เซมินารี
บทเรียนที่ 158—ถ้อยแถลงเรื่องครอบครัว ส่วนที่ 1: “ครอบครัวเป็นศูนย์กลางต่อแผนของพระผู้สร้าง”


“บทเรียนที่ 158—ถ้อยแถลงเรื่องครอบครัว ส่วนที่ 1: ‘ครอบครัวเป็นศูนย์กลางต่อแผนของพระผู้สร้าง’” หลักคําสอนและพันธสัญญา คู่มือครูเซมินารี (2025)

“ถ้อยแถลงเรื่องครอบครัว ส่วนที่ 1” หลักคําสอนและพันธสัญญา คู่มือครูเซมินารี

บทเรียนที่ 158: ครอบครัว: ถ้อยแถลงต่อโลก

ถ้อยแถลงเรื่องครอบครัว ส่วนที่ 1

“ครอบครัวเป็นศูนย์กลางต่อแผนของพระผู้สร้าง”

ครอบครัวศึกษาด้วยกัน

ครอบครัว: ถ้อยแถลงต่อโลก” เป็นถ้อยแถลงของศาสดาพยากรณ์ที่เขียนขึ้นเพื่อช่วยให้เราเข้าใจคําสอนของพระบิดาบนสวรรค์และพระเยซูคริสต์เกี่ยวกับการแต่งงานและครอบครัว บทเรียนนี้จะช่วยให้นักเรียนเข้าใจบทบาทหลักของครอบครัวในแผนของพระบิดาบนสวรรค์ได้ดียิ่งขึ้น

กิจกรรมการเรียนรู้ที่อาจทําได้

ก่อนชั้นเรียน ให้แน่ใจว่านักเรียนแต่ละคนสามารถเข้าถึง “ครอบครัว: ถ้อยแถลงต่อโลก” ในรูปแบบดิจิทัลหรือเป็นฉบับพิมพ์ อาจมีสําเนาอยู่ในสมุดบันทึกการศึกษาของนักเรียน

“ครอบครัวเป็นศูนย์กลางต่อแผนของพระผู้สร้างเพื่อจุดหมายปลายทางนิรันดร์ของบุตรธิดาของพระองค์”

ท่านอาจติดคําจากหัวข้อก่อนหน้านี้ไว้บนกระดานโดยไม่เรียงลําดับ ให้เวลานักเรียนหนึ่งนาทีเพื่อพยายามเรียงลําดับในใจ จากนั้นให้พวกเขาหาและทําเครื่องหมายคําเหล่านี้ท้าย ย่อหน้าแรก ของ “ครอบครัว: ถ้อยแถลงต่อโลก”

จากนั้นเชื้อเชิญให้สนทนาโดยใช้คําถามดังต่อไปนี้:

  • เหตุใดครอบครัวจึงเป็นศูนย์กลางในแผนของพระผู้เป็นเจ้าเพื่อจุดหมายปลายทางนิรันดร์ของบุตรธิดาของพระองค์?

  • โดยรู้ว่าทุกครอบครัวเผชิญการทดลองและเราทุกคนไม่ดีพร้อม ท่านจะแบ่งปันอะไรเกี่ยวกับพระบิดาบนสวรรค์ การชดใช้ของพระเยซูคริสต์ และแผนแห่งความรอดที่อาจช่วยให้วัยรุ่นที่กังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ครอบครัวของพวกเขา?

ท่านอาจเขียนรายการคําและวลีต่อไปนี้ไว้บนกระดานก่อนเริ่มชั้นเรียน เชื้อเชิญให้นักเรียนอ่านรายการทั้งหมด

  • ความสําคัญของการแต่งงาน

  • การหย่าร้าง

  • การกระทําทารุณกรรม

  • อัตลักษณ์ทางเพศ

  • การแต่งงานกับเพศเดียวกัน

  • การมีบุตร

  • เพศสัมพันธ์นอกชีวิตสมรส

  • การทําแท้ง

  • ความสุขในครอบครัว

หมายเหตุ: ขณะที่ท่านสอนบทเรียนวันนี้ ให้รับรู้ลักษณะที่ละเอียดอ่อนของหัวข้อที่จะพูดถึง ท่านอาจต้องการยํ้าเตือนให้นักเรียนมุ่งมั่นที่จะมีความรัก ความละเอียดอ่อน และความเข้าใจเหมือนพระคริสต์ขณะสนทนาหัวข้อเหล่านี้

  • ผู้คนมีคําถามหรือข้อกังวลเกี่ยวกับหัวข้อใดในปัจจุบัน?

  • ท่านคิดว่าผู้คนมักจะไปหาคําตอบเกี่ยวกับปัญหาเหล่านี้จากที่ใด?

    ท่านอาจให้เวลานักเรียนไตร่ตรองความเข้าใจของตนเกี่ยวกับปัญหาเหล่านี้และคําถามที่พวกเขาอาจมี

  • เหตุใดการรู้ว่าพระผู้เป็นเจ้าทรงสอนอะไรเกี่ยวกับหัวข้อเหล่านี้จึงสําคัญ?

บทเรียนนี้จะช่วยให้นักเรียนพบคําตอบสําหรับคําถามและข้อกังวลบางอย่างของพวกเขา เชื้อเชิญให้พวกเขาแสวงหาการเปิดเผยจากพระวิญญาณบริสุทธิ์เพื่อนําทางพวกเขาขณะศึกษา “ครอบครัว: ถ้อยแถลงต่อโลก” วันนี้และตลอดสัปดาห์

ถ้อยแถลงเรื่องครอบครัว

เพื่อช่วยให้นักเรียนเข้าใจเหตุผลบางประการที่พระเจ้าทรงดลใจให้เขียนถ้อยแถลงเรื่องครอบครัว ท่านอาจแบ่งปันข้อความต่อไปนี้เมื่อแนะนําถ้อยแถลง

หมายเหตุ: คําว่า การอ้างเหตุผลซับซ้อน หมายถึงคําสอนที่หลอกลวง

ประธานกอร์ดอน บี. ฮิงค์ลีย์ (1910–2008) กล่าวว่า:

2:3
ประธานกอร์ดอน บี. ฮิงค์ลีย์

ด้วยการอ้างเหตุผลมากมายจนหลอกให้คนยอมรับว่าเป็นความจริง ด้วยการหลอกลวงมากมายเกี่ยวกับมาตรฐานและค่านิยม ด้วยสิ่งยั่วยวนและสิ่งล่อใจมากมายให้ยอมรับความสกปรกโสมมที่เกิดขึ้นช้าๆ ของโลก เราจึงรู้สึกว่าต้องเตือนและเตือนล่วงหน้า เพื่อทำเช่นนี้เราฝ่ายประธานสูงสุดและสภาอัครสาวกสิบสองจึงได้ออกถ้อยแถลงต่อศาสนจักรและต่อโลกเป็นการประกาศและการยืนยันมาตรฐาน หลักคำสอน และหลักปฏิบัติอันเกี่ยวข้องกับครอบครัวซึ่งศาสดาพยากรณ์ ผู้หยั่งรู้ และผู้เปิดเผยของศาสนจักรนี้กล่าวย้ำหลายครั้งตลอดประวัติศาสตร์ของศาสนจักร (กอร์ดอน บี. ฮิงค์ลีย์, “ยืนหยัดต่อต้านแผนการร้ายของโลก,” เลียโฮนา, ม.ค. 1996, 112)

  • ท่านประทับใจอะไรเกี่ยวกับเหตุผลที่ออกถ้อยแถลงเรื่องครอบครัว?

อ่านถ้อยแถลงเรื่องครอบครัว ย่อหน้า 1–3 โดยมองหาสิ่งที่พระผู้เป็นเจ้าทรงสอนเกี่ยวกับบางหัวข้อบนกระดาน

ไอคอนการอบรมมุ่งเน้นความจริงที่นําไปสู่การเปลี่ยนใจเลื่อมใสและสร้างศรัทธาในพระเยซูคริสต์: กิจกรรมด้านล่างเสนอวิธีหนึ่งที่นักเรียนจะบอกหลักธรรมแห่งการเปลี่ยนใจเลื่อมใสที่พวกเขาระบุ ดูการฝึกอบรมเพื่อช่วยในการสอนสิ่งนี้ได้ที่หัวข้อ “มุ่งเน้นความจริงที่นําไปสู่การเปลี่ยนใจเลื่อมใสและสร้างศรัทธาในพระเยซูคริสต์” ใน ทักษะการพัฒนาครู: สอนหลักคําสอน ท่านอาจฝึกทักษะ “ตั้งคําถามที่ช่วยให้นักเรียนระบุและอธิบายหลักธรรมแห่งการเปลี่ยนใจเลื่อมใส”

ท่านอาจเชื้อเชิญให้นักเรียนเขียนความจริงที่พบข้างหัวข้อที่เกี่ยวข้องบนกระดาน พวกเขาจะแบ่งปันด้วยว่าความจริงที่เขียนจะช่วยตอบหัวข้อที่เกี่ยวข้องได้อย่างไร

ต่อไปนี้เป็นความจริงบางประการที่นักเรียนอาจระบุ:

  • ครอบครัวเป็นศูนย์กลางในแผนของพระบิดาบนสวรรค์สําหรับบุตรธิดาของพระองค์

  • เพศเป็นลักษณะจําเป็นของอัตลักษณ์และจุดประสงค์ของแต่ละบุคคล

  • แผนของพระผู้เป็นเจ้าทําให้ความสัมพันธ์ในครอบครัวดําเนินต่อไปหลังความตาย

นี่อาจเป็นโอกาสที่ดีสําหรับนักเรียนที่จะแบ่งปันข้อคิดหรือถามคําถามที่พวกเขาอาจมี

บทเรียนสามหมวดต่อไปนี้จะสํารวจความจริงแต่ละข้อข้างต้น เลือกมุ่งเน้นความจริงเหล่านี้อย่างน้อยหนึ่งข้อ โดยขึ้นอยู่กับเวลาที่มีและความต้องการของนักเรียน หรือท่านอาจศึกษาความจริงอื่นๆ ที่ตอบคําถามและความต้องการของนักเรียนได้ดีกว่า

1. ครอบครัวเป็นศูนย์กลางในแผนของพระบิดาบนสวรรค์สําหรับบุตรธิดาของพระองค์

ท่านอาจแบ่งนักเรียนออกเป็นคู่ เชื้อเชิญให้คู่ผลัดกันแบ่งปันทุกอย่างที่ทําได้เกี่ยวกับแผนแห่งความรอดของพระบิดาบนสวรรค์ในหนึ่งนาที กระตุ้นให้นักเรียนพิจารณาส่วนของแผนก่อนมรรตัย มรรตัย และหลังมรรตัย

  • ครอบครัวเป็นศูนย์กลางต่อแผนของพระบิดาบนสวรรค์ในชีวิตก่อนเกิดอย่างไร? ในความเป็นมรรตัย? ในชีวิตหลังมรรตัยของเรา?

  • ถ้าซาตานรู้เรื่องนี้เกี่ยวกับครอบครัว ท่านคิดว่าเขาจะตอบสนองความจริงเกี่ยวกับครอบครัวอย่างไร?

เพื่อช่วยให้นักเรียนเข้าใจมากขึ้นว่าเหตุใดครอบครัวจึงเป็นศูนย์กลางในแผนของพระผู้เป็นเจ้า ท่านอาจเชื้อเชิญให้พวกเขาค้นหาพระคัมภีร์ใต้ “ครอบครัว” ในคู่มือพระคัมภีร์ นอกจากนี้ ท่านอาจแจกคํากล่าวต่อไปนี้ให้นักเรียนอ่านส่วนตัว ท่านอาจกระตุ้นให้นักเรียนทําเครื่องหมายส่วนต่างๆ ของข้อความที่พวกเขาประทับใจ

เอ็ลเดอร์ดี. ทอดด์ คริสทอฟเฟอร์สัน แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองสอนว่า:

เอ็ลเดอร์ดี. ทอดด์ คริสทอฟเฟอร์สัน

โดยที่รู้ว่าเหตุใดเราจึงจากที่ประทับของพระบิดาบนสวรรค์และสิ่งที่ต้องทําเพื่อจะกลับไปและได้รับความสูงส่งกับพระองค์ จึงชัดเจนอย่างมากว่าไม่มีสิ่งใดที่เกี่ยวข้องกับวันเวลาของเราบนแผ่นดินโลกจะสําคัญไปกว่าการถือกําเนิดทางร่างกายและการบังเกิดใหม่ทางวิญญาณ สองอย่างที่ต้องมีก่อนจะได้รับชีวิตนิรันดร์ …

ครอบครัวที่สร้างบนการแต่งงานของชายกับหญิงเป็นสภาพแวดล้อมที่ดีที่สุดสําหรับความก้าวหน้าในแผนของพระผู้เป็นเจ้า—สภาพแวดล้อมสําหรับการกําเนิดบุตร ผู้มาจากพระผู้เป็นเจ้าในความบริสุทธิ์และไร้เดียงสา สภาพแวดล้อมสําหรับการเรียนรู้และการเตรียมตัวที่พวกเขาต้องมีเพื่อชีวิตมรรตัยที่ประสบความสําเร็จและชีวิตนิรันดร์ในโลกที่จะมาถึง (ดี. ทอดด์ คริสทอฟเฟอร์สัน, “เหตุผลที่แต่งงาน เหตุผลที่มีครอบครัว,” เลียโฮนา, พ.ค. 2015, 51–52)

หลังจากให้เวลาค้นคว้าพระคัมภีร์และคํากล่าวแล้ว นักเรียนอาจสนทนาคําถามต่อไปนี้เป็นคู่หรือเป็นกลุ่มเล็ก

  • ท่านเรียนรู้อะไรเกี่ยวกับเหตุผลที่ครอบครัวเป็นศูนย์กลางในแผนของพระบิดาบนสวรรค์?

  • ท่านเคยเห็นครอบครัวช่วยแต่ละบุคคลเตรียมรับ “ชีวิตมรรตัยที่ประสบความสําเร็จและชีวิตนิรันดร์ในโลกที่จะมาถึง” อย่างไร?

  • คําสอนเหล่านี้จะช่วยตอบคําถามและข้อกังวลเกี่ยวกับการแต่งงานและครอบครัวอย่างไร?

2. เพศเป็นลักษณะจําเป็นของอัตลักษณ์และจุดประสงค์ของแต่ละบุคคล

ท่านอาจให้เวลานักเรียนศึกษาแหล่งข้อมูลบางส่วนด้านล่างด้วยตนเอง คําถามต่อไปนี้อาจเป็นแนวทางแก่พวกเขาในการศึกษา:

  • เหตุใดเพศจึงเป็นลักษณะจําเป็นของอัตลักษณ์และจุดประสงค์ของแต่ละบุคคล?

  • เราจะสอนความจริงเรื่องเพศด้วยความเชื่อมั่นได้อย่างไรขณะที่หลีกเลี่ยงการไม่ใส่ใจหรือไม่เคารพผู้อื่น?

ลักษณะและจุดประสงค์นิรันดร์ของเพศ” (สื่อการเรียนการสอนสําหรับเตรียมเข้าชั้นเรียนครอบครัวนิรันดร์ [2022], 29–33) (สังเกตสามหมวดของแหล่งข้อมูลนี้ที่เริ่มด้วยคําถาม)

คนข้ามเพศ: การเข้าใจตนเอง” ในหมวด “ความช่วยเหลือในชีวิต” ของคลังค้นคว้าพระกิตติคุณ

คนข้ามเพศ: การสนับสนุนผู้อื่น” ในหมวด “ความช่วยเหลือในชีวิต” ของคลังค้นคว้าพระกิตติคุณ

หากนักเรียนไม่สามารถเข้าถึงแหล่งช่วยเหล่านี้ ท่านอาจทําสําเนา บทเรียนที่ 7 ของคู่มือสถาบัน สื่อการเรียนการสอนสําหรับเตรียมเข้าชั้นเรียนครอบครัวนิรันดร์ เพื่อให้นักเรียนศึกษาในชั้นเรียน

เมื่อนักเรียนมีเวลาศึกษาเพียงพอแล้ว อาสาสมัครอาจแบ่งปันข้อคิดที่ได้รับ

เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการสนทนานี้ ท่านอาจแบ่งปันคํากล่าวของประธานรัสเซลล์ เอ็ม. เนลสันใน “แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม” และเชื้อเชิญให้นักเรียนแบ่งปันว่าคํากล่าวนี้มีความหมายต่อพวกเขาอย่างไร

ท่านอาจแบ่งปันว่าชีวิตท่านได้รับพรอย่างไรจากการมีมุมมองนิรันดร์เกี่ยวกับอัตลักษณ์และจุดประสงค์ของท่าน

3. แผนของพระผู้เป็นเจ้าทําให้ความสัมพันธ์ในครอบครัวดําเนินต่อไปหลังความตาย

ก่อนนักเรียนอ่านข้อต่อไปนี้ ท่านอาจบอกพวกเขาเกี่ยวกับคนที่ท่านรู้จักผู้ต่อสู้ดิ้นรนเพราะความตายของสมาชิกครอบครัว หรือท่านอาจเชื้อเชิญให้นักเรียนนึกถึงใครบางคนที่พวกเขารู้จักซึ่งอดทนต่อความตายของสมาชิกในครอบครัว

อ่าน 1 โครินธ์ 15:22 และ หลักคําสอนและพันธสัญญา 130:2 โดยมองหาว่าจะพบความหวังใดในพระเยซูคริสต์เมื่อบุคคลอันเป็นที่รักสิ้นชีวิต

  • ความจริงในแผนของพระผู้เป็นเจ้าในข้อเหล่านี้จะให้พลังแก่คนที่ทนทุกข์กับการสูญเสียเช่นนั้นได้อย่างไร?

  • คําสอนในย่อหน้าที่สามของถ้อยแถลงเรื่องครอบครัวจะส่งผลต่อผู้ที่ทนทุกข์จากการสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รักอย่างไร?

เพื่อช่วยให้นักเรียนเข้าใจธรรมชาตินิรันดร์ของครอบครัวในแผนของพระผู้เป็นเจ้าดีขึ้น ท่านอาจฉายวีดิทัศน์ “Plan of Salvation—We’re Still a Family ” (4:47) ที่ ChurchofJesusChrist.org ท่านอาจเชื้อเชิญให้นักเรียนคิดว่าคําสอนของพระผู้ช่วยให้รอดเกี่ยวกับครอบครัวส่งผลต่อชายหนุ่มคนนี้อย่างไร

4:53

สรุป

เพื่อสรุปบทเรียน ท่านอาจเชื้อเชิญให้นักเรียนใคร่ครวญในใจและบันทึกคําตอบของพวกเขาสําหรับคําถามต่อไปนี้ จากนั้นอาสาสมัครอาจแบ่งปันสิ่งที่พวกเขาเขียน

  • วันนี้ท่านเรียนรู้อะไรบ้างที่ช่วยท่านรู้สึกเข้าใกล้พระบิดาบนสวรรค์และพระเยซูคริสต์มากขึ้น?

  • ท่านเรียนรู้อะไรเกี่ยวกับความสําคัญของครอบครัวในแผนของพระบิดาบนสวรรค์?