เซมินารี
ลูกา 1:39–79


ลูกา 1:39–79

จงชื่นชมยินดีและสรรเสริญพระเจ้า

Mary visiting her cousin Elisabeth, who is also expecting a child.

ขณะตั้งครรภ์พระเยซู มารีย์ไปเยี่ยมเอลีซาเบธ ญาติของเธอและชื่นชมยินดีกับเธอในพระคุณความดีของพระผู้เป็นเจ้า บทเรียนนี้จะเปิดโอกาสให้ท่านตระหนักถึงพระคุณความดีของพระผู้เป็นเจ้าและสรรเสริญพระคุณความดีนั้น

การเตรียมของนักเรียน: เชื้อเชิญนักเรียนมาชั้นเรียนโดยพร้อมจะแบ่งปันคำร้องหนึ่งประโยคจากเพลงสวดที่เน้นให้เห็นพระคุณความดีของพระผู้เป็นเจ้า

กิจกรรมการเรียนรู้ที่อาจทำได้

  • เหตุใดท่านจึงคิดว่าเราร้องเพลงสวดเกี่ยวกับพระบิดาบนสวรรค์และพระเยซูคริสต์โดยให้เป็นส่วนหนึ่งของการนมัสการพระองค์?

  • เพลงสวดหรือคำร้องหนึ่งประโยคจากเพลงสวดใดที่เน้นให้เห็นพระคุณความดีของพระองค์?

หากนักเรียนต้องการความช่วยเหลือ ท่านอาจระบุเพลงสวดบางเพลงที่พวกเขาสามารถอ่านได้ และกระตุ้นให้พวกเขาค้นหาวลีที่เน้นให้เห็นพระคุณความดีของพระผู้เป็นเจ้า เชื้อเชิญให้นักเรียนแบ่งปันสิ่งที่พบ

ใช้เวลาสักครู่เพื่อคิดว่าท่านรู้สึกอย่างไรกับพระบิดาบนสวรรค์และพระเยซูคริสต์ ใคร่ครวญถึงเหตุผลที่ท่านสรรเสริญพระองค์และบ่อยเพียงใดที่ท่านแสดงความรู้สึกเกี่ยวกับพระองค์

ในบทเรียนนี้ท่านจะมีโอกาสนึกถึงเหตุผลและวิธีที่ท่านอาจสรรเสริญพระผู้เป็นเจ้าและชื่นชมยินดีในพระชนม์ชีพและพระพันธกิจของพระเยซูคริสต์มากขึ้น

มารีย์กับเอลีซาเบธชื่นชมยินดีด้วยกันในพระคุณความดีของพระผู้เป็นเจ้า

ขณะมารีย์ตั้งครรภ์พระเยซู เธอไปเยี่ยมเอลีซาเบธ ญาติรุ่นพี่ของเธอซึ่งการตั้งครรภ์ของเธอ เป็นปาฏิหาริย์เช่นเดียวกัน เมื่อมารีย์มาถึง ทารกของเอลีซาเบธ ซึ่งจะเป็นยอห์นผู้ถวายบัพติศมา “ดิ้นด้วยความเปรมปรีดิ์ [ในครรภ์ของเอลีซาเบธ]” ( ลูกา 1:44) เรื่องนี้ได้เริ่มบทสนทนาระหว่างมารีย์กับเอลีซาเบธ ซึ่งมารีย์ชื่นชมยินดีและสรรเสริญพระผู้เป็นเจ้า

ท่านอาจเชื้อเชิญให้นักเรียนอ่านข้อพระคัมภีร์ชุดต่อไปด้วยตนเองและมองหาสิ่งที่พวกเขาสามารถเชื่อมโยงได้

อ่าน ลูกา 1:46–55 ขณะท่านศึกษาถ้อยคำของมารีย์ ให้หยุดชั่วครู่และใคร่ครวญความหมายของถ้อยคำหรือวลีเฉพาะเจาะจง การหยุดชั่วครู่และการใคร่ครวญสามารถเชื้อเชิญการดลใจจากพระวิญญาณบริสุทธิ์เพื่อช่วยให้ท่านเข้าใจพระคัมภีร์ลึกซึ้งยิ่งขึ้น ตัวอย่างเช่น ท่านสามารถหยุดชั่วครู่ที่ “ต่ำต้อย” หรือ “ทาส” ใน ข้อ 48 ถ้อยคำเหล่านี้อาจให้ความเข้าใจลึกซึ้งต่อความอ่อนน้อมถ่อมตนและความคารวะที่มารีย์มีต่อพระผู้เป็นเจ้า ถ้อยคำในข้อนี้อาจช่วยให้ท่านเห็นว่าพระผู้เป็นเจ้าทรงรู้จักและรักบุตรธิดาของพระองค์โดยไม่คำนึงถึงสภาวการณ์ของพวกเขา หากเป็นประโยชน์ ท่านอาจค้นหาความหมายของถ้อยคำที่ท่านไม่เข้าใจโดยใช้พจนานุกรมหรือคู่มือพระคัมภีร์ซึ่งมีอยู่ที่ ChurchofJesusChrist.org

  • ท่านหยุดเพื่อนึกถึงถ้อยคำใดบ้าง? ท่านเรียนรู้อะไร?

  • ถ้อยคำหรือวลีใดที่ท่านยังคงมีข้อสงสัย?

ช่วยให้นักเรียนรู้สึกสบายใจในการแบ่งปันสิ่งที่ค้นพบ ขณะเดียวกันเชื้อเชิญให้พวกเขาขอความช่วยเหลือที่จะเข้าใจถ้อยคำหรือวลีที่ยากด้วย ตัวอย่างเช่น หากนักเรียนมีคำถามเกี่ยวกับคำว่า “เกรงกลัว” ใน ลูกา 1:50 ท่านอาจค้นหาพร้อมกับพวกเขาในคู่มือพระคัมภีร์ซึ่งจะช่วยให้นักเรียนเข้าใจว่า “ความกลัวพระผู้เป็นเจ้าคือการรู้สึกถึงความคารวะและความยำเกรงพระองค์และเชื่อฟังพระบัญญัติของพระองค์” (คู่มือพระคัมภีร์, “ ความกลัว ,” scriptures.ChurchofJesusChrist.org)

  • ท่านเรียนรู้ความจริงอะไรเกี่ยวกับพระผู้เป็นเจ้าจากประจักษ์พยานของมารีย์?

นักเรียนอาจระบุถึงความจริงหลายอย่างในข้อพระคัมภีร์ที่พวกเขาศึกษารวมถึงสิ่งต่อไปนี้:

เราชื่นชมยินดีที่รู้ว่าเรามีพระผู้ช่วยให้รอด ( ลูกา 1:47)

พระเจ้าทรงฤทธานุภาพและทรงทำการใหญ่ได้ ( ลูกา 1:49)

พระผู้เป็นเจ้าทรงมีพระเมตตาแก่บรรดาผู้ให้เกียรติและเชื่อฟังพระองค์ ( ลูกา 1:50)

พระผู้เป็นเจ้าทรงทำให้คนจองหองนอบน้อมและทรงยกผู้นอบน้อม ( ลูกา 1:52)

เมื่อเราหิวโหยทางวิญญาณ พระเจ้าทรงสามารถทำให้เราอิ่ม ( ลูกา 1:53)

พระผู้เป็นเจ้าทรงทำให้คำสัญญาของพระองค์เกิดสัมฤทธิผล ( ลูกา 1:54)

ท่านอาจเชื้อเชิญให้นักเรียนเขียนความจริงต่างๆ ที่ได้เรียนรู้จากคำสรรเสริญของมารีย์บนกระดาน

เราสามารถชื่นชมยินดีในพระคุณความดีของพระผู้เป็นเจ้า

ความจริงข้อหนึ่งที่เราสามารถเรียนรู้ได้จากประสบการณ์ของมารีย์คือ เมื่อเราพิจารณาถึงอิทธิพลของพระผู้เป็นเจ้าในชีวิตเรา เราจะชื่นชมยินดีได้

  • เหตุใดท่านจึงคิดว่าการตระหนักถึงพรของพระผู้เป็นเจ้าในชีวิตท่านสามารถช่วยให้ท่านรู้สึกถึงปีติ?

เอ็ลเดอร์เดล จี. เรนลันด์แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองเล่าว่าการจดจำพระคุณความดีของพระผู้เป็นเจ้าเป็นพรแก่ท่านอย่างไร

Official portrait of Elder Dale G. Renlund of the Quorum of the Twelve Apostles, January 2016.

เมื่อข้าพเจ้าใคร่ครวญถึงของประทานจากพระบิดาบนสวรรค์และพระเยซูคริสต์ ข้าพเจ้าได้รู้ถึงความรักอันไม่มีขอบเขตและพระการุณย์เกินกว่าจะเข้าใจได้ที่ทั้งสองพระองค์ทรงมีต่อบุตรธิดาทุกคนของพระบิดาบนสวรรค์ [ดู 2 นีไฟ 26:33 ] ความรู้นี้เปลี่ยนแปลงข้าพเจ้า และจะเปลี่ยนแปลงท่านเช่นกัน

ช่วยให้นักเรียนใคร่ครวญถึงพรและเหตุผลในการแสดงความรักต่อพระผู้เป็นเจ้า ให้เวลานักเรียนคิดวิธีที่มีความหมายในการสรรเสริญพระบิดาบนสวรรค์และพระเยซูคริสต์ แล้วบันทึกไว้ในสมุดบันทึกการศึกษาของพวกเขา

ทำตามขั้นตอนต่อไปนี้เพื่อช่วยให้ท่านตระหนักถึงพรของพระบิดาบนสวรรค์และสรรเสริญพระองค์สำหรับพระคุณความดีของพระองค์

ขั้นตอนที่ 1:

แสดงคำถามต่อไปนี้หรืออ่านออกเสียงคำถามโดยให้เวลานักเรียนใคร่ครวญ

ใคร่ครวญคำตอบของท่านต่อคำถามต่อไปนี้

  • ท่านสำนึกคุณมากที่สุดสำหรับพรใดบ้างจากพระบิดาบนสวรรค์?

  • พรเหล่านี้ช่วยให้ท่านเข้าใจอะไรเกี่ยวกับพระบิดาบนสวรรค์และพระเยซูคริสต์?

  • ท่านรู้สึกถึงปีติเมื่อใดเนื่องจากการตระหนักถึงพรของพระผู้เป็นเจ้าสำหรับท่านหรือคนที่ท่านรู้จัก?

  • เรื่องราวหรือข้อพระคัมภีร์ใดที่ช่วยให้ท่านต้องการสรรเสริญพระผู้เป็นเจ้า?

ขั้นตอนที่ 2: เลือกวิธีที่ท่านจะสรรเสริญพระผู้เป็นเจ้า ต่อไปนี้คือแนวคิดบางอย่างที่ท่านอาจเลือก:

  • เขียนบทกวีหรือแต่งเพลง

  • วาดรูป

  • สวดอ้อนวอนแสดงความสำนึกคุณ

  • แสดงประจักษ์พยานแก่ใครสักคน

  • เขียนในบันทึกส่วนตัว

  • แบ่งปันความรู้สึกของท่านเกี่ยวกับพระผู้เป็นเจ้าในสื่อสังคม

ท่านอาจมีแนวคิดของท่านเองได้ ทันทีที่ท่านเลือกแล้วให้เริ่มดำเนินการ หากไม่สามารถเริ่มต้นได้ในขณะนี้ ให้เขียนแผนโดยละเอียดเกี่ยวกับสิ่งที่ท่านจะทำ ตัวอย่างเช่น หากท่านต้องการสวดอ้อนวอนแสดงความสำนึกคุณ ท่านอาจเขียนว่าท่านจะสวดอ้อนวอนเมื่อใดและที่ไหนและอาจจะแสดงความสำนึกคุณในเรื่องใดบ้างท่านอาจแบ่งปันแนวคิดกับบิดามารดาหรือผู้นำศาสนจักรที่สามารถเตือนความจำให้ท่านดำเนินการตามแผนของท่าน

ให้เวลานักเรียนเริ่มดำเนินการตามแผนของพวกเขา หากเป็นไปได้นักเรียนอาจแบ่งปันประสบการณ์ของตนในตอนท้ายของชั้นเรียนนี้หรือในบทเรียนที่กำลังจะมาถึง

บทวิจารณ์และข้อมูลภูมิหลัง

ลูกา 1:46–55 . เหตุใดมารีย์จึงสรรเสริญพระเจ้า?

ข้อ 46–55 ของลูกา 1 ซึ่งแต่ดั้งเดิมรู้จักกันในชื่อ เพลงสรรเสริญของมารีย์ คำสรรเสริญเหล่านี้เชื่อมโยงการประสูติของพระเยซูคริสต์กับอดีตอันศักดิ์สิทธิ์ของอิสราเอล ถ้อยคำเฉลิมฉลองพระเมตตาของพระเจ้าเอื้อมออกมาอีกครั้งเพื่ออวยพรและให้เกียรติผู้คนของพระองค์—โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ผู้น้อย” ( ลูกา 1:52)

ลูกา 1:53 . พระเจ้าทรงทำให้ “คนอด‍อยากอิ่มด้วยสิ่งดี” อย่างไร?

เอ็ลเดอร์เจฟฟรีย์ อาร์. ฮอลแลนด์แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองสอนเกี่ยวกับคำเชื้อเชิญของพระผู้ช่วยให้รอดให้มาหาพระองค์และได้รับการเติมเต็ม:

Official Portrait of Elder Jeffrey R. Holland. Photographed January 2018.

ข้าพเจ้าสวดอ้อนวอนในเช้าวันนี้ที่ทุกคนผู้กำลังหิวโหยและกระหาย และกระทำผิดในบางครั้งจะได้ยินคำเชื้อเชิญจากพระองค์ซึ่งทรงเป็นอาหารแห่งชีวิต ทรงเป็นแอ่งน้ำแห่งชีวิต ทรงเป็นผู้เลี้ยงแกะที่ดีของเราทุกคน พระบุตรของพระผู้เป็นเจ้า: “บรรดาผู้ทำงานเหน็ดเหนื่อยและแบกภาระหนัก จงมาหาเรา … และจิตใจท่านทั้งหลายจะได้พัก” [ มัทธิว 11:28–29 ] ตามจริงแล้วนางมารีย์มารดาของพระองค์เป็นพยานว่า “พระองค์ทรงโปรดให้คนอดอยากอิ่มด้วยสิ่งดี” [ ลูกา 1:53 ] จงมาและรับพรจากพระเจ้า สิ่งนี้้ข้าพเจ้าเป็นพยานถึงศาสนจักรที่ดำรงอยู่และแท้จริงของพระองค์ซึ่งนำโดยศาสดาพยากรณ์ที่แท้จริงและมีชีวิต

(เจฟฟรีย์ อาร์. ฮอลแลนด์, “พระองค์ทรงโปรดให้คนอดอยากอิ่มด้วยสิ่งดี,” เลียโฮนา, ม.ค. 1998, 78)

อะไรจะเกิดขึ้นได้เมื่อเราจดจำพระคุณความดีของพระผู้เป็นเจ้า?

เอ็ลเดอร์ดีน เอ็ม. เดวีสแห่งสาวกเจ็ดสิบสอนสิ่งต่อไปนี้ว่าอะไรจะเกิดขึ้นเมื่อเราตระหนักถึงวิธีที่พระผู้เป็นเจ้าประทานพรเรา:

Official Portrait of Bishop Dean M. Davies. Photographed in March 2017.

ทุกๆ วัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งวันสะบาโต เรามีโอกาสพิเศษให้ประสบความพิศวงและความน่าเกรงขามของสวรรค์และสรรเสริญพระผู้เป็นเจ้าสำหรับพระคุณความดีและพระเมตตาอันล้นเหลือของพระองค์ …

เมื่อเรานมัสการ ใจเราสรรเสริญพระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงเจริญด้วยพระสิริของเราทั้งตอนเช้า กลางวัน และกลางคืน

เราสักการะและถวายเกียรติพระองค์ตลอดเวลา—ในอาคารประชุม บ้าน พระวิหาร และในการงานทั้งหมดของเรา

เมื่อเรานมัสการ เราเปิดใจรับพลังเยียวยาของการชดใช้ของพระเยซูคริสต์

ชีวิตเราเป็นเครื่องแสดงให้เห็นการนมัสการของเรา

(ดีน เอ็ม. เดวีส, “พรของการนมัสการ,” เลียโฮนา, พ.ย. 2016, 94–95)

กิจกรรมการเรียนรู้เพิ่มเติม

เศคาริยาห์สรรเสริญพระผู้เป็นเจ้า

นอกเหนือจากการอ่านถ้อยคำสรรเสริญจากมารีย์ มารดาของพระเยซูแล้ว ท่านอาจเชิญชวนให้นักเรียนเรียนรู้จากคำพูดของเศคาริยาห์ บิดาของยอห์นผู้ถวายบัพติศมา นักเรียนอาจจะอ่าน ลูกา 1:68–79 โดยค้นหาว่าเศคาริยาห์สรรเสริญพระผู้เป็นเจ้าอย่างไร บางคนในชั้นเรียนอาจจะอ่านถ้อยคำของมารีย์ขณะคนอื่นอ่านถ้อยคำของเศคาริยาห์ จากนั้นนักเรียนอาจแบ่งปันว่าเรียนรู้อะไรบ้าง

“O Come, O Come, Emmanuel (มาเถิด มาเถิด อิมมานูเอล)”

ข่าวสารของเพลง “O Come, O Come, Emmanuel (มาเถิด มาเถิด อิมมานูเอล)” คือ อิสราเอลควรชื่นชมยินดีที่พระเยซูคริสต์เสด็จมาเพื่อช่วยผู้คนของพระองค์ให้รอด ท่านอาจให้ดูหรือแจกเนื้อเพลงและฟังเพลงนี้ บางทีนักเรียนคนหนึ่งอาจใช้เครื่องดนตรีเล่นเพลงนี้หรือชั้นเรียนอาจดูวีดิทัศน์ เช่น “O Come, O Come, Emmanuel (The Piano Guys)” (5:27) ซึ่งมีอยู่ที่ ChurchofJesusChrist.org เชื้อเชิญให้นักเรียนไตร่ตรองถึงเหตุผลที่เราชื่นชมยินดีที่พระเยซูคริสต์เสด็จมาแผ่นดินโลก

5:27