เซมินารี
มัทธิว 18:11–14


มัทธิว 18:11–14

ความสงสารของพระบิดาบนสวรรค์และพระเยซูคริสต์

Blind man gains sight. Outtakes include Jesus anointing his eyes, and going to the pool of Siloam.

พระเยซูคริสต์ทรงสอนว่าพระองค์และพระบิดาบนสวรรค์ของเราทรงรักและห่วงใยทุกคน บทเรียนนี้มีไว้เพื่อช่วยให้ท่านรู้สึกได้ว่าพระบิดาบนสวรรค์และพระเยซูคริสต์ทรงมีความสงสารและทรงปรารถนาที่จะช่วยจิตวิญญาณทุกดวงที่หลงหายให้รอด

การมุ่งเน้นพระคุณลักษณะและพระอุปนิสัยของพระผู้ช่วยให้รอด ใช้พระคัมภีร์ไม่ใช่เพื่อสอนสิ่งที่พระเยซูคริสต์ทรงทำเท่านั้น แต่เพื่อเน้นพระคุณลักษณะและพระอุปนิสัยอันเป็นของพระผู้เป็นเจ้าด้วย การทำเช่นนี้จะอัญเชิญพระวิญญาณบริสุทธิ์เป็นพยานถึงพระองค์ ซึ่งจะช่วยให้นักเรียนเข้าใจได้ดีขึ้นว่าพระองค์ทรงเป็นใครและปรารถนาที่จะเป็นเหมือนพระองค์

การเตรียมของนักเรียน: เชื้อเชิญให้นักเรียนเข้าชั้นเรียนเพื่อพร้อมแบ่งปันเรื่องราวพระคัมภีร์ที่แสดงถึงความรักของพระผู้เป็นเจ้าต่อผู้ที่หลงหายทางวิญญาณ

กิจกรรมการเรียนรู้ที่อาจทำได้

ธรรมชาติของพระบิดาบนสวรรค์และพระเยซูคริสต์

เพื่อช่วยให้นักเรียนรู้สึกสบายใจที่จะตอบคำถามต่อไปนี้อย่างซื่อสัตย์ ท่านอาจเชื้อเชิญให้พวกเขาเขียนหมายเลขของคำตอบที่เลือกลงบนกระดาษแผ่นเล็ก (โดยไม่ต้องเขียนชื่อ) ท่านอาจรวบรวมกระดาษและแบ่งปันผลสรุปกับชั้นเรียน

  • ข้อความใดต่อไปนี้ที่ท่านคิดว่าอธิบายได้ดีที่สุดว่าพระบิดาบนสวรรค์และพระเยซูคริสต์ทรงรู้สึกอย่างไรต่อผู้ที่ทำบาป?

  1. เป็นเรื่องน่าผิดหวังสำหรับพระองค์ที่จะให้อภัยคนบาป แต่พระองค์จะทรงทำเช่นนั้นหากเรากลับใจด้วยความจริงใจ

  2. พระองค์ทรงต้องการให้เรากลับใจมากกว่าเพื่อพระองค์จะได้ประทานอภัยแก่เรา แต่พระองค์ทรงมีความสุขกับอะไรก็ตามที่เราเลือก

  3. พระองค์ทรงมีปีติอย่างยิ่งในการให้อภัยคนบาปที่กลับใจ

  • ความเข้าใจของบุคคลเกี่ยวกับพระลักษณะของพระบิดาบนสวรรค์และพระเยซูคริสต์อาจมีอิทธิพลต่อการเลือกของพวกเขาอย่างไร?

ขณะท่านศึกษาบทเรียนนี้ให้พิจารณาถึงสิ่งที่ท่านเรียนรู้เกี่ยวกับพระลักษณะของพระบิดาบนสวรรค์และพระเยซูคริสต์และความรู้นี้มีผลต่อชีวิตท่านอย่างไรหลังจากสอนสานุศิษย์ของพระองค์ว่าเป็นบาปร้ายแรงเพียงใดเมื่อทำให้บุตรธิดาของพระผู้เป็นเจ้าต้องขุ่นเคืองหรือทำร้ายพวกเขา พระผู้ช่วยให้รอดทรงแสดงความปรารถนาอันเมตตาเพื่อช่วย “ผู้ที่สูญหายให้รอด, และเพื่อเรียกคนบาปทั้งหลายมาสู่การกลับใจ” ( งานแปลของโจเซฟ สมิธ, มัทธิว 18:11 )

อ่าน มัทธิว 18:11–14 และมองหาว่าพระบิดาบนสวรรค์และพระเยซูคริสต์ทรงรู้สึกอย่างไรกับผู้ที่หลงหายทางวิญญาณ

  • ถ้อยคำหรือวลีใดจากข้อพระคัมภีร์เหล่านี้ช่วยให้ท่านเข้าใจพระลักษณะของพระบิดาบนสวรรค์และพระเยซูคริสต์ได้ดีขึ้น?

  • วิธีใดบ้างที่ผู้คนหลงหายทางวิญญาณ?

หนึ่งในความจริงที่เราสามารถเรียนรู้ได้จากข้อพระคัมภีร์เหล่านี้คือ พระบิดาบนสวรรค์และพระเยซูคริสต์ทรงมีความสงสารและทรงปรารถนาที่จะช่วยผู้ที่หลงหายทางวิญญาณให้รอด

ประธานดีเทอร์ เอฟ. อุคท์ดอร์ฟในฝ่ายประธานสูงสุดขณะนั้นอธิบายว่า

Official portrait of Elder Dieter F. Uchtdorf of the Quorum of the Twelve Apostles, 2006. Called as Second Counselor in the First Presidency, 3 February 2008. Made official portrait in 2008 replacing portrait taken in 2004.

เป็นเวลาหลายศตวรรษที่มีการตีความอุปมานี้ [เรื่องแกะที่หายไป] สืบเนื่องกันมาว่าเป็นการเรียกให้เรานำแกะที่หายไปกลับมาและออกไปช่วยผู้ที่หลงหาย ขณะที่การตีความนี้ถูกต้องและดี แต่ข้าพเจ้าสงสัยว่ายังมีความหมายมากกว่านี้หรือไม่

เป็นไปได้ไหมว่าจุดประสงค์ของพระเยซู ที่สำคัญเหนือสิ่งอื่นใดคือสอนเกี่ยวกับงานของพระเมษบาลผู้ประเสริฐ?

เป็นไปได้ไหมว่าพระองค์ทรงเป็นพยานถึงความรักที่พระผู้เป็นเจ้าทรงมีต่อบุตรธิดาที่ดื้อดึงของพระองค์? …

ไม่สำคัญว่าท่านจะหลงหายอย่างไร—ไม่ว่าจะเป็นเพราะการเลือกที่ไม่ถูกต้องของตัวท่านเองหรือเพราะสภาพการณ์ที่นอกเหนือการควบคุมของท่าน …

เพราะพระองค์ทรงรักท่าน พระองค์จะทรงพบท่าน พระองค์จะทรงแบกท่านไว้ด้วยความชื่นชมยินดี และเมื่อพระองค์ทรงพาท่านกลับบ้านพระองค์จะตรัสกับท่านและทุกคนว่า “มาร่วมยินดีกับข้าเพราะข้าพบแกะของข้าที่หายไปนั้นแล้ว” [ ลูกา 15:6 ]

(ดีเทอร์ เอฟ. อุคท์ดอร์ฟ, “พระองค์จะทรงแบกท่านไว้และพาท่านกลับบ้าน,” เลียโฮนา, พ.ค. 2016, 102)

  • เหตุใดท่านจึงคิดว่าพระเยซูคริสต์ทรงต้องการให้เรารู้ว่าพระองค์และพระบิดาบนสวรรค์ของเราทรงมีความสงสารเรามากเพียงใด?

  • การเข้าใจพระลักษณะอันมีพระเมตตาสงสารของพระองค์จะช่วยท่านในสภาวการณ์ของชีวิตท่านได้อย่างไรในเวลานี้?

หลักฐานถึงพระลักษณะอันมีพระเมตตาสงสารของพระบิดาบนสวรรค์และพระเยซูคริสต์

มีหลายวิธีที่จะช่วยให้นักเรียนเห็นหลักฐานว่าพระผู้เป็นเจ้าทรงเมตตาและให้อภัยเพียงใด เลือกวิธีที่เหมาะสมสำหรับนักเรียนมากที่สุด ต่อไปนี้คือแนวคิดบางประการที่อาจเป็นประโยชน์

วิธีหนึ่งที่เราจะเสริมสร้างความเข้มแข็งให้ประจักษ์พยานของเราในหลักธรรมพระกิตติคุณคือมองหาตัวอย่างชีวิตจริงที่แสดงถึงความจริง เมื่อท่านเห็นหลักฐานของหลักธรรมพระกิตติคุณในชีวิตผู้อื่น พระวิญญาณบริสุทธิ์จะทรงช่วยให้ท่านรู้สึกได้ถึงความหวังและความมั่นใจว่าหลักธรรมเหล่านั้นจะเป็นพรให้ชีวิตท่านเช่นกัน คำแนะนำต่อไปนี้สามารถช่วยให้ท่านเห็นตัวอย่างชีวิตจริงของความจริงที่ว่า พระบิดาบนสวรรค์และพระเยซูคริสต์ทรงมีความสงสารและทรงปรารถนาที่จะช่วยผู้ที่หลงหายทางวิญญาณให้รอด

สำหรับกิจกรรมต่อไปนี้ท่านอาจเชื้อเชิญให้นักเรียนทำงานในกลุ่มเล็ก หลังจากนักเรียนค้นคว้าพระคัมภีร์ นักเรียนหนึ่งคนจากแต่ละกลุ่มอาจเขียนตัวอย่างที่พบบนกระดาน หากนักเรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเตรียมของนักเรียน อาจเชื้อเชิญให้พวกเขาใช้ข้อพระคัมภีร์ที่พบในการเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมนี้

ค้นคว้าพระคัมภีร์เพื่อหาเรื่องราวที่แสดงว่าพระบิดาบนสวรรค์และพระเยซูคริสต์ทรงให้อภัยและมีความสงสารอย่างไร หากท่านต้องการความช่วยเหลือ ท่านอาจศึกษาเรื่องราวพระคัมภีร์หนึ่งเรื่องหรือทั้งสองเรื่องต่อไปนี้ ยอห์น 8:1–11 ; แอลมา 36:6–21

เลือกตัวอย่างบางเรื่องที่นักเรียนเขียนบนกระดานและสนทนาด้วยกันทั้งชั้นเรียน ช่วยให้นักเรียนเห็นว่าดังที่พระผู้เป็นเจ้าทรงแสดงพระเมตตาต่อผู้คนในสมัยโบราณ พระองค์จะทรงแสดงพระเมตตาต่อเราด้วย

5:50

The Savior Wants to Forgive

A former addict and repeat convict shares his experiences with the Savior’s ability and willingness to forgive him again and again, even when he felt undeserving.

2:57

Principles of Peace: Repentance #PrinceofPeace

Thanks to the sacrifice of Jesus Christ, we all have the ability to repent—to be free from the guilt and burden of our past sins. Learn how Melody put her past behind her with Jesus’s help and was able to find peace in her new life. 

  • ท่านรู้สึกว่าพระเจ้าทรงต้องการให้ท่านเรียนรู้อะไรจากตัวอย่างเหล่านี้ที่ท่านเลือก?

  • ท่านสังเกตว่าพระผู้ช่วยให้รอดทรงแสดงความสงสารและทรงค้นหาผู้ที่หลงหายด้วยวิธีใด?

การมองหาตัวอย่างหลักธรรมพระกิตติคุณในชีวิตท่านเองและในชีวิตของผู้คนที่ท่านรู้จักอาจเป็นวิธีที่ทรงพลังเป็นพิเศษที่จะช่วยให้ท่านรู้สึกว่าหลักธรรมเหล่านั้นเป็นความจริง

ถ้านักเรียนได้รับเชิญให้แบ่งปันสิ่งต่อไปนี้แบบออกเสียง กระตุ้นให้พวกเขาไม่แบ่งปันชื่อหรือรายละเอียดที่เป็นส่วนตัวมากเกินไป

โดยไม่แบ่งปันรายละเอียดหรือชื่อส่วนตัว อธิบายถึงคนที่ท่านรู้จักว่าชีวิตของเขาเป็นหลักฐานชัดเจนว่าพระบิดาบนสวรรค์และพระเยซูคริสต์ทรงมีความสงสารและทรงค้นหาผู้ที่หลงหายในสมัยของเราใคร่ครวญว่าตัวอย่างเหล่านี้ช่วยเสริมความเข้มแข็งให้ประจักษ์พยานของท่านในพระลักษณะอันมีพระเมตตาสงสารของพระบิดาบนสวรรค์และพระเยซูคริสต์อย่างไร คิดดูว่าเหตุใดจึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับท่านที่จะต้องทราบเรื่องนี้เกี่ยวกับทั้งสองพระองค์

บทวิจารณ์และข้อมูลภูมิหลัง

ใครเป็นตัวแทนของแกะที่หลงหายไปใน มัทธิว 18:12–13 ?

อิสยาห์อธิบายว่า “เรา ทุกคน หลงทางไปเหมือนแกะ ต่างคน ต่างหันไปตามทางของตนเอง” ( อิสยาห์ 53:6 เน้นตัวเอน) ดังนั้นแกะที่หลงหายไปซึ่งจำเป็นต้องได้รับการช่วยชีวิตโดยพระเมษบาลผู้ประเสริฐจึงแทนเราทุกคน

พระบิดาบนสวรรค์ทรงรู้สึกอย่างไรกับคนที่พยายามจะติดตามพระองค์แต่ต้องตกไปครั้งแล้วครั้งเล่า?

ประธานดีเทอร์ เอฟ. อุคท์ดอร์ฟ แห่งฝ่ายประธานสูงสุดในขณะนั้นช่วยตอบคำถามนี้ ท่านอาจต้องการรับชมวีดิทัศน์ “สถานภาพสี่ประการ” มีอยู่ที่ ChurchofJesusChrist.org ตั้งแต่ช่วงเวลา 3:07 ถึง 4:49

19:19

สถานภาพสี่ประการ

ข้าพเจ้าต้องการแนะนำสถานภาพสี่ประการ…ที่อาจช่วยให้เราจดจำได้ถึงบทบาทส่วนตัวของเราในแผนนิรันดร์ของพระผู้เป็นเจ้าและศักยภาพของเราที่เป็นผู้ดำรงฐานะปุโรหิต

//media.ldscdn.org/webvtt/general-conference/april-2013-general-conference/2013-04-3040-president-dieter-f-uchtdorf-en.vtt

Official portrait of Elder Dieter F. Uchtdorf of the Quorum of the Twelve Apostles, 2006. Called as Second Counselor in the First Presidency, 3 February 2008. Made official portrait in 2008 replacing portrait taken in 2004.

เราทุกคนต่างเคยเห็นเด็กเล็กหัดเดิน เด็กก้าวเตาะแตะทีละน้อย เด็กหกล้ม เราดุด่าความพยายามเช่นนั้นหรือไม่ ไม่เลย บิดาเช่นใดเล่าจะลงโทษเด็กเล็กที่เดินเตาะแตะ เราให้กำลังใจ เราปรบมือ และเราชมเชยเพราะด้วยก้าวเล็กๆ ทุกก้าว เด็กน้อยกำลังเป็นเหมือนบิดามารดามากขึ้น

บัดนี้ พี่น้องทั้งหลาย เมื่อเทียบกับความดีพร้อมของพระผู้เป็นเจ้า มนุษย์เราแทบไม่ต่างจากเด็กเล็กซุ่มซ่ามเก้กัง แต่พระบิดาบนสวรรค์ผู้เปี่ยมด้วยรักทรงต้องการให้เราเป็นเหมือนพระองค์มากขึ้น และนั่นพึงเป็นเป้าหมายนิรันดร์ของเราเช่นกัน พระผู้เป็นเจ้าเข้าพระทัยว่าเราไม่ได้ไปถึงจุดนั้นโดยทันที แต่เราก้าวไปทีละก้าว

ข้าพเจ้าไม่เชื่อในพระผู้เป็นเจ้าที่จะวางกฎและบัญญัติไว้เพียงเพื่อให้เราล้มเหลว เพื่อจะได้ลงทัณฑ์เรา ข้าพเจ้าเชื่อในพระบิดาบนสวรรค์ผู้ทรงเปี่ยมด้วยความรักความห่วงใย ผู้ทรงชื่นชมยินดีทุกครั้งที่เราพยายามยืนอย่างภาคภูมิและเดินไปหาพระองค์ แม้ในยามที่เราสะดุด พระองค์ทรงกระตุ้นไม่ให้เราท้อแท้—ไม่ให้ยอมแพ้หรือหลบหนีการรับใช้ในส่วนของเรา—แต่ให้รวบรวมความกล้า ค้นหาศรัทธา และพยายามต่อไป

(ดีเทอร์ เอฟ. อุคท์ดอร์ฟ, “สถานภาพสี่ประการ,” เลียโฮนา, พ.ค. 2013, 58)

ในเมื่อพระผู้เป็นเจ้าทรงเปี่ยมด้วยรักขนาดนี้ เราจำเป็นต้องพยายามรักษาพระบัญญัติของพระองค์เพื่อได้รับความรอดหรือไม่?

ประธานดัลลิน เอช. โอ๊คส์แห่งฝ่ายประธานสูงสุดสอนว่า

Official portrait of Elder Dieter F. Uchtdorf of the Quorum of the Twelve Apostles, 2006. Called as Second Counselor in the First Presidency, 3 February 2008. Made official portrait in 2008 replacing portrait taken in 2004.

บางคนดูเหมือนให้ความสำคัญกับความรักของพระผู้เป็นเจ้าเพราะคาดหวังว่าความรักของพระองค์ยิ่งใหญ่และไม่มีเงื่อนไขที่จะยอมเมตตาให้พวกเขาไม่เชื่อฟังกฎ …

หากบุคคลใดเข้าใจคำสอนของพระเยซูเขาจะสรุปอย่างมีเหตุผลไม่ได้ว่าพระบิดาบนสวรรค์หรือพระบุตรแห่งสวรรค์ผู้ทรงเปี่ยมด้วยความรักเชื่อว่าความรักของพระองค์จะลบล้างพระบัญญัติ …

พระเยซูทรงสอนว่า “มิใช่ทุกคนที่เรียกเราว่า ‘พระองค์เจ้าข้า พระองค์เจ้าข้า’ จะได้เข้าในแผ่นดินสวรรค์ แต่ผู้ที่ปฏิบัติตามพระทัยพระบิดาของเราผู้ทรงสถิตในสวรรค์จึงจะเข้าได้” ( มัทธิว 7:21)

(ดัลลิน เอช. โอ๊คส์, “ความรักและกฎ,” เลียโฮนา, พ.ย. 2009, 32, 33)

กิจกรรมการเรียนรู้เพิ่มเติม

มัทธิว 18:1 . “ใครเป็นใหญ่ที่สุดในแผ่นดินสวรรค์?”

เขียนคำถามด้านบนบนกระดานและเชื้อเชิญให้นักเรียนคิดหาวิธีต่างๆ ที่จะตอบคำถามนี้ จากนั้นเชื้อเชิญให้พวกเขานึกภาพสิ่งที่พระผู้ช่วยให้รอดทรงทำใน มัทธิว 18:2 ก่อนพระองค์จะทรงเปล่งเสียงตอบคำถาม ถามนักเรียนถึงสิ่งที่พวกเขาอาจเรียนรู้ผ่านภาษากายของพระผู้ช่วยให้รอดในคำตอบสำหรับคำถาม

เชื้อเชิญให้นักเรียนอ่าน มัทธิว 18:3–4 และสนทนาเกี่ยวกับคุณลักษณะเหมือนพระคริสต์ที่เด็กมี เรามักจะเห็นอะไรในเด็กที่จะย้ำเตือนเราถึงพระเยซูคริสต์ได้? การเป็นเหมือนเด็กจะช่วยให้เราเตรียมเข้าอาณาจักรแห่งสวรรค์ได้ดีขึ้นอย่างไร? ท่านอาจเชื้อเชิญให้นักเรียนเชื่อมโยง มัทธิว 18:1–4 กับ โมไซยาห์ 3:19 และสนทนาว่าเหตุใดพระคัมภีร์ข้อนี้จึงเสริมความเข้าใจให้แก่พวกเขา

เชื้อเชิญให้พวกเขาพยายามร่วมกับการสวดอ้อนวอนที่จะพัฒนาคุณลักษณะเหมือนพระคริสต์ที่พวกเขาเห็นผ่านแบบอย่างของเด็ก