ความช่วยเหลือเพิ่มเติมสำหรับการพัฒนาครู
ประสบการณ์การเรียนรู้ 9: การเตรียมบทเรียน: ตัดสินใจว่าจะสอนอะไร


ประสบการณ์การเรียนรู้ 9

การเตรียมบทเรียน: ตัดสินใจว่าจะสอนอะไร

สาระโดยสังเขป

หมายเหตุ: ประสบการณ์การเรียนรู้ห้าเรื่องต่อจากนี้จัดทำไว้เพื่อช่วยให้ท่านเรียนรู้วิธีเตรียมบทเรียน ประสบการณ์การเรียนรู้ 9-10 เน้นการตัดสินใจว่าจะสอนอะไร และประสบการณ์การเรียนรู้ 11-13 เน้นการตัดสินใจว่าจะสอนอย่างไร

ประสบการณ์การเรียนรู้นี้ครอบคลุมแนวคิดต่อไปนี้

  • การสอนพระคัมภีร์เรียงตามลำดับ

  • การสร้างสมดุลระหว่างสอนอะไรและสอนอย่างไร

  • การตัดสินใจว่าจะสอนอะไร

แนวคิดหลัก

ครูที่ได้รับเรียกใหม่มักมีคำถามดังต่อไปนี้

  • การสอนเซมินารีต่างจากการสอนชั้นเรียนอื่นอย่างไร เช่น ชั้นเรียนหลักคำสอนพระกิตติคุณ สมาคมสงเคราะห์ โควรัมเอ็ลเดอร์ และอื่นๆ

  • ฉันเตรียมบทเรียนอย่างไร

  • ฉันควรใช้เวลาเลือกนานเท่าใดว่าจะสอนอะไรและสอนอย่างไร

  • ฉันตัดสินใจอย่างไรว่าจะสอนอะไร

ประสบการณ์การเรียนรู้นี้จะช่วยตอบคำถามเหล่านี้บางข้อ

การศึกษาและการสอนพระคัมภีร์เรียงตามลำดับ

ในหลักสูตรเซมินารีและสถาบันที่มุ่งเน้นงานมาตรฐานจะสอนพระคัมภีร์เรียงตามลำดับหนังสือและบทที่ปรากฎในพระคัมภีร์ บทเรียนเรียงตามช่วงพระคัมภีร์ไม่ใช่ตามหัวข้อ ช่วงพระคัมภีร์แต่ละช่วงอาจมีหลายบท หลายหลักธรรม และหลายหัวข้อที่ท่านสามารถเน้นได้ วิธีนี้ต่างจากหลักสูตรสถาบันที่สอนตามสาระสำคัญ

ไอคอนวีดิทัศน์ ดูวีดิทัศน์เรื่อง “การศึกษาพระคัมภีร์เรียงตามลำดับ” (0:46) มีอยู่ที่ LDS.org ในวีดิทัศน์เรื่องนี้ เอ็ลเดอร์เดวิด เอ. เบดนาร์แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองพูดถึงประโยชน์ของการศึกษาพระคัมภีร์เรียงตามลำดับ

0:46

กิจกรรมหนังสือคู่มือการสอนและการเรียนรู้พระกิตติคุณ

ปกหนังสือคู่มือ

อ่าน คำนำของบทที่ 3 ในหน้า 38-39 ของ การสอนและการเรียนรู้พระกิตติคุณ: คู่มือสำหรับครูและผู้นำในเซมินารีและสถาบันศาสนา (2012) เพื่อช่วยให้ท่านเข้าใจว่าเหตุใดหลักสูตรเซมินารีและสถาบันที่เน้นงานมาตรฐานจึงครอบคลุมพระคัมภีร์เรียงตามลำดับ ขณะที่ท่านอ่านหัวข้อนี้ในหนังสือคู่มือของท่าน ให้ทำเครื่องหมายด้านต่างๆ ที่การศึกษาพระคัมภีร์เรียงตามลำดับจะเป็นพรแก่ท่านและนักเรียนของท่าน

เมื่อสอนช่วงพระคัมภีร์เรียงตามลำดับ ท่านจะสอนหลักธรรมหลายข้อภายในบทเรียนเดียว หลักธรรมแต่ละข้อจะได้รับการเน้นในระดับที่ต่างกัน

ไอคอนวีดิทัศน์ดูวีดิทัศน์เรื่อง “การสอนพระคัมภีร์เรียงตามลำดับ” (4:28) มีอยู่ที่ LDS.org วีดิทัศน์เรื่องนี้แสดงให้เห็นแนวคิดสำคัญๆ หลายประการที่พึงพิจารณาเมื่อวางแผนการสอนช่วงพระคัมภีร์เรียงตามลำดับ

4:32

อะไรและอย่างไร: สร้างสมดุลการเตรียมของท่าน

ระหว่างเตรียมบทเรียน สำคัญที่ต้องสร้างสมดุลขณะพยายามตัดสินใจว่าจะสอนอะไรและสอนอย่างไร

การเตรียมที่ไม่สมดุล

ตาชั่งที่ไม่สมดุล อะไร
  1. อะไร

    เมื่อครูใช้เวลาและความพยายามมากเกินไปกับการตัดสินใจว่าจะสอน อะไร ครูจะมีเวลาไม่พอพิจารณาวิธีช่วยให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ บ่อยครั้งจะส่งผลให้บทเรียนน่าเบื่อและครูเป็นศูนย์กลางมากเกินไป

ตาชั่งที่ไม่สมดุล อย่างไร
  1. อย่างไร

    เมื่อครูใช้เวลาและความพยายามมากเกินไปกับการตัดสินใจว่าจะสอน อย่างไร บทเรียนจะขาดจุดประสงค์และพลัง ในกรณีนี้ นักเรียนอาจจดจำวิธีสอนมากกว่าข่าวสารที่ได้รับการดลใจจากพระคัมภีร์

การเตรียมที่สมุดล

ตาชั่งที่สมดุล

“เมื่อเตรียมบทเรียน ครูทุกคนต้องตัดสินว่า ‘ฉันจะสอนอะไร’ และ ‘ฉันจะสอนอย่างไร’” (การสอนและการเรียนรู้พระกิตติคุณ, 52) ท่านเพิ่งเรียนรู้ว่าเกิดอะไรขึ้นเมื่อไร อะไร และ อย่างไร ไม่สมดุลในการเตรียมของท่าน ตอนนี้ให้อ่านหัวข้อต่อไปนี้และสังเกตลักษณะของการเตรียมเมื่อ อะไร และ อย่างไร สมดุลกัน

  1. อะไร

    การเตรียมสอน อะไร ประกอบด้วย

    • การเข้าใจบริบท (ภูมิหลัง วัฒนธรรม และสภาวะแวดล้อม)

    • การเข้าใจเนื้อหา (โครงเรื่อง ผู้คน เหตุการณ์ โอวาท และคำอธิบายที่ได้รับการดลใจ)

    • การระบุหลักคำสอนหรือหลักธรรมสำคัญ

  2. อย่างไร

    การเตรียมสอน อย่างไร ประกอบด้วยการคิดหาวิธีและกิจกรรมที่ท่านจะใช้ช่วยให้นักเรียนเรียนรู้ (การสนทนาในชั้นเรียน คำถาม โสตทัศนอุปกรณ์ แบบฝึกหัด งานกลุ่มเล็ก และอื่นๆ)

ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ในหัวข้อ 4.3.2 (“ตัดสินใจว่าจะสอนอะไรและสอนอย่างไร”) ในหน้า 52 ของหนังสือคู่มือ การสอนและการเรียนรู้พระกิตติคุณ

ข้อกังวลของครูคนใหม่

ไอคอนวีดิทัศน์ดูวีดิทัศน์เรื่อง “ได้พระวจนะ” (8:54) มีอยู่ที่ LDS.org ในวีดิทัศน์เรื่องนี้ เลอาห์ เมอร์เรย์เป็นมารดาที่มีงานยุ่งและเพิ่งได้รับเรียกให้เป็นครูเซมินารี เช่นเดียวกับครูที่ได้รับเรียกใหม่หลายคน เธอรู้สึกหวั่นใจเรื่องหาเวลาเตรียมบทเรียนและสอนทุกวัน เธอสงสัยว่าจะเริ่มตรงไหน ขณะดูวีดิทัศน์ ให้มองหาว่าเธอไปหาใครเมื่อเธอต้องการความช่วยเหลือเรื่องการเรียกของเธอ ให้มองหาเช่นกันว่าเธอได้รับคำแนะนำอะไรเกี่ยวกับจุดสำคัญที่สุดที่ต้องเริ่มเมื่อเตรียมบทเรียน

8:54

การตัดสินใจว่าจะสอนอะไร: สี่ขั้นตอน

ขณะเตรียมบทเรียน ให้ทำตามสี่ขั้นตอนเหล่านี้เพื่อช่วยท่านตัดสินใจว่าจะสอนอะไร ขั้นตอนเหล่านี้อธิบายไว้ในหนังสือคู่มือ การสอนและการเรียนรู้พระกิตติคุณ หัวข้อ 4.3.3 (“ตัดสินใจว่าจะสอนอะไร”) ในหน้า 52-55

  1. ตั้งใจศึกษาพระคัมภีร์ให้เข้าใจบริบทและเนื้อหาของช่วงพระคัมภีร์

  2. ระบุและพยายามเข้าใจหลักคำสอนและหลักธรรมที่พบในช่วงพระคัมภีร์

  3. ตัดสินใจว่าหลักธรรมและหลักคำสอนใดสำคัญที่สุดที่นักเรียนต้องเรียนรู้และประยุกต์ใช้

  4. ตัดสินใจว่าจะเน้นย้ำช่วงพระคัมภีร์แต่ละตอนในระดับใด

กิจกรรมต่อไปนี้จะเน้นสี่ขั้นตอนของการตัดสินใจว่าจะสอนอะไร สำหรับกิจกรรมทั้งสี่ส่วน ให้ดูวีดิทัศน์แสดงวิธีทำแต่ละขั้นตอน จากนั้นให้ฝึกสิ่งที่ท่านเรียนรู้โดยสร้างบันทึกบทเรียนขณะทำสรุปสาระสำคัญ โมไซยาห์ 27

กิจกรรมการเตรียมบทเรียน

สตรีสองคนศึกษาที่โต๊ะ

ขั้นตอน 1: เข้าใจบริบทและเนื้อหาของช่วงพระคัมภีร์

หนังสือคู่มือ การสอนและการเรียนรู้พระกิตติคุณ มีข้อเสนอแนะสี่ประการให้พิจารณาเมื่อพยายามเข้าใจบริบทและเนื้อหาของช่วงพระคัมภีร์

  • ตั้งใจศึกษาช่วงพระคัมภีร์จนเนื้อหาชัดเจนและคุ้นเคย

  • สังเกตการแบ่งวรรคตามธรรมชาติในช่วงพระคัมภีร์ที่เกิดการเปลี่ยนหัวข้อหรือการกระทำ

  • แบ่งช่วงพระคัมภีร์ออกเป็นตอนสั้นๆ หรือกลุ่มข้อโดยอาศัยการแบ่งวรรคตามธรรมชาติ (หมายเหตุ: ท่านจะใช้ตอนสั้นๆ เหล่านี้จัดลำดับบทเรียน และอย่างน้อยก็ให้ความใส่ใจบ้างกับเนื้อหาทั้งหมดในช่วงพระคัมภีร์)

  • สรุปสิ่งที่เกิดขึ้นในพระคัมภีร์แต่ละตอน

ไอคอนวีดิทัศน์ดูวีดิทัศน์เรื่อง “การเตรียมบทเรียน: การแบ่งเป็นตอนๆและข้อความสรุป” (5:08) มีอยู่ที่ LDS.org ในวีดิทัศน์เรื่องนี้ ซิสเตอร์วิลสันสาธิตขั้นตอนเหล่านี้

5:8

ไอคอนเอกสารแจกสร้างเอกสารเปล่าคล้ายกับที่ท่านเห็นในวีดิทัศน์ หรือใช้เอกสารแจกชื่อ “ตัดสินใจว่าจะสอนอะไร” ซี่งมีอยู่ในภาคผนวกของคู่มือเล่มนี้ จากนั้นให้ระบุบริบทและเนื้อหาของช่วงพระคัมภีร์โดยทำดังนี้

  1. ศึกษาช่วงพระคัมภีร์ (โมไซยาห์ 27) เพื่อให้คุ้นเคยกับบริบทและเนื้อหา

  2. สังเกตการแบ่งวรรคตามธรรมชาติที่เกิดการเปลี่ยนหัวข้อหรือการกระทำ

  3. แบ่งช่วงพระคัมภีร์ออกเป็นกลุ่มข้อสั้นๆ ตามการแบ่งวรรคตามธรรมชาติเหล่านี้

  4. เขียนข้อความสรุปลงในเอกสารของท่านโดยบอกว่าเกิดอะไรขึ้นภายในพระคัมภีร์แต่ละตอน

เอกสารแจก ตัดสินใจว่าจะสอนอะไร
มือเขียนบนแบบฟอร์ม

ขั้นตอน 2: ระบุและเข้าใจหลักคำสอนและหลักธรรม

หลังจากสรุปข้อพระคัมภีร์เป็นตอนๆ แล้ว ท่านจะระบุหลักคำสอนและหลักธรรมในแต่ละตอน จากนั้นท่านจะเขียนข้อความที่ชัดเจนและเรียบง่ายเพื่อสรุปหลักคำสอนและหลักธรรมที่ท่านระบุ

ไอคอนวีดิทัศน์ดูวีดิทัศน์เรื่อง “การเตรียมบทเรียน: ระบุหลักคำสอนและหลักธรรม” (2:57) มีอยู่ที่ LDS.org ในวีดิทัศน์เรื่องนี้ ซิสเตอร์วิลสันสาธิตวิธีระบุหลักคำสอนและหลักธรรม สรุปเป็นข้อความที่เรียบง่าย และเขียนไว้ในสรุปสาระสำคัญบทเรียนของเธอ

2:57

กลับไปดูบันทึกบทเรียนของท่านสำหรับ โมไซยาห์ 27 และทำดังนี้

  1. ระบุหลักคำสอนและหลักธรรมในพระคัมภีร์แต่ละตอน

  2. เขียนหลักคำสอนหรือหลักธรรมแต่ละข้อลงในเอกสารของท่านโดยใช้ข้อความที่เรียบง่ายและชัดเจน

มือเขียนบนแบบฟอร์ม

ขั้นตอน 3: ตัดสินใจว่าหลักธรรมและหลักคำสอนใดสำคัญที่สุดที่นักเรียนต้องเรียนรู้และประยุกต์ใช้

ช่วงพระคัมภีร์มักมีเนื้อหามากเกินกว่าจะสนทนาในชั้นเรียนได้ พิจารณาประเด็นต่อไปนี้เมื่อตัดสินใจว่าหลักธรรมและหลักคำสอนใดสำคัญที่สุดที่นักเรียนต้องเรียนรู้และประยุกต์ใช้

  • การกระตุ้นเตือนของพระวิญญาณบริสุทธิ์

  • เจตนาของผู้เขียนที่ได้รับการดลใจ

  • หลักคำสอนและหลักธรรมที่ทำให้เปลี่ยนใจเลื่อมใส

  • ความต้องการและความสามารถของนักเรียนของท่าน

ไอคอนวีดิทัศน์ดูวีดิทัศน์เรื่อง “การเตรียมบทเรียน: ตัดสินใจว่าจะเน้นหลักธรรมใด” (5:07) มีอยู่ที่ LDS.org ในวีดิทัศน์เรื่องนี้ ซิสเตอร์วิลสันสาธิตวิธีตัดสินใจว่าหลักธรรมและหลักคำสอนใดสำคัญที่สุดที่นักเรียนต้องเรียนรู้และประยุกต์ใช้

5:7

กลับไปดูบันทึกบทเรียนของท่านสำหรับ โมไซยาห์ 27 และทำดังนี้

  1. ตัดสินใจว่าหลักธรรมและหลักคำสอนใดสำคัญที่สุดที่นักเรียนต้องเรียนรู้และประยุกต์ใช้ ขณะทำเช่นนั้น ให้พิจารณาดังนี้

    • การกระตุ้นเตือนของพระวิญญาณบริสุทธิ์

    • เจตนาของผู้เขียนที่ได้รับการดลใจ

    • หลักคำสอนและหลักธรรมที่ทำให้เปลี่ยนใจเลื่อมใส

    • ความต้องการและความสามารถของนักเรียนของท่าน

  2. ในเอกสารของท่าน ให้วงกลมหรือทำเครื่องหมายหลักคำสอนและหลักธรรมที่ท่านตัดสินใจว่าสำคัญที่สุดที่นักเรียนต้องเรียนรู้และประยุกต์ใช้

มือชี้ไปที่แบบฟอร์ม

ขั้นตอน 4: ตัดสินใจว่าจะเน้นย้ำช่วงพระคัมภีร์แต่ละตอนระดับใด

หลังจากพิจารณาหลักคำสอนและหลักธรรมสำคัญที่สุดที่นักเรียนต้องเรียนรู้และประยุกต์ใช้แล้ว ขั้นต่อไปคือตัดสินใจว่าควรเน้นช่วงพระคัมภีร์ตอนใดมากที่สุดในระหว่างบทเรียน โดยทั่วไปท่านจะเน้นช่วงพระคัมภีร์ซึ่งประกอบด้วยความจริงที่ท่านค้นพบว่าสำคัญที่สุด

เพื่อช่วยท่านตัดสินใจว่าจะเน้นพระคัมภีร์แต่ละตอนมากน้อยเพียงใด ท่านอาจจะถามตนเองด้วยคำถามบางข้อต่อไปนี้ ซึ่งสอดคล้องกับรูปแบบการเรียนรู้ ในช่วงพระคัมภีร์ตอนนี้ ฉันจะวางแผนช่วยให้นักเรียน

  • เข้าใจบริบทและเนื้อหาหรือไม่

  • ระบุหลักคำสอนและหลักธรรมหรือไม่

  • เข้าใจหลักคำสอนและหลักธรรมหรือไม่

  • รู้สึกถึงความจริงและความสำคัญของหลักคำสอนและหลักธรรมเหล่านั้นหรือไม่

  • ประยุกต์ใช้ความจริงในชีวิตพวกเขาหรือไม่

ไอคอนวีดิทัศน์ดูวีดิทัศน์เรื่อง “การเตรียมบทเรียน: ตัดสินใจว่าจะเน้นพระคัมภีร์แต่ละตอนมากน้อยเพียงใด” (6:57) มีอยู่ที่ LDS.org ในวีดิทัศน์เรื่องนี้ ซิสเตอร์วิลสันสาธิตวิธีใช้รูปแบบการเรียนรู้ตัดสินใจว่าจะเน้นช่วงพระคัมภีร์แต่ละตอนมากน้อยเพียงใด

6:57

กลับไปดูบันทึกบทเรียนของท่านสำหรับ โมไซยาห์ 27 และทำงานต่อไปนี้ให้เสร็จ

  1. ขณะที่ท่านดูช่วงพระคัมภีร์แต่ละตอนในเอกสารของท่าน ให้พิจารณาว่าจะเน้นแต่ละตอนในระดับใดโดยถามตัวท่านด้วยคำถามต่อไปนี้จากรูปแบบการเรียนรู้ ในช่วงพระคัมภีร์ตอนนี้ ฉันจะวางแผนช่วยให้นักเรียน

    • เข้าใจบริบทและเนื้อหาหรือไม่

    • ระบุหลักคำสอนและหลักธรรมหรือไม่

    • เข้าใจหลักคำสอนและหลักธรรมหรือไม่

    • รู้สึกถึงความจริงและความสำคัญของหลักคำสอนและหลักธรรมเหล่านั้นหรือไม่

    • ประยุกต์ใช้ความจริงในชีวิตพวกเขาหรือไม่

  2. เขียนลงในบันทึกบทเรียนของท่านว่าท่านได้เลือกเน้นช่วงพระคัมภีร์แต่ละตอนในระดับใด

สรุปและการประยุกต์ใช้

หลักธรรมที่พึงจดจำ

  • ในหลักสูตรเซมินารีและสถาบันที่มุ่งเน้นงานมาตรฐานจะสอนพระคัมภีร์เรียงตามลำดับหนังสือและบทที่ปรากฎในพระคัมภีร์

  • เมื่อเตรียมบทเรียน การสร้างสมดุลระหว่างสอนอะไรกับสอนอย่างไรทำให้ประสบการณ์การเรียนรู้มีจุดประสงค์และมีพลังมากขึ้น

  • เมื่อตัดสินใจว่าจะสอนอะไรให้ทำดังนี้

    1. ตั้งใจศึกษาพระคัมภีร์ให้เข้าใจบริบทและเนื้อหาของช่วงพระคัมภีร์

    2. ระบุและพยายามเข้าใจหลักคำสอนและหลักธรรมที่พบในช่วงพระคัมภีร์

    3. ตัดสินใจว่าหลักธรรมและหลักคำสอนใดสำคัญที่สุดที่นักเรียนต้องเรียนรู้และประยุกต์ใช้

    4. ตัดสินใจว่าจะเน้นย้ำช่วงพระคัมภีร์แต่ละตอนในระดับใด

เอ็ลเดอร์ริชาร์ด จี. สก็อตต์

“จงพิจารณาตามขีดความสามารถและความต้องการของนักเรียนแต่ละคนของท่านว่าอะไรมีความสำคัญสูงสุด ถ้านักเรียนเข้าใจหลักธรรมสำคัญ รับไว้ในใจ และทำให้เป็นส่วนหนึ่งของหนังสือแนะแนวชีวิตของพวกเขา เมื่อนั้นท่านย่อมบรรลุวัตถุประสงค์สำคัญที่สุด” (ริชาร์ด จี. สก็อตต์, “To Understand and Live Truth” [an evening with Elder Richard G. Scott, Feb. 4, 2005], 2–3, si.lds.org)

“ฉะนั้น เราต้องทำอะไร”

เพื่อสรุปประสบการณ์การเรียนรู้นี้ ให้จดบางสิ่งที่ท่านจะทำโดยยึดหลักธรรมที่ท่านเรียนรู้วันนี้