2017
มิคาเอล รินน์: แมสซาชูเซตส์ สหรัฐอเมริกา
มิถุนายน 2017


ภาพแห่งศรัทธา

มิคาเอล รินน์

แมสซาชูเซตส์ สหรัฐอเมริกา

อธิการมิคาเอล รินน์ช่วยไคบุตรชายของเขาทำการบ้าน ในบ้านครอบครัวรินน์ มีพื้นที่ให้ทั้งศรัทธาและวิทยาศาสตร์

ภาพ
A father helps his son with his homework. A daughter also works on her own computer.

อธิการรินน์แบ่งปันข้อคิดทางวิญญาณตอนค่ำกับครอบครัวของเขา ได้แก่เนีย (ซ้าย) ไอลา (ขวา) และไค (หลัง)

ภาพ
A father reads a book to his children

“มีศรัทธาไม่มากที่นี่ในบริเวณ [มหาวิทยาลัย] ฮาร์วาร์ด” อธิการรินน์กล่าว แต่เขากับทิฟฟานีภรรยาจัดสรรเวลาปลูกฝังศรัทธาให้ลูกๆ ของพวกเขา

ภาพ
A mother holds and plays with her daughter.

ครอบครัวรินน์เป็นวิสุทธิชนยุคสุดท้ายเพียงครอบครัวเดียวที่บรรดามิตรสหายส่วนใหญ่ซึ่งไม่เป็นสมาชิกรู้จัก ทิฟฟานี รินน์ กับโซเลียลูกสาว บอกว่า “ที่บัพติศมาของไค ลูกชายเรามีคนไม่เป็นสมาชิกมาร่วมพิธีมากกว่าสมาชิกเสียอีก”

ภาพ
A mother reads with her daughters at night in bed.

อธิการรินน์ช่วยโซเลียเตรียมตัวเข้านอน

ภาพ
A father brushes his daughter's teeth.

“สุดท้ายแล้วศรัทธาคือการเลือก” มิคาเอล รินน์กล่าว “ในฐานะอธิการ ผมไม่สามารถให้ศรัทธาแก่ผู้คนได้ พวกเขาต้องเลือกเองว่าจะเชื่อ”

ภาพ
A father and mother spend time with their children.
ภาพ
Mikael Rinne

มิคาเอลเป็นนักวิทยาศาสตร์และแพทย์ เขาเชี่ยวชาญเรื่องการรักษาประสาทและมะเร็งวิทยา เขามีปริญญาเอกสาขาอณูชีววิทยา เขาดูแลผู้ป่วยเนื้องอกในสมองที่สถาบันมะเร็งดานา-ฟาร์เบอร์ โรงพยาบาลมะเร็งของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด และเขาทำวิจัยในการพัฒนายารักษามะเร็ง

เลสลี นิลส์สัน, ช่างภาพ

ศรัทธาเป็นเรื่องประหลาดในวงการของผม คนที่ผมทำงานด้วยคิดว่าความเชื่อทางศาสนาเป็นเรื่องแปลก—โบราณและล้าสมัย วิธีเดียวกับที่เรามองความเชื่อถือโชคลาง

สิ่งหนึ่งที่เพื่อนร่วมงานบอกผมคือผมเป็นคน “ประหลาด” ผู้มีความเชื่อทางศาสนา ตัวอย่างเช่น ผมไม่สบถ เมื่อเกิดเรื่องไม่ดี ผมพูดว่า “โอ้ แย่ละ!” นั่นเป็นเรื่องตลกมากที่คลินิก แต่ก็เปลี่ยนบรรยากาศได้ และผมได้พูดถึงศาสนจักรตลอดเวลา

ถ้าคุณดำเนินชีวิตตามหลักธรรมพระกิตติคุณ เป็นคนอดทนและมีน้ำใจ สิ่งที่คุณทำจะจุดประกายความสนใจในพระกิตติคุณได้มากกว่าการสนทนาเรื่องศาสนา เพื่อนร่วมงานของผมชื่นชมวิถีชีวิตของวิสุทธิชนยุคสุดท้าย วิธีที่เราประพฤติปฏิบัติและเกี่ยวข้องกัน

ผู้ป่วยของเราเกือบทุกคนมีเนื้องอกในสมองที่เป็นอันตรายถึงชีวิต เราต้องรับมือกับเหตุการณ์ร้ายแรงทุกวัน บางคนถามว่า “คุณรับมือกับเรื่องนั้นอย่างไร” คำตอบหนึ่งของผมคือ “ผมรู้สึกว่าศรัทธาของผมช่วยผมเผชิญความตายและเข้าใจคนที่กำลังจะตาย ผมเชื่อเรื่องชีวิตหลังความตาย”

การดูแลคนที่กำลังจะตายทำให้เรามองความท้าทายอื่นๆ ได้อย่างชัดเจนมากขึ้น “คุณอาจจะเป็นมะเร็งสมองเมื่อไรก็ได้” ผมบอกคนอื่นๆ นั่นเป็นเนื้องอกที่เลวร้ายที่สุดที่คุณจะมีได้ นั่นคือสิ่งที่ผมเห็นเป็นส่วนใหญ่

ผู้ป่วยจำนวนมากของผมจะพูดถึงความเชื่อของพวกเขาในพระผู้เป็นเจ้าและในปาฏิหาริย์ ผมต้องละเอียดอ่อนกับเรื่องนี้ แต่ผมจะเสริมประจักษ์พยานของผมในความจริงที่พวกเขาแบ่งปัน “ผมเชื่อเรื่องนั้นด้วย” ผมบอก “ผมเชื่อว่าปาฏิหาริย์เกิดขึ้น ขอให้เราหวังว่าจะเกิดปาฏิหาริย์”

มีตำนานว่าศรัทธากับวิทยาศาสตร์ขัดแย้งกัน เรามีความรู้สึกฝังใจว่าวิทยาศาสตร์มีคำตอบทั้งหมด ว่าเรา “คิดออกหมด” แต่ที่เราไม่รู้มีมากกว่าที่เรารู้

ผมรู้สึกว่าการตระหนักว่าสรรพสิ่งช่างซับซ้อนเหลือเกิน—สรรพสิ่งได้รับการออกแบบไว้อย่างวิจิตรบรรจง—สร้างศรัทธาอย่างแท้จริง เราไม่สามารถเข้าใจลักษณะที่แท้จริงในการดำรงอยู่ของเราได้หากปราศจากศรัทธา ความจริงก็คือ ยิ่งผมเรียนรู้โดยวิทยาศาสตร์มากขึ้นเท่าไร ผมยิ่งรู้มากขึ้นว่าพระผู้สร้างแห่งสวรรค์ผู้ทรงปราดเปรื่องทรงกำกับดูแลการสร้างของเราแน่นอน

ในฐานะอธิการ ผมเห็นสมาชิกที่ประสบกับวิกฤติศรัทธา พวกเขามาพูดกับผมว่า “ฉันคิดเชิงวิทยาศาสตร์มากขึ้น ฉันจึงมีปัญหาอย่างมากกับศรัทธา” การรู้ว่าอธิการของพวกเขาเป็นนักวิทยาศาสตร์ฮาร์วาร์ดที่เชื่อในพระผู้เป็นเจ้าช่วยพวกเขาบางคนที่มีความสงสัย นั่นช่วยให้พวกเขาตระหนักว่า “ฉันสามารถเชื่อได้แต่ก็เป็นปัญญาชนด้วย”

พิมพ์