เซมินารี
แอลมา 12: ใจที่แข็งกระด้างหรืออ่อนโยน


“แอลมา 12: ใจที่แข็งกระด้างหรืออ่อนโยน,” พระคัมภีร์มอรมอน คู่มือครู (2024)

“แอลมา 12,” พระคัมภีร์มอรมอน คู่มือครู

แอลมา 12

ใจที่แข็งกระด้างหรืออ่อนโยน

แอลมา อมิวเล็ค และซีเอสรอม

ท่านคิดว่าการมีใจแข็งกระด้างหรืออ่อนโยนต่อพระเจ้าหมายความว่าอย่างไร? เมื่อซีเอสรอมเริ่มตั้งคำถามที่จริงใจต่อแอลมาและอมิวเล็ค แอลมาสอนว่าผู้ที่ไม่มีใจแข็งกระด้างจะเรียนรู้สิ่งต่างๆ จากพระผู้เป็นเจ้าได้ แอลมาสอนแผนแห่งการไถ่และกระตุ้นให้ผู้คนประเมินจิตใจของพวกเขา บทเรียนนี้จะช่วยให้ท่านประเมินจิตใจและความเต็มใจที่จะรับพระวจนะของพระผู้เป็นเจ้าได้

กระตุ้นให้ผู้เรียนไตร่ตรองให้เวลานักเรียนไตร่ตรองสิ่งที่พวกเขาเรียนรู้เกี่ยวกับพระเยซูคริสต์จากพระคัมภีร์และถ้อยคำของศาสดาพยากรณ์ กระตุ้นให้พวกเขาไตร่ตรองว่าเดชานุภาพของพระองค์แสดงให้เห็นในพระคัมภีร์และในชีวิตของพวกเขาอย่างไร

การเตรียมของนักเรียน: ท่านอาจแจกเอกสารประเมินตนเองในบทเรียนนี้ให้นักเรียนแต่ละคน เชื้อเชิญให้พวกเขาประเมินตนเองและไตร่ตรองว่าคำตอบนั้นมีผลต่อพวกเขาอย่างไร

กิจกรรมการเรียนรู้ที่ทำได้

เปรียบเทียบหัวใจกับดินเหนียว

ท่านอาจขอให้นักเรียนสองคนใช้ดินเหนียวปั้นเป็นอะไรสักอย่างในหนึ่งนาที ถ้าเป็นไปได้ ให้นักเรียนคนหนึ่งใช้ดินเหนียวอ่อนๆ ส่วนอีกคนใช้ดินเหนียวที่แห้งหรือแข็ง หากมีดินเหนียวเพียงพอ ท่านอาจแจกให้นักเรียนทุกคนในชั้นเรียนคนละเล็กละน้อยเพื่อทำกิจกรรมนี้

ลองนึกถึงช่วงเวลาที่ท่านมองดูใครสักคนปั้นอะไรสักอย่างจากดินเหนียวหรือตอนที่ท่านทำเองก็ได้ ท่านจำได้ไหมว่าดินเหนียวที่ใช้นั้นปั้นง่ายหรือแห้งหรือแข็ง?

  • การใช้ดินเหนียวอ่อนๆ หรือแข็งมีผลต่อความสามารถในการปั้นให้เป็นรูปเป็นร่างอย่างไร?

ท่านอาจวาดรูปหัวใจตามแบบบนกระดาน

ลายเส้นของหัวใจแข็งกระด้างและหัวใจอ่อนโยน

วาดหัวใจสองดวง ติดป้ายที่ใจดวงแรกว่า “ใจแข็งกระด้าง” ส่วนอีกดวงติดป้ายว่า “ใจอ่อนโยน” ในสมุดบันทึกการศึกษา อาจเป็นประโยชน์ที่จะรู้ว่าหัวใจมักเป็นสัญลักษณ์ของ “จิตใจและความปรารถนา” ของคนบางคนในพระคัมภีร์ (คู่มือพระคัมภีร์, “ใจscriptures.ChurchofJesusChrist.org).

เปรียบเทียบหัวใจของเราเป็นดินเหนียวและพระเจ้าทรงเป็นผู้ที่ปั้นดินเหนียวนั้น ขณะศึกษาบทเรียนนี้ ให้แสวงหาความช่วยเหลือจากพระเจ้าเพื่อตอบคำถามต่อไปนี้:

  • การมีใจแข็งกระด้างหรืออ่อนโยนหมายความว่าอย่างไร? เหตุใดสภาพจิตใจของฉันจึงสำคัญ?

  • ลักษณะใดที่ฉันจะมีใจแข็งกระด้างหรืออ่อนโยน?

  • ถ้ามีใจแข็งกระด้าง ฉันจะขอความช่วยเหลือจากพระเจ้าทำให้ใจอ่อนโยนลงได้อย่างไร?

อาจเป็นประโยชน์ที่จะแสดงรายการคำถามเหล่านี้บนกระดาน เพื่อให้นักเรียนเขียนคำตอบลงในสมุดบันทึกการศึกษาได้ตลอดทั้งบทเรียน ไม่ควรคาดหวังให้นักเรียนตอบคำถามของบทเรียนในตอนนี้

ขณะเรียนรู้ ท่านอาจเขียนบันทึกใต้หัวใจแต่ละดวงที่วาดไว้ในสมุดบันทึกการศึกษา

ใจแข็งกระด้างและใจอ่อนโยน

ขณะเริ่มศึกษา แอลมา 12 ด้วยกัน อาจเป็นประโยชน์ที่จะถามนักเรียนว่าพวกเขาจำอะไรได้บ้างเกี่ยวกับซีเอสรอม และปฏิสัมพันธ์ระหว่างเขากับแอลมาและอมิวเล็คเป็นอย่างไร

ซีเอสรอมและคนอื่นๆ พยายามหลอกลวงและทำให้แอลมากับอมิวเล็คเสียชื่อเสียง โดยการตั้งคำถามที่ต้องการให้ตกหลุมพราง (ดู แอลมา 11:21) อมิวเล็คตอบผ่านพระวิญญาณ โดยเป็นพยานถึงพระผู้ช่วยให้รอดและการพิพากษาครั้งสุดท้าย (ดู แอลมา 11:26–46) แอลมาอธิบายว่าท่านและอมิวเล็ครู้ถึงการหลอกลวงของซีเอสรอมผ่านพระวิญญาณ (ดู แอลมา 12:3–6)

อ่าน แอลมา 12:7–8 โดยมองหาสิ่งที่เกิดขึ้นกับซีเอสรอม

  • วลีใดที่บ่งบอกได้ว่าซีเอสรอมกำลังเปลี่ยนแปลง?

  • ท่านคิดว่าเจตคติของซีเอสรอมอาจมีความแตกต่างจากความสามารถในการรับคำตอบอย่างไร?

ซีเอสรอมอยากรู้เรื่องการพิพากษาสุดท้าย แอลมาจึงใช้โอกาสนี้สอนเกี่ยวกับแผนแห่งการไถ่ของพระผู้เป็นเจ้า แต่แอลมาเตือนซีเอสรอมไว้ตั้งแต่ทีแรกว่าต้องวางใจของเขาไว้เบื้องพระพักตร์พระผู้เป็นเจ้าก่อน

ขณะอ่าน แอลมา 12:9–11 ให้ทำเครื่องหมายคำหรือวลีที่ช่วยให้ท่านเข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้นเพราะสภาพจิตใจของเรา อาจเป็นประโยชน์ที่จะรู้ว่า “ความลี้ลับของพระผู้เป็นเจ้าคือความจริงต่างๆ ทางวิญญาณซึ่งจะรู้ได้จากการเปิดเผยเท่านั้น” (คู่มือพระคัมภีร์, “ความลี้ลับของพระผู้เป็นเจ้าscriptures.churchofJesusChrist.org).

เชิญนักเรียนแบ่งปันสิ่งที่พวกเขาเรียนรู้ เขียนหลักธรรมที่พวกเขาต้องการแบ่งปันบนกระดาน

หลักธรรมสองประการที่ท่านอาจระบุไว้คือ (1) ถ้าเราไม่ทำใจแข็งกระด้างและหมั่นรำลึกถึงพระวจนะของพระผู้เป็นเจ้า เราจะรู้จักความลี้ลับของพระผู้เป็นเจ้าได้มากขึ้น และ (2) ถ้าเราทำใจแข็งกระด้าง เราจะได้รับพระวจนะของพระผู้เป็นเจ้าน้อยลงจนไม่รู้อะไรเลยเกี่ยวกับความลี้ลับของพระผู้เป็นเจ้า ท่านอาจเขียนความจริงแต่ละข้อถัดจากหัวใจที่วาดไว้ในสมุดบันทึกของท่าน

หากต้องการเพิ่มความเข้าใจว่าการมีใจแข็งกระด้างหมายถึงอะไรหรือเราทำอะไรได้บ้างเพื่อให้พระเจ้าทรงทำให้ใจเราอ่อนลง โปรดอ่านข้อพระคัมภีร์บางข้อต่อไปนี้ เขียนสิ่งที่ท่านเรียนรู้หรือวลีสำคัญจากข้อพระคัมภีร์เหล่านี้และข้อที่อ่านจาก แอลมา 12:7–11 ถัดจากหัวใจที่สอดคล้องกันในสมุดบันทึกการศึกษา

ใจของผู้คนแข็งกระด้าง: 1 นีไฟ 15:3; 2 นีไฟ 33:2; โมไซยาห์ 11:29

สิ่งที่ผู้คนทำเพื่อพระเจ้าที่จะทำให้ใจอ่อนลง: 1 นีไฟ 2:16; แอลมา 24:8

เชื้อเชิญให้นักเรียนเขียนว่าพวกเขาเรียนรู้อะไรหรือวลีใดจากข้อพระคัมภีร์ถัดจากหัวใจสองดวงบนกระดาน ใกล้หัวใจที่อ่อนโยน นักเรียนอาจแนะนำแนวคิดบางส่วนดังต่อไปนี้ที่อาจทำให้ใจอ่อนโยน: “ร้องทูลต่อพระเจ้า” (1 นีไฟ 2:16); “สอบถาม … อย่างขยันหมั่นเพียร” เกี่ยวกับพระกิตติคุณ (แอลมา 12:8); ให้ “ความเอาใจใส่และความขยันหมั่นเพียร” ต่อสิ่งที่พระเจ้าประทานแก่เรา (แอลมา 12:9); และทำสิ่งต่างๆ ที่อัญเชิญพระวิญญาณของพระองค์เข้ามาในชีวิตเรา (ดู แอลมา 24:8)

เชื้อเชิญให้นักเรียนสนทนาว่าเหตุใดสภาพจิตใจของเราจึงมีความเกี่ยวข้อง วิธีหนึ่งในการทำเช่นนี้อาจเป็นการเชื้อเชิญให้นักเรียนสองสามคนมาเป็นอาสาสมัครเพื่อตอบคำถามในกลุ่ม ท่านอาจให้พวกเขานั่งบนเก้าอี้ที่หน้าห้อง ท่านอาจเขียนคำถามต่อไปนี้บนกระดาน ท่านอาจให้ชั้นเรียนถามคำถามเหล่านี้กันในกลุ่มหรือคำถามอื่นๆ เพื่อหารือเกี่ยวกับความเกี่ยวข้องของสภาพจิตใจเรา

  • ท่านคิดว่าคนที่ถามคำถามด้วยใจที่แข็งกระด้างนั้นเป็นอย่างไร? การขอให้มี “ความเอาใจใส่และความขยันหมั่นเพียร” ต่อพระเจ้า (แอลมา 12:9) มีลักษณะอย่างไร?

  • เหตุใดบางครั้งเราอาจรู้สึกอยากทำให้ใจเราแข็งกระด้าง?

  • ท่านคิดว่าเหตุใดสภาพจิตใจเราที่มีต่อพระเจ้าจะสร้างความแตกต่างดังกล่าวในชีวิตของเราได้?

แผนแห่งการไถ่ของพระผู้เป็นเจ้า

เพราะซีเอสรอมเริ่มมีความปรารถนาอย่างจริงใจที่จะทำความเข้าใจการฟื้นคืนพระชนม์และวันพิพากษา แอลมาจึงสอนเขาเกี่ยวกับแผนแห่งการไถ่ของพระผู้เป็นเจ้า เขาสอนว่าชีวิตนี้คือ “เวลาที่จะเตรียมพบพระผู้เป็นเจ้า” และเกี่ยวกับบทบาทสำคัญของพระผู้ช่วยให้รอดในการเอาชนะบาปและความตาย (ดู แอลมา 12:16–18, 24–28, 33) เขาชี้ให้เห็นความสำคัญของการไม่ทำให้ใจเราแข็งกระด้าง

ท่านอาจเชื้อเชิญให้นักเรียนหลับตาขณะทำสิ่งต่อไปนี้

ใช้เวลาสักครู่เพื่อจินตนาการว่าจะเป็นอย่างไรสำหรับการยืนเบื้องพระพักตร์พระเจ้าในการพิพากษาครั้งสุดท้ายหลังจากใช้ชีวิตด้วยใจแข็งกระด้าง หรือจินตนาการดูก็ได้ว่าจะเป็นอย่างไรหลังจากใช้ชีวิตด้วยใจที่อ่อนโยนลง

อ่าน แอลมา 12:12–15, 33–37 โดยมองหาว่าใจของท่านส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ของท่านกับพระบิดาบนสวรรค์และพระเยซูคริสต์ที่การพิพากษาสุดท้ายได้อย่างไร ท่านอาจต้องการทำเครื่องหมายคำหรือวลีสำคัญจากพระคัมภีร์

ใจของท่าน

ช่วยนักเรียนทำการประเมินจิตใจส่วนตัว ซึ่งควรเป็นประสบการณ์ส่วนตัวสำหรับนักเรียนแต่ละคน ท่านอาจใช้แบบประเมินต่อไปนี้หรือสร้างแบบประเมินของท่านเอง ท่านอาจแสดงคำแนะนำและข้อความบนกระดาน แล้วให้นักเรียนบันทึกคำตอบในสมุดบันทึก

เพื่อช่วยประเมินจิตใจของตนเอง ให้ตอบคำถามต่อไปนี้โดยใช้ระดับคะแนนตั้งแต่ 1 ถึง 5 โดย 1 หมายถึง “ไม่เคยเป็นจริง” และ 5 หมายถึง “จริงเสมอ”

ฉันต้องการการนำทางจากพระบิดาบนสวรรค์ในทุกด้านของชีวิต

ฉันยินดีเชื่อฟังพระบิดาบนสวรรค์

ฉันยอมรับการแก้ไข

ฉันรู้สึกต้องการความช่วยเหลือจากพระผู้ช่วยให้รอดในชีวิต

ฉันยินดีหันไปหาพระผู้ช่วยให้รอดและกลับใจ

หากต้องการช่วยให้นักเรียนทบทวนสิ่งที่พวกเขาได้เรียนรู้ในบทเรียนนี้ ให้แบ่งปันสถานการณ์สมมติต่อไปนี้และกระตุ้นให้นักเรียนใช้พระคัมภีร์ในการตอบ

ลองนึกภาพว่ามีคนบางคนรู้สึกว่าพวกเขามีใจแข็งกระด้างในบางมุมและต้องการความช่วยเหลือจากพระเจ้าเพื่อทำให้ใจอ่อนโยนลง ท่านจะนำสิ่งที่เรียนรู้ในวันนี้มาช่วยพวกเขาได้อย่างไร? ท่านอาจแบ่งปันแบบอย่างของพระผู้ช่วยให้รอดและประสบการณ์ส่วนตัวของท่านเอง

ท่านอาจจบบทเรียนนี้โดยการแบ่งปันประจักษ์พยานถึงความจริงและความสามารถของพระเจ้าที่จะทำให้ใจเราอ่อนโยนลงเพื่อรับพระวจนะของพระองค์ได้มากขึ้น