การอบรมหลักสูตร
สร้างการอบรมแนวทางกำหนดอัตราการสอน


“สร้างการอบรมแนวทางกำหนดอัตราการสอน” การอบรมหลักสูตรเซมินารี (2025)

ภาพ
ผู้ชายกำลังทำงานกับคอมพิวเตอร์

ภาคผนวก

สร้างการอบรมแนวทางกำหนดอัตราการสอน

คำนำ

ในเซมินารี นักเรียนศึกษาพระกิตติคุณของพระเยซูคริสต์ผ่านบทเรียนหลักสูตรพระคัมภีร์และบทเรียนการเตรียมตัวสําหรับชีวิต แผนภูมิต่อไปนี้ระบุหมวดหมู่ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับบทเรียนประเภทนี้

หมวดหมู่บทเรียนหลักสูตรพระคัมภีร์

หมวดหมู่บทเรียนการเตรียมตัวสําหรับชีวิต

หมวดหมู่บทเรียนหลักสูตรพระคัมภีร์

  • บทเรียนที่เกี่ยวข้องกับตาราง จงตามเรามา รายสัปดาห์

  • ประเมินผลการเรียนรู้ของท่าน

  • แบบฝึกปฏิบัติผู้เชี่ยวชาญหลักคำสอน

หมวดหมู่บทเรียนการเตรียมตัวสําหรับชีวิต

  • ผู้เชี่ยวชาญหลักคําสอน: การค้นหาคําตอบให้กับคําถามของฉัน

  • ทักษะการศึกษาพระคัมภีร์

  • เพื่อความเข้มแข็งของเยาวชน: การเลือก

  • สร้างการพึ่งพาตนเอง

  • สุขภาพกายและอารมณ์

  • การเตรียมพร้อมสําหรับการศึกษาและงานอาชีพในอนาคต

  • ความสำเร็จในสถานศึกษา

  • การเตรียมตัวเป็นผู้สอนศาสนา

  • การเตรียมตัวไปพระวิหาร

  • คำสอนของผู้นำศาสนจักร

เมื่อจัดทําแนวทางกําหนดอัตราการสอน อาจเป็นเรื่องยากที่จะทราบว่าจะจัดตารางบทเรียนประเภทต่างๆ เหล่านี้เมื่อใดและบ่อยเพียงใดตลอดทั้งปี การอบรมนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้แนวทางแก่ผู้ดูแลโปรแกรม ผู้ประสานงาน และครูในการสร้างแนวทางกําหนดอัตราความเร็วเพื่อให้แน่ใจว่าสอนหมวดหมู่บทเรียนเหล่านี้อย่างสมดุลและเหมาะสม

หลักการที่ต้องปฏิบัติตามเมื่อสร้างแนวทางกําหนดอัตราการสอน

หลักการสี่ข้อต่อไปนี้จะเป็นประโยชน์ในการทําความเข้าใจและปฏิบัติตามเมื่อสร้างแนวทางกําหนดอัตราการสอน

หลักการที่ 1: ทําตามตาราง จงตามเรามา รายสัปดาห์เมื่อจัดตารางบทเรียนหลักสูตรพระคัมภีร์

เนื้อหาในบทเรียนหลักสูตรพระคัมภีร์มุ่งหมายจะให้สอดคล้องกับสิ่งที่นักเรียนศึกษาเป็นรายบุคคลและกับครอบครัวที่บ้าน ดังนั้นโดยทั่วไปครูควรสอนบทเรียนหลักสูตรพระคัมภีร์ที่เกิดขึ้นในสัปดาห์เดียวกันกับที่กําหนดไว้ในคู่มือ จงตามเรามา บางครั้งบทเรียนหลักสูตรพระคัมภีร์อาจสอนในเซมินารีเมื่อไม่สอดคล้องกับอัตราความเร็วของ จงตามเรามา แต่มีน้อยมากที่จะมีข้อยกเว้นเหล่านี้ ครูควรหลีกเลี่ยงการสอนบทเรียนที่ล้าหลังหรือนําหน้า จงตามเรามา

หลักการที่ 2: จัดตารางเรียนหลักสูตรพระคัมภีร์และบทเรียนการเตรียมตัวสําหรับชีวิตอย่างเหมาะสมในแต่ละสัปดาห์

บทเรียนหลักสูตรพระคัมภีร์ (รวมถึงบทเรียนฝึกปฏิบัติผู้เชี่ยวชาญหลักคําสอนและประเมินผลการเรียนรู้ของท่าน) และบทเรียนการเตรียมตัวสําหรับชีวิตมีความสําคัญต่อประสบการณ์เซมินารี พยายามจัดเตรียมแนวทางที่สมดุลในการจัดตารางบทเรียนเหล่านี้ในแต่ละสัปดาห์ ตัวอย่างเช่น โดยเฉลี่ยแล้วในโปรแกรมที่ประชุมกันสัปดาห์ละห้าครั้ง โดยปกติจะสอนบทเรียนหลักสูตรพระคัมภีร์สามบทและบทเรียนการเตรียมตัวสําหรับชีวิตสองบท

ภาพ
แผนภูมิความสมดุลที่แนะนําทั่วไป

อาจมีบางสัปดาห์ที่ควรปรับตามความสมดุลที่แนะนํานี้ ตัวอย่างเช่น ในระหว่างหลักสูตรพระคัมภีร์มอรมอน ครูอาจจัดสรรเวลาให้กับบทเรียนหลักสูตรพระคัมภีร์มากขึ้นในระหว่างสัปดาห์ที่พวกเขาสอนเกี่ยวกับการปรากฏของพระผู้ช่วยให้รอดดังที่บันทึกไว้ใน 3 นีไฟ อาจมีอีกหลายสัปดาห์ที่ครูอาจใช้เวลามากขึ้นกับบทเรียนการเตรียมตัวสําหรับชีวิต เพื่อช่วยครูและผู้ดูแลโปรแกรมทําการตัดสินใจเหล่านี้ บางครั้งหลักสูตรจึงมีบทเรียนหลักสูตรพระคัมภีร์สองหรือสี่บทในหนึ่งสัปดาห์แทนที่จะเป็นสามบทตามปกติ สัปดาห์เช่นนี้จะช่วยให้ท่านรู้ว่าเมื่อใดจะเน้นบทเรียนหลักสูตรพระคัมภีร์หรือบทเรียนการเตรียมตัวสำหรับชีวิตมากขึ้น เมื่อมีบทเรียนหลักสูตรพระคัมภีร์น้อยกว่าสามบท ท่านอาจรวมบทเรียนการเตรียมตัวสำหรับชีวิตในสัปดาห์นั้นไว้มากกว่านี้ หากมีบทเรียนหลักสูตรพระคัมภีร์มากกว่าสามบท สัปดาห์นั้นท่านอาจใช้เวลาน้อยลงกับบทเรียนการเตรียมตัวสำหรับชีวิต

อย่างไรก็ตาม ขอให้พยายามอย่างเต็มที่ในการสอนบทเรียนการเตรียมตัวสําหรับชีวิตแต่ละบทในระหว่างปีการศึกษา บทเรียนการเตรียมตัวสําหรับชีวิตมีอยู่หลังบทเรียนหลักสูตรพระคัมภีร์ในคู่มือ

แนวทางต่อไปนี้จะช่วยให้ท่านตัดสินใจได้ว่าจะกําหนดเวลาบทเรียนการเตรียมตัวสำหรับชีวิตประเภทต่างๆ เมื่อใด

  • กําหนดบทเรียนการเตรียมตัวสําหรับชีวิตในจํานวนที่ใกล้เคียงกันสําหรับแต่ละครึ่งหลักสูตร สิ่งนี้จะช่วยให้ครูมีความสมดุลระหว่างหลักสูตรพระคัมภีร์และบทเรียนการเตรียมตัวสำหรับชีวิตตลอดทั้งปี

  • ตรวจสอบให้แน่ใจว่าครูที่ท่านดูแลสอนบทเรียนการเตรียมตัวสำหรับชีวิตเดียวกันในครึ่งหลักสูตรเดียวกัน นี่จะช่วยป้องกันความซ้ำซ้อนของบทเรียนการเตรียมตัวสําหรับชีวิตที่นักเรียนจะได้รับหากพวกเขาสลับครูหลังจากจบครึ่งหนึ่งของหลักสูตร

  • ทําตามคําแนะนําของท้องถิ่น ภูมิภาค หรือโปรแกรม ท้องถิ่น ภูมิภาค หรือโปรแกรมอาจให้คําแนะนําว่าเมื่อใดควรสอนบทเรียนการเตรียมตัวสำหรับชีวิตบางบทหรือทั้งหมด

  • ดูคําแนะนําเรื่องอัตราความเร็วในการสอนในส่วนภาพรวมสําหรับการเตรียมตัวสําหรับชีวิตแต่ละหมวด บทเรียนการเตรียมตัวสําหรับชีวิตแต่ละหมวดจะมีคําแนะนําเรื่องอัตราการสอนในส่วน “ภาพรวม” คําแนะนําเหล่านี้สามารถช่วยท่านตัดสินใจว่าเมื่อใดจะสอนบทเรียนการเตรียมตัวสําหรับชีวิตได้ดีที่สุด ตัวอย่างเช่น ในภาพรวมของ “การเตรียมพร้อมสําหรับการศึกษาและงานอาชีพ” มีข้อเสนอแนะให้สอนบทเรียนเรื่อง “ความสําคัญของการศึกษา” ในช่วงต้นปีการศึกษา ส่วน “ภาพรวม” ยังสามารถให้คําแนะนําเกี่ยวกับบทเรียนการเตรียมตัวสําหรับชีวิตบางบทเรียนที่มีประสิทธิภาพมากกว่าเมื่อสอนตามลําดับหรือใกล้เคียงกัน

  • ระบุช่วงเวลาของปีที่นักเรียนอาจได้รับประโยชน์มากที่สุดจากบทเรียนการเตรียมตัวสำหรับชีวิตบางบทเรียน อาจมีช่วงเวลาของปีที่จะสอนบทเรียนการเตรียมตัวสำหรับชีวิตบางบทได้ดีที่สุด ตัวอย่างเช่น การสอนบทเรียนการเตรียมตัวเป็นผู้สอนศาสนาตอนสิ้นปีการศึกษาอาจดีที่สุดถ้ามีนักเรียนในชั้นเรียนเซมินารีที่จะออกไปเป็นผู้สอนศาสนาเร็วๆ นี้ หรือบทเรียนสุขภาพกายและอารมณ์บางบทสามารถสอนได้ในช่วงเวลาหนึ่งของปีที่นักเรียนอาจรู้สึกเครียดมากขึ้น

  • ระบุบทเรียนหลักสูตรพระคัมภีร์ที่เกี่ยวข้องกับหมวดหมู่หนึ่งของบทเรียนการเตรียมตัวสำหรับชีวิต บทเรียนหลักสูตรพระคัมภีร์มักมีเนื้อหาที่บทเรียนการเตรียมตัวสําหรับชีวิตสามารถต่อยอดได้ ตัวอย่างเช่น ท่านอาจต้องการจัดตารางบทเรียนการเตรียมเข้าพระวิหารใกล้กับช่วงพระคัมภีร์ที่เน้นเรื่องพระวิหาร เช่น หลักคําสอนและพันธสัญญา 95; 109–10; 124; 127–28; อพยพ 35–40; หรือ 1 พงศ์กษัตริย์ 6–9

หลักการที่ 3: นักเรียนควรมีโอกาสเป็นประจําในการใคร่ครวญ แบ่งปัน และสาธิตสิ่งที่พวกเขาเรียนรู้

คู่มือประกอบด้วยบทเรียนประเมินผลการเรียนรู้ของท่านและบทเรียนฝึกปฏิบัติผู้เชี่ยวชาญหลักคําสอนที่เกิดขึ้นเป็นระยะตลอดบทเรียนหลักสูตรพระคัมภีร์ สิ่งเหล่านี้เป็นองค์ประกอบสําคัญของประสบการณ์เซมินารีของนักเรียน บทเรียนประเมินผลการเรียนรู้ของท่านให้โอกาสนักเรียนอธิบายหลักคําสอนที่สําคัญและใคร่ครวญว่าพวกเขาเติบโตทางวิญญาณอย่างไร การเข้าร่วมบทเรียนเหล่านี้เป็นข้อกําหนดสําหรับนักเรียนที่จะได้รับหน่วยกิตเซมินารีด้วย บทเรียนฝึกปฏิบัติผู้เชี่ยวชาญหลักคําสอนจะเปิดโอกาสให้นักเรียนทํางานเพื่อให้บรรลุผลลัพธ์ของผู้เชี่ยวชาญหลักคําสอน

ขณะที่ท่านสร้างแนวทางกําหนดอัตราการสอน อย่าข้าม ประเมินผลการเรียนรู้ของท่าน หรือ แบบฝึกปฏิบัติผู้เชี่ยวชาญหลักคําสอน ที่มีในช่วงการเรียนการสอนเซมินารี อย่างไรก็ตาม ท่านไม่จําเป็นต้องย้ายบทเรียน ประเมินผลการเรียนรู้ของท่าน หรือ บทเรียนฝึกปฏิบัติผู้เชี่ยวชาญหลักคําสอน ที่จะเกิดขึ้นเมื่อนักเรียนออกจากโรงเรียน เช่น ช่วงปิดเทอมฤดูร้อนหรือฤดูหนาว

หลักการที่ 4: จัดตารางเวลาสําหรับบทเรียนหลักสูตรพระคัมภีร์ที่ท่านจะประเมินผลในภายหลัง

ในบางสัปดาห์อาจมีบทเรียนหลักสูตรพระคัมภีร์ให้สอนมากกว่าจํานวนวันที่มีให้สอน ด้วยเหตุนี้จึงมักต้องตัดสินใจว่าจะจัดตารางบทเรียนหลักสูตรพระคัมภีร์บทใด เมื่อทําการตัดสินใจเหล่านี้ ให้จัดลําดับความสําคัญของบทเรียนหลักสูตรพระคัมภีร์ที่ (1) เกี่ยวข้องกับสิ่งที่จะกล่าวในบทเรียนประเมินผลการเรียนรู้ของท่าน และ (2) มีข้อผู้เชี่ยวชาญหลักคําสอน การทําเช่นนี้จะทําให้มีโอกาสมากขึ้นที่จะกําหนดตารางบทเรียนหลักสูตรพระคัมภีร์ที่เกี่ยวข้องและสําคัญทางหลักคําสอนมากที่สุด

ต่อไปนี้จะช่วยให้ท่านรู้วิธีระบุบทเรียนหลักสูตรพระคัมภีร์ที่เกี่ยวข้องกับ ประเมินผลการเรียนรู้ของท่านและบทเรียนฝึกปฏิบัติผู้เชี่ยวชาญหลักคําสอน:

  • การระบุบทเรียนหลักสูตรพระคัมภีร์ที่เกี่ยวข้องกับบทเรียนประเมินผลการเรียนรู้ของท่าน กิจกรรมจากบทเรียนหลักสูตรพระคัมภีร์หลายบทมักถูกอ้างอิงในบทเรียนประเมินผลการเรียนรู้ของท่าน การอ่านบทเรียนประเมินผลการเรียนรู้ของท่านที่ท่านกําหนดไว้จะช่วยให้ท่านทราบบทเรียนหลักสูตรพระคัมภีร์ที่ท่านสามารถจัดลําดับความสําคัญในแนวทางกําหนดอัตราการสอนได้

  • การระบุบทเรียนหลักสูตรพระคัมภีร์กับข้อผู้เชี่ยวชาญหลักคําสอน แต่ละปีของหลักสูตรเซมินารีมีข้อผู้เชี่ยวชาญหลักคําสอน 24 ข้อ รายการข้อพระคัมภีร์มีอยู่ใน เอกสารหลักผู้เชี่ยวชาญหลักคำสอน (2023) หากโรงเรียนอยู่ในช่วงที่มีบทเรียนหลักสูตรพระคัมภีร์ที่มีข้อผู้เชี่ยวชาญหลักคําสอนอยู่ในบทเรียน ควรสอนบทเรียนเหล่านั้น อย่างไรก็ตาม ไม่จําเป็นต้องสอนบทเรียนหลักสูตรพระคัมภีร์ที่มีข้อผู้เชี่ยวชาญหลักคําสอนเมื่อมีบทเรียนเหล่านั้นขณะนักเรียนไม่ได้ไปโรงเรียน เช่น ในช่วงปิดเทอมฤดูร้อนหรือฤดูหนาว

ตัวอย่างทีละขั้นตอนของการสร้างแนวทางกําหนดอัตราการสอน

มีหลายวิธีที่ท่านจะสร้างแนวทางกําหนดอัตราการสอนโดยใช้หลักการที่ระบุไว้ข้างต้น ตัวอย่างเช่น ท่านอาจทําตามแนวทางกําหนดอัตราการสอนตามลําดับนี้:

  1. กําหนดเวลาบทเรียนหลักสูตรพระคัมภีร์ ได้แก่:

    • บทเรียนประเมินผลการเรียนรู้ของท่าน

    • บทเรียนฝึกปฏิบัติผู้เชี่ยวชาญหลักคำสอน

    • บทเรียนหลักสูตรพระคัมภีร์ที่เตรียมนักเรียนให้พร้อมเรียนบทเรียนใดบทเรียนหนึ่งดังที่กล่าวไว้ข้างต้น

  2. จัดตารางบทเรียนการเตรียมตัวสําหรับชีวิต

  3. ปรับเปลี่ยนได้ตามความจำเป็น

กรณีศึกษา

ซิสเตอร์เมนโดซาเป็นครูเซมินารีในภาคเช้า เธอกับบราเดอร์อามาซิโอ ซึ่งเป็นผู้ประสานงานของเธอ กําลังจัดทําแนวทางกําหนดอัตราการสอนสําหรับหลักสูตรหลักคําสอนและพันธสัญญาที่จะเริ่มในเดือนมกราคม ต่อไปนี้เป็นคําอธิบายวิธีที่ซิสเตอร์เมนโดซาและบราเดอร์อามาซิโอสามารถใช้สามขั้นตอนดังระบุไว้ข้างต้นเพื่อสร้างแนวทางกําหนดอัตราการสอน

ขั้นตอนที่ 1: จัดตารางบทเรียนหลักสูตรพระคัมภีร์

ซิสเตอร์เมนโดซาและบราเดอร์อามาซิโอเริ่มสร้างแนวทางกําหนดอัตราการสอนโดยจัดตารางบทเรียนหลักสูตรพระคัมภีร์ทั้งหมดระหว่างสัปดาห์ที่จะมีการเรียนการสอนเซมินารี พวกเขาจัดตารางบทเรียนให้สอดคล้องกับเนื้อหาที่กําลังศึกษาใน จงตามเรามา

พวกเขาอ่านบทเรียนหลักสูตรพระคัมภีร์และระบุบทเรียนประเมินผลการเรียนรู้ของท่าน และบทเรียนฝึกปฏิบัติผู้เชี่ยวชาญหลักคําสอนทั้งหมดในแต่ละครึ่งของหลักสูตร พวกเขาสังเกตว่าจะมีบทเรียนประเมินผลการเรียนรู้ของท่านห้าบทเมื่อนักเรียนมาโรงเรียน สองบทในช่วงครึ่งปีแรกของปีการศึกษาและสามบทเรียนในช่วงครึ่งหลัง

ต่อมาซิสเตอร์เมนโดซาและบราเดอร์อามาซิโอสังเกตว่าจะมีบทเรียนฝึกปฏิบัติผู้เชี่ยวชาญหลักคําสอนห้าบทเมื่อเปิดสอนเซมินารี: สามบทในช่วงครึ่งแรกของปีการศึกษาและสองบทในช่วงครึ่งหลัง

จากนั้นซิสเตอร์เมนโดซาและบราเดอร์อามาซิโอทบทวนบทเรียนประเมินผลการเรียนรู้ของท่านแต่ละบทที่ใส่ไว้ในแนวทางกําหนดอัตราการสอน พวกเขาจดบันทึกว่ากิจกรรมการประเมินผลแต่ละอย่างมุ่งเน้นที่บทเรียนหลักสูตรพระคัมภีร์บทใด พวกเขาเขียนหมายเหตุ (*) ข้างๆ บทเรียนแต่ละบทเหล่านี้ในแนวทางกําหนดอัตราการสอนเพื่อให้ซิสเตอร์เมนโดซาเน้นย้ำอย่างเหมาะสมและให้นักเรียนรู้ว่ากิจกรรมใดที่พวกเขาจะติดตามผลในภายหลัง

จากนั้นซิสเตอร์เมนโดซาและบราเดอร์อมาซิโอจะระบุข้อผู้เชี่ยวชาญหลักคําสอน 24 ข้อสําหรับหลักสูตรนี้ พวกเขาพบว่าข้อผู้เชี่ยวชาญหลักคําสอน 11 ข้อมีอยู่ในบทเรียนที่จะสอนเมื่อเซมินารีเปิดเทอมสําหรับครึ่งปีแรกของปีการศึกษา และจะสอนเพียง 7 ข้อในครึ่งหลัง พวกเขาตัดสินใจ ทำตัวหนา ให้ชื่อบทเรียนแต่ละบทเหล่านี้ในแนวทางกําหนดอัตราการสอนเพื่อให้ซิสเตอร์เมนโดซารู้ว่าเมื่อใดควรเน้นข้อผู้เชี่ยวชาญหลักคําสอนเป็นส่วนหนึ่งของบทเรียน

ขั้นตอนที่ 2: จัดตารางบทเรียนการเตรียมตัวสำหรับชีวิต

หลังจากจัดตารางบทเรียนหลักสูตรพระคัมภีร์ทั้งหมดแล้ว ซิสเตอร์เมนโดซาและบราเดอร์อามาซิโอจะเริ่มจัดตารางบทเรียนการเตรียมตัวสำหรับชีวิตในแนวทางกําหนดอัตราการสอนของพวกเขา

ก่อนหน้านี้บราเดอร์อามาซิโอได้ให้คําแนะนําแก่ครูทุกคนที่เขาดูแลเกี่ยวกับบทเรียนการเตรียมตัวสําหรับชีวิตที่ควรสอนในแต่ละครึ่งของหลักสูตร เขาให้แนวทางนี้เพื่อช่วยให้แน่ใจว่าจะไม่มีความซ้ำซ้อนในบทเรียนการเตรียมตัวสําหรับชีวิตที่จะสอนนักเรียนในแต่ละครึ่งของหลักสูตร เขารู้สึกว่านี่จะสําคัญเป็นพิเศษในกรณีที่เรียกครูคนอื่นให้สอนครึ่งหลังของหลักสูตร

คําแนะนําของบราเดอร์อามาซิโอมีดังนี้

บทเรียนการเตรียมตัวสําหรับชีวิตที่เขาตั้งใจจะรวมไว้ในครึ่งแรกของหลักสูตร:

  • ผู้เชี่ยวชาญหลักคําสอน: การหาคําตอบให้กับคําถามของฉัน (ทั้งห้าบทเรียน)

  • ทักษะการศึกษาพระคัมภีร์ (ทั้งห้าบทเรียน)

  • ความสําเร็จในสถานศึกษา (ทั้งสี่บทเรียน)

  • สุขภาพทางกายและอารมณ์ (ทั้งเจ็ดบทเรียน)

  • “การเตรียมตัวสําหรับการประชุมใหญ่สามัญ” (สอนก่อนการประชุมใหญ่สามัญเดือนเมษายน)

  • “การศึกษาข่าวสารจากผู้รับใช้ของพระเจ้า” (สอนในช่วงเริ่มต้นของหลักสูตร)

  • ข่าวสารแปดเรื่องจากผู้นําศาสนจักรที่ใช้ “แม่แบบ: คําสอนของผู้นําศาสนจักร” (กระจายให้เท่ากันตลอดครึ่งแรกของหลักสูตร)

บทเรียนการเตรียมตัวสำหรับชีวิตที่เขาตั้งใจจะรวมไว้ในครึ่งหลังของหลักสูตร:

  • การพึ่งพาตนเอง (ทั้งสี่บทเรียน)

  • เพื่อความเข้มแข็งของเยาวชน: การเลือก (ทั้งหกบทเรียน)

  • การเตรียมสําหรับการศึกษาในอนาคตและงานอาชีพ (ทั้งสี่บทเรียน)

  • การเตรียมตัวเป็นผู้สอนศาสนา (ทั้งห้าบทเรียน)

  • การเตรียมเข้าพระวิหาร (ทั้งสี่บทเรียน)

  • “การเตรียมตัวสําหรับการประชุมใหญ่สามัญ” (สอนก่อนการประชุมใหญ่สามัญเดือนตุลาคม)

ซิสเตอร์เมนโดซากับบราเดอร์อามาซิโอจัดตารางบทเรียนการเตรียมตัวสําหรับชีวิตทั้งหมดไว้ในแนวทางกําหนดอัตราการสอนของพวกเขา บทเรียนการเตรียมตัวสําหรับชีวิตบางบทจัดไว้ในสัปดาห์ที่กําหนดไว้เป็นพิเศษเพื่อให้สอดคล้องกับส่วนต่างๆ ในหลักคําสอนและพันธสัญญาที่ศึกษาใน จงตามเรามา เนื่องจากมีข้อเสนอแนะในส่วน “ภาพรวม” สําหรับบทเรียนหมวดหมู่ต่างๆ พวกเขากําหนดเวลาอื่นๆ ตามเวลาที่พวกเขารู้สึกว่านักเรียนจะได้รับประโยชน์สูงสุดจากหัวข้อเหล่านั้น

หลังจากจัดตารางบทเรียนการเตรียมตัวสําหรับชีวิตลงในแนวทางกําหนดอัตราการสอนแล้ว พวกเขายังคงมีสี่ชั้นเรียนในครึ่งแรกของหลักสูตรและอีกสี่ชั้นเรียนในครึ่งหลังของหลักสูตรที่ไม่ได้จัดตารางบทเรียน พวกเขาตั้งใจให้ชั้นเรียนเหล่านี้เป็นบทเรียนเกี่ยวกับคําปราศรัยของผู้นําศาสนจักรจากการประชุมใหญ่สามัญเมื่อเร็วๆ นี้ ซิสเตอร์เมนโดซาจะใช้ “แม่แบบ: คําสอนของผู้นําศาสนจักร” เพื่อสอนบทเรียนเหล่านี้

ขั้นตอนที่ 3: ปรับเปลี่ยนตามความจําเป็น

ซิสเตอร์เมนโดซาและบราเดอร์อามาซิโอดูแนวทางกําหนดอัตราการสอนที่ทําไว้ด้วยกันเพื่อดูว่าจําเป็นต้องปรับเปลี่ยนหรือไม่ พวกเขาตระหนักว่าพวกเขามองข้ามสัปดาห์ที่เซมินารีจะไม่เปิดเนื่องจากช่วงปิดเทอมที่นักเรียนจะมีในตารางเรียนของพวกเขา ระหว่างสัปดาห์นี้ นักเรียนจะศึกษาข้อผู้เชี่ยวชาญหลักคําสอนด้วย บราเดอร์อามาซิโอและซิสเตอร์เมนโดซารู้สึกว่าควรจัดตารางบทเรียนนี้ในสัปดาห์ก่อนหรือสัปดาห์หลังจากนั้น พวกเขาตัดสินใจย้ายไปเป็นสัปดาห์ก่อนหน้า เพื่อทําเช่นนี้ พวกเขาจะต้องแทนที่บทเรียนอื่นๆ ที่กําหนดไว้ พวกเขาตัดสินใจใช้บทนี้แทนหนึ่งในบทเรียนคําสอนของผู้นําศาสนจักร นี่เป็นการปรับเพียงอย่างเดียวที่พวกเขาต้องทําในแนวทางกําหนดอัตราการสอนของพวกเขา

ทั้งซิสเตอร์เมนโดซาและบราเดอร์อามาซิโอต่างรู้สึกดีกับการตัดสินใจที่พวกเขาทํา ซิสเตอร์เมนโดซารู้สึกมั่นใจว่านักเรียนของเธอจะมีประสบการณ์เชิงบวกในเซมินารีที่จะนําพวกเขาเข้าใกล้พระบิดาบนสวรรค์และพระเยซูคริสต์มากขึ้น เธอรู้สึกขอบคุณที่มีการตัดสินใจเหล่านี้ก่อนเริ่มสอนเพื่อที่ว่าในระหว่างปีการศึกษาเธอจะสามารถจดจ่ออยู่กับการเตรียมบทเรียนที่จะสอนต่อไปได้ เธอรู้สึกเบาใจที่ไม่ต้องตัดสินใจว่าจะสอนบทเรียนใดในระหว่างสัปดาห์นอกเหนือจากการเตรียมบทเรียนเหล่านั้น

พิมพ์