2017
วอร์ดช่วยชีวิตดิฉัน หลังจากลูกสาวของดิฉันปลิดชีวิตตนเอง
กันยายน 2017


วิธีเยียวยาผู้มีชีวิตอยู่

woman kneeling at bed

เมื่อมีคนเลือกยุติความเจ็บปวดของตนด้วยการฆ่าตัวตาย ขั้นตอนที่ซับซ้อนและน่าเจ็บปวดรันทดใจอย่างยิ่งเริ่มขึ้นสำหรับบุคคลอันเป็นที่รักผู้ถูกทิ้งไว้เบื้องหลัง (โดยเฉพาะหมายถึงผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่) ความรู้สึกสับสน ความรู้สึกผิด การถูกทอดทิ้ง การถูกปฏิเสธ และความโกรธรุนแรงขึ้น คำถามที่ตอบไม่ได้ว่าทำไม ฉันพลาดตรงไหน ทำไมฉันไม่ได้รับการกระตุ้นเตือน ทั้งหมดนี้จะส่งผลต่อรางวัลนิรันดร์และอื่นๆ อย่างไร สามารถทำให้เกิดความว้าวุ่นใจมากและเกิดความคิดว่าบางทีพวกเขาอาจจะต้องรับผิดชอบความตายของบุคคลที่พวกเขารัก

มีแนวโน้มว่าผู้มีชีวิตอยู่จะปลีกตัวจากคนอื่นๆ ด้วยความอับอายเพราะเกรงว่าจะถูกตำหนิ ถูกตัดสิน และกลัวเสื่อมเสีย ผู้มีชีวิตอยู่อาจจะรู้สึกถึงปฏิกิริยาตอบสนองอันเนื่องจากความสะเทือนใจโดยเฉพาะอย่างยิ่งของคนที่พบศพ ผู้มีชีวิตอยู่อาจจะคิดฆ่าตัวตายเพราะความโศกเศร้าได้เช่นกัน

แม้จะมีความเจ็บปวดราวร้าวอย่างยิ่งเช่นนั้น แต่พระผู้ช่วยให้รอดของเรา “เสด็จลงต่ำกว่าสิ่งทั้งปวง” (ดู คพ. 88:6; 122:8) “เพื่อพระองค์จะทรงรู้ตามเนื้อหนังว่าจะทรงช่วยผู้คนของพระองค์ตามความทุพพลภาพของพวกเขาได้อย่างไร” (แอลมา 7:12) ทั้งนี้ “เพื่อเราจะ … พบพระคุณที่ช่วยเราในยามต้องการ” (ฮีบรู 4:16)

ถึงคนที่กำลังเศร้าโศก

  • อย่าโทษผู้อื่นโดยเฉพาะอย่างยิ่งตัวท่านเอง

  • ดูแลตัวท่านทางวิญญาณ วางใจในของประทานแห่งสิทธิ์เสรี ยอมรับว่ามีสิ่งที่ท่านไม่รู้ (ดู 1 นีไฟ 9:6) วางใจว่าพระเจ้าทรงมีเดชานุภาพเยียวยาและประทานสันติสุข (ดู ฟิลิปปี 4:7)

  • ดูแลตัวท่านทางร่างกาย รับประทานอาหารที่ดี พักผ่อน และออกกำลังกายเป็นประจำ

  • ขอการสนับสนุนช่วยเหลือจากคนที่ท่านวางใจ (ครอบครัว เพื่อน อธิการ) และให้ผู้อื่นช่วยท่านผ่านพ้นวิกฤตนี้

  • เข้าร่วมกิจกรรมที่เป็นประโยชน์เพื่อหันเหความสนใจ

  • พูดคุยกับผู้ให้คำปรึกษามืออาชีพและ/หรือเข้ากลุ่มช่วยเหลือกรณีเกิดการฆ่าตัวตาย

  • อดทนในกระบวนการเยียวยาท่าน

ถึงผู้ดูแลคนที่กำลังโศกเศร้า

  • เห็นอกเห็นใจและอย่าตำหนิหรือตัดสิน เข้าใจว่า “พระเจ้า … ให้เหมาะกับพระเมตตาของพระองค์” (คพ. 46:15)

  • ยื่นมือช่วยเหลือและถามผู้มีชีวิตอยู่ว่าท่านจะช่วยพวกเขาได้อย่างไรแม้ในงานง่ายๆ หรือไปเป็นเพื่อนพวกเขาในกิจกรรมต่างๆ

  • อดทน ฟัง และยอมรับความรู้สึกที่พวกเขาบอกท่านเมื่อพวกเขาพร้อม

  • หลีกเลี่ยงคำที่พูดกันบ่อยๆ และคำปลอบใจผิดๆ เช่น “เดี๋ยวก็ดี” “อาจจะแย่กว่านี้” “ฉันรู้ว่าคุณรู้สึกอย่างไร” “ฉันเข้าใจ” “นั่นเป็นพระประสงค์ของพระผู้เป็นเจ้า” “เวลาจะเยียวยาบาดแผลทั้งหมดเอง” เป็นต้น

  • อย่าพยายามตอบคำถามที่ตอบไม่ได้

  • อย่าเปรียบเทียบความโศกเศร้าของพวกเขากับของท่านถึงแม้จะเกี่ยวข้องกับการฆ่าตัวตายเหมือนกันก็ตาม

  • พูดคุยกับพวกเขาเกี่ยวกับคนที่พวกเขารักในทำนองเดียวกันกับที่ท่านจะพูดถึงคนที่เสียชีวิตในลักษณะอื่น

  • ปลอบเด็กที่ได้รับผลกระทบว่าพวกเขาไม่ต้องรับผิดชอบเรื่องนี้

  • เสนอตัวช่วยพวกเขาหาแหล่งช่วยบรรเทาความโศกเศร้า (การขอคำปรึกษา กลุ่มสนับสนุนช่วยเหลือ และอื่นๆ)