เซมินารี
ลูกา 11:1–13


ลูกา 11:1–13

“องค์พระผู้เป็นเจ้า ขอทรงสอนพวกข้าพระองค์อธิษฐาน”

Two girls, likely sisters, kneel next to each other at a bed, praying. There are blankets folded up at the head of the bed. Behind them is a wardrobe.

หลังจากได้ยินพระเยซูทรงสวดอ้อนวอน “สาวกของพระองค์คนหนึ่งทูลว่า องค์พระผู้เป็นเจ้า ขอทรงสอนพวกข้าพระองค์อธิษฐาน” (ลูกา 11:1) พระเยซูทรงตอบด้วยคำสอนที่ลึกซึ้งซึ่งจะช่วยทำให้ความเชื่อมโยงระหว่างเรากับพระบิดาบนสวรรค์เข้มแข็งขึ้นโดยผ่านคำสวดอ้อนวอน บทเรียนนี้สามารถช่วยท่านทำให้คำสวดอ้อนวอนของท่านมีความหมายมากขึ้น

การเตรียมของนักเรียน: เชื้อเชิญให้นักเรียนใคร่ครวญสิ่งที่พวกเขาเคยทำเพื่อให้คำสวดอ้อนวอนมีความหมายมากขึ้น

กิจกรรมการเรียนรู้ที่อาจทำได้

พระเจ้าทรงสอนเกี่ยวกับการสวดอ้อนวอน

ท่านอาจวาดเส้นแนวนอนหนึ่งเส้นบนกระดาน ด้านหนึ่งของเส้นเขียนว่า การสวดอ้อนวอนเป็นเรื่องง่าย และอีกด้านหนึ่งเขียนว่า การสวดอ้อนวอนเป็นเรื่องยาก ขอให้นักเรียนมาที่กระดานและเขียนหนึ่งคำหรือหนึ่งวลีที่ใดก็ได้บนเส้นซึ่งอธิบายว่าเหตุใดการสวดอ้อนวอนอาจมองว่าง่ายหรือยาก สังเกตคำตอบของนักเรียนและให้ความยืดหยุ่นในบทเรียนเพื่อตอบข้อกังวลและคำถามของพวกเขา

ใคร่ครวญคำตอบของคำถามสองข้อต่อไปนี้

  • เหตุใดการสวดอ้อนวอนจึงง่าย?

  • เหตุใดการสวดอ้อนวอนจึงยาก?

การสวดอ้อนวอนจะเรียบง่ายและตรงไปตรงมาได้แต่ลึกซึ้งและด้วยความเพียรพยายามมากด้วย ขณะท่านเรียนรู้จากคำสอนของพระผู้ช่วยให้รอดเกี่ยวกับการสวดอ้อนวอน ขอให้แสวงหาการเปิดเผยว่าจะทำให้คำสวดอ้อนวอนมีความหมายมากขึ้นได้อย่างไรอ่าน ลูกา 11:1 โดยมองหาคำขอของสานุศิษย์คนหนึ่งของพระผู้ช่วยให้รอดที่ทูลขอพระองค์

พระเยซูทรงตอบด้วยสิ่งที่กลายเป็นที่รู้จักกันในชื่อว่าคำสวดอ้อนวอนของพระเจ้า พระองค์ประทานคำสวดอ้อนวอนนี้ระหว่างคำเทศนาบนภูเขาเช่นกัน (ดู มัทธิว 6:9–13) บางคนรู้สึกว่าพระเยซูตั้งพระทัยให้ท่องจำและกล่าวซ้ำคำสวดอ้อนวอนนี้ แต่ดังที่ประธานรัสเซลล์ เอ็ม. เนลสันสอน “การสวดอ้อนวอนของพระเจ้าจึงเป็นแบบฉบับให้ทำตามไม่ใช่ให้ท่องจำหรือท่องให้ฟัง” (“บทเรียนจากคำสวดอ้อนวอนของพระเจ้า,” เลียโฮนา, พ.ค. 2009, 57) หลังจากพระเยซูประทานคำสวดอ้อนวอนของพระเจ้าเป็นตัวอย่างวิธีสวดอ้อนวอนแล้ว พระองค์ทรงเสนอคำสอนที่เป็นแรงบันดาลใจอื่นๆ เกี่ยวกับการสวดอ้อนวอน

เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการสวดอ้อนวอน

เพื่อค้นหาความจริงที่อาจช่วยท่านได้ อ่านคำถามต่อไปนี้ เลือกคำถามที่ท่านต้องการเรียนรู้เพิ่มเติมและอ่านข้อความพระคัมภีร์ที่มาด้วยกัน

  • ฉันจะเรียนรู้อะไรได้บ้างจากแบบอย่างการสวดอ้อนวอนของพระผู้ช่วยให้รอด? ( ลูกา 11:2–4 ; มัทธิว 6:9–13)

  • พระผู้ช่วยให้รอดทรงสัญญาอะไรเกี่ยวกับการสวดอ้อนวอน? ( ลูกา 11:9–13 )

  • พระผู้ช่วยให้รอดทรงเตือนเราไม่ให้ทำสิ่งใดในการสวดอ้อนวอนของเรา? ( มัทธิว 6:7–8)

ท่านอาจเชื้อเชิญให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้ลงในสมุดบันทึกการศึกษาหรือสนทนาเป็นชั้นเรียน

  • ความจริงหนึ่งอย่างที่ท่านเรียนรู้เกี่ยวกับการสวดอ้อนวอนจากข้อพระคัมภีร์เหล่านี้คืออะไร?

  • ท่านมีประสบการณ์อะไรบ้างกับความจริงนี้?

  • ท่านเรียนรู้อะไรเกี่ยวกับพระบิดาบนสวรรค์จากข้อพระคัมภีร์เหล่านี้?

เชื้อเชิญนักเรียนที่เต็มใจหลายๆ คนให้แบ่งปันคำตอบของพวกเขา ท่านอาจเขียนความจริงที่พวกเขาเอ่ยถึงบนกระดาน

พิจารณาว่ากิจกรรมใดในสามกิจกรรมต่อไปนี้ที่อาจตรงกับความต้องการของนักเรียนมากที่สุด ทั้งชั้นเรียนอาจทำกิจกรรมหนึ่งร่วมกัน หรืออาจให้นักเรียนดูกิจกรรมเหล่านี้เพื่อให้แต่ละคนเลือกกิจกรรมที่ต้องการทำ

อีกทางเลือกหนึ่งคือ ท่านอาจจัดฐานการเรียนรู้ทั่วห้องโดยใช้กิจกรรมต่อไปนี้ เชื้อเชิญให้นักเรียนศึกษาแต่ละฐานคนเดียวหรือเป็นกลุ่มเล็กแล้วรายงานต่อชั้นเรียนว่าเรียนรู้อะไรบ้าง

เพิ่มพูนความรู้ของท่านให้ลึกซึ้ง

กิจกรรม ก: ฉันจะเรียนรู้อะไรได้บ้างจากแบบอย่างการสวดอ้อนวอนของพระผู้ช่วยให้รอด? ( ลูกา 11:2–4)

อ่านวลีต่อไปนี้ที่พระผู้ช่วยให้รอดทรงใช้ในคำสวดอ้อนวอนของพระองค์และเลือกสองวลีที่ท่านต้องการไตร่ตรอง

  • “ข้าแต่พระบิดา ขอให้พระนามของพระองค์เป็นที่เคารพสักการะ” ( ลูกา 11:2)

  • “ขอให้แผ่นดินของพระองค์มาตั้งอยู่” ( ลูกา 11:2)

  • (“พระประสงค์จะเกิดสัมฤทธิผลทั้งในสวรรค์และในแผ่นดินโลกด้วย”) (ดู ลูกา 11:2)

  • “ขอประ‌ทานอาหารประ‌จำวันแก่พวก‍ข้า‍พระ‍องค์ทุกๆ วัน” ( ลูกา 11:3)

  • “ขอทรงยกโทษบาปผิดของพวกข้าพระองค์ เพราะว่าพวกข้าพระองค์ยกโทษให้กับทุกคนที่เป็นหนี้ข้าพระองค์นั้น” ( ลูกา 11:4)

  • “และขออย่าได้ทรงยอมให้พวกข้าพระองค์ถูกนำไปสู่การล่อลวง (แต่ขอทรงปลดปล่อยพวกข้าพระองค์จากความชั่วร้าย)” (งานแปลของโจเซฟ สมิธ, มัทธิว 6:14 [ดู ลูกา 11:4 ด้วย])

โดยนึกถึงสองวลีที่ท่านเลือกไว้ ให้นึกถึงคำตอบของท่านสำหรับคำถามต่อไปนี้

  • ท่านจะสรุปความหมายของวลีเหล่านี้อย่างไร?

  • เมื่อใดที่ท่านสวดอ้อนวอนขอบางอย่างที่คล้ายกับสิ่งที่พระผู้ช่วยให้รอดทรงสวดอ้อนวอน? สิ่งนี้มีผลต่อท่านอย่างไร?

  • ทำไมท่านคิดว่าการสวดอ้อนวอนตามรูปแบบที่พระผู้ช่วยให้รอดประทานแก่เราจะเป็นประโยชน์?

หากท่านเลือกกิจกรรมนี้ ให้เขียนในสมุดบันทึกการศึกษาของท่านหนึ่งวิธีที่ท่านต้องการทำตามแบบอย่างของพระผู้ช่วยให้รอดในการสวดอ้อนวอนของท่าน

กิจกรรม ข: พระผู้ช่วยให้รอดทรงสัญญาเกี่ยวกับการสวดอ้อนวอนอย่างไร ? ( ลูกา 11:9–13)

ตามที่บันทึกไว้ใน ลูกา 11:9 พระเจ้าทรงสัญญาว่า “จงขอแล้วจะได้ จงหาแล้วจะพบ จงเคาะแล้วจะเปิดให้แก่ท่าน”

ท่านอาจเชิญนักเรียนสามคนโดยให้แต่ละคนแสดงว่าการขอ หา และเคาะจะเป็นอย่างไรก่อนถามคำถามต่อไปนี้

  • กิริยา “ขอ” “หา” และ “เคาะ” เหมือนกันอย่างไร? แตกต่างกันอย่างไร?

  • ถ้อยคำเหล่านี้จะช่วยให้ท่านเข้าใจวิธีสวดอ้อนวอนอย่างมีความหมายมากขึ้นได้อย่างไร?

จากนั้นพระเยซูทรงเปรียบเทียบความปรารถนาของพ่อผู้เป็นมนุษย์ที่จะมอบของขวัญแก่ลูกกับความปรารถนาของพระบิดาบนสวรรค์ที่จะประทานของขวัญแก่เรา ในงานแปลของโจเซฟ สมิธ พระเยซูทรงสอนว่าหากพ่อผู้เป็นมนุษย์ซึ่งไม่ดีพร้อม “รู้จักให้สิ่งดีแก่บุตร [ของเขา]” ( ลูกา 11:13) “แล้วพระบิดาบนสวรรค์ของเจ้าจะทรงมอบของประทานที่ดีผ่านทางพระวิญญาณศักดิ์สิทธิ์แก่คนเหล่านั้นที่ขอพระองค์ยิ่งกว่านั้นเพียงใด?” เป็นสิ่งสำคัญที่จะจดจำว่าพระบิดาบนสวรรค์ทรงตอบคำสวดอ้อนวอนในวิธีและเวลาของพระองค์เอง

  • ท่านคิดว่าของประทานประเภทใดที่พระบิดาบนสวรรค์ทรงต้องการมอบให้แก่ผู้ที่ขอและแสวงหาสิ่งเหล่านั้น? ท่านคิดว่าพระองค์ทรงต้องการมอบอะไรให้ท่าน?

ถ้าท่านเลือกกิจกรรมนี้ ให้เขียนในสมุดบันทึกการศึกษาของท่านเกี่ยวกับเวลาที่ท่านรู้สึกว่าได้รับคำตอบสำหรับคำสวดอ้อนวอนของท่าน หรืออธิบายสิ่งที่ท่านจะทำเพื่อหาคำตอบให้คำสวดอ้อนวอน

เขียนด้วยว่าการระลึกว่าพระผู้เป็นเจ้าทรงตอบคำสวดอ้อนวอนอาจช่วยให้การสวดอ้อนวอนในปัจจุบันของท่านมีความหมายมากขึ้นได้อย่างไร

กิจกรรม ค: พระผู้ช่วยให้รอดทรงเตือนเราไม่ให้ทำอะไรในการสวดอ้อนวอนของเรา? ( มัทธิว 6:7–8)

ในคำเทศนาบนภูเขา พระเยซูทรงสอนว่าเราไม่ควร “พูดพล่อยๆ ซ้ำซาก” ( มัทธิว 6:7) ในบริบทนี้ พล่อย หมายถึงว่างเปล่าหรือไร้ประโยชน์ การสวดอ้อนวอนโดยใช้คำพูดพล่อยๆ ซ้ำซากคือการสวดอ้อนวอนซ้ำเหมือนเดิมหรือใช้ถ้อยคำเดิมในการสวดอ้อนวอนแบบไม่คิด หากเราจริงใจในคำขอของเราถึงแม้คำสวดอ้อนวอนของเราจะซ้ำเหมือนเดิมแต่จะไม่ใช่การพูดพล่อยๆ ซ้ำซาก

  • การหลีกเลี่ยงที่จะพูดพล่อยๆ ซ้ำซากในคำสวดอ้อนวอนของเราอาจช่วยให้เราเข้าใกล้พระเจ้ามากขึ้นได้อย่างไร?

  • ท่านจะทำอะไรได้บ้างเพื่อช่วยให้ท่านหลีกเลี่ยงที่จะพูดพล่อยๆ ซ้ำซากขณะสวดอ้อนวอน?

นึกถึงตัวอย่างของการสวดอ้อนวอนที่ท่านกล่าวซึ่งมาจากการไตร่ตรองและมีความจริงใจ

  • การสวดอ้อนวอนด้วยวิธีนี้ส่งผลต่อท่านอย่างไร?

หากท่านเลือกกิจกรรมนี้ ให้เขียนในสมุดบันทึกการศึกษาของท่านวิธีหนึ่งที่ท่านต้องการทำตามคำสอนของพระผู้ช่วยให้รอดเพื่อหลีกเลี่ยงที่จะพูดพล่อยๆ ซ้ำซากในคำสวดอ้อนวอนของท่าน

เชื้อเชิญนักเรียนที่เต็มใจแบ่งปันสิ่งที่พวกเขาเรียนรู้ในวันนี้หรือสิ่งที่พวกเขาวางแผนที่จะทำเพื่อให้คำสวดอ้อนวอนของพวกเขามีความหมายยิ่งขึ้น ท่านอาจเป็นพยานถึงความสำคัญของคำสวดอ้อนวอนที่มีความหมายในการสร้างความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นกับพระบิดาบนสวรรค์

บทวิจารณ์และข้อมูลภูมิหลัง

1:47
2:49

หากฉันรู้สึกว่าคำสวดอ้อนวอนของฉันไม่ได้รับคำตอบเล่า?

เอ็ลเดอร์เจ. เดฟน์ คอร์นิชแห่งสาวกเจ็ดสิบสอนว่า

Official Portrait of Elder J. Devn Cornish. Photographed August 2017.

บางครั้งดูเหมือนเราไม่ได้รับคำตอบสำหรับการสวดอ้อนวอนที่จริงใจและด้วยสุดจิตสุดใจ เราต้องใช้ศรัทธาที่จะระลึกว่าพระเจ้าทรงตอบในเวลาของพระองค์และในวิธีของพระองค์เพื่อจะเป็นพรอันประเสริฐสุดสำหรับเรา หรือเมื่อคิดไกลไปกว่านั้นเรามักจะตระหนักว่าเราทราบดีอยู่แล้วว่าเราควรทำสิ่งใด

โปรดอย่าท้อใจถ้าสิ่งเหล่านี้ไม่ได้เกิดผลทั้งหมดกับท่านโดยทันที ดังเช่นการเรียนภาษาต่างประเทศต้องใช้การฝึกฝนและความพยายาม ถึงกระนั้นขอให้ท่านทราบว่าท่านสามารถเรียนภาษาของพระวิญญาณได้ เมื่อท่านทำได้ท่านจะมีศรัทธายิ่งใหญ่และพลังในความชอบธรรม

(เจ. เดฟน์ คอร์นิช, “สิทธิพิเศษของการสวดอ้อนวอน,” เลียโฮนา, พ.ย. 2011, 132)

หากฉันรู้สึกไม่มีค่าควรที่จะสวดอ้อนวอนเล่า?

เอ็ลเดอร์เจ. เดฟน์ คอร์นิชแห่งสาวกเจ็ดสิบสอนว่า

Official Portrait of Elder J. Devn Cornish. Photographed August 2017.

มีความเสี่ยงสำหรับบุคคลที่อาจรู้สึกว่าไม่ดีพอจะสวดอ้อนวอน ความคิดนี้มาจากวิญญาณร้ายผู้นั้นซึ่งสอนเราไม่ให้สวดอ้อนวอน (ดู 2 นีไฟ 32:8) น่าเศร้าพอๆ กันที่จะคิดว่าเราเป็นคนบาปเกินกว่าจะสวดอ้อนวอน เปรียบได้กับคนที่คิดว่าตนเองเจ็บป่วยมากเกินกว่าจะไปพบแพทย์

(เจ. เดฟน์ คอร์นิช, “สิทธิพิเศษของการสวดอ้อนวอน,” เลียโฮนา, พ.ย. 2011, 132)

กิจกรรมการเรียนรู้เพิ่มเติม

เราจะเรียนรู้อะไรได้อีกจากคำสวดอ้อนวอนของพระเจ้า?

คำสวดอ้อนวอนของพระเจ้าให้ความเข้าใจลึกซึ้งสำหรับคำสวดอ้อนวอนที่มีความหมาย คำปราศรัยทั้งสองให้คำสอนเกี่ยวกับส่วนเฉพาะเจาะจงของคำสวดอ้อนวอนของพระเจ้า ท่านอาจใช้หมวดใดก็ได้จากคำปราศรัยเหล่านี้แทนหมวดของบทเรียนที่ชื่อว่า “การเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการสวดอ้อนวอน”

รัสเซลล์ เอ็ม. เนลสัน, “บทเรียนจากคำสวดอ้อนวอนของพระเจ้า,” เลียโฮนา พ.ค. 2009, 56–60

2:3

เจ. เดฟน์ คอร์นิช, “สิทธิพิเศษของการสวดอ้อนวอน,” เลียโฮนา, พ.ย. 2011, 129–132

2:3