เซมินารี
ประเมินผลการเรียนรู้ของท่าน 8


ประเมินผลการเรียนรู้ของท่าน 8

โรม 1–16; 1 โครินธ์ 1–7

Students talking in a seminary class.

บทเรียนนี้มีเจตนาจะช่วยให้ท่านประเมินเป้าหมายที่ท่านตั้งไว้ รวมถึงประสบการณ์ในการเติบโตส่วนตัวระหว่างศึกษาพันธสัญญาใหม่ 

การประเมินการเรียนรู้ของนักเรียน การให้นักเรียนประเมินสิ่งที่ตนกำลังเรียนรู้สามารถช่วยให้นักเรียนใคร่ครวญว่าพระผู้เป็นเจ้าทรงช่วยให้พวกเขาเรียนรู้และเติบโตอย่างไร ช่วยให้นักเรียนตระหนักถึงความสำเร็จของตน รวมถึงวิธีที่พวกเขายังสามารถปรับปรุงให้ดีขึ้นได้ ขณะนักเรียนใคร่ครวญถึงความก้าวหน้าและความท้าทายของตน พวกเขาสามารถได้รับเปิดเผยถึงก้าวต่อไปที่สามารถทำได้เพื่อให้เป็นเหมือนพระเยซูคริสต์มากขึ้น

การเตรียมของนักเรียน: เชื้อเชิญให้นักเรียนไตร่ตรองความก้าวหน้าของตนเองที่เกี่ยวข้องกับเป้าหมายทางวิญญาณส่วนตัว และเชื้อเชิญให้นักเรียนคิดเกี่ยวกับสิ่งที่ตนได้เรียนรู้หรือเป้าหมายที่ตนตั้งไว้ขณะศึกษาโรมและ 1 โครินธ์ 1–7

กิจกรรมการเรียนรู้ที่อาจทำได้

บทเรียนนี้มีเจตนาจะช่วยให้นักเรียนประเมินเป้าหมายที่พวกเขาตั้งไว้ ประเมินความสามารถในการอธิบายคำสอนในพันธสัญญาใหม่ หรือเจตคติ ความปรารถนา และความสามารถในการดำเนินชีวิตตามพระกิตติคุณว่าเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร การศึกษาของชั้นเรียนใน โรม 1–16 ; 1 โครินธ์ 1–7 อาจเน้นถึงความจริงนอกเหนือจากที่มีอยู่ในกิจกรรมต่อไปนี้ หากเป็นเช่นนั้น อาจปรับกิจกรรมให้มีความจริงเหล่านั้นด้วย

การเป็นสานุศิษย์ของพระเยซูคริสต์

  • ถ้าท่านสามารถเดินทางไปยังสถานที่ใหม่ๆ ได้ ท่านต้องการไปที่ใด?

  • ระหว่างการเดินทาง เหตุใดการประเมินว่าท่านยังอยู่ในเส้นทางจึงมีความสำคัญ? จะเกิดอะไรขึ้นหากท่านไม่ทำเช่นนั้น?

การประเมินเส้นทางทางวิญญาณของเราก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน ประธานเอ็ม. รัสเซลล์ บัลลาร์ดรักษาการประธานโควรัมอัครสาวกสิบสองสอนความสำคัญของการทำตามเป้าหมายทางวิญญาณ และกล่าวเสริมว่า

Official portrait of President M. Russell Ballard of the Quorum of the Twelve Apostles, 2004.

ข้าพเจ้าพบว่าหากจะแน่วแน่ … ข้าพเจ้าต้องแบ่งเวลาถามตนเองอย่างสม่ำเสมอว่า “ฉันทำได้แค่ไหนแล้ว”

ลักษณะเหมือนกับเรารับการสัมภาษณ์ส่วนตัวกับตัวเราเอง …

ในตลอดหลายสัปดาห์ที่จะมาถึง จงหาเวลาทบทวนเป้าหมายและแผนของชีวิตท่าน ให้แน่ใจว่าสิ่งเหล่านั้นสอดคล้องกับแผนอันสำคัญยิ่งของพระบิดาบนสวรรค์เพื่อความสุขของเรา หากท่านต้องกลับใจและเปลี่ยนแปลง จงลงมือทำเดี๋ยวนี้ …

ข้าพเจ้าเป็นพยานว่าไม่มีเป้าหมายใดในความเป็นมรรตัยจะยิ่งใหญ่กว่าการได้อยู่กับพระบิดาพระมารดาบนสวรรค์และพระผู้ช่วยให้รอด พระเจ้าพระเยซูคริสต์ชั่วนิรันดร์ แต่ทั้งหมดนี้เป็นมากกว่าเป้าหมาย ของเรา เท่านั้น นี่คือเป้าหมาย ของพระองค์ เช่นกัน ทั้งสองพระองค์ทรงมีความรักที่สมบูรณ์สำหรับเรา ทรงพลังเกินกว่าเราจะเข้าใจได้ พระองค์ทรงอยู่ในแนวที่สอดคล้องต้องกันกับเราโดยสมบูรณ์ชั่วนิรันดร์ เราคืองาน และรัศมีภาพของพระองค์ ยิ่งกว่าสิ่งใดอื่น พระองค์ทรงต้องการให้เรากลับบ้าน

(เอ็ม. รัสเซลล์ บัลลาร์ด, “หวนคืนและได้รับ,” เลียโฮนา, พ.ค. 2017, 64–65)

ใช้เวลาสองสามนาทีเพื่อถามคำถามต่อไปนี้กับตัวท่านเอง เสมือนว่าท่านกำลังสัมภาษณ์ส่วนตัวกับตัวท่านเอง ท่านอาจบันทึกคำตอบของท่านลงในสมุดบันทึกการศึกษาของท่าน

  • สิ่งใดที่ฉันทำเมื่อไม่นานมานี้เพื่อให้ได้มาซึ่งประจักษ์พยานเกี่ยวกับความจริงบางประการผ่านพระวิญญาณบริสุทธิ์? ฉันกำลังเรียนรู้อะไรเกี่ยวกับการได้รับการเปิดเผยผ่านพระวิญญาณบริสุทธิ์? (ท่านอาจใช้เวลาบางส่วนเพื่อพิจารณาสิ่งนี้ขณะศึกษา 1 โครินธ์ 2)

  • ฉันตั้งเป้าหมายใดบ้างเพื่อให้เข้าใกล้พระผู้ช่วยให้รอดมากขึ้นและกลายเป็นสานุศิษย์ของพระองค์? ฉันประสบความสำเร็จในด้านใด? ฉันต้องเผชิญกับอุปสรรคใดบ้าง? ฉันต้องทำอย่างไรเพื่อแสวงหาความช่วยเหลือจากพระเจ้าและยังคงก้าวหน้าต่อไปในการเดินทางทางวิญญาณของฉัน?

เชื้อเชิญให้นักเรียนแบ่งปันความคิดของตนเกี่ยวกับคำถามเหล่านี้กับชั้นเรียน จำไว้ว่าเป้าหมายและประสบการณ์บางอย่างอาจเป็นเรื่องส่วนตัวหรือส่วนบุคคลเป็นพิเศษ ดังนั้นไม่จำเป็นต้องให้นักเรียนแบ่งปันเสมอไป แสดงความยินดีกับนักเรียนเกี่ยวกับความสำเร็จของพวกเขา ถ้านักเรียนกำลังเผชิญกับอุปสรรคที่ตนกำลังประสบปัญหาในการเอาชนะ ท่านอาจถามคำถามกับนักเรียนคนอื่นๆ ในชั้นเรียนดังต่อไปนี้: ปีนี้เราเรียนรู้อะไรผ่านการศึกษาพันธสัญญาใหม่ที่อาจช่วยเหลือได้? ท่านเคยมีประสบการณ์ใดบ้างที่อาจช่วยเหลือได้? สนับสนุนให้นักเรียนทำตามเป้าหมายต่อไป และแสดงความมั่นใจว่าพระบิดาบนสวรรค์จะทรงช่วยนักเรียนขณะนักเรียนมุ่งมั่นที่จะเป็นเหมือนพระองค์

อธิบายพระคุณของพระเยซูคริสต์

เพื่อช่วยให้ท่านประเมินความเข้าใจของท่านเกี่ยวกับความจริงพระกิตติคุณที่สำคัญที่ท่านศึกษาไปเมื่อเร็วๆ นี้ ให้ทำกิจกรรมต่อไปนี้

จินตนาการว่าท่านได้รับการติดต่อจากผู้สอนศาสนา ผู้สอนศาสนาากำลังสอนใครสักคนที่อายุเท่าท่าน ผู้ซึ่งประสบปัญหาในการทำความเข้าใจพระคุณของพระเยซูคริสต์ ผู้สอนศาสนาขอให้ท่านมาเข้าร่วมด้วยในการนัดหมายการสอนครั้งต่อไป เพื่อที่ท่านจะได้แบ่งปันสิ่งที่ท่านทราบเกี่ยวกับพระคุณของพระผู้ช่วยให้รอด และว่าการทำตามพระเยซูคริสต์เป็นพรแก่ชีวิตท่านอย่างไร

ใช้เวลาสักครู่เพื่อค้นคว้าพระคัมภีร์ หาข้อพระคัมภีร์และข้อเท็จจริงที่อาจช่วยได้ การอ่านบางข้อต่อไปนี้อาจเป็นประโยชน์:

โรม 3:10–12, 20–28

โรม 4:16 (ดูงานแปลของโจเซฟ สมิธ ในโรม 4:16)

โรม 5:1–2, 21

  1. จดบันทึกวิธีการที่ท่านจะอธิบายพระคุณของพระผู้ช่วยให้รอดด้วยถ้อยคำของท่านเอง

  2. ใช้พระคัมภีร์จากโรม แบ่งปันความจริงหนึ่งประการเกี่ยวกับพระคุณของพระผู้ช่วยให้รอด และวิธีที่เราจะได้รับพระคุณในชีวิตเรา ท่านอาจกล่าวด้วยว่าการทราบความจริงเหล่านี้ทำให้ท่านเข้าใกล้พระผู้ช่วยให้รอดมากขึ้นอย่างไร

อย่าลืมให้เวลานักเรียนอย่างเพียงพอในการเตรียม เมื่อนักเรียนทำเสร็จแล้ว นักเรียนสามารถทำงานกับเพื่อนร่วมชั้นและผลัดกันสอนราวกับว่านักเรียนกำลังแบ่งปันสิ่งเหล่านี้กับใครสักคนที่ผู้สอนศาสนากำลังสอนอยู่

การเพิ่มความปรารถนาที่จะเป็นหนึ่งเดียวกันในพระคริสต์

การเป็นหนึ่งเดียวกันเป็นอีกหนึ่งแนวคิดสำคัญในจดหมายจากเปาโลถึงชาวโรมันและชาวโครินธ์

ท่านอาจเชิญชวนให้นักเรียนเลือกหนึ่งหรือสองข้อที่เปาโลสอนเกี่ยวกับความเป็นหนึ่งเดียวกัน (เช่น โรม 14:19 หรือ โรม 15:1). แล้วทำกิจกรรมต่อไปนี้หนึ่งอย่าง:

  1. กล่าวถึงหนึ่งข้อหรือหลายข้อร่วมกันเป็นชั้นเรียน

  2. แบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่มเล็กๆ และเชิญนักเรียนมากล่าวถึงหนึ่งข้อหรือหลายข้อร่วมกันดังๆ โดยผลัดกันเลือกว่าใครจะอ่านแต่ละบรรทัดในพระคัมภีร์ หากนักเรียนต้องการความท้าทายเพิ่มเติม นักเรียนสามารถเลือกผลัดกันพูดแต่ละคำได้

  3. ทวนหนึ่งข้อหรือหลายข้อเป็นชั้นเรียนทีละคำ โดยให้นักเรียนแต่ละคนพูดแต่ละคำ

ขอให้นักเรียนประเมินว่าตนทำงานร่วมกันได้ดีเพียงใดและแบ่งปันข้อคิดที่นักเรียนเรียนรู้เกี่ยวกับความเป็นหนึ่งเดียวกันด้วยกิจกรรมนี้ เชิญนักเรียนสรุปสิ่งที่เปาโลสอนในข้อพระคัมภีร์หนึ่งข้อหรือหลายข้อ

ก. หาข้อพระคัมภีร์ที่ท่านศึกษาในโรมหรือ 1 โครินธ์ที่สอนความจริงซึ่งมีความหมายต่อท่านเกี่ยวกับการเป็นหนึ่งเดียวกันกับผู้อื่นในพระคริสต์ บางตัวอย่างอาจพบได้ใน โรม 12:10–21 ; 14:10–13, 19 ; 15:1–7 และใน 1 โครินธ์ 1:10–13 ; 3:3–9 . ข้อที่ท่านเลือกนั้นสอนความจริงใด?

ข ลองนึกถึงช่วงเวลาที่ท่านประสบกับสิ่งที่เปาโลสอนในข้อที่ท่านเลือก ท่านคิดว่าอะไรคือสิ่งที่ส่งผลมากที่สุดต่อความพยายามของท่านในการเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในพระคริสต์?

ค. ตอบคำถามต่อไปนี้สองข้อ:

  • อะไรคือความแตกต่างระหว่างการทำงานร่วมกันได้ดีกับการเป็นหนึ่งเดียวกันผ่านพระเยซูคริสต์และพระกิตติคุณของพระองค์?

  • เหตุใดความจริงที่ท่านเลือกในข้อ ก. จึงมีความหมายสำหรับท่าน?

  • ในเดือนที่ผ่านมา ท่านเพิ่มความเข้าใจในความเป็นหนึ่งเดียวกันและความปรารถนาที่เป็นหนึ่งเดียวกันกับผู้อื่นอย่างไร?

  • ท่านทำอะไรเพื่อให้เป็นหนึ่งเดียวกันกับผู้อื่นในพระคริสต์มากขึ้น?

  • ท่านกำลังเผชิญกับความท้าทายใดขณะที่ท่านทำงานเพื่อเป็นหนึ่งเดียวกันกับผู้อื่นมากขึ้น?

แสวงหาการนำทางจากพระวิญญาณบริสุทธิ์เพื่อช่วยให้ท่านทราบวิธีที่พระเจ้าจะต้องการให้ท่านเป็นหนึ่งเดียวกันกับผู้อื่นมากขึ้นในพระคริสต์ พร้อมทั้งแสวงหาการเปิดเผยเกี่ยวกับวิธีเอาชนะความท้าทายใดๆ ที่ท่านอาจเผชิญ

รุดหน้าต่อไปบนเส้นทางทางวิญญาณของท่าน เข้าใกล้พระบิดาบนสวรรค์และพระเยซูคริสต์มากขึ้น จงทราบว่าพระองค์ทรงรักท่านและพร้อมที่จะช่วยเหลือท่านในความพยายามของท่าน

แสดงประจักษ์พยานถึงพระบิดาบนสวรรค์และพระเยซูคริสต์ และความปรารถนาของพระองค์ที่จะทรงช่วยเหลือ