เซมินารี
ยากอบ 1


ยากอบ 1

“ทูลขอจากพระเจ้า”

ภาพ
เยาวชนหญิงสวดอ้อนวอนข้างเตียง

ท่านรู้สึกหรือไม่ว่าท่านสามารถทูลขอความช่วยเหลือจากพระผู้เป็นเจ้าเมื่อท่านมีคำถามที่ไม่ได้รับคำตอบหรือต้องการสติปัญญาจากพระองค์ในการตัดสินใจเรื่องสำคัญ? ยากอบประกาศว่า ใครก็ตามที่ขาดสติปัญญา “ให้คนนั้นทูลขอจากพระเจ้าผู้ประทานให้กับทุกคนด้วยพระทัยกว้างขวาง … แล้วเขาก็จะได้รับตามที่ทูลขอ” (ยากอบ 1:5) บทเรียนนี้มุ่งหมายจะเสริมสร้างประจักษ์พยานของท่านว่าพระบิดาบนสวรรค์จะประทานสติปัญญาในคำตอบการสวดอ้อนวอนของท่าน

คำตอบที่สำคัญ

ดูคำถามแต่ละข้อต่อไปนี้และไตร่ตรองแต่ละข้อ: (1) ฉันเคยได้รับคำตอบจากพระผู้เป็นเจ้าหรือไม่? (2) ฉันกำลังแสวงหาคำตอบจากพระผู้เป็นเจ้าที่ฉันยังไม่ได้รับหรือไม่? (3) ฉันยังไม่สนใจจะแสวงหาคำตอบใช่ไหม?

  • ศาสนจักรของพระเยซูคริสต์แห่งวิสุทธิชนยุคสุดท้ายเป็นศาสนจักรที่แท้จริงหรือไม่?

  • พระเยซูคริสต์ทรงเป็นพระผู้ช่วยให้รอดของฉันจริงหรือ?

  • ฉันควรจดจ่อกับอะไรเพื่อเป็นผู้ติดตามพระเยซูคริสต์ที่ดีขึ้น?

ขณะศึกษาคำพูดของอัครสาวกยากอบใน ยากอบ 1 ให้มองหาหลักธรรมที่จะช่วยท่านให้ท่านพบคำตอบของคำถามสำคัญในชีวิตท่าน

อ่านข้อมูลต่อไปนี้เกี่ยวกับยากอบ นึกถึงคำถามที่เขาอาจแสวงหาคำตอบตลอดชีวิตของเขา

  1. เขาน่าจะเป็นน้องชายคนละพ่อของพระเยซูคริสต์ (ดู คู่มือพระคัมภีร์, “ยากอบ น้องชายของพระเจ้า,” ChurchofJesusChrist.org)

  2. เหมือนน้องชายคนละพ่อคนอื่นๆ ของพระเจ้า ตอนแรกเขาอาจไม่เชื่อว่าพระเยซูทรงเป็นพระคริสต์ (ดู ยอห์น 7:3–5).

  3. ในที่สุดเขากลายเป็นอัครสาวกและตามที่นักเขียนชาวคริสต์ยุคแรกบอก เขาเป็นอธิการคนแรกของศาสนจักรในเยรูซาเล็ม (ดู กิจการ 12:16–17; 21:17–18; กาลาเทีย 1:18–19; 2:9)

อ่าน ยากอบ 1:1 เพื่อระบุว่ายากอบเขียนถึงใคร

เอ็ลเดอร์บรูซ อาร์. แมคคองกี (1915–1985) แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองอธิบายว่า “ยากอบได้กล่าวถึง … ผู้คนที่ยังไม่ได้ถูกรวบรวม ยังไม่ได้รับพระกิตติคุณ ยังไม่ได้เข้ามาสู่คอกของพระคริสต์” (Doctrinal New Testament Commentary [1973], 3:243)

  • มีคำถามอะไรบ้างที่ผู้ยังไม่ได้รับพระกิตติคุณอาจมี?

อ่าน ยากอบ 1:5–6 เพื่อมองหาความจริงที่ยากอบสอนที่สามารถช่วยเราได้เมื่อเรามีคำถามสำคัญๆ และสามารถช่วยคนที่กำลังแสวงหาความจริงพระกิตติคุณ (อาจเป็นประโยชน์ถ้ารู้ว่า ไม่ทรงตำหนิ หมายถึงจับผิดหรือด่าว่า)

ยากอบ 1:5–6 เป็นข้อผู้เชี่ยวชาญหลักคำสอน ท่านอาจทำเครื่องหมายข้อผู้เชี่ยวชาญหลักคำสอนให้ชัดเจนเพื่อจะหาเจอได้ง่าย

  • ท่านพบอะไรบ้าง?

  • ท่านเรียนรู้อะไรเกี่ยวกับพระบิดาบนสวรรค์จากข้อนี้?

ความจริงข้อหนึ่งที่พบในข้อนี้คือ พระผู้เป็นเจ้าจะประทานสติปัญญาแก่เราหากเราทูลขอด้วยศรัทธา

  • ท่านคิดว่าการ “ขอด้วยความเชื่อและไม่สงสัย” หมายความว่าอย่างไร? (ยากอบ 1:6)

  • ท่านคิดว่าเหตุใดพระบิดาบนสวรรค์ทรงประสงค์ให้ท่านหันมาขอคำตอบจากพระองค์?

ขณะที่ท่านศึกษาต่อไป ให้คิดถึงความคิด ความรู้สึกและประสบการณ์ที่ท่านเคยมีเมื่อแสวงหาสติปัญญาหรือคำตอบให้กับคำถามของท่านจากพระผู้เป็นเจ้า

แบบอย่างของโจเซฟ สมิธ

ภาพ
โจเซฟ สมิธ จูเนียร์คุกเข่าในป่าศักดิ์สิทธิ์ระหว่างนิมิตแรก ลำแสงจากท้องฟ้าส่องผ่านต้นไม้มาถึงโจเซฟ

อาจเป็นประโยชน์ถ้าไตร่ตรองตัวอย่างของหลักธรรมที่ว่าพระผู้เป็นเจ้าจะประทานสติปัญญาแก่เราหากเราทูลขอพระองค์ด้วยศรัทธา การแสวงหาสติปัญญาจากพระผู้เป็นเจ้ามีผลลึกซึ้งต่อโจเซฟ สมิธ

ดูวีดิทัศน์เรื่อง “Joseph Smith: The Prophet of the Restoration” ตั้งแต่รหัสเวลา 5:07 ถึง 8:42 ที่ ChurchofJesusChrist.org เพื่อดูว่าความจริงนี้มีผลกระทบต่อชีวิตของโจเซฟอย่างไร

1. ตอบคำถามต่อไปนี้:

  • อะไรจากประสบการณ์ของโจเซฟ สมิธสัมผัสใจท่านเป็นพิเศษ?

  • คำตอบของพระผู้เป็นเจ้าซึ่งมาในนิมิตแรกส่งผลต่อชีวิตของโจเซฟอย่างไร? คำตอบนั้นส่งผลต่อโลกอย่างไร? คำตอบนั้นส่งผลต่อท่านอย่างไร?

ประสบการณ์ของท่าน

2. ทำสิ่งต่อไปนี้ในสมุดบันทึกการศึกษาของท่าน:

เขียนความคิด ความรู้สึก และประสบการณ์ที่ท่านมีในขณะที่แสวงหาสติปัญญาจากพระผู้เป็นเจ้า พิจารณาบางอย่างต่อไปนี้ด้วย:

  • ความคิดและความรู้สึกของท่านเกี่ยวกับความเต็มพระทัยของพระผู้เป็นเจ้าในการตอบคำถามของท่าน (ดู ยากอบ 1:5–6)

  • ความคิดและความรู้สึกของท่านเกี่ยวกับประสบการณ์ของโจเซฟ สมิธในการทูลขอสติปัญญาจากพระผู้เป็นเจ้า

  • ประสบการณ์ที่ท่านเคยมีหรือมีตอนนี้กับการแสวงหาสติปัญญาจากพระผู้เป็นเจ้าและการได้รับคำตอบ (ประสบการณ์เหล่านี้จะเกี่ยวข้องกับการแสวงหาคำตอบให้กับคำถามตอนต้นบทเรียน)

  • วิธีที่ท่านต้องการแสวงหาสติปัญญาจากพระผู้เป็นเจ้าเวลานี้หรือในอนาคต

  • ความประทับใจที่ท่านเคยได้รับจากพระวิญญาณบริสุทธิ์ในระหว่างบทเรียนนี้ที่อาจช่วยท่านได้

ตรึกตรองนิสัยส่วนตัวของท่านในการสวดอ้อนวอนและทูลขอสติปัญญาและคำตอบจากพระผู้เป็นเจ้า ครั้งสุดท้ายที่ท่านทูลขอสติปัญญาหรือคำตอบให้กับคำถามของท่านจากพระบิดาบนสวรรค์คือเมื่อใด? ท่านจะทำอะไรได้บ้างวันนี้เพื่อเริ่มทูลขออย่างจริงใจมากขึ้นและบ่อยขึ้น? บันทึกสิ่งที่ท่านรู้สึกว่าพระบิดาบนสวรรค์ทรงประสงค์ให้ท่านทำเพราะสิ่งที่ท่านได้ศึกษาวันนี้ลงในสมุดบันทึกการศึกษาของท่าน

เลือกได้: ต้องการเรียนรู้เพิ่มเติมหรือไม่?

เหตุใดการได้รับสติปัญญาจากพระผู้เป็นเจ้าและได้รับประจักษ์พยานของฉันจากพระองค์จึงสำคัญ?

นึกถึงคำถามก่อนหน้านี้ขณะดูวีดิทัศน์เรื่อง“Origin” (4:57) ที่ ChurchofJesusChrist.org

ประธานรัสเซลล์ เอ็ม. เนลสันสอนว่า:

ภาพ
ภาพครึ่งตัวอย่างเป็นทางการของประธานรัสเซลล์ เอ็ม. เนลสัน ถ่ายเมื่อเดือนมกราคม ปี 2018

พระผู้เป็นเจ้าทรง ต้องการ ตรัสกับท่านจริงหรือ? จริง! …

ท่านไม่ต้องสงสัยว่าอะไรจริง [ดูโมโรไน 10:5] ท่านไม่ต้องสงสัยว่าท่านจะวางใจใครได้อย่างปลอดภัย โดยผ่านการเปิดเผยส่วนตัว ท่านสามารถรับพยานของท่านเองว่าพระคัมภีร์มอรมอนเป็นพระวจนะของพระผู้เป็นเจ้า โจเซฟ สมิธเป็นศาสดาพยากรณ์ และนี่คือศาสนจักรของพระเจ้า ไม่ว่าคนอื่นจะพูดหรือทำอะไร ไม่มีใครช่วงชิงพยานที่เกิดขึ้นในใจและในความคิดท่านได้เกี่ยวกับความจริงนั้น …

เราเป็นผู้ติดตามพระเยซูคริสต์ ความจริงสำคัญที่สุดที่พระวิญญาณบริสุทธิ์จะเป็นพยานต่อท่านเสมอคือพระเยซู คือ พระคริสต์ พระบุตรของพระผู้เป็นเจ้าที่ทรงพระชนม์อยู่ พระองค์ทรงพระชนม์!

(รัสเซลล์ เอ็ม. เนลสัน, “การเปิดเผยสำหรับศาสนจักร การเปิดเผยสำหรับชีวิตเรา,” เลียโฮนา, พ.ค. 2018, 95–96)

ยากอบ 1:6 การ “ขอด้วยความเชื่อ” หมายความว่าอย่างไร?

เอ็ลเดอร์เดวิด เอ. เบดนาร์แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองอ้างอิง ยากอบ 1:5–6 และอธิบายว่า:

ภาพ
ภาพครึ่งตัวอย่างเป็นทางการของเอ็ลเดอร์เดวิด เอ. เบดนาร์แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสอง ปี 2020

สังเกตข้อกำหนดของการทูลขอด้วยศรัทธา ซึ่งข้าพเจ้าเข้าใจว่าหมายถึงความจำเป็นของการไม่เพียงพูดออกมาเท่านั้นแต่ทำด้วย ข้อผูกมัดสองอย่างของการอ้อนวอนและการกระทำ ข้อกำหนดของการสื่อสารและปฏิบัติ …

คำถามของโจเซฟมุ่งเน้นไม่เพียงสิ่งที่ท่านต้องการรู้เท่านั้นแต่สิ่งที่ท่าน ต้องทำด้วย! การสวดอ้อนวอนของท่านมิได้ถามเพียงว่า “นิกายใดถูกต้อง?” แต่ถามว่า “ข้าพเจ้าควรเข้าร่วมกับนิกายใด?” โจเซฟไปในป่าเพื่อทูลขอด้วยศรัทธา และท่านตั้งใจว่าจะปฏิบัติ

ศรัทธาที่แท้จริงมีศูนย์รวมอยู่ที่พระเจ้าพระเยซูคริสต์และมักจะนำไปสู่การประพฤติชอบ … เรามุ่งหน้าและเพียรอุทิศถวายงานตามการสวดอ้อนวอน หลังจากเรากล่าว “เอเมน” โดยปฏิบัติตามสิ่งที่เราทูลต่อพระบิดาบนสวรรค์

การทูลขอด้วยศรัทธาเรียกร้องความซื่อสัตย์ ความพยายาม คำมั่นสัญญา และความไม่ย่อท้อ

(เดวิด เอ. เบดนาร์, “ทูลขอด้วยศรัทธา,” เลียโฮนา, พ.ค. 2008, 114–115)

พิมพ์