เซมินารี
แอลมา 43, 48–50: การเรียนรู้จากบทสงคราม


“แอลมา 43, 48–50: การเรียนรู้จากบทสงคราม” พระคัมภีร์มอรมอน คู่มือครู (2024)

“แอลมา 43, 48–50,” พระคัมภีร์มอรมอน คู่มือครู

แอลมา 43, 48–50

การเรียนรู้จากบทสงคราม

ชาวนีไฟที่สวมชุดเกราะอยู่ในที่ปลอดภัย

ส่วนสุดท้ายของหนังสือแอลมาพูดถึงช่วงเวลาของความขัดแย้งและสงคราม กลยุทธ์ที่ชาวนีไฟใช้ในสงครามเหล่านี้จะช่วยเราพัฒนากลยุทธ์ที่ใช้ในการรบกับซาตานทุกวันได้ บทเรียนนี้จะช่วยท่านเปรียบพระคัมภีร์กับตนเองเพื่อรับการปกป้องของพระเจ้าจากการโจมตีที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องของปฏิปักษ์

ช่วยนักเรียนหาความหมายส่วนตัวในพระคัมภีร์ กระตุ้นให้นักเรียนใช้ทักษะการศึกษาหลายๆ ทักษะยกระดับความเข้าใจพระคัมภีร์ของตน พวกเขาจะมองหารายละเอียดในเนื้อเรื่อง ทำการเปรียบเทียบและการเชื่อมโยงระหว่างเรื่องราวพระคัมภีร์กับชีวิตตนเอง และพิจารณาว่าจะประยุกต์ใช้สิ่งที่เรียนรู้อย่างไร

การเตรียมของนักเรียน: เชื้อเชิญให้นักเรียนศึกษา แอลมา 43:18–21, 37–38 เพื่อมองหาบทเรียนที่จะช่วยพวกเขาในการรบกับซาตาน

กิจกรรมการเรียนรู้ที่ทำได้

การรู้จักปฏิปักษ์

ท่านอาจจะให้ดูคำกล่าวต่อไปนี้ขณะที่นักเรียนสนทนาคำตอบของคำถามที่ตามมา

ประธานบอยด์ เค. แพคเกอร์ (1924–2015) แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองเตือนว่า:

ท่านกำลังเติบโตในแดนของศัตรู … [ปฏิปักษ์] อยู่ในบ้าน ความบันเทิง สื่อ ภาษา—ทุกสิ่งรอบตัวท่าน ในกรณีส่วนใหญ่เราไม่ทราบว่าเขาอยู่ตรงไหน (บอยด์ เค. แพคเกอร์, “How to Survive in Enemy Territory,” New Era, เม.ย. 2012, 2)

  • ท่านมีความคิดหรือความรู้สึกอย่างไรบ้างเกี่ยวกับคำกล่าวนี้?

  • ท่านนึกถึงตัวอย่างใดซึ่งแสดงให้เห็นสิ่งที่ประธานแพคเกอร์พูดถึง?

นักเรียนควรนึกคำตอบของคำถามในย่อหน้าต่อไปนี้ในใจเท่านั้น ไม่ต้องตอบออกเสียง

ใคร่ครวญสักครู่ว่าคำกล่าวของประธานแพคเกอร์ประยุกต์ใช้กับท่านได้อย่างไร ท่านสังเกตเห็นการล่อลวงของซาตานมีอิทธิพลต่อท่านหรือคนที่ท่านรักในด้านใดบ้าง? ท่านกำลังพยายามทำอะไรเพื่อปกป้องตนเองจากการโจมตีของเขา?

สงครามระหว่างชาวนีไฟกับชาวเลมัน

ท้ายหนังสือแอลมาพูดถึงสงครามบางอย่างที่เกิดขึ้นระหว่างชาวนีไฟกับชาวเลมัน ขณะศึกษาเรื่องราวเหล่านี้ ท่านจะได้เรียนรู้บทเรียนอันมีค่าที่จะช่วยในการรบกับซาตาน ตัวอย่างเช่น จุดประสงค์และยุทธวิธีของชาวเลมันเปรียบได้กับจุดประสงค์และยุทธวิธีที่ซาตานใช้กับเรา

ท่านอาจจะเขียนพระคัมภีร์อ้างอิงและชื่อต่อไปนี้ไว้บนกระดาน เหนือ แอลมา 43:5–8 ให้เขียน เซราเฮ็มนาห์ เหนือ แอลมา 46:3–5, 10 ให้เขียน อแมลิไคยาห์ ท่านจะแบ่งนักเรียนเป็นกลุ่มและมอบหมายให้ศึกษากลุ่มละหนึ่งชุด

อ่าน แอลมา 43:5–8; 46:3–5, 10 เพื่อดูว่าผู้นำที่ชั่วร้ายของชาวเลมันทำอะไรคล้ายกับจุดประสงค์และยุทธวิธีของซาตาน

ท่านอาจจะเชิญอาสาสมัครสองสามคนมาที่กระดาน แล้วเขียนจุดประสงค์กับยุทธวิธีของคนที่พวกเขาศึกษา

  • จุดประสงค์และยุทธิวิธีของผู้นำเหล่านี้เหมือนของซาตานอย่างไร?

โมโรไนกับธงแห่งเสรีภาพ

กองทัพของชาวนีไฟนำโดยชายชอบธรรมชื่อโมโรไน

ท่านอาจจะเขียนพระคัมภีร์อ้างอิงต่อไปนี้ไว้บนกระดานข้างๆ ข้ออ้างอิงก่อนนี้เกี่ยวกับเซราเฮ็มนาห์และอแมลิไคยาห์ เขียน โมโรไน เหนือข้ออ้างอิงข้อใหม่

อ่าน แอลมา 48:11–13, 17 เพื่อมองหาคุณลักษณะหมือนพระคริสต์หรือลักษณะเฉพาะของโมโรไน

เชิญอาสาสมัครสองสามคนมาที่กระดาน แล้วเขียนลักษณะเฉพาะของโมโรไนที่ทำให้พวกเขานึกถึงพระผู้ช่วยให้รอด

  • ท่านพบอะไร?

การเปรียบพระคัมภีร์กับตนเอง

การเปรียบเทียบที่ท่านทำในพระคัมภีร์จนถึงตอนนี้จะเตรียมท่านให้พร้อมเปรียบหรือโยงรายละเอียดอื่นจากเรื่องราวเหล่านี้กับชีวิตท่านเอง

ให้ดูขั้นตอนต่อไปนี้เพื่อนักเรียนจะใช้อ้างอิงได้ตลอดบทเรียน

กระบวนการต่อไปนี้จะช่วยท่านเปรียบพระคัมภีร์กับชีวิตท่าน บันทึกขั้นตอนเหล่านี้ลงในสมุดบันทึกการศึกษา

  1. หารายละเอียดที่สำคัญ

  2. เปรียบเทียบกับชีวิตท่าน

  3. ค้นพบบทเรียนอันทรงคุณค่า

  4. กำหนดการประยุกต์ใช้ส่วนตัว

ฝึกทักษะการศึกษาการเปรียบพระคัมภีร์โดยใช้กระบวนการนี้ขณะเรียนรู้เกี่ยวกับการรบครั้งหนึ่งระหว่างชาวนีไฟกับชาวเลมัน

สิ่งต่อไปนี้มุ่งหมายจะแนะแนวนักเรียนในการเปรียบพระคัมภีร์และเตรียมตนเองให้พร้อมเปรียบพระคัมภีร์ด้วยตนเองในบทเรียนช่วงหลัง

ขั้นตอนที่ 1: หารายละเอียดที่สำคัญ

อ่าน แอลมา 43:17–21, 37–39, 51–54 เพื่อมองหารายละเอียดที่สำคัญ รายละเอียดเหล่านี้จะรวมถึงผู้คน สถานที่ สิ่งของ หรือการกระทำที่เน้น

ขอให้นักเรียนแบ่งปันรายละเอียดสำคัญๆ ที่พบในข้อเหล่านี้ จะเขียนไว้บนกระดานก็ได้ หากจำเป็น ให้ช่วยนักเรียนระบุรายละเอียดสำคัญๆ ต่อไปนี้

รายละเอียดบางอย่างที่ท่านอาจสังเกตเห็น ได้แก่ โมโรไนปกป้องกองทัพของท่านด้วยยุทธภัณฑ์และชุดหนา ชาวเลมันไม่สวมยุทธภัณฑ์ป้องกัน และชาวนีไฟชนะชาวเลมันได้แม้จะมีคนน้อยกว่ามาก

ขั้นตอนที่ 2: เปรียบเทียบกับชีวิตท่าน

นึกดูว่ารายละเอียดที่ท่านระบุไว้ในขั้นตอนก่อนนี้จะเปรียบเทียบกับเรื่องทางวิญญาณหรือสถานการณ์ในชีวิตท่านได้อย่างไร

ท่านอาจจะเปรียบเทียบยุทธภัณฑ์ของชาวนีไฟกับยุทธภัณฑ์ของพระผู้เป็นเจ้า และอาจเปรียบเทียบชัยชนะของชาวนีไฟกับการเอาชนะซาตานและการล่อลวงของเขาด้วย

ขั้นตอนที่ 3: ค้นพบบทเรียนอันทรงคุณค่า

นึกถึงสิ่งที่เรียนรู้จากเรื่องราวนี้ที่ประยุกต์ใช้กับท่านได้ ท่านจะนึกถึงสิ่งที่เรียนรู้เกี่ยวกับพระผู้ช่วยให้รอดด้วย

เชิญนักเรียนหลายๆ คนแบ่งปันคำตอบของคำถามต่อไปนี้

  • มีบทเรียนใดบ้างที่ท่านได้เรียนรู้จากการรบระหว่างชาวนีไฟกับชาวเลมันครั้งนี้ที่จะช่วยท่านในการรบกับซาตาน?

  • เรื่องราวนี้สอนอะไรท่านเกี่ยวกับพระเยซูคริสต์?

หลักธรรมหนึ่งที่เราเรียนรู้ได้คือ พระเยซูคริสต์ประทานการปกป้องที่เราต้องการในการต่อสู้กับซาตาน

ขั้นตอนที่ 4: กำหนดการประยุกต์ใช้ส่วนตัว

ใคร่ครวญว่าท่านจะประยุกต์ใช้บทเรียนที่ระบุไว้ในขั้นตอนก่อนนี้ได้อย่างไร

  • ท่านจะทำอะไรได้บ้างเพื่อรับการปกป้องของพระเยซูคริสต์ในการต่อสู้กับซาตาน?

ในการประยุกต์ใช้ความจริงนี้หลายๆ วิธี ท่านอาจจะคิดว่าการปกป้องของพระผู้ช่วยให้รอดมีให้ผ่านการกระทำที่ซื่อสัตย์ เช่น การสวดอ้อนวอน (ดู หลักคำสอนและพันธสัญญา 10:5) การศึกษาพระคัมภีร์ (ดู 1 นีไฟ 15:24) หรือการรักษาพระบัญญัติของพระเจ้า (ดู โมไซยาห์ 2:41)

ฝึกเปรียบพระคัมภีร์อีกครั้ง

สิ่งต่อไปนี้มุ่งหมายจะช่วยให้นักเรียนใช้ทักษะการเปรียบพระคัมภีร์ด้วยตนเอง หากจำเป็น ท่านจะมอบหมายให้นักเรียนทำงานเป็นคู่หรือเป็นกลุ่ม ให้ดูข้อพระคัมภีร์ต่อไปนี้ และพูดถึงสี่ขั้นตอนที่ให้ดูตอนต้นบทเรียนเพื่อให้พวกเขาใช้ขั้นตอนเหล่านั้นขณะศึกษา

เลือกข้อต่อไปนี้อย่างน้อยสองชุด และฝึกใช้สี่ขั้นตอนของการเปรียบพระคัมภีร์ขณะศึกษา

แอลมา 48:7–9; 49:13–15

แอลมา 48:14–16

แอลมา 49:1–5, 8–9

แอลมา 49:18–23

แอลมา 50:1–6

แอลมา 50:17–23

เปิดโอกาสให้นักเรียนแบ่งปันสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการศึกษา ท่านอาจจะเพิ่มข้อคิดที่ท่านได้จากข้อเหล่านี้

  • ท่านค้นพบรายละเอียดสำคัญๆ อะไรบ้างจากเรื่องราวที่ศึกษา?

  • ท่านเปรียบเทียบอะไรบ้างระหว่างรายละเอียดเหล่านั้นกับแง่มุมต่างๆ ของชีวิตท่าน?

  • บทเรียนหนึ่งบทหรือมากกว่านั้นที่ท่านเรียนรู้จากเรื่องราวนี้คืออะไร?

  • ท่านจะประยุกต์ใช้บทเรียนเหล่านี้กับชีวิตท่านได้อย่างไร?