใดองค์ประกอบหนึ่งต่อไปนี้

  1. ความมั่นใจในพลังแห่งพระวจนะ

  2. ศรัทธาในพระเจ้าและในพระวิญญาณ

  3. ความวางใจนักเรียน

ไอคอนวีดิทัศน์ดูวีดิทัศน์เรื่อง “ความเชื่อหลักสามประการ” (1:47) มีอยู่ที่ LDS.org ในวีดิทัศน์เรื่องนี้ แชด เว็บบ์ ผู้บริหารเซมินารีและสถาบันศาสนาพูดถึงเวลาที่เขารู้สึกว่าวิธีสอนของเขาไม่สอดคล้องกับความเชื่อหลัก สังเกตสิ่งที่เขาตั้งใจทำเพราะประสบการณ์นี้

1:47

ความมั่นใจในพลังแห่งพระวจนะ

อ่านสองย่อหน้าใต้หัวข้อย่อย “ความมั่นใจในพลังแห่งพระวจนะ” ในหัวข้อ 4.1.3 ของหนังสือคู่มือ การสอนและการเรียนรู้พระกิตติคุณ (หน้า 47-48) จากนั้นให้อ่านข้อพระคัมภีร์ต่อไปนี้

ขณะอ่านจากหนังสือคู่มือและพระคัมภีร์ ให้ทำดังนี้

  • มองหาคำหรือวลีบ่งบอกพรที่พระคัมภีร์สามารถนำเข้ามาในชีวิตท่านและชีวิตนักเรียนของท่านได้

  • ไตร่ตรองประสบการณ์เมื่อพระคัมภีร์เป็นพรแก่ชีวิตท่านหรือชีวิตผู้อื่น ท่านอาจบันทึกความคิดและความประทับใจของท่าน

ไอคอนวีดิทัศน์ในห้องเรียนที่ครูและนักเรียนมีความมั่นใจในพลังแห่งพระวจนะ พระคัมภีร์จะมีบทบาทสำคัญในการสอนและการเรียนรู้ ดูวีดิทัศน์เรื่อง “การสอนที่มีพระคัมภีร์เป็นศูนย์กลาง” (3:20) มีอยู่ที่ LDS.org ในวีดิทัศน์เรื่องนี้ บราเดอร์เว็บบ์อธิบายว่าห้องเรียนน่าจะเป็นอย่างไรและเหตุใดจึงสำคัญที่ต้องเป็นอย่างนั้น ขณะที่ท่านดู ให้จดจำคำถามต่อไปนี้

  • ท่านจะเห็นอะไรในห้องเรียนที่พระคัมภีร์เป็นศูนย์กลางของการสอนและการเรียนรู้

  • เหตุใดจึงสำคัญที่ครูต้องทำให้พระคัมภีร์เป็นศูนย์กลางของประสบการณ์ห้องเรียนของนักเรียน

3:20

ไอคอนแบ่งปันจดคำตอบของคำถามเหล่านี้ลงในสมุดบันทึกการศึกษาหรืออีกที่หนึ่งที่ท่านสามารถเปิดอ่านและแบ่งปันกับหัวหน้าหรือกลุ่มนิเทศของท่านได้

ศรัทธาในพระเจ้าและในพระวิญญาณ

อ่านสองย่อหน้าใต้หัวข้อย่อย “ศรัทธาในพระเจ้าและในพระวิญญาณ” ในหัวข้อ 4.1.3 ของหนังสือคู่มือ การสอนและการเรียนรู้พระกิตติคุณ (หน้า 48) ขณะอ่านให้ดูว่าการใช้ศรัทธาในพระเจ้าและในพระวิญญาณจะสร้างความแตกต่างในชีวิตนักเรียนของท่านได้อย่างไร

ไอคอนวีดิทัศน์ดูวีดิทัศน์เรื่อง “พระเจ้าทรงรู้ความต้องการทุกอย่าง” (0:45) มีอยู่ที่ LDS.org วีดิทัศน์เรื่องนี้จะทำให้ความเข้าใจของท่านลึกซึ้งขึ้นว่าการใช้ศรัทธาในพระเจ้าและในพระวิญญาณสามารถเป็นพรทั้งแก่ท่านและนักเรียนของท่านได้อย่างไร ขณะที่ท่านดู ให้จดจำคำถามต่อไปนี้

  • ในฐานะครู ท่านจะแสดงให้เห็นศรัทธาในพระเจ้าและในพระวิญญาณได้ด้วยวิธีใดบ้าง

  • ความวางใจของท่านในพระเจ้าและในพระวิญญาณจะเป็นพรแก่นักเรียนของท่านอย่างไร

0:45

ไอคอนแบ่งปันจดคำตอบของคำถามเหล่านี้ลงในสมุดบันทึกการศึกษาหรืออีกที่หนึ่งที่ท่านสามารถเปิดอ่านและแบ่งปันกับหัวหน้าหรือกลุ่มนิเทศของท่านได้

ความวางใจนักเรียน

อ่านสี่ย่อหน้าแรกใต้หัวข้อย่อย “วางใจนักเรียน” ในหัวข้อ 4.1.3 ของหนังสือคู่มือ การสอนและการเรียนรู้พระกิตติคุณ (หน้า 48) ขณะอ่านให้มองหาคำหรือประโยคที่บ่งบอกว่าเหตุใดท่านจึงสามารถวางใจว่านักเรียนจะสามารถเรียนรู้ สอน และประยุกต์ใช้หลักคำสอนและหลักธรรมพระกิตติคุณ

ไอคอนวีดิทัศน์ดูวีดิทัศน์เรื่อง “คาดหวังจากนักเรียนของท่านมากขึ้น” (2:21) มีอยู่ที่ LDS.org วีดิทัศน์เรื่องนี้แสดงให้เห็นว่าความคาดหวังของครูคนหนึ่งและความวางใจในนักเรียนของเขาช่วยให้นักเรียน “รู้สึกถึงการปลุกเร้าของพระวิญญาณ” (บอนนี แอล. ออสคาร์สัน, “Greater Expectations” [Seminaries and Institutes of Religion satellite broadcast, Aug. 5, 2014], lds.org/broadcasts) ขณะที่ท่านดู ให้จดจำคำถามต่อไปนี้

  • ชั้นเรียนที่ครูวางใจว่านักเรียนสามารถเรียนรู้ สอน และดำเนินชีวิตตามพระกิตติคุณจะแตกต่างอย่างไรจากชั้นเรียนที่ครูมีความคาดหวังต่ำหรือมั่นใจในตัวนักเรียนเพียงเล็กน้อย

2:21

ไอคอนแบ่งปันจดความคิดของท่านเกี่ยวกับคำถามนี้ลงในสมุดบันทึกการศึกษาหรืออีกที่หนึ่งที่ท่านสามารถเปิดอ่านและแบ่งปันกับหัวหน้าหรือกลุ่มนิเทศของท่านได้

สรุปและการประยุกต์ใช้

หลักธรรมที่พึงจดจำ

เพื่อให้สอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ วิธีการสอนของท่านต้องสอดคล้องกับความเชื่อหลักสามข้อต่อไปนี้

  1. เราสามารถมีความมั่นใจในพลังแห่งพระวจนะของพระผู้เป็นเจ้า

  2. เราสามารถใช้ศรัทธาในพระเจ้าและในพระวิญญาณ

  3. เราสามารถวางใจนักเรียน

บางครั้งจะเป็นประโยชน์ถ้าถามตัวท่านว่าวิธีการสอนและการกระทำของท่านในชั้นเรียนสะท้อนการประยุกต์ใช้ความเชื่อหลักทั้งสามข้อนี้อย่างไร

เอ็ลเดอร์เฮนรีย์ บี. อายริงก์

“เพื่อตัวท่านและเพื่อนักเรียน ข้าพเจ้าขอให้ท่านมีศรัทธาว่าพวกเขาจะอยากอ่าน [พระคัมภีร์] ไม่ใช่ท่านต้องผลักดันพวกเขาให้อ่าน แต่พระคัมภีร์จะดึงดูดพวกเขาให้อ่าน” (เฮนรีย์ บี. อายริงก์, “The Book of Mormon Will Change Your Life” [CES symposium on the Book of Mormon, Aug. 17, 1990], 2, si.lds.org)

“ฉะนั้น เราต้องทำอะไร”

เพื่อสรุปประสบการณ์การเรียนรู้นี้ ให้จดบางสิ่งที่ท่านจะทำโดยยึดหลักธรรมที่ท่านเรียนรู้วันนี้