เซมินารี
ฮีลามัน 11–12: วัฏจักรความจองหอง


“ฮีลามัน 11–12: วัฏจักรความจองหอง” พระคัมภีร์มอรมอน คู่มือครู (2024)

“ฮีลามัน 11–12” พระคัมภีร์มอรมอน คู่มือครู

ฮีลามัน 11–12

วัฏจักรความจองหอง

ภาพ
ชายหนุ่มมองไปที่พระผู้เป็นเจ้าอย่างนอบน้อมถ่อมตน

รูปแบบหนึ่งที่มีอยู่ทั่วทั้งพระคัมภีร์มอรมอนคือ คนมักจะลืมพระผู้เป็นเจ้าและกลายเป็นความจองหองเมื่อสิ่งต่างๆ ดำเนินไปด้วยดีสำหรับพวกเขา ในทางกลับกัน ผู้คนมักจะนอบน้อมถ่อมตนและหันหน้าเข้าหาพระผู้เป็นเจ้าในยามยากลำบาก ท่านสังเกตเห็นรูปแบบนี้ในสังคมหรือในชีวิตท่านหรือไม่? บทเรียนนี้จะช่วยให้ท่านรู้สึกได้ถึงความปรารถนาที่จะเพิ่มความนอบน้อมถ่อมตนต่อพระผู้เป็นเจ้ามากยิ่งขึ้น

ช่วยให้นักเรียนเรียนรู้จากแบบฉบับพระคัมภีร์ รูปแบบของเจตคติและพฤติกรรม รูปแบบหลักคำสอน และภาษาพระคัมภีร์มีอยู่ทั่วทั้งพระคัมภีร์ การเน้นรูปแบบเหล่านี้สามารถช่วยให้นักเรียนตระหนักถึงหลักคำสอนและหลักธรรมสำคัญ กระตุ้นให้พวกเขาประยุกต์ใช้สิ่งที่เรียนรู้พร้อมให้ความช่วยเหลือเกี่ยวกับรูปแบบเหล่านี้

การเตรียมของนักเรียน: เชื้อเชิญให้นักเรียนอ่านคำปราศรัยในหัวข้อ “Beware of Pride” ของประธานเอสรา แทฟท์ เบนสัน จากการประชุมใหญ่สามัญในเดือนเมษายน 1989 ดูคำปราศรัยนี้ได้ในคลังค้นคว้าพระกิตติคุณหรือ Ensign, พ.ค. 1989, 7–12

กิจกรรมการเรียนรู้ที่เป็นไปได้

รูปแบบ

ดูตัวเลขต่อไปนี้ หาตัวเลขให้ได้มากที่สุดตามลำดับโดยเริ่มต้นด้วย “1” ใน 30 วินาที

กิจกรรมต่อไปนี้มีเจตนาจะแสดงให้เห็นถึงคุณค่าของการระบุรูปแบบ แสดงภาพหรือเขียนตัวเลขบนกระดานตามรูปแบบที่อธิบายไว้ด้านล่าง

ภาพ
ช่องหมายเลข 1 ถึง 50
  • ท่านสามารถหาหมายเลขภายใน 30 วินาทีได้กี่หมายเลข? ท่านสังเกตเห็นรูปแบบที่ตัวเลขตั้งอยู่หรือไม่?

หากนักเรียนสังเกตเห็นรูปแบบ เชื้อเชิญให้นักเรียนมาแบ่งปัน หากนักเรียนไม่ได้สังเกตเห็นรูปแบบที่อธิบายไว้ในย่อหน้าต่อไปนี้ ให้สอนพวกเขา ชี้ให้เห็นตัวอย่างของตัวเลขแรกๆ ตามลำดับ

มีรูปแบบการแสดงตัวเลขบนแผนภูมิ หากแทรกเส้นแนวตั้งและแนวนอนตรงกลางแผนภูมิเพื่อสร้างสี่ส่วนเท่าๆ กัน ท่านจะพบว่าตัวเลขตั้งอยู่ในรูปแบบตามเข็มนาฬิกาเช่นเดียวกับลูกศรที่แสดง ตัวอย่างเช่น “1” อยู่ตรงส่วนซ้ายด้านบน “2” อยู่ตรงส่วนขวาด้านบน และอื่นๆ

ภาพ
ช่องหมายเลข 1 ถึง 50 มีรูปแบบตามที่แสดง

ใช้เวลาอีก 30 วินาทีในการทำกิจกรรมนี้ซ้ำ และดูความแตกต่างที่เกิดขึ้นจากการทำตามรูปแบบ

ท่านอาจต้องการเชื้อเชิญให้นักเรียนแบ่งปันว่ามีการพัฒนาขึ้นหรือไม่และทำได้เท่าไร

  • คุณค่าของการระบุรูปแบบเช่นนี้คืออะไร?

ความสามารถในการระบุรูปแบบเป็นทักษะที่ช่วยยกระดับการศึกษาพระคัมภีร์ของท่านได้ การทำเช่นนี้จะช่วยให้ท่านนำสิ่งที่อยู่ในพระคัมภีร์ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตท่านได้ดียิ่งขึ้น

ในบทเรียนวันนี้ ท่านจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับรูปแบบที่มักจะเรียกว่าวัฏจักรความจองหอง ขณะศึกษา ลองนึกดูว่ารูปแบบนั้นอาจเกิดขึ้นในชีวิตของท่านอย่างไร และท่านจะทำอะไรได้บ้างเพื่อหลีกเลี่ยงความจองหองและเพิ่มความนอบน้อมถ่อมตน

วัฏจักรความจองหอง

ท่านอาจจำได้ว่าศาสดาพยากรณ์นีไฟมีความขยันหมั่นเพียรและแสวงหาเพียงเพื่อทำตามพระประสงค์ของพระเจ้า ดังนั้นพระเจ้าจึงประทานพรแก่ท่านด้วยพลังอันยิ่งใหญ่และทรงสัญญาว่า “ทั้งหมดที่จะเป็นไปตามถ้อยคำของ [พระองค์]” (ฮีลามัน 10:5) เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหลังจากนีไฟได้รับพลังอำนาจนี้จะช่วยให้เราเห็นตัวอย่างวัฏจักรความจองหองในหมู่ชาวนีไฟ

เชื้อเชิญให้นักเรียนวาดแผนภาพต่อไปนี้ และเชื้อเชิญให้นักเรียนวาดสิ่งที่คล้ายกันในสมุดบันทึกการศึกษา

วาดแผนภาพวัฏจักรความจองหองต่อไปนี้ในสมุดบันทึกการศึกษา

ภาพ
แผนภาพวัฏจักรความจองหอง

ท่านอาจแบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละสี่คน ให้นักเรียนแต่ละคนทำหนึ่งในช่วงของวัฏจักรความจองหองจากกิจกรรมต่อไปนี้ จากนั้นนักเรียนอาจแบ่งปันสิ่งที่พบกับสมาชิกกลุ่มและทำเครื่องหมายแต่ละช่วงของวัฏจักรความจองหองในพระคัมภีร์ และอาจให้กลุ่มสนทนาคำถามที่ตามมาด้วย

อ่านข้อพระคัมภีร์ในแผนภาพโดยเริ่มจาก ฮีลามัน 10:13–15 มองหาคำหรือวลีที่อธิบายถึงช่วงของวัฏจักรความจองหองที่ผู้คนอยู่ ท่านอาจทำเครื่องหมายคำและวลี และเขียนชื่อช่วงที่ช่องว่างริมหน้าพระคัมภีร์ถัดจากข้อที่เกี่ยวข้อง

  • เหตุใดจึงเป็นประโยชน์สำหรับเราที่ควรทราบรูปแบบนี้?

ให้นึกดูว่าท่านเห็นตนเองตรงจุดไหนในรูปแบบนี้ ขณะศึกษาต่อ ลองนึกดูว่าท่านจะเพิ่มความถ่อมตนและการพึ่งพาพระเจ้าได้อย่างไร

การเรียนรู้จากวัฏจักรความจองหอง

ท่านอาจเชื้อเชิญอาสาสมัครสองสามคนมาอ่านออกเสียงให้ชั้นเรียนฟังแทนที่จะสรุปข้อต่อไปนี้

หลังจากพระเจ้าทรงยกความอดอยาก ผู้คนก็เจริญรุ่งเรือง แต่ภายในไม่กี่ปี ผู้คนกลายเป็นคนจองหองและประสบกับความทุกข์ (ดู ฮีลามัน 11:21–33) พวกเขาถูกปลุกให้ระลึกถึงพระผู้เป็นเจ้า แต่ตกอยู่ในความจองหองและความชั่วร้ายอีกครั้งอย่างรวดเร็ว (ดู ฮีลามัน 11:34–38)

ท่านอาจสังเกตเห็นจากการศึกษาพระคัมภีร์มอรมอนว่ามีบางกรณีที่เมื่อศาสดาพยากรณ์มอรมอนหยุดบรรยายบางเรื่องเพื่อระบุบทเรียนที่เราจะเรียนรู้ได้ ท่านมักจะใช้วลี เช่น “เราจึงเห็น” หรือ “ดังนั้นเราจะเห็น”

เขียนวลี และดังนั้นเราจะเห็น … บนกระดาน เชื้อเชิญให้นักเรียนหลายคนแบ่งปันคำตอบของคำถามต่อไปนี้

  • จากสิ่งที่ท่านศึกษาเกี่ยวกับชาวนีไฟใน ฮีลามัน 11 ท่านจะเติมข้อความต่อไปนี้ให้ครบถ้วนว่าอย่างไร: “และดังนั้นเราจะเห็น …”?

อ่าน ฮีลามัน 12:1–6 โดยมองหาข้อสรุปบางส่วนของมอรมอนหลังจากแบ่งปันเรื่องราวนี้

  • เหตุใดท่านจึงคิดว่าผู้คนที่รุ่งเรืองบางครั้งจึงหลงลืมพระเจ้า

  • คนเราจะหลีกเลี่ยงหรือข้ามส่วนความจองหองและความทุกข์ของวัฏจักรความจองหอง (ช่อง 1 และ 2) ได้อย่างไร?

ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของการสนทนาคำถามก่อนหน้านี้ ท่านอาจเชื้อเชิญให้นักเรียนอ่าน แอลมา 62:48–51 และสังเกตว่ากลุ่มของชาวนีไฟสามารถหลีกเลี่ยงความจองหองและผลที่ตามมาได้อย่างไร

เขียนความจริงต่อไปนี้บนกระดาน ท่านอาจวาดลูกศรบนแผนภาพวัฏจักรความจองหองที่เปลี่ยนจากช่อง 4 ไปช่อง 3

ความจริงที่จะช่วยให้เรายังคงอยู่ในส่วนที่ดีกว่าของวัฏจักรนี้คือ ถ้าเราเลือกระลึกถึงพระเจ้า นอบน้อมถ่อมตน และกลับใจ เราจะหลีกเลี่ยงความจองหองและผลที่ตามมาได้

เชื้อเชิญให้นักเรียนคิดคำตอบที่หลากหลายสำหรับคำถามต่อไปนี้ ท่านอาจให้ปากกามาร์คเกอร์แก่นักเรียนหลายคนและเชื้อเชิญให้พวกเขาเขียนคำตอบบนกระดาน หรืออาจให้นักเรียนทำรายการในสมุดบันทึกการศึกษาแล้วแบ่งปันคำตอบ

อาจเป็นประโยชน์ที่จะแบ่งปันข้อความบางส่วนหรือทั้งหมดใน “บทวิจารณ์และข้อมูลภูมิหลัง” ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการสนทนานี้

  • เราจะทำอะไรได้บ้างที่ช่วยให้เราระลึกถึงพระเจ้าและหลีกเลี่ยงความจองหอง?

ประเมินตนเอง

นึกดูว่าความจริงที่ท่านศึกษาในวันนี้เกี่ยวข้องกับท่านอย่างไร การประเมินตนเองต่อไปนี้จะช่วยในเรื่องนี้ได้ ให้คะแนนความพยายามของท่านในด้านต่อไปนี้ โดยใช้ระดับคะแนนตั้งแต่ 1 ถึง 5 โดย 1 คือ “ไม่เคย” และ 5 คือ “เสมอ”

ท่านอาจแสดงคำถามและให้เวลานักเรียนทบทวนอย่างเงียบๆ ตลอดจนประเมินตนเองด้วยคำถามแต่ละข้อในสมุดบันทึกการศึกษา นอกจากนี้ยังอาจเป็นประโยชน์สำหรับนักเรียนที่จะคิดชุดคำถามที่อาจใช้ประเมินตนเองเกี่ยวกับความจองหอง ไม่ต้องขอให้นักเรียนแบ่งปันคำตอบของพวกเขา

  1. ท่านรู้สึกและแสดงความสำนึกคุณต่อพระผู้เป็นเจ้าและผู้อื่นหรือไม่?

  2. ท่านมีเวลาให้พระผู้เป็นเจ้าในแต่ละวันหรือไม่?

  3. ท่านรู้สึกว่าความสำเร็จของท่านเป็นผลมาจากความพยายามของตัวท่านเองหรือไม่?

  4. ท่านต้องการความช่วยเหลือและการนำทางจากพระผู้เป็นเจ้าหรือไม่?

  5. ท่านปฏิบัติต่อผู้อื่นด้วยความเมตตาและความเคารพหรือไม่?

  6. ท่านวิพากษ์วิจารณ์หรือใช้คำตัดสินที่ไม่ชอบธรรมต่อผู้อื่นหรือไม่?

ทบทวนและเขียนสิ่งที่ท่านรู้สึกว่าอาจทำได้เพื่อเพิ่มความอ่อนน้อมถ่อมตนและเอาชนะความจองหองในสมุดบันทึกการศึกษา แสวงหาความช่วยเหลือจากพระบิดาบนสวรรค์ขณะมุ่งมั่นที่จะทำตามพันธสัญญา

พิมพ์