เซมินารี
บทเรียน 48: หลักคำสอนและพันธสัญญา 30–36 ตอน 2: “จงอ้าปากของพวกเจ้าและเราจะเติมให้เต็ม”


“หลักคำสอนและพันธสัญญา 30–36 ตอน 2: ‘จงอ้าปากของพวกเจ้าและเราจะเติมให้เต็ม’” หลักคำสอนและพันธสัญญา คู่มือครูเซมินารี (2025)

“หลักคำสอนและพันธสัญญา 30–36 ตอน 2” หลักคำสอนและพันธสัญญา คู่มือครูเซมินารี

บทเรียน 48: หลักคำสอนและพันธสัญญา 30–36

หลักคำสอนและพันธสัญญา 30–36 ตอน 2

“จงอ้าปากของพวกเจ้าและเราจะเติมให้เต็ม”

เยาวชนชายและเยาวชนหญิงกำลังอ่านพระคัมภีร์

เมื่อพระเจ้าทรงเรียกผู้สอนศาสนาให้สั่งสอนพระกิตติคุณของพระองค์หลังจากการจัดตั้งศาสนจักรได้ไม่นาน พระองค์ทรงให้คำแนะนำให้เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งและชี้นำพวกเขาในการทำงานสอนศาสนา บทเรียนนี้จะช่วยนักเรียนในการพยายามแบ่งปันพระกิตติคุณ

กิจกรรมการเรียนรู้ที่อาจทำได้

ข้อกังวลเกี่ยวกับการแบ่งปันพระกิตติคุณ

ท่านอาจเริ่มบทเรียนโดยบอกสถานการณ์สมมติและคำถามต่อไปนี้

เมื่อผู้พูดในการประชุมศีลระลึกกำลังพูดถึงความสำคัญของงานสอนศาสนา คอเนอร์จะรู้สึกว่าตนต่อต้านความคิดเรื่องการพูดกับคนอื่นๆ เกี่ยวกับพระกิตติคุณ คอเนอร์มีนิสัยเงียบขรึม อีกอย่าง เขาไม่เคยสนทนาพระกิตติคุณกับคนที่ไม่ได้เป็นสมาชิกของศาสนจักรเลย เขากังวลว่าการสนทนาเช่นนั้นจะเป็นอย่างไร นิสัยเงียบขรึมและขาดประสบการณ์ทำให้เขารู้สึกไม่สบายใจกับความคิดว่าต้องเริ่มสนทนาพระกิตติคุณกับคนอื่นๆ

  • ท่านคิดว่าอะไรจะช่วยให้คอเนอร์เข้าใจเรื่องงานสอนศาสนา?

  • ผู้คนมักมีข้อกังวลอะไรอีกบ้างเกี่ยวกับการแบ่งปันพระกิตติคุณของพระผู้ช่วยให้รอด?

เตือนความจำนักเรียนว่าในบทเรียนก่อนหน้านี้ พวกเขาเรียนรู้เกี่ยวกับหลายคนที่ได้รับเรียกให้รับใช้เป็นผู้สอนศาสนาหลังจากจัดตั้งศาสนจักรได้ไม่นาน บางคนเหล่านี้รู้จักพระกิตติคุณที่ได้รับการฟื้นฟูเพียงช่วงสั้นๆ ก่อนได้รับการเรียกให้ทำงานเผยแผ่

เชิญนักเรียนบอกข้อกังวลบางอย่างที่ผู้สอนศาสนาที่เพิ่งได้รับการเรียกเหล่านี้อาจมี ท่านจะขอให้นักเรียนนึกถึงข้อกังวลของตนเองเกี่ยวกับการแบ่งปันพระกิตติคุณกับผู้อื่นด้วย จากนั้นให้แบ่งปันดังนี้เพื่อช่วยเตรียมนักเรียนให้พร้อมศึกษา

วันนี้ท่านจะศึกษาคำสอนจากพระเจ้าใน หลักคำสอนและพันธสัญญา 30–36 ที่จะช่วยให้ท่านรับรู้ว่าพระองค์ทรงปรารถนาจะช่วยท่านแบ่งปันพระกิตติคุณของพระองค์เป็นอย่างยิ่ง ขณะที่ท่านศึกษา ให้มองหาคำสอนที่จะช่วยท่านเพิ่มความเต็มใจและความสามารถในการแบ่งปันพระกิตติคุณของพระเยซูคริสต์

พระเจ้าประทานคำแนะนำที่เป็นประโยชน์แก่ผู้สอนศาสนาของพระองค์

ให้เวลานักเรียนศึกษาคำแนะนำของพระเจ้าในข้อพระคัมภีร์ต่อไปนี้ วิธีหนึ่งที่ทำได้คือแบ่งชั้นเรียนออกเป็นห้ากลุ่ม แจกกระดาษเปล่าให้กลุ่มละแผ่น และเชื้อเชิญให้พวกเขาออกแบบหน้ากระดาษที่มีชื่อเช่น “คำแนะนำจากพระเจ้าที่เป็นประโยชน์สำหรับผู้สอนศาสนา”

มอบหมายข้อพระคัมภีร์ให้กลุ่มละหนึ่งชุด จากนั้นนักเรียนจะเพิ่มคำแนะนำอย่างน้อยสามข้อที่พบในข้อพระคัมภีร์ลงในกระดาษของตน พวกเขาจะเพิ่มภาพประกอบลงไปด้วยก็ได้หากต้องการ จากนั้นท่านจะเชื้อเชิญให้นักเรียนแสดงหน้าที่เสร็จสมบูรณ์ให้ชั้นเรียนดู

อ่านข้อต่อไปนี้โดยมองหาคำแนะนำที่พระเจ้าประทานซึ่งจะช่วยให้ท่านเต็มใจและสามารถแบ่งปันพระกิตติคุณได้มากขึ้น

หลักคำสอนและพันธสัญญา 30:5, 8–11 (อาจเป็นประโยชน์ถ้ารู้ว่า “พี่น้อง” ของปีเตอร์ วิตเมอร์ที่กล่าวถึงใน ข้อ 5 คือ ออลิเวอร์ คาวเดอรีผู้ได้รับเรียกให้สั่งสอนในการเปิดเผยก่อนหน้านี้ [ดู หลักคำสอนและพันธสัญญา 28:14–16])

หลักคำสอนและพันธสัญญา 31:4–9, 11–13

หลักคำสอนและพันธสัญญา 32:1–5

หลักคำสอนและพันธสัญญา 33:8–12, 16–17

หลักคำสอนและพันธสัญญา 35:13–15, 24

เมื่อนักเรียนศึกษาเสร็จแล้วให้โอกาสพวกเขาแบ่งปันสิ่งที่เรียนรู้ วิธีหนึ่งที่จะทำได้คือเชื้อเชิญให้นักเรียนหลายคนแบ่งปันคำแนะนำที่พบจากข้อของตนที่มีความหมายต่อพวกเขามากที่สุด และแบ่งปันความจริงที่เราเรียนรู้ได้จากคำแนะนำนี้ ท่านจะเขียนความจริงเหล่านี้ไว้บนกระดานหรือเชิญนักเรียนเขียน

ตัวอย่างความจริงที่นักเรียนอาจจะกล่าวถึงมีดังนี้: แทนที่จะกลัวผู้อื่น เราสามารถพึ่งพาพระเจ้าให้ทรงช่วยเหลือแบ่งปันพระกิตติคุณของพระองค์ (ดู หลักคำสอนและพันธสัญญา 30:11); พระเจ้าจะทรงเปิดใจคนที่เราสอน (ดู หลักคำสอนและพันธสัญญา 31:7); พระเจ้าจะทรงอยู่กับเราขณะที่เราพยายามแบ่งปันพระกิตติคุณของพระองค์ (ดู หลักคำสอนและพันธสัญญา 32:3); เมื่อเราอ้าปากแบ่งปันพระกิตติคุณ พระเจ้าจะทรงช่วยให้เรารู้ว่าจะพูดอะไร (ดู หลักคำสอนและพันธสัญญา 33:8–10); พระเจ้าประทานพลังอำนาจของพระวิญญาณแก่คนอ่อนแอที่รับใช้พระองค์ (ดู หลักคำสอนและพันธสัญญา 35:13–14)

  • ท่านคิดว่าเหตุใดพระเจ้าทรงปรารถนาจะช่วยเราแบ่งปันพระกิตติคุณเป็นอย่างยิ่ง?

  • ความจริงเหล่านี้เกี่ยวกับพระเจ้าจะช่วยเราได้อย่างไรขณะที่เราพยายามสั่งสอนพระกิตติคุณ?

แนวคิดเรื่องการอ้าปากแบ่งปันพระกิตติคุณ

ใช้เวลาสักครู่ช่วยให้นักเรียนเรียนรู้และสนทนาวิธีเฉพาะเจาะจงที่พวกเขาสามารถทำตามพระบัญชาของพระเจ้าให้ “อ้าปาก [ของพวกเขา]” (หลักคำสอนและพันธสัญญา 33:8–10; ดู 30:5,11 ด้วย) และแบ่งปันพระกิตติคุณ การช่วยให้นักเรียนเห็นวิธีเฉพาะเจาะจงและสามารถทำสิ่งนี้ให้สำเร็จได้จะสร้างความมั่นใจให้พวกเขาแบ่งปันพระกิตติคุณ

วิธีหนึ่งที่ทำได้คือฉายวีดิทัศน์ต่อไปนี้หนึ่งเรื่องหรือมากกว่านั้น เชื้อเชิญให้นักเรียนมองหาวิธีต่างๆ ที่ผู้คนอ้าปากและเชื้อเชิญพรจากพระเจ้า ท่านจะแบ่งปันแหล่งข้อมูลอื่นๆ จากหน้า “Sharing the Gospel” บน ChurchofJesusChrist.org ด้วย

วีดิทัศน์ต่อไปนี้แบ่งปันแนวคิดเกี่ยวกับวิธีที่ท่านจะ “อ้าปาก” (หลักคำสอนและพันธสัญญา 30:5) และเชื้อเชิญผู้อื่นอย่างเป็นธรรมชาติและอย่างมีความหมายให้ประสบพระกิตติคุณของพระเยซูคริสต์

1:17

เชื้อเชิญให้ผู้อื่น "มาดู"

ผู้คนชอบการเป็นส่วนหนึ่ง พวกเขาเพียงแค่ต้องได้รับเชิญ วีดิทัศน์นี้แสดงให้เห็นว่าการเชื้อเชิญให้ "มาดู" สามารถเป็นเรื่องปกติธรรมดาของชีวิตประจำวันสำหรับสมาชิกของศาสนจักรของพระเยซูคริสต์แห่งวิสุทธิชนยุคสุดท้าย

1:3

เชื้อเชิญให้ผู้อื่น "มาช่วย"

ผู้คนต้องการที่จะช่วย บ่อยครั้งสิ่งที่พวกเขาต้องการคือการเชื้อเชิญ วีดิทัศน์นี้แสดงให้เห็นถึงความง่ายดายในการเชื้อเชิญให้ผู้คนยื่นมือเข้ามาช่วยในโอกาสการรับใช้ที่เกี่ยวข้องกับศาสนจักรสำหรับศาสนจักรของพระเยซูคริสต์แห่งวิสุทธิชนยุคสุดท้าย

3:49

Sharing the Gospel

What we call “member missionary work” is not a program but an attitude of love and outreach to help those around us.

  • ท่านเคยมีประสบการณ์ใดบ้างในการแบ่งปันพระกิตติคุณ? ท่านพบว่าอะไรเป็นการเตรียมพร้อมที่ช่วยได้มากที่สุดสำหรับประสบการณ์เหล่านั้น?

วางแผน

ให้เวลานักเรียนเขียนแผนง่ายๆ เกี่ยวกับสิ่งที่พวกเขาจะทำเพื่อแบ่งปันพระกิตติคุณกับผู้อื่น คำถามต่อไปนี้จะให้พวกเขาคิดออกว่าจะเขียนอะไร

  • ใครคือคนที่ท่านรู้สึกว่าท่านจะแบ่งปันพระกิตติคุณให้ได้?

  • จากสิ่งที่ท่านเรียนรู้ในวันนี้ วิธีที่เป็นธรรมชาติและมีความหมายอะไรบ้างที่ท่านจะช่วยให้บุคคลนี้เข้าใกล้พระเยซูคริสต์มากขึ้น?

  • ท่านคิดว่าอุปสรรคใดจะขัดขวางท่านไม่ให้ทำตามแผน?

  • ความจริงใดเกี่ยวกับพระผู้ช่วยให้รอดที่ท่านเรียนรู้จาก หลักคำสอนและพันธสัญญา30–36 ที่จะช่วยท่านเอาชนะอุปสรรคเหล่านี้ได้?

พิจารณาว่าท่านจะกระตุ้นให้นักเรียนปฏิบัติด้วยศรัทธาตามที่พวกเขารู้สึกในวันนี้ได้อย่างไร ท่านอาจจะเชื้อเชิญให้นักเรียนกำหนดกรอบเวลาในการทำตามที่เขียนไว้ บอกว่าท่านมั่นใจว่าพระผู้ช่วยให้รอดทรงสามารถสัมผัสใจผู้อื่นผ่านพวกเขา

ไอคอนการอบรม เชื้อเชิญให้นักเรียนดำเนินชีวิตตามสิ่งที่เรียนรู้: สำหรับการอบรมวิธีติดตามผลกับนักเรียนเกี่ยวกับแผนการดำเนินชีวิตตามสิ่งที่กำลังเรียนรู้ ให้ดูการอบรมชื่อ “เชื้อเชิญให้ผู้เรียนดำเนินชีวิตตามสิ่งที่กำลังเรียนรู้” ในการอบรม ทักษะการพัฒนาครู