2014
บ้าน: หัวใจของการเรียนรู้
ตุลาคม 2014


บ้าน: หัวใจของการเรียนรู้

เมื่อการเรียนรู้ที่โบสถ์สนับสนุนการเรียนรู้ที่บ้าน เท่ากับท่านสร้างรากฐานอันแข็งแกร่งของการดำเนินชีวิตตามพระกิตติคุณ

“ขอให้ทุกคนอ่านบทเรียนสัปดาห์หน้ามาด้วยนะครับ” คำพูดเหล่านี้ฟังคุ้นหูหรือไม่ คำพูดดังกล่าวมักจะมาจากคำขอร้องของครูเมื่อจบชั้นเรียนของศาสนจักร

ถึงแม้การเตรียมมาเรียนบทเรียนวันอาทิตย์ของท่านจะสำคัญอย่างยิ่ง แต่บางครั้งท่านรู้สึกคล้ายกับว่าเป้าหมายหลักของท่านในการศึกษาและไตร่ตรองคือเพื่อให้ท่านพร้อมเต็มที่สำหรับวันอาทิตย์หรือไม่

แท้ที่จริงควรเป็นในทางตรงกันข้าม

“คำสอน โปรแกรม และกิจกรรม [ทั้งหมดของศาสนจักร] มุ่งเน้นครอบครัวและสนับสนุนศาสนจักร”1 นั่นหมายความว่าการประชุมต่างๆ ของศาสนจักรมุ่งสนับสนุนการเรียนรู้ของแต่ละบุคคลและครอบครัว ดังที่แกรีย์ อี. สตีเวนสันอธิการควบคุมสอน “สถานที่สำคัญอันดับแรกของการสอนและการเรียนรู้คือบ้าน”2 เมื่อมุ่งเน้นการเรียนรู้และการสอนในบ้าน การเรียนรู้และการสอนเหล่านั้นสามารถก่อเกิดพลังอันจะนำไปสู่การเปลี่ยนใจเลื่อมใส

นั่นเป็นข่าวสารของการอบรมองค์การช่วยประจำปี 2014 Learning and Teaching in the Home and the Church (การเรียนรู้และการสอนในบ้านและศาสนจักร) มีออนไลน์ที่annualtraining.lds.org เอ็ลเดอร์เจฟฟรีย์ อาร์. ฮอลแลนด์แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองกล่าวว่า “ไม่มีใครในพวกเรากำลังลดความสำคัญของการสอนในโบสถ์ ในอาคารประชุม เราเรียนรู้และสอนมาตลอดชีวิตเรา แต่ขอให้เราเรียนรู้และสอนตลอด 24 ชั่วโมง 7 วันในชีวิตที่เราดำเนินอยู่”3 เมื่อท่านรวมการเรียนรู้ตลอด 24 ชั่วโมง 7 วันไว้ในช่วงเวลาประจำวันของชีวิตครอบครัวท่าน ท่านสามารถวางรากฐานอันแข็งแกร่งให้ “บ้านแห่งการเรียนรู้” (คพ. 88:119) อันจะให้ที่พักพิงและความคุ้มครองทางวิญญาณแก่ท่านและครอบครัว

การเรียนรู้ที่บ้าน

ท่านอาจไม่เห็นผลทันตาเสมอไป แต่เมื่อท่านใช้ประโยชน์จากช่วงเวลาปกติธรรมดาเพื่อเรียนรู้และสอนในชีวิตประจำวัน การทำเช่นนั้นจะมีผลกว้างขวาง ต่อไปนี้เป็นวิธีที่หลายครอบครัวสังเกตเห็นอิทธิพลดังกล่าวในชีวิตพวกเขา

ช่วงเวลาปกติธรรมดา

A father and son carrying skateboards as they walk down a wet road.

“มีหลายครั้งที่เราอาจรู้สึกเคอะเขินกับการสนทนาแบบเป็นกิจจะลักษณะเกี่ยวกับหัวข้อพระกิตติคุณบางหัวข้อ ช่วงการสอนแบบกันเองเป็นพรแก่เราอย่างแท้จริงเมื่อเราสอนบทเรียนสำคัญๆ ให้ลูกของเรา มีช่วงการสอนแบบกันเองมากยิ่งกว่าช่วงการสอนแบบเป็นกิจจะลักษณะเช่นกัน ด้วยเหตุนี้เราจึงต้องคว้าโอกาสเหล่านี้ไว้สอนหลักธรรมสำคัญกับลูกของเรา ตัวอย่างเช่น ดิฉันสอนเรื่องความซื่อสัตย์ขณะซื้อของ ลูกๆ ของดิฉันเรียนรู้หลักธรรมเหล่านี้ง่ายขึ้นเมื่อพวกเขาเห็นวิธีประยุกต์ใช้”

โมนา วิลลานูวา, ฟิลิปปินส์

การเดินทางและการสนทนา

A mother and her young daughters sitting together on a sofa.  They are looking at a magazine.

“ผมขึ้นรถประจำทางส่งลูกสาวไปโรงเรียนทุกเช้า เราจึงมีโอกาสคุยกันมาก ครั้งหนึ่งเมื่อเร็วๆ นี้เราเห็นสามีภรรยาคู่หนึ่งขัดแย้งกัน ลูกสาวหันขวับมามองผมและรอผมแสดงความเห็น แต่ผมกลับถามพวกเธอว่ารู้สึกอย่างไรกับสิ่งที่เกิดขึ้น พวกเธอบอกผมว่าพวกเธอคิดว่าสามีไม่ควรพูดกับภรรยาแบบนั้น หลังจากนั้น เราสนทนากันเกี่ยวกับชีวิตแต่งงานและความสัมพันธ์ การโดยสารรถประจำทาง 30 นาทีของเราสิ้นสุดลงด้วยคติธรรมและอุทาหรณ์สอนใจ”

มาริโอ ลอเรนซ์, กัวเตมาลา

ผูกสัมพันธ์ขณะรับประทานอาหารว่าง

Mother and children making cookies.

“ช่วงการสอนแบบกันเองช่วยให้ดิฉันมีความสัมพันธ์กับลูกๆ ดีขึ้น เมื่อเรานั่งรับประทานอาหารว่างที่โต๊ะในครัวหลังเลิกเรียน เราสนทนาเกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้นระหว่างวันที่โรงเรียน ลูกคนหนึ่งมักจะพูดบางอย่างที่เพื่อนพูดหรือเขารู้สึกอย่างไรเมื่อมีคนพูดหรือทำบางสิ่งบางอย่าง ดิฉันสามารถแบ่งปันประจักษ์พยานส่วนตัวต่อจากนั้นและสนทนาว่าลูกๆ รู้สึกอย่างไรเกี่ยวกับสถานการณ์ดังกล่าว ดิฉันคิดว่าการสนทนาแบบเปิดใจเมื่อลูกผ่อนคลายทำให้พวกเขาเต็มใจมากขึ้นที่จะสนทนาเรื่องสำคัญเมื่อจำเป็นเพราะพวกเขามีความไว้วางใจระดับหนึ่ง โดยรู้ว่าพ่อแม่จะฟัง”

อลีสัน ฟรอสต์, กรีซ

แวดวงความห่วงใย

Young family in New Zealand.  The parents are holding their two boys.

“ผมกับภรรยาทราบดีว่าเราเป็นคนแรกที่มีความรับผิดชอบในการสอนลูกของเราไม่ใช่ผู้นำ แต่เราขอบคุณสิ่งที่พวกเขาทำและเราช่วยเหลือเท่าที่เราจะช่วยได้ วอร์ดของเรามีผู้นำที่ดีมาก พวกเขาเอาใจใส่เยาวชนและเด็กอย่างแท้จริง พวกเขาทำมากเท่าที่จะมากได้เพื่อช่วยให้เด็กและเยาวชนเหล่านั้นมองเห็นศักยภาพเต็มที่ของตนเองบนพื้นฐานของสิ่งที่พ่อแม่ทำไว้ ผมพบปะพูดคุยกับอธิการมาแล้วสองสามครั้ง ผมมีการสื่อสารที่ดีกับผู้นำเยาวชนและมักจะสอบถามเรื่องลูกๆ และความก้าวหน้าของพวกเขา การที่เราสื่อสารอยู่เนืองๆ เกี่ยวกับความก้าวหน้าของลูกๆ จะช่วยให้เราทุกคนเข้าใจวิธีช่วยลูกแต่ละคน”

เจสซี เอ็น. อรูมูกัม, แอฟริกาใต้

พลังในพระคัมภีร์

Man studying the scriptures.

“การศึกษาพระคัมภีร์ช่วยผมเรียนรู้จากพระคริสต์และคุณลักษณะของพระองค์ ทั้งนี้เพื่อผมจะสามารถเป็นเหมือนพระองค์ได้ และยังทำให้ผมมีพระวิญญาณมากขึ้นด้วย ซึ่งนำทางผมและสอนผมให้รู้วิธีประยุกต์ใช้สิ่งที่ผมเรียนรู้เพื่อผมจะพร้อมเผชิญการท้าทายของชีวิตและการล่อลวงที่ซาตานโยนใส่ผม หากปราศจากพรนี้ในชีวิต ผมรู้ว่าผมจะขาดศักยภาพในฐานะบุตรของพระผู้เป็นเจ้า”

นาธาน วูดเวิร์ด, อังกฤษ

การเรียนรู้ที่โบสถ์: หลักธรรม 10 ประการที่ครูทุกคนควรรู้

นอกจากแสริมสร้างพลังของการเรียนรู้และการสอนในบ้านแล้ว เรายังสามารถเสริมสร้างประสบการณ์ห้องเรียนที่โบสถ์ได้ด้วย เมื่อครูประยุกต์ใช้หลักธรรม 10 ประการนี้ พวกเขาจะส่งเสริมการเปลี่ยนใจเลื่อมในในชีวิตคนเหล่านั้นที่พวกเขาสอน

  1. หารือกับบิดามารดาผู้มีบทบาทเบื้องต้นในฐานะครู เพื่อทราบความต้องการของสมาชิกชั้นเรียน แล้วสอนตามความต้องการเหล่านั้น

  2. เตรียมและสอนโดยพระวิญญาณ ระบุคำถามและกิจกรรมการเรียนรู้ที่จะทำให้การสนทนามีพระวิญญาณทรงนำและบำรุงเลี้ยงสมาชิกชั้นเรียนทางวิญญาณ

  3. สอนคน ไม่ใช่สอนบทเรียน

  4. มุ่งเน้นหลักคำสอนสำคัญของพระกิตติคุณ

  5. สอนหลักธรรมสำคัญหนึ่งหรือสองข้อให้ลึกซึ้งแทนที่จะพยายามสอนให้ครอบคลุมเนื้อหาบทเรียนทั้งหมด

  6. อัญเชิญพระวิญญาณโดยให้ทุกคนมีส่วนร่วม (ดู คพ. 88:122)

  7. รวมการเชื้อเชิญที่โน้มน้าวให้ปฏิบัติไว้ในนั้นด้วย—ไม่เพียงให้กลับไปอ่านที่บ้านแต่กลับไปดำเนินชีวิตที่บ้าน

  8. แสดงประจักษ์พยานของท่านเกี่ยวกับหลักคำสอน—เมื่อจบชั้นเรียนและเมื่อใดก็ตามที่พระวิญญาณทรงกระตุ้นเตือนท่าน

  9. ดำเนินชีวิตตามพระกิตติคุณ และ “จัด [บ้านของท่านเอง] ให้อยู่ในระเบียบ” (ดู คพ. 93:43–44, 50)

  10. หาวิธีให้การสอนดำเนินต่อไปตลอดช่วงเวลาแบบกันเองในชีวิตประจำวัน

อ้างอิง

  1. คู่มือเล่ม 2: การบริหารงานศาสนจักร (2010), 1.4.

  2. แกรีย์ อี. สตีเวนสัน, ใน “สภาวอร์ด—เราทุกคนอยู่ในนี้ด้วยกัน” (วีดิทัศน์การอบรมองค์การช่วยปี 2014) annualtraining.lds.org

  3. เจฟฟรีย์ อาร์. ฮอลแลนด์, ใน “การเรียนรู้และการสอนในบ้านและศาสนจักร—บ้าน” (วีดิทัศน์การอบรมองค์การช่วยปี 2014) annualtraining.lds.org