การได้มาซึ่งความรู้ทางวิญญาณ ภาค 3
แสวงหาความเข้าใจเพิ่มเติมผ่านแหล่งช่วยที่กำหนดไว้จากสวรรค์
จุดประสงค์อย่างหนึ่งของผู้เชี่ยวชาญหลักคำสอนคือ เพื่อช่วยให้ท่านเรียนรู้และประยุกต์ใช้หลักธรรมของการได้มาซึ่งความรู้ทางวิญญาณ บทเรียนนี้จะช่วยให้ท่านเข้าใจได้ถึงความสำคัญของการแสวงหาความจริงผ่านแหล่งช่วยที่พระบิดาบนสวรรค์และพระเยซูคริสต์ประทานให้ด้วยความรัก
กิจกรรมการเรียนรู้ที่อาจทำได้
ท่านค้นหาคำตอบจากที่ใด?
-
สภาพอากาศสำหรับสุดสัปดาห์ที่จะถึง
-
ชื่อเมืองหลวงของกรีนแลนด์
-
สูตรอาหารทำพาสต้าหรือเมนูข้าว
ท่านอาจนึกถึงคำถามต่อไปนี้
-
ท่าน (หรือปรกติท่าน) ใช้แหล่งช่วยใดในการค้นหาข้อมูล?
-
เหตุใดท่านจึงเชื่อถือแหล่งข้อมูลเหล่านี้สำหรับข้อมูลเกี่ยวกับคำถามประเภทนี้?
เราจะหาคำตอบจากพระผู้เป็นเจ้าจากที่ใด?
-
ท่านจะแนะนำให้ผู้คนค้นหาคำตอบสำหรับคำถามสำคัญเกี่ยวกับพระผู้เป็นเจ้า ศาสนจักร หรือแผนแห่งความรอดจากที่ใด?
นึกถึงคำถามที่ท่านอาจมีเกี่ยวกับพระผู้เป็นเจ้า ศาสนจักร หรือแผนแห่งความรอด อาจรวมถึงข้อมูลที่ท่านอ่านหรือได้ยินมาซึ่งท่านสงสัยหรือรู้สึกไม่สบายใจ แสวงหาพระวิญญาณบริสุทธิ์เพื่อนำทางท่านในการเรียนรู้หลักธรรมที่จะช่วยท่านได้ในบทเรียนนี้
อ่านข้อความต่อไปนี้เพื่อค้นหาว่าแหล่งที่มาของความจริงที่สอนในข้อความเหล่านี้สามารถเป็นพรแก่เราอย่างไร
-
ย่อหน้าที่ 11 ของหมวด “การได้มาซึ่งความรู้ทางวิญญาณ” ของ เอกสารหลักผู้เชี่ยวชาญหลักคำสอน (2022)
-
ท่านพบแหล่งที่มาของความจริงอะไรบ้างในข้อพระคัมภีร์เหล่านี้? เหตุใดเราสามารถวางใจแหล่งที่มาเหล่านี้ได้อย่างเต็มที่?
-
ผู้คนอาจมองหาข้อมูลเกี่ยวกับคำถามทางวิญญาณได้จากที่ใดซึ่งท่านจะเตือนพวกเขา? เพราะอะไร?
ถ้าฉันไม่แน่ใจว่าแหล่งที่มาของข้อมูลน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใดเล่า?
หนึ่งในวิธีที่ใช้บ่อยที่สุดในการค้นหาข้อมูลทุกวันนี้คือการใช้อินเทอร์เน็ต เราเข้าถึงแหล่งข้อมูลที่ดีมากมายผ่านทางอินเทอร์เน็ต ขณะเดียวกัน อินเทอร์เน็ตเผยแหล่งข้อมูลที่ไม่น่าเชื่อถือและไม่จริงมากมายต่อเราด้วย เอ็ลเดอร์นีล แอล. แอนเดอร์เซ็นแห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองเตือนว่า
ข้อมูลในอินเทอร์เน็ตไม่มีตัวกรอง “ความจริง” ข้อมูลบางอย่างไม่ว่าจะน่าเชื่อถือเพียงไรไม่เป็นความจริง
(นีล แอล. แอนเดอร์เซ็น, “โจเซฟ สมิธ,” เลียโฮนา, พ.ย. 2014, 29)
อ่านย่อหน้าที่ 12 ของหมวด “การได้มาซึ่งความรู้ทางวิญญาณ” ใน เอกสารหลักผู้เชี่ยวชาญหลักคำสอน ท่านอาจทำเครื่องหมายตรงที่บอกว่าเหตุใดการแสวงหาคำตอบให้คำถามทางวิญญาณจากแหล่งที่ไม่รู้จักหรือไม่น่าเชื่อถือจึงอันตราย
เมื่อท่านพบข้อมูลใหม่เกี่ยวกับพระผู้เป็นเจ้า ศาสนจักร หรือแผนแห่งความรอด การถามตนเองด้วยคำถามต่อไปนี้เกี่ยวกับแหล่งที่มาของข้อมูลจะเป็นประโยชน์อย่างมาก ขณะท่านอ่านคำถามเหล่านี้ ให้มองหาคำถามที่คิดว่าจะเป็นประโยชน์มากที่สุดเมื่อตัดสินใจว่าจะเชื่อถือแหล่งที่มาหรือไม่ (ท่านอาจศึกษาข้อพระคัมภีร์อ้างอิงแต่ละข้อที่มาพร้อมกันด้วย)
-
จากคำถามเหล่านี้คำถามใดที่ท่านคิดว่าจะเป็นประโยชน์มากที่สุดต่อท่าน? เพราะเหตุใด?
-
ท่านคิดว่ามีคำถามอื่นใดอีกบ้างที่คนคนหนึ่งควรถามเกี่ยวกับข้อมูลที่เขาพบ?
เลือกข้อมูลที่ท่านเคยได้ยินหรือคำถามที่ท่านมีเกี่ยวกับพระผู้เป็นเจ้า ศาสนจักร หรือแผนแห่งความรอด จากนั้นใช้เวลาสองสามนาทีฝึกซ้อมการค้นหาคำตอบโดยใช้แหล่งช่วยที่กำหนดไว้จากสวรรค์ นอกจากนั้นท่านอาจพิจารณา
-
สวดอ้อนวอน
-
ค้นคว้าพระคัมภีร์โดยใช้คู่มือพระคัมภีร์หรือข้อผู้เชี่ยวชาญหลักคำสอน
-
ค้นหาคำปราศรัยในการประชุมใหญ่สามัญ หรือแอปคลังค้นคว้าพระกิตติคุณ
-
อ่านหมวดที่เกี่ยวข้องในสื่อสิ่งพิมพ์ของศาสนจักร เช่นเพื่อความเข้มแข็งของเยาวชน(จุลสาร, 2011)
-
ติดต่อกับคนที่ท่านรู้จักและไว้ใจ เช่น บิดาหรือมารดา อธิการ ผู้นำเยาวชนในวอร์ดหรือสาขาท่าน หรือครูเซมินารี เพื่อช่วยท่านค้นหาคำตอบ
-
ท่านเรียนรู้อะไรในบทเรียนนี้ที่จะช่วยท่านเมื่อพบกับข้อมูลใหม่เกี่ยวกับพระผู้เป็นเจ้าหรือศาสนจักร?
-
ทำไมท่านคิดว่าแหล่งช่วยที่ท่านพึ่งพาหาคำตอบและข้อมูลมีความสำคัญต่อพระบิดาบนสวรรค์และพระเยซูคริสต์?
บทวิจารณ์และข้อมูลภูมิหลัง
ฉันควรทำอย่างไรหากไม่พบคำตอบสำหรับคำถามผ่านแหล่งช่วยที่กำหนดไว้จากสวรรค์?
เอ็ลเดอร์นีล แอล. แอนเดอร์เซ็นแห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองสอนไว้ว่า
ใช่ว่าคำตอบทั้งหมดจะมาทันที แต่คำถามสำคัญที่สุดจะพบคำตอบได้โดยผ่านการศึกษาที่จริงใจและการขอคำตอบจากพระผู้เป็นเจ้า …
ศรัทธาไม่เรียกร้องคำตอบของทุกคำถาม แต่แสวงหาความมั่นใจและความกล้าเพื่อเดินไปข้างหน้า บางครั้งยอมรับว่า “เราไม่รู้ทุกอย่าง แต่เรารู้มากพอจะเดินต่อไปบนเส้นทางของการเป็นสานุศิษย์”
การหมกมุ่นอยู่กับความสงสัยตลอดเวลา เติมเชื้อเพลิงด้วยคำตอบจากคนขาดศรัทธาและคนไม่ซื่อสัตย์ จะบั่นทอนศรัทธาของคนนั้นในพระเยซูคริสต์และการฟื้นฟู
(นีล แอล. แอนเดอร์เซ็น, “ศรัทธาไม่เกิดขึ้นโดยบังเอิญ แต่โดยการเลือก,” เลียโฮนา, พ.ย. 2015, 66)
ทำไมฉันจึงควรระมัดระวังในการหาคำตอบเกี่ยวกับศาสนจักรจากคนที่ละทิ้งศาสนจักรไปแล้ว?
เอ็ลเดอร์นีล เอ. แม็กซ์เวลล์ (1926–2004) แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองกล่าวดังนี้
บางคนยืนกรานที่จะศึกษาศาสนจักรผ่านสายตาของผู้ละทิ้งศาสนจักรเท่านั้น—เหมือนการสัมภาษณ์ยูดาสเพื่อที่จะเข้าใจพระเยซู ผู้ละทิ้งศาสนจักรบอกเราเกี่ยวกับพวกเขาเองมากกว่าจะพูดถึงสิ่งซึ่งพวกเขาละทิ้งมาเสมอ
(นีล แอล. แอนเดอร์เซ็น, “ศรัทธาไม่เกิดขึ้นโดยบังเอิญ แต่โดยการเลือก,” เลียโฮนา, พ.ย. 2015, อ้างอิงข้อ 17, 68)