2021
พระวิหาร ชื่อของศาสนจักร และการให้ผู้อื่นเป็นส่วนหนึ่ง
ตุลาคม 2021


สำหรับบิดามารดา

พระวิหาร ชื่อของศาสนจักร และการให้ผู้อื่นเป็นส่วนหนึ่ง

young adults together in church

เรียน บิดามารดาทุกท่าน

ในนิตยสารฉบับนี้ท่านจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับการใช้ชื่อศาสนจักรที่ถูกต้อง ความสำคัญของพระวิหาร และการให้ผู้อื่นเป็นส่วนหนึ่ง ท่านสามารถใช้บทความเหล่านี้และแนวคิดด้านล่างเพื่อเริ่มการสนทนากับครอบครัวของท่านเกี่ยวกับสิ่งที่เราสามารถทำได้เพื่อก้าวหน้าไปตามเส้นทางพันธสัญญา

การสนทนาพระกิตติคุณ

จะเรียกศาสนจักรของเราดังนี้

ประธานเฮนรีย์ บี. อายริงก์กล่าวถึงสาเหตุที่เราใช้ชื่อเต็มของศาสนจักรและพรใดที่เราได้รับจากการกระทำดังกล่าว (ดูหน้า 6) ท่านสามารถอ่านบทความนี้เป็นครอบครัวและพูดคุยว่าการใช้ชื่อเต็มของศาสนจักรถือเป็นวิธีหนึ่งในการแบ่งปันประจักษ์พยานของเราอย่างไร

พระวิหาร

ใช้บทความในหน้า 10–17 และเรื่องราวในนิตยสาร เพื่อนเด็ก เพื่อช่วยให้ครอบครัวของท่านเรียนรู้เกี่ยวกับพระวิหาร ท่านอาจถามลูกๆ ของท่านว่าพระวิหารมีความหมายกับพวกเขาอย่างไร ใช้แหล่งข้อมูลของศาสนจักรเพื่อช่วยให้ท่านตอบคำถามที่พวกเขาอาจมีเกี่ยวกับพระวิหาร

การช่วยให้พวกเขาเป็นส่วนหนึ่ง

หากท่านมีลูกๆ ที่โตแล้วผู้ประสบพฤติกรรมเสน่หาเพศเดียวกันหรือมีเพื่อนที่เป็นเช่นนั้น ให้อ่านบทความในหน้า 20 ด้วยกัน จากนั้นสนทนาว่าท่านจะช่วยให้ลูกของท่านหรือเพื่อนของพวกเขารู้สึกเป็นส่วนหนึ่งมากขึ้นได้อย่างไร และท่านจะแบ่งปันความรักที่พระผู้เป็นเจ้าทรงมอบให้พวกเขาได้อย่างไร

ข้อคิด จงตามเรามา

ดูหน้า 26–29

จงตามเรามา สนุกกับครอบครัว

น้ำหนักของความทุกข์

หลักคำสอนและพันธสัญญา 122:5–9

  1. รวบรวมวัตถุที่มีน้ำหนักมาก เช่น ก้อนหินหรือหนังสือเล่มใหญ่

  2. ให้ทุกคนนั่งล้อมวงกัน

  3. แสดงภาพของโจเซฟ สมิธในคุกลิเบอร์ตี้

  4. อ่าน หลักคำสอนและพันธสัญญา 122:5–7

  5. สำหรับความทุกข์แต่ละอย่างที่กล่าวไว้ในข้อเหล่านี้ ให้วางหินไว้ตรงกลางวง

  6. ให้สมาชิกในครอบครัวแต่ละคนเพิ่มหินอีกหนึ่งก้อนไปที่กอง เพื่อแทนการทดลองที่พวกเขาเคยผ่านมา

  7. อ่าน หลักคำสอนและพันธสัญญา 122:8–9

  8. ใครบ้างที่เคยรู้สึกเจ็บปวดในการทดลองเหล่านี้? ลองจินตนาการว่าท่านจะรู้สึกอย่างไรเมื่อต้องแบกรับทั้งหมด

การสนทนา: พระเจ้าเข้าพระทัยเรา ทรงช่วยเหลือเรา และทรงเปลี่ยนการทดลองของเราให้กลายเป็นประสบการณ์ที่ “จะเกิดขึ้นเพื่อความดีของ [เรา]” ในทางใดบ้าง? (หลักคำสอนและพันธสัญญา 122:7)

ที่พักพิงจากพายุ

หลักคำสอนและพันธสัญญา 115

ลองทำกิจกรรมนี้เพื่อสอนว่าการรวบรวมเป็นวิสุทธิชนยุคสุดท้ายให้ความเข้มแข็งและการปกป้องแก่เราอย่างไร

  1. อ่าน หลักคำสอนและพันธสัญญา 115:6 ด้วยกัน: “และเพื่อการรวบรวมบนแผ่นดินแห่งไซอัน, และบนสเตคของนาง, จะเกิดขึ้นเพื่อการคุ้มภัย, และเพื่อเป็นที่พักพิงจากพายุ, และจากพระพิโรธเมื่อจะเทลงมาโดยมิได้เจือจางบนทั้งผืนแผ่นดินโลก.”

  2. ทอยลูกเต๋าหรือให้สมาชิกในครอบครัวนึกถึงตัวเลขระหว่าง 1 ถึง 10

  3. หากตัวเลขเป็นเลขคี่ ให้เอ่ยสิ่งที่จะช่วยป้องกันท่านจากพายุทางกายภาพ (ตัวอย่างเช่น: ร่ม เสื้อคลุม บ้าน)

  4. หากตัวเลขเป็นเลขคู่ ให้เอ่ยสิ่งที่จะช่วยป้องกันท่านจากพายุทางวิญญาณ (ตัวอย่างเช่น: พระคัมภีร์ การสวดอ้อนวอน การเชื่อฟัง ครอบครัวของเรา)

  5. ผลัดกันคิดคำตอบ

  6. หากท่านมีลูกที่เป็นเด็กโต ท่านสามารถสนทนาถึงความหมายของ ไซอัน จากคู่มือพระคัมภีร์: “ผู้มีใจบริสุทธิ์” (หลักคำสอนและพันธสัญญา 97:21) การรวบรวมกันด้วยใจบริสุทธิ์จะช่วยปกป้องเราอย่างไร?

การสนทนา: สิ่งใดบ้างที่เป็นพายุทางกายภาพและทางวิญญาณที่เราเผชิญ? เราสามารถรวบรวมในพระคริสต์ได้อย่างไร? เราสามารถ “ลุกขึ้นและฉายส่องออกไป” ได้อย่างไร? หลักคำสอนและพันธสัญญา 115:5