1 เปโตร 2–3
“พวกท่านเป็นพงศ์พันธุ์ที่ทรงเลือกสรร ”
มีใครเคยถามท่านหรือไม่ว่าทำไมท่านจึงเชื่อในความจริงพระกิตติคุณบางอย่าง? อัครสาวกเปโตรสนับสนุนให้วิสุทธิชนพร้อมที่จะเป็นพยานต่อความจริงเสมอ และย้ำเตือนพวกเขาถึงมรดกอันศักดิ์สิทธิ์ของตน (ดู 1 เปโตร 2:9 ; 3:15) บทเรียนนี้สามารถช่วยให้ท่านเข้าใจความสำคัญของการเป็นแบบอย่างที่ซื่อสัตย์ถึงพระเยซูคริสต์และให้โอกาสในการฝึกการตอบผู้อื่นเกี่ยวกับศรัทธาของท่าน
กิจกรรมการเรียนรู้ที่อาจทำได้
ถ้อยคำที่อธิบายถึงผู้ติดตามของพระเยซูคริสต์
-
มีใครเคยสังเกตเห็นไหมว่าท่านทำสิ่งต่างๆ แตกต่างไปเพราะท่านเป็นสมาชิกศาสนจักรของพระเยซูคริสต์แห่งวิสุทธิชนยุคสุดท้าย?
-
ประสบการณ์ของท่านกับสิ่งนี้คืออะไร?
-
ท่านรู้สึกอย่างไรที่ท่านแตกต่างจากผู้อื่นมากมายในโลก?
ขณะที่ท่านได้ศึกษาในวันนี้ ให้ไตร่ตรองว่าพระเจ้าทรงประสงค์ให้ผู้ติดตามพระองค์โดดเด่นและแตกต่างออกไปเพราะเหตุใดและอย่างไร?
ประชากรอันเป็นกรรมสิทธิ์
อ่าน 1 เปโตร 2:9 แล้วมองหาว่าเปโตรอธิบายวิสุทธิชนในยุคสมัยของเขาไว้อย่างไร
-
อะไรสะดุดใจท่าน?
-
ถ้อยคำเหล่านี้ระบุอะไรบ้างเกี่ยวกับความรู้สึกที่พระบิดาบนสวรรค์ทรงมีต่อท่าน?
   
ประธานรัสเซลล์ เอ็ม. เนลสันสอนว่า
ในพันธสัญญาเดิม คำภาษาฮีบรูที่ซึ่งคำว่า เป็นกรรมสิทธิ์ ได้รับการแปลมาคือ segullah ซึ่งแปลว่า “ทรัพย์สินล้ำค่า” หรือ “สมบัติ” ในพันธสัญญาใหม่ คำภาษากรีกที่ซึ่งคำว่า เป็นกรรมสิทธิ์ ได้รับการแปลมาคือ peripoiesis ซึ่งแปลว่า “สิ่งที่ครอบครอง” หรือ “การได้มา”
ดังนั้นเราจะเห็นว่าคำที่ใช้ในพระคัมภีร์ว่า เป็นกรรมสิทธิ์ แทนคำว่า “สมบัติมีค่า” “สร้างขึ้น” หรือ “ถูกเลือกโดยพระผู้เป็นเจ้า” สำหรับเราที่ผู้รับใช้ของพระเจ้าจะระบุว่าเป็นประชากรอัน เป็นกรรมสิทธิ์ ของพระองค์เป็นคำชมที่ยอดเยี่ยมที่สุด
(รัสเซลล์ เอ็ม. เนลสัน, “Children of the Covenant,” Ensign, May 1995, 34)
-
ท่านรู้สึกอย่างไรเมื่อทราบว่าพระผู้เป็นเจ้าทรงเห็นว่าท่านเป็นสมบัติที่โดดเด่นและมีค่า?
อ่าน 1 เปโตร 2:9–12 เพื่อค้นหาข้อคิดเกี่ยวกับวิธีที่ท่านสามารถแตกต่างจากโลกได้
-
ท่านค้นพบอะไรบ้าง?
-
ตามที่กล่าวไว้ใน ข้อ 12 เราสามารถมีอิทธิพลต่อผู้อื่นอย่างไร?
ความจริงข้อหนึ่งที่เราสามารถระบุได้จากข้อเหล่านี้ก็คือ พระผู้เป็นเจ้าทรงเรียกวิสุทธิชนของพระองค์ให้แตกต่างจากโลก เพื่อที่ผู้อื่นจะสามารถเห็นแบบอย่างของพวกเขาและสรรเสริญพระผู้เป็นเจ้า
ไตร่ตรองอย่างเงียบๆ เกี่ยวกับข้อความต่อไปนี้และให้คะแนนตัวท่านเองตั้งแต่ 1 ถึง 5 โดยที่ 5 หมายถึงท่านเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง
1. ผู้อื่นจดจำฉันได้ง่ายว่าฉันเป็นผู้ติดตามพระเยซูคริสต์
2. ในฐานะผู้ติดตามของพระผู้ช่วยให้รอด ฉันยอมรับได้ที่จะแตกต่างจากคนอื่นๆ ในโลก
-
เพราะเหตุใดบางครั้งจึงเป็นเรื่องยากที่จะแตกต่างจากคนรอบข้าง?
-
อะไรคือสิ่งที่เราสามารถทำได้เพื่อช่วยให้เรารู้สึกสบายใจในการเป็นคนอันเป็นกรรมสิทธิ์และแตกต่างจากโลก?
-
ตัวอย่างใดจากชีวิตของท่านหรือพระคัมภีร์ที่แสดงให้เห็นว่าการแตกต่างจากโลกช่วยให้ผู้อื่นเข้าใกล้พระผู้เป็นเจ้ามากขึ้นได้อย่างไร?
 
จงเตรียมพร้อมเสมอ
เปโตรเขียนสาส์นในระหว่างเวลาที่มีการกดขี่ข่มเหงและการละทิ้งความเชื่ออย่างรุนแรง ในตอนนั้นเป็นเรื่องยากที่จะเป็นชาวคริสต์ เช่นเดียวกับที่เป็นเรื่องยากที่จะเป็นผู้ติดตามพระเยซูคริสต์ในปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม เราสามารถช่วยให้ผู้อื่นรู้สึกถึงปีติในการใช้ชีวิตพระกิตติคุณเมื่อเราเต็มใจที่จะแบ่งปันสิ่งที่เรารู้และรู้สึก ใช้สองข้อความต่อไปนี้ในการประเมินการเตรียมตัวของท่านเพื่อแบ่งปันศรัทธาของท่านกับผู้อื่น ใช้ระดับการให้คะแนนเดิมตั้งแต่ 1 ถึง 5
1. ฉันต้องการแบ่งปันศรัทธาของฉันในพระเยซูคริสต์และประจักษ์พยานกับผู้อื่น
2. ฉันเชื่อมั่นในความสามารถของฉันในการอธิบายศรัทธาและตอบคำถามเกี่ยวกับพระกิตติคุณของพระผู้ช่วยให้รอด
อ่าน 1 เปโตร 3:14–15 เพื่อมองหาคำแนะนำของเปโตรเกี่ยวกับการแบ่งปันความเชื่อของเรากับคนอื่น
-
ท่านจะสรุปคำสอนของเปาโลด้วยคำพูดของท่านเองว่าอย่างไร?
-
พระเยซูคริสต์และพระกิตติคุณของพระองค์ให้ความหวังแก่ท่านอย่างไร?
-
การมีความพร้อมและเต็มใจที่จะพูดถึงพระผู้ช่วยให้รอดและพระกิตติคุณของพระองค์เป็นพรแก่ผู้อื่นได้อย่างไร?
วิธีที่มีประสิทธิภาพวิธีหนึ่งในการ “เตรียมพร้อมเสมอ” ( 1 เปโตร 3:15) คือการฝึกฝนวิธีที่ท่านอาจตอบคำถามและการสังเกตเกี่ยวกับพฤติกรรม ความเชื่อ หรือศาสนจักรของท่าน
ขั้นตอนที่ 1: เลือกคำถามต่อไปนี้อย่างน้อยสองข้อที่ท่านสนใจหรือเขียนคำถามที่เคยมีคนถามท่านเกี่ยวกับศรัทธาของท่านเมื่อเร็วๆ นี้
-
ฉันได้ยินคนพูดว่า “พระเยซูทรงช่วยให้รอด” หมายความว่าอย่างไร?
-
เหตุใดศาสนจักรของคุณจึงต่อต้านการดื่มกาแฟและชา?
-
ทำไมคุณจึงตื่นเช้าเพื่อเข้าเรียนเซมินารี?
-
เหตุใดพระเยซูคริสต์จึงทรงใส่ใจเกี่ยวกับภาษาที่เราใช้? สิ่งนี้สร้างความแตกต่างอย่างไร?
-
เหตุใดเราจึงควรรักษาวันสะบาโตให้ศักดิ์สิทธิ์? วันอาทิตย์เป็นวันธรรมดาอีกวันไม่ใช่หรือ?
ขั้นตอนที่ 2: พิจารณาว่าท่านจะตอบคำถามที่ท่านเลือกอย่างไร แล้วจึงสร้างคำตอบสำหรับคำถามแต่ละข้อ ให้รวมความคิดว่าศรัทธาและความหวังของท่านในพระเยซูคริสต์มีอิทธิพลต่อคำตอบของท่านอย่างไรเข้าไปด้วย
ขั้นตอนที่ 3: เขียนเหตุผลที่ท่านรู้สึกว่าการโดดเด่นและพูดคุยกับผู้อื่นเกี่ยวกับศรัทธาของท่านในพระเยซูคริสต์เป็นสิ่งสำคัญ หากท่านรู้สึกไม่แน่ใจ ให้สวดอ้อนวอนและพิจารณาว่าท่านจะเตรียมตัวอย่างไรให้พร้อมทำเช่นนั้น
บทวิจารณ์และข้อมูลภูมิหลัง
1 เปโตร 2:9 คำสอนของเปโตรเกี่ยวข้องกับสมาชิกของศาสนจักรในสมัยการประทานของเราอย่างไร?
   
ซิสเตอร์เบคกี้ เครเวนแห่งฝ่ายประธานเยาวชนหญิงสามัญสอนว่า
เราไม่ลดมาตรฐานของเราเพื่อให้คนอื่นยอมรับหรือรู้สึกสบายใจ เราเป็นสานุศิษย์ของพระเยซูคริสต์ เพราะเหตุนี้เราจึงยกผู้อื่นให้สูงขึ้น ศักดิ์สิทธิ์ขึ้นเพื่อพวกเขาจะได้เก็บเกี่ยวพรมากขึ้นด้วย …
วิธีที่เราดำเนินชีวิตอย่างรอบคอบทำให้คนอื่นเห็นรูปลักษณ์ของพระองค์ในสีหน้าของเราและรู้ได้หรือไม่ว่าเราเป็นใคร
เราเป็นผู้คนแห่งพันธสัญญา เราต้องไม่กลมกลืนกับโลกที่เหลือ เราได้ชื่อว่าเป็น “กรรมสิทธิ์ของพระผู้เป็นเจ้า” ( 1 เปโตร 2:9)—นี่เป็นคำชม! เมื่ออิทธิพลของโลกน้อมรับความชั่วร้ายมากขึ้น เราต้องพยายามด้วยความขยันหมั่นเพียรเพื่อยืนหยัดอยู่บนเส้นทางที่นำไปหาพระผู้ช่วยให้รอดของเราอย่างปลอดภัย โดยทำให้ระยะห่างระหว่างการดำเนินชีวิตตามพันธสัญญากับอิทธิพลทางโลกกว้างขึ้น
(เบคกี้ เครเวน, “รอบคอบตรงข้ามกับหละหลวม,” เลียโฮนา, พ.ค. 2019, 10)
ฉันจะเตรียมตัวและตอบสนองอย่างมีประสิทธิภาพได้อย่างไรเมื่อมีใครถามถึงความเชื่อของฉัน?
ประธานรัสเซลล์ เอ็ม. เนลสันสอนว่า
ในฐานะผู้ติดตามพระเยซูคริสต์ ทุกท่านดำเนินชีวิตตามคำสอนของพระองค์ได้ ท่านสามารถมี “ใจบริสุทธิ์และมือสะอาด” ได้ ท่านสามารถมี “มีรูปลักษณ์ของพระผู้เป็นเจ้าจารึกอยู่บน [สีหน้า] ของท่าน” งานดีของท่านจะประจักษ์ต่อผู้อื่น แสงแห่งพระเจ้าจะส่องจากนัยน์ตาท่าน ด้วยเหตุนี้ท่านจึงพร้อมตอบคำถามมากขึ้น อัครสาวกเปโตรแนะนำว่า “จงเตรียมพร้อมเสมอ ที่จะอธิบายกับทุกคนที่ขอทราบเหตุผลเกี่ยวกับความหวังของพวกท่าน” ( 1 เปโตร 3:15).
ขอให้คำตอบของท่านอบอุ่นและเปี่ยมปีติ ให้คำตอบของท่านเหมาะกับแต่ละคน จำไว้ว่าคนเหล่านั้นเป็นลูกของพระผู้เป็นเจ้าเช่นกัน พระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงต้องการให้บุคคลนั้นคู่ควรรับชีวิตนิรันดร์และกลับไปหาพระองค์ในวันข้างหน้า ท่านอาจเป็นคนเปิดประตูสู่ความรอด และความเข้าใจในหลักคำสอนของพระคริสต์ให้เขาก็ได้
(รัสเซลล์ เอ็ม. เนลสัน,“เจ้าจงเป็นแบบอย่างแก่คนที่เชื่อทั้งปวง,” เลียโฮนา, พ.ย. 2010, 60)