เซมินารี
ประเมินผลการเรียนรู้ของท่าน 9: มอรมอน 7–อีเธอร์ 15


“ประเมินผลการเรียนรู้ของท่าน 9: มอรมอน 7–อีเธอร์ 15” พระคัมภีร์มอรมอน คู่มือครู (2024)

“ประเมินผลการเรียนรู้ของท่าน 9” พระคัมภีร์มอรมอน คู่มือครู

ประเมินผลการเรียนรู้ของท่าน 9

มอรมอน 7อีเธอร์ 15

เยาวชนชายยืนพิงต้นไม้

การใคร่ครวญและประเมินผลการเรียนรู้ทางวิญญาณจะช่วยให้เราเข้าใกล้พระผู้ช่วยให้รอดมากขึ้น บทเรียนนี้จะช่วยให้ท่านจดจำและประเมินได้ว่าประสบการณ์การอ่าน มอรมอน 7อีเธอร์ 15 ช่วยให้ท่านเติบโตทางวิญญาณอย่างไร

ช่วยให้นักเรียนใช้การประเมินตนเองเพื่อมาหาพระคริสต์การประเมินอย่างสม่ำเสมอเป็นประจำจะช่วยให้นักเรียนเห็นว่าพวกเขาจะเป็นเหมือนพระผู้ช่วยให้รอดมากขึ้นได้อย่างไร เชื้อเชิญให้นักเรียนพิจารณาร่วมกับการสวดอ้อนวอนว่าพวกเขารู้และรู้สึกอย่างไรเกี่ยวกับพระเยซูคริสต์ กระตุ้นให้พวกเขาประเมินความก้าวหน้าของตนอย่างจริงใจ และพิจารณาการเปลี่ยนแปลงที่พวกเขาทำได้ขณะพยายามดำเนินชีวิตตามพระกิตติคุณของพระองค์

การเตรียมของนักเรียน: เชื้อเชิญให้นักเรียนทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้โดยเติมข้อความต่อไปนี้ให้สมบูรณ์: “บทเรียนหนึ่งจาก มอรมอน 7อีเธอร์ 15 ที่ฉันอยากจะแบ่งปันกับเพื่อนคือ …”

กิจกรรมการเรียนรู้ที่อาจทำได้

ในบทนี้ นักเรียนจะมีโอกาสอธิบายความสำคัญของพระคัมภีร์มอรมอนในการฟื้นฟูพระกิตติคุณ และใคร่ครวญถึงความพยายามที่จะใช้ศรัทธาในพระเยซูคริสต์ การศึกษา มอรมอน 7อีเธอร์ 15 ในชั้นเรียนอาจเน้นถึงความจริงนอกเหนือจากที่มีอยู่ในกิจกรรมต่อไปนี้ หากเป็นเช่นนั้น ท่านอาจปรับกิจกรรมให้มีความจริงเหล่านั้นรวมอยู่ด้วย

วงปีของต้นไม้

บทเรียนส่วนนี้มีจุดประสงค์เพื่อเตรียมความพร้อมให้นักเรียนอธิบายสิ่งที่เรียนรู้และประเมินเป้าหมายที่อาจตั้งไว้ระหว่างศึกษา มอรมอน 7อีเธอร์ 15 นี่อาจเป็นโอกาสดีที่จะเชื้อเชิญให้นักเรียนแบ่งปันคำตอบจากกิจกรรมการเตรียม

ให้ดูภาพวงปีของต้นไม้และขอให้นักเรียนแบ่งปันสิ่งที่เราจะเรียนรู้เกี่ยวกับต้นไม้ได้โดยตรวจสอบวงปีของต้นไม้

ตอไม้ที่มีวงปีของต้นไม้

ประธานดีเทอร์ เอฟ. อุคท์ดอร์ฟสอนเมื่อครั้งอยู่ในฝ่ายประธานสูงสุดว่า:

2:3

นับเป็นเรื่องน่าทึ่งที่เราสามารถเรียนรู้เกี่ยวกับชีวิตได้จากการศึกษาธรรมชาติ ตัวอย่างเช่น นักวิทยาศาสตร์สามารถมองดูวงปีของต้นไม้และคาดคะเนด้วยการศึกษาเกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศและการเติบโตเมื่อหลายร้อยปีหรือแม้หลายพันปีก่อน สิ่งหนึ่งที่เราเรียนรู้จากการศึกษาการเติบโตของต้นไม้คือ ระหว่างฤดูกาลที่การเติบโตของต้นไม้ดำเนินไปตามปกติต้นไม้จะโตตามปกติ อย่างไรก็ตามระหว่างฤดูกาลที่สภาพการเติบโตไม่ปกติ ต้นไม้จะโตช้าลงและทุ่มเทพลังงานไปยังปัจจัยสำคัญเพื่อความอยู่รอด (ดีเทอร์ เอฟ. อุคท์ดอร์ฟ, “เกี่ยวกับสิ่งสำคัญที่สุด,” เลียโฮนา, พ.ย. 2010, 23)

เช่นเดียวกับต้นไม้ เรามีช่วงเวลาของการเติบโตและช่วงเวลาที่เราอาจรู้สึกเหมือนเราแค่พยายามเอาชีวิตรอด เราแต่ละคนมีประสบการณ์การเติบโตในรูปแบบที่แตกต่างกันและในระดับที่แตกต่างกัน ลองนึกถึงช่วงเวลาในชีวิตตอนที่ท่านอาจประสบกับการเติบโตทางวิญญาณ

  • สภาวะแบบใดบ้างที่ช่วยให้ท่านเติบโตทางวิญญาณ? ท่านประสบกับการเติบโตแบบใด?

  • เราจะประเมินการเติบโตทางวิญญาณของเราเป็นระยะๆ ด้วยวิธีใดได้บ้าง?

ในบทเรียนนี้ท่านจะมีโอกาสอธิบายสิ่งที่เรียนรู้และประเมินเป้าหมายที่ท่านอาจตั้งไว้ขณะศึกษา มอรมอน 7อีเธอร์ 15

อธิบายความสำคัญของพระคัมภีร์มอรมอน

ในส่วนนี้ของบทเรียน ท่านอาจเชื้อเชิญนักเรียนให้อธิบายถึงความสำคัญของพระคัมภีร์มอรมอนในการฟื้นฟูพระกิตติคุณ พวกเขาจะเรียนรู้ได้จากการศึกษา มอรมอน 8 หากต้องการ ท่านอาจขยายกิจกรรมเพื่อระบุบทบาทของพระคัมภีร์มอรมอนในการช่วยรวมอิสราเอล โดยเรียนรู้จาก 3 นีไฟ 21

ท่านอาจต้องการให้นักเรียนทำงานเป็นคู่เหมือนผู้สอนศาสนา วิธีหนึ่งที่จะทำเช่นนี้คือ เขียนสถานที่หรือประเทศต่างๆ สำหรับงานมอบหมายงานเผยแผ่ลงบนแผ่นกระดาษ เขียนงานมอบหมายงานเผยแผ่แต่ละข้อลงในกระดาษสองแผ่น จากนั้นแจกกระดาษให้ชั้นเรียน นักเรียนจะหาคู่โดยค้นหาบุคคลที่ได้งานมอบหมายงานเผยแผ่เดียวกัน

จินตนาการว่าท่านเป็นผู้สอนศาสนาที่กำลังอธิบายถึงความสำคัญของพระคัมภีร์มอรมอนในการฟื้นฟูพระกิตติคุณ ท่านกำลังจะให้พระคัมภีร์มอรมอนแก่บางคนเพื่ออ่าน

เตรียมสิ่งที่ท่านจะพูดโดยใช้ข้อพระคัมภีร์อย่างน้อยหนึ่งข้อใน มอรมอน 8 ท่านอาจใช้ ปกในของพระคัมภีร์มอรมอน ได้เช่นกัน มองหาโอกาสที่จะอธิบายว่าพระคัมภีร์มอรมอนช่วยให้เราเชื่อในพระเยซูคริสต์อย่างไร

เดินไปรอบๆ ห้องเรียน และช่วยเหลือแต่ละคู่ตามต้องการ หากนักเรียนต้องการความช่วยเหลือในการระบุข้อพระคัมภีร์ ท่านอาจนำพวกเขาไปที่ มอรมอน 8:14–16, 25–26, 34–35 หากจำเป็น ให้เตือนพวกเขาว่า ข้อ 16 และ 25 หมายถึงโจเซฟ สมิธ

หลังจากให้เวลาพอสมควรแล้ว เชื้อเชิญให้แต่ละคู่แสดงบทบาทสมมติในสถานการณ์นี้กับคู่อื่น หากเวลาเอื้ออำนวย แต่ละคู่อาจฝึกอธิบายอีกครั้งกับคู่อื่น

ใคร่ครวญแผนการใช้ศรัทธาในพระเยซูคริสต์

บทเรียนส่วนนี้จะช่วยให้นักเรียนใคร่ครวญความพยายามที่จะใช้ศรัทธาในพระเยซูคริสต์ นักเรียนสามารถเปรียบเทียบการใช้ศรัทธาในพระเยซูคริสต์กับการอบขนมปัง

หากเป็นไปได้ ให้นำชามผสมและส่วนผสมมาทำขนมปังหนึ่งก้อน ท่านอาจนำขนมปังหนึ่งก้อนมาแบ่งปันกับนักเรียน เชื้อเชิญให้นักเรียนอธิบายสั้นๆ เกี่ยวกับขั้นตอนการทำขนมปังโดยตั้งคำถามทำนองนี้:

ขนมปัง
  • ขนมปังหนึ่งก้อนมีส่วนผสมอะไรบ้าง?

  • นอกจากส่วนผสมแล้ว ท่านยังต้องทำอะไรอีกในการทำขนมปัง?

ส่วนผสมในขนมปังหนึ่งก้อนอาจมีแป้ง ยีสต์ เกลือ และน้ำ นอกจากนี้ท่านยังอาจต้องใช้เวลาเพื่อให้ขนมปังฟูและนำไปอบ

การอบขนมปังเปรียบได้กับการใช้ศรัทธาในพระเยซูคริสต์ ผลลัพธ์ พยาน หรือปาฏิหาริย์ที่ท่านแสวงหาเป็นเหมือนขนมปังก้อนที่ทำเสร็จแล้ว ความพยายามของท่านที่จะใช้ศรัทธาในพระเยซูคริสต์เปรียบเทียบได้กับส่วนผสม เวลาที่รอแป้งขนมปังฟู และการอบขนมปัง ในบทเรียนล่าสุด ให้ท่านศึกษาเรื่องราวของบุคคลที่ใช้ศรัทธาในพระเยซูคริสต์ (ดู อีเธอร์ 3:1–16; 12:6–22) และถ้อยคำของศาสดาพยากรณ์ที่เชื้อเชิญให้ท่านใช้ศรัทธาในพระเจ้าและแสวงหาปาฏิหาริย์ด้วย (ดู มอรมอน 9:15–27; อีเธอร์ 12:6–9)

ท่านอาจเปรียบเทียบการใช้ศรัทธากับการทำขนมปังอย่างเห็นภาพมากขึ้น โดยพูดคุยเกี่ยวกับบางข้อต่อไปนี้: การรอคอยพระเจ้าเปรียบเสมือนเวลาที่รอแป้งขนมปังฟู (ดู อิสยาห์ 40:31) การรักษาพันธสัญญาของเราเปรียบเสมือนเกลือ (ดู หลักคำสอนและพันธสัญญา 101:39) และเดชานุภาพของพระผู้ช่วยให้รอดเปรียบเสมือนน้ำ (ดู ยอห์น 4:14)

อ่าน มอรมอน 9:19–21; อีเธอร์ 3:9; 12:6–9 เพื่อช่วยให้ท่านจดจำสิ่งที่ศึกษาเกี่ยวกับศรัทธาในพระเยซูคริสต์และแผนที่ท่านอาจทำไว้

เชื้อเชิญให้นักเรียนนึกถึงผลลัพธ์ พยาน หรือปาฏิหาริย์ที่พวกเขาแสวงหาขณะตอบคำถามต่อไปนี้ ท่านอาจต้องการให้ดูคำถามและเชื้อเชิญให้นักเรียนตอบลงในสมุดบันทึกการศึกษา

  • ท่านได้ทำอะไรบ้างเพื่อใช้ศรัทธาในพระเยซูคริสต์?

  • หากการใช้ศรัทธาในพระเยซูคริสต์เปรียบเสมือนการอบขนมปัง ตอนนี้ท่านอยู่ส่วนใดของกระบวนการ? ท่านยังคงรวบรวมหรือผสมส่วนผสมอยู่หรือไม่? ท่านกำลังรอให้ขนมปังฟูอยู่หรือไม่? กำลังอบขนมปังหรือไม่? หรือท่านได้รับประทานขนมปังแล้ว? อธิบายเหตุผล

  • ท่านได้ประสบหรือยังต้องเอาชนะความท้าทายอะไรบ้าง? สิ่งใดที่ช่วยหรืออาจช่วยให้ท่านเอาชนะได้?

  • ท่านรู้สึกอย่างไรที่ได้รับพรสำหรับความพยายามที่ทำไปเพื่อใช้ศรัทธาในพระเยซูคริสต์?

เชื้อเชิญให้นักเรียนที่เต็มใจมาแบ่งปันประสบการณ์การใช้ศรัทธาในพระเยซูคริสต์และผลกระทบที่มีต่อชีวิตพวกเขา ท่านอาจแบ่งปันประจักษ์พยานว่าท่านได้รับพรจากการใช้ศรัทธาในพระเยซูคริสต์อย่างไร