ภาคผนวก
บันทึกติดตามการหางาน
วัน 1 | ||
---|---|---|
แหล่งข้อมูล: |
□ □□ □ □ □ □ □ □ □ □ □ □□ □ |
ผลรวมประจำวัน |
การติดต่อ: |
□ □ □ □ □ □ □ □ □ □ |
ผลรวมประจำวัน |
การเข้าพบ: |
□ □ |
ผลรวมประจำวัน |
หมายเหตุ: |
วัน 2 | ||
---|---|---|
แหล่งข้อมูล: |
□ □ □ □ □ □ □ □ □ □ □ □ □ □ □ |
ผลรวมประจำวัน |
การติดต่อ: |
□ □ □ □ □ □ □ □ □ □ |
ผลรวมประจำวัน |
การเข้าพบ: |
□ □ |
ผลรวมประจำวัน |
หมายเหตุ: |
วัน 3 | ||
---|---|---|
แหล่งข้อมูล: |
□ □ □ □ □ □ □ □ □ □ □ □ □ □ □ |
ผลรวมประจำวัน |
การติดต่อ: |
□ □ □ □ □ □ □ □ □ □ |
ผลรวมประจำวัน |
การเข้าพบ: |
□ □ |
ผลรวมประจำวัน |
หมายเหตุ: |
วัน 4 | ||
---|---|---|
แหล่งข้อมูล: |
□ □ □ □ □ □ □ □ □ □ □ □ □ □ □ |
ผลรวมประจำวัน |
การติดต่อ: |
□ □ □ □ □ □ □ □ □ □ |
ผลรวมประจำวัน |
การเข้าพบ: |
□ □ |
ผลรวมประจำวัน |
หมายเหตุ: |
วัน 5 | ||
---|---|---|
แหล่งข้อมูล: |
□ □ □ □ □ □ □ □ □ □ □ □ □ □ □ |
ผลรวมประจำวัน |
การติดต่อ: |
□ □ □ □ □ □ □ □ □ □ |
ผลรวมประจำวัน |
การเข้าพบ: |
□ □ |
ผลรวมประจำวัน |
หมายเหตุ: |
แบบฟอร์มติดตามผลการติดต่อ
การติดต่อ
บุคคลหรือองค์กร
โทรศัพท์:
ที่อยู่:
อีเมล:
คนแนะนำให้ฉันคือ:
ฉันติดต่อบุคคลนี้แล้ว
-
ใช่
-
ไม่
วันเดือนปี:
เรื่องที่สนทนา
1.
2.
3.
กิจกรรมติดตามผล
1.
2.
3.
คนใหม่ที่มีผู้แนะนำให้ติดต่อ
1. ชื่อ:
โทรศัพท์:
โทรสาร:
อีเมล:
ที่อยู่:
2. ชื่อ:
โทรศัพท์:
โทรสาร:
อีเมล:
ที่อยู่:
การประเมินการสัมภาษณ์และการเข้าพบ
วันเดือนปี
ทำสำเนาแบบฟอร์มนี้ก่อนกรอกข้อมูล ใช้แบบฟอร์มนี้ประเมินการสัมภาษณ์และการเข้าพบของท่านและติดตามความก้าวหน้าของท่าน เพิ่มคนใหม่ที่มีผู้แนะนำให้ติดต่อในรายชื่อเครือข่ายของท่าน
บุคคลหรือองค์กร:
ฉันพร้อม
-
ใช่
-
ไม่
-
ความเห็น:
ฉันบรรลุวัตถุประสงค์ของฉัน
-
ใช่
-
ไม่
-
ความเห็น:
ฉันนำเสนอตนเองได้ดี
-
ใช่
-
ไม่
-
ความเห็น:
เรื่องที่สนทนา:
1.
2.
3.
สิ่งที่สำเร็จด้วยดี
สิ่งที่ต้องปรับปรุง
กิจกรรมติดตามผล:
1.
2.
3.
คนใหม่ที่มีผู้แนะนำให้ติดต่อ:
1. ชื่อ:
โทรศัพท์:
โทรสาร:
อีเมล:
ที่อยู่:
2. ชื่อ:
โทรศัพท์:
โทรสาร:
อีเมล:
ที่อยู่:
การสร้างเครือข่ายขั้นสูง
ค้นหาผู้ทำการตัดสินใจ
-
อ่าน:นอกจากพูดคุยกับคนรู้จักแล้วท่านควรติดต่อธุรกิจต่างๆ ด้วย เมื่อท่านติดต่อธุรกิจ ความพยายามของท่านจะได้ผลมากยิ่งขึ้นถ้าท่านพูดคุยกับคนที่ทำการตัดสินใจจัดจ้าง ใช้อินเทอร์เน็ตและไซต์สื่อสังคมแบบมืออาชีพค้นหาคนที่ท่านควรพูดคุยด้วย
ตัวอย่างเช่น จอชต้องการทำงานเป็นช่างเทคนิคดูแลคอมพิวเตอร์ เขาอาจจะมองหาบริษัทหนึ่งและพยายามหาชื่อผู้จัดการแผนกเทคโนโยลีสารสนเทศ เขาอาจจะเช็คทำเนียบรายชื่อบริษัทหรือค้นหาคนผ่านบริษัทบนไซต์สื่อสังคม จากนั้นโทรไปที่บริษัทและขอคุยกับคนเหล่านี้ตามชื่อที่พบ เมื่อท่านใช้ชื่อ น่าแปลกที่บริษัทมักจะต่อสายให้ท่านพูดกับบุคคลนั้นโดยตรง
แต่ละธุรกิจและแต่ละคนที่ท่านค้นหาคือแหล่งข้อมูล การปฏิสัมพันธ์แต่ละครั้งกับธุรกิจหรือบุคคลที่ทำธุรกิจนั้นคือการติดต่อ ยิ่งท่านติดต่อกับธุรกิจและบุคคลที่ทำธุรกิจนั้นเป็นส่วนตัวมากเท่าใด ท่านจะยิ่งได้งานเร็วเท่านั้น
ใช้บทพูด
-
อ่าน:การเขียนบทพูดเป็นวิธีเตรียมตัวที่ดีมากสำหรับการปฏิสัมพันธ์ที่มีประสิทธิภาพ จะช่วยให้ท่านมั่นใจมากขึ้นและมีความสำเร็จมากขึ้น เพื่อช่วยท่านเรื่องนี้ ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างบทพูดสามตอนสำหรับการติดต่อบุคคลหรือธุรกิจ
ติดต่อคนที่ท่านรู้จัก
พูดว่า “สวัสดีครับ (ชื่อคนที่ท่านติดต่อ) ผม (ชื่อของท่าน) ผมขอคุยกับคุณสักครู่ได้ไหมครับ”
อธิบายสั้นๆ ว่าเหตุใดท่านจึงโทรมา (อย่านานเกิน 15 วินาที)
ใช้ข้อความ30 วินาทีนี่คือฉัน
ใช้คำถามทิ้งท้ายเพื่อขอความช่วยเหลือ (จำไว้ว่าต้องพูดถึงคนที่ท่านติดต่อ คนที่แนะนำ และข้อมูลเรื่องงานด้วย)
ขอบคุณสำหรับเวลาของบุคคลที่ท่านติดต่อ
ติดต่อคนที่แนะนำท่านให้ไปพบ
พูดว่า “สวัสดีครับ ผมชื่อ (ชื่อคนที่ท่านติดต่อ) (ชื่อของท่าน) และ (ชื่อคนที่แนะนำท่านให้ติดต่อมา) แนะนำให้ผมโทรหาคุณ ผมขอคุยด้วยสักครู่ได้ไหมครับ”
อธิบายสั้นๆ ว่าเหตุใดท่านจึงโทรมา (อย่านานเกิน 15 วินาที)
ใช้ข้อความ 30 วินาทีนี่คือฉันของท่าน
ใช้คำถามปิดท้ายเพื่อขอความช่วยเหลือ (จำไว้ว่าต้องถามรายชื่อคนติดต่อ รายชื่อคนแนะนำ และข้อมูลการหางานด้วย)
ถ้าคนที่ท่านกำลังคุยด้วยเอ่ยถึงงานภายในที่เปิดรับ จงขอรับการสัมภาษณ์ (ท่านต้องเสนอสองทางเลือกสำหรับเวลาพบกัน)
ขอบคุณสำหรับเวลาของบุคคลที่ท่านติดต่อ
ติดต่อคนที่ท่านไม่รู้จัก (ธุรกิจ)
ขอชื่อเจ้าของ ผู้จัดการ หรือหัวหน้างาน
พูดว่า “ขอบคุณครับ ผมขอเรียนสายกับ (ชื่อหัวหน้างาน) ครับ”
เมื่อหัวหน้างานรับสาย ให้พูดว่า “สวัสดีครับ คุณ (ชื่อหัวหน้างาน) ผม (ชื่อของท่าน) ครับ ผมขอคุยด้วยสักครู่ได้ไหมครับ”
อธิบายสั้นๆ ว่าเหตุใดท่านจึงโทรมา (อย่านานเกิน 15 วินาที)
ใช้ข้อความ 30 วินาทีนี่คือฉันของท่าน
ใช้คำถามปิดท้ายเพื่อขอความช่วยเหลือ (รวมถึงรายชื่อคนติดต่อ ข้อมูลการหางาน การสัมภาษณ์เพื่อขอข้อมูล และอื่นๆ)
ถ้าคนที่ท่านกำลังคุยด้วยเอ่ยถึงงานภายในที่เปิดรับ จงขอรับการสัมภาษณ์ (ท่านต้องเสนอสองทางเลือกสำหรับเวลาพบกัน)
ขอบคุณสำหรับเวลาของบุคคลที่ท่านตืดต่อ
การสัมภาษณ์เพื่อขอข้อมูล
-
อ่าน:การสัมภาษณ์เพื่อขอข้อมูลเป็นเครื่องมือการสร้างเครือข่ายที่ได้ผลอีกอย่างหนึ่ง ในการสัมภาษณ์เพื่อขอข้อมูล ท่านพบกับคนนั้นเพื่อขอคำแนะนำเรื่องงานของท่าน เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับพวกเขาหรืองานของพวกเขา และสานสัมพันธ์อันดี การสัมภาษณ์ดังกล่าวเหมือนการสัมภาษณ์งานมาก แต่ทั้งสองฝ่ายมีแรงกดดันน้อยกว่าเพราะไม่จำเป็นต้องมีงานเข้ามาเกี่ยวข้อง อย่างไรก็ดี ถ้าท่านทำดี ก็เหมือนท่านเพิ่งรับการสัมภาษณ์คัดกรองครั้งใหญ่ และท่านอาจได้รู้จักคนมากขึ้นและได้รับโอกาสมากขึ้น การสัมภาษณ์เหล่านี้เป็นวิธีสร้างความสัมพันธ์แบบเครือข่ายที่ดีเยี่ยม
ไมเคิลเล่าประสบการณ์ต่อไปนี้ว่าการสัมภาษณ์เพื่อขอข้อมูลทำให้เขาประสบความสำเร็จเหลือเชื่อในการหางานและอาชีพอย่างไร
“เมื่อผมหางาน ผมเรียนรู้ว่าการบรรจุตำแหน่งส่วนใหญ่ไม่มีการประกาศรับสมัคร ผมรู้ว่าต้องมีโอกาสให้ผมที่นั่น ถ้าผมสามารถติดต่อถูกคน ผมเชื่อมั่นว่าผมสามารถสร้างความประทับใจอันดีได้ บางคนที่ผมติดต่อด้วยแนะนำให้ผมติดต่อคนที่พวกเขารู้จักซึ่งกำลังทำงานในอุตสาหกรรมที่ผมสนใจ ผมติดต่อพวกเขาทางโทรศัพท์ อีเมล หรือเข้าพบด้วยตนเอง ผมอธิบายว่าผมสนใจธุรกิจหรือบริษัทนั้น และถามว่าผมจะขอเวลา 15 นาทีได้ไหม แทบทุกคนยอมรับ!
“ผมเรียนรู้อย่างรวดเร็วว่าผมต้องเตรียมให้พร้อมสำหรับการสนทนาเหล่านี้และเตรียมคำถามบางข้อไว้ด้วย ผมเรียนรู้เช่นกันว่าการสนทนาเหล่านี้เป็นกระบวนการคัดกรอง เหมือนการสัมภาษณ์ครั้งแรกมาก พวกเขากำลังประเมินผมเพื่อดูว่าผมจะเหมาะกับบริษัทของพวกเขาหรือไม่ ถ้าพวกเขาชอบผม เราจะคุยกันอีกรอบหรือไม่พวกเขาก็จะแนะนำผมให้ติดต่อเพิ่ม ผมเริ่มตระหนักว่าการสัมภาษณ์เพื่อขอข้อมูลทำให้ผมสามารถเปิดโอกาสได้รับคัดเลือกโดยไม่ต้องรอการสัมภาษณ์งานอย่างเป็นกิจลักษณะ การสัมภาษณ์เพื่อขอข้อมูลของผมเริ่มเปลี่ยนเป็นการสัมภาษณ์งานจริงๆ ซึ่งทั้งหมดเป็นงานที่ไม่ได้ประกาศรับสมัคร ส่งผลให้ผมได้งานสี่แห่งในหนึ่งสัปดาห์! นับแต่นั้น ทุกครั้งที่ผมได้เลื่อนตำแหน่งหรือทุกงานที่ผมได้รับล้วนมาจากการสร้างเครือข่ายและการสัมภาษณ์เพื่อขอข้อมูล”
การสัมภาษณ์เพื่อขอข้อมูล: ข้อเสนอแนะเพื่อความสำเร็จ
-
อ่าน:จำไว้ว่า เมื่อท่านเริ่มการสัมภาษณ์เพื่อขอข้อมูล คนที่ท่านเข้าพบกำลังช่วยเหลือท่าน ต่อไปนี้เป็นข้อเสนอแนะบางประการที่จะช่วยให้ท่านใช้เวลาของบุคคลนั้นคุ้มที่สุดและมีประสบการณ์ที่ดี ผลัดกันอ่านข้อเสนอแนะคนละหนึ่งข้อขณะท่านเดินรอบๆ กลุ่ม
-
ใช้บทพูด (ดู หน้า 198–200) ขอสัมภาษณ์เพื่อขอข้อมูล
-
สืบหาข้อมูลเกี่ยวกับกิจการหรือบริษัทของบุคคลนั้นล่วงหน้า
-
เตรียมคำถามที่เหมาะสมล่วงหน้า
-
หากจำเป็น ให้ติดต่อหลายๆ คนเพื่อขอรับการสัมภาษณ์
-
อย่าขอเวลาของบุคคลนั้นเกิน 15 ถึง 30 นาที
-
อย่าเกินเวลาที่ได้ตกลงไว้
-
เตรียมให้พร้อมตอบคำถามต่อไปนี้
-
คุณบอกเราสักเล็กน้อยเกี่ยวกับตัวคุณได้ไหม
(ใช้ 30 วินาทีนี่คือฉันของท่าน) -
ทำไมคุณสนใจงานนี้
-
-
ขณะการสนทนาดำเนินอยู่นั้น ท่านอาจจะขอข้อมูลการหางานและการติดต่ออื่นๆ ได้ตามสมควร
-
ติดตามผลทันทีพร้อมคำขอบคุณ
-
ทำตามคำมั่นสัญญาทั้งหมดที่ท่านให้ไว้
-
เอกสารเป็นลายลักษณ์อักษร
ตัวอย่างความสำเร็จในเรซูเม่
-
ระดมทุนได้เกินปีละ 10,000 ดอลลาร์เป็นเวลาห้าปีผ่านการวางแผนงาน การสื่อสาร และการเกณฑ์อาสาสมัคร (มารดา)
-
ได้เกรดเฉลี่ย 3.5 ช่วงเรียนมัธยมปลายขณะทำงานและเล่นกีฬาหลายประเภทไปด้วยโดยวางแผนและจัดลำดับความสำคัญของกิจกรรมและหน้าที่ต่างๆ (นักเรียน)
-
ประหยัดเงินได้มากกว่า 200,000 ดอลลาร์ในปีแรกด้วยการบริหารงบอย่างดีและควบคุมต้นทุนให้ดีขึ้น (ผู้จัดการฝ่ายธุรกิจ)
-
คุณภาพการเชื่อมชิ้นโลหะหายากหลายพันครั้งมีมากถึง 99 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับคุณภาพเฉลี่ยของบริษัทคือ 92 เปอร์เซ็นต์ (ช่างบัดกรี)
เกร็ดความรู้เรื่องเรซูเม่
-
เขียนตรงกับความต้องการของนายจ้าง นายจ้างส่วนใหญ่ใช้เวลาอ่านเรซูเม่ของท่านไม่ถึง 10 วินาที ท่านจึงต้องทำให้พวกเขาเห็นได้ง่ายว่าท่านเหมาะกับงานนั้นอย่างไร
-
ข้อมูลสำคัญที่สุดอยู่ด้านบนซ้ายของเรซูเม่ เมื่อนายจ้างดูเรซูเม่ของท่านคร่าวๆ พวกเขาจะดูด้านบนซ้ายก่อน ฉะนั้นจงวางข้อมูลสำคัญที่สุดไว้ตรงนั้น
-
ใช้จุดดำ ไม่ใช่ย่อหน้า นั่นจะทำให้นายจ้างหาข้อมูลได้ง่าย
-
จัดรูปแบบให้ติดตามง่าย จัดเรียงเรซูเม่ของท่านแบบขั้นบันได โดยให้ข้อมูลประเภทเดียวกันอยู่แนวเดียวกันเพื่อนายจ้างจะหาและเข้าใจสาระสำคัญของท่านได้อย่างที่คาดไว้
-
อย่าใช้เทมเพลตเรซูเม่ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่นายจ้างใช้อ่านเรซูเม่เรียกว่าระบบติดตามผู้สมัคร (ATS) ระบบนี้อ่านเทมเพลตไม่ได้ และปกติเทมเพลตดูไม่ดีเท่าเรซูเม่ที่ท่านสร้างขึ้นเอง
-
อย่าเขียนจุดมุ่งหมาย จุดมุ่งหมายเป็นเรื่องล้าสมัยไปแล้ว และท่านอาจจะถูกคัดออกเพราะเรซูเม่ไม่ทันสมัย
-
เขียนสรุปให้ตรงตามความต้องการของนายจ้าง ใช้หนึ่งในสี่ถึงหนึ่งในสามของหน้ากระดาษด้านบนเขียนสรุปให้อ่านง่าย มีหัวเรื่อง ใจความสรุป และคำสำคัญรวมอยู่ด้วย
-
ใช้คำสำคัญจากรายละเอียดของงาน คำสำคัญดึงดูดความสนใจของนายจ้าง และ ATS โปรแกรมไว้ให้ค้นหาคำเหล่านั้น
-
บอกความสำเร็จของท่านโดยใช้คำพูดโดนใจฉบับเรซูเม่ คำพูดโดนใจเหล่านี้ควรมีรายละเอียดเกี่ยวกับตัวเลข เปอร์เซ็นต์ จำนวนเงินดอลลาร์ และอื่นๆ
-
ให้บริบท ท่านทำให้ตนเองโดดเด่นกว่าเพื่อนโดยให้การเปรียบเทียบหรือภูมิหลังเล็กๆ น้อยๆ ของสถานการณ์
-
ระบุประสบการณ์การศึกษาทั้งหมด แม้จะยังศึกษาอยู่ พึงใส่หมายเหตุว่ากำลังศึกษาอยู่หรือมีวันสำเร็จการศึกษาที่คาดการณ์ไว้
-
เรียงเรซูเม่ให้เป็นระเบียบ วางหัวเรื่องให้ตรงกัน จัดรูปแบบให้ตรงกัน และพื้นขาว
-
แน่ใจว่าไม่มีคำสะกดผิดหรือเขียนผิดไวยากรณ์ ข้อผิดพลาดเหล่านี้จะทำให้ท่านถูกคัดออกอย่างรวดเร็ว
-
ใช้แบบอักษรที่อ่านง่าย ใช้ฟอนต์ serif หรือ sans serif เป็นหลัก
-
อย่าใช้ขนาดอักษรต่ำกว่า 11 จุด ท่านต้องทำให้นายจ้างอ่านเรซูเม่ของท่านได้ง่ายที่สุด
-
ความยาวของเรซูเม่ไม่เกินหนึ่งหน้า ใช้หนึ่งหน้าเป็นหลักจนกว่าท่านมีประสบการณ์อาชีพที่เกี่ยวข้องอย่างน้อยเจ็ดปี
-
ใช้หัวเรื่องเดียวกันสำหรับเอกสารอาชีพทั้งหมดของท่าน หัวเรื่องคือส่วนของเรซูเม่ที่ปกติจะระบุชื่อและข้อมูลติดต่อของท่าน
-
อย่าเขียนชื่อบุคคลที่แนะนำงานให้ไว้ในเรซูเม่ของท่าน นายจ้างคิดว่าท่านมีบุคคลที่แนะนำงานให้ และถ้าพวกเขาต้องการ พวกเขาจะขอ
-
เปลี่ยนเรซูเม่ของท่านเป็นไฟล์พีดีเอฟ ถ้าท่านอีเมลหรือส่งเรซูเม่ทางอิเล็กทรอนิกส์ ให้เปลี่ยนเป็นเอกสารไฟล์พีดีเอฟ ถ้าท่านไม่เปลี่ยน อย่าเสี่ยงเพราะซอฟต์แวร์ของนายจ้างอาจไม่ตรงกับซอฟต์แวร์ของท่าน ส่งผลให้การจัดรูปแบบเปลี่ยนไปและนายจ้างไม่สามารถอ่านเรซูเม่ของท่านได้
-
ขอความช่วยเหลือเรื่องการใช้คอมพิวเตอร์ หาเพื่อน ครอบครัว แหล่งช่วยชุมชน หรือเครื่องมือออนไลน์มาช่วยท่านสร้างเอกสารที่ดูดี
เกร็ดความรู้เรื่องจดหมายปะหน้า
-
เขียนเจาะจงธุรกิจ องค์กร หรือโอกาสการทำงาน
-
ใช้คำพูดโดนใจดึงความสนใจของผู้อ่านและทำให้ท่านโดดเด่น ทำให้สไตล์การเขียนจดหมายปะหน้าของท่านเรียบง่ายตรงไปตรงมา
-
เขียนให้กระชับ โดยปกติจดหมายปะหน้าไม่ควรเกินสามย่อหน้าและไม่เกินครึ่งหน้ากระดาษ
-
ขอรับการสัมภาษณ์
-
ใช้หัวเรื่องเดียวกันสำหรับเอกสารอาชีพทั้งหมดของท่าน หัวเรื่องคือส่วนของเรซูเม่ที่ปกติจะระบุชื่อและข้อมูลติดต่อของท่าน
เกร็ดความรู้เรื่องใบสมัครงาน
-
เขียนให้ตรงกับงาน
-
ใช้ความสำเร็จอธิบายประสบการณ์การทำงานของท่าน
-
กรอกข้อมูลให้ถูกต้องครบถ้วน
-
แน่ใจว่าไม่มีคำสะกดผิดหรือเขียนผิดไวยากรณ์
-
ค้นหาคำสำคัญและใช้ในใบสมัครของท่าน
เรซูเม่แบบเน้นประวัติการทำงาน
เรซูเม่แบบเน้นประวัติการทำงานจะระบุประสบการณ์การทำงานของท่านเรียงตามลำดับโดยเริ่มจากตำแหน่งล่าสุด
โดยพื้นฐานแล้วเรซูเม่แบบนี้เอื้ออำนวยให้ท่านได้แสดงประวัติการทำงานอย่างครบถ้วน แต่อาจไม่ได้แสดงให้เห็นว่าท่านเหมาะกับตำแหน่งที่ท่านกำลังสมัครมากที่สุดอย่างไร
เรซูเม่แบบเน้นทักษะ
เรซูเม่แบบเน้นทักษะจะระบุทักษะและประสบการณ์ที่เกี่ยวข้อง เรซูเม่แบบนี้เอื้ออำนวยให้ท่านเน้นว่าท่านเหมาะกับตำแหน่งที่กำลังสมัครมากที่สุดอย่างไร
เรซูเม่แบบผสมผสาน
เรซูเม่แบบผสมผสานจะระบุทักษะ ประสบการณ์ และประวัติการทำงานของท่าน เรซูเม่แบบนี้เอื้ออำนวยให้ท่านเน้นว่าท่านเหมาะกับงานที่ท่านกำลังสมัครมากที่สุดอย่างไรแต่ยังคงให้ประวัติการทำงานเรียงตามลำดับเช่นกัน
หน้า 2 อยู่หน้าถัดไป
ตัวอย่างจดหมายปะหน้า 1
ตัวอย่างจดหมายปะหน้า 2
ตัวอย่างจดหมายปะหน้า 3
การพลิกวิกฤติเป็นโอกาส
วิกฤติที่อาจเกิดขึ้น |
ข้อกังวลจริงๆ ของนายจ้างอาจได้แก่ |
---|---|
คุณสมบัติมากเกินไป |
คาดหวังเงินเดือนสูง จะเลื่อนตำแหน่งเร็ว |
ช่องว่างในประวัติการทำงาน |
อาจไม่น่าเชื่อถือ จะทำงานไม่นาน |
ไม่มีประสบการณ์ตรง |
การอบรมอาจจะมีราคาสูงและใช้เวลานาน ไม่สามารถทำงานได้ |
พนักงานอายุน้อย |
ขาดวุฒิภาวะ ขาดประสบการณ์ |
พนักงานอายุมาก |
ทักษะล้าสมัย อาจออกจากตำแหน่งเร็ว |
ขาดประสบการณ์การทำงาน |
ความสามารถในการเรียนรู้ การปรับตัวเข้ากับงาน จรรยาบรรณในการทำงาน |
ขาดปริญญาหรือประกาศนียบัตร |
ความรู้ไม่มากพอจะทำงาน อาจต้องได้รับการอบรม |
ทำหลายงานในช่วงเวลาสั้นๆ |
อาจออกจากตำแหน่งเร็ว ขาดความตั้งใจ |
เคยถูกไล่ออกหรือถูกเลิกจ้างมาก่อน |
เข้ากับคนอื่นไม่ได้ จรรยาบรรณในการทำงานไม่ดี |
ว่างงานมาพักใหญ่ |
ทักษะล้าสมัย การปรับตัวเข้ากับงาน อาจต้องได้รับการอบรม |
ประวัติอาชญากรรม |
ไม่น่าไว้ใจ |
ดูต่อในหน้าถัดไป
ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างคำถามสัมภาษณ์ซึ่งท่านจะต้องพลิกวิกฤตเป็นโอกาส
-
ทำไมคุณออกจากตำแหน่งที่แล้ว
-
อะไรเป็นความล้มเหลวครั้งใหญ่ที่สุดของคุณในการทำงาน และคุณเรียนรู้อะไรจากความล้มเหลวนั้น
-
จุดอ่อนที่สุดของคุณคืออะไร
-
เล่าให้ผมฟังหน่อยครับเวลาคุณไม่เห็นด้วยกับเจ้านาย
-
เล่าให้ผมฟังหน่อยครับเวลาคุณทำงานกับลูกค้าหรือผู้ร่วมงานที่ทำงานด้วยยาก
เจรจาต่อรองอย่างมีประสิทธิภาพ
ท่านต้องตอบคำถามหลายข้อด้วยตนเองก่อนเข้าสู่การเจรจาต่อรองเรื่องการจ้างงาน ข้อต่อไปนี้อาจเป็นประโยชน์
-
ค่าตอบแทนขั้นต่ำสุดที่คุณยอมรับได้คือเท่าไร
-
โดยทั่วไปธุรกิจนั้นจ่ายอะไรตอบแทนทักษะของคุณ
-
ผลประโยชน์อะไรสำคัญต่อคุณบ้าง
-
บริการด้านสุขภาพ
-
ลาก่อนเกษียณ
-
ลาป่วย
-
ลาพักร้อน
-
โบนัส
-
-
คุณรู้สึกอย่างไรกับการเดินทางไปกลับจากที่ทำงาน
-
คุณรู้สึกอย่างไรกับตารางการทำงาน
นึกถึงด้านที่อาจทำให้เกิดปัญหา จากนั้นให้เขียนทางเลือกหลายๆ ทางเพื่อแก้ปัญหาเหล่านั้น