2023
อัครสาวกเปาโลคือใคร?
สิงหาคม 2023


“อัครสาวกเปาโลคือใคร?,” เลียโฮนา, ส.ค. 2023.

จงตามเรามา

อัครสาวกเปาโลคือใคร?

ภาพ
ภาพเหมือนของอัครสาวกเปาโล

Paul Preaches the Gospel in Other Lands [เปาโลสั่งสอนพระกิตติคุณในดินแดนอื่น] โดย พอล มานน์

ภูมิหลัง

  • ชื่อยิว: เซา‌โล

  • เกิดในเมืองทาร์ซัส ซึ่งปัจจุบันเป็นเมืองในตุรกี

  • ได้รับสัญชาติโรมันมาแต่กำเนิด

  • เติบใหญ่ในครอบครัวอันเป็นที่น่าเคารพยกย่องและเคร่งศาสนา

  • ถูกส่งไปเรียนในเยรูซาเล็มและได้เป็นฟาริสี

  • พวกฟาริสีมองว่าศาสนาคริสต์เป็นการบิดเบือนลัทธิยูดาห์ ดังนั้นเซาโลจึง “พยายามทำลายคริสตจักร” (กิจการของอัครทูต 8:3) เพื่อพยายามปกป้องศาสนาของเขา

การเปลี่ยนใจเลื่อมใส

ขณะที่เซา‌โลเดินทางไปดามัสกัสเพื่อจับกุมผู้ลี้ภัยที่ติดตามพระคริสต์ ทันใดนั้น “มีแสงสว่างส่องมาจากฟ้าล้อมรอบตัวท่าน” (กิจการของอัครทูต 9:3) หลังจากล้ม‍ลงที่พื้น เขา “ได้‍ยินพระ‍สุร‌เสียงตรัสว่า ‘เซา‌โล เซา‌โลเอ๋ย เจ้าข่ม‍เหงเราทำไม?’” (กิจการของอัครทูต 9:4) พระคริสต์ทรงบัญชาเซาโลซึ่งบัดนี้ตาบอดจากนิมิตนั้นให้ไปยังเมืองดามัสกัสและคอยรับพระดํารัสเพิ่มเติม

หลังจากตาบอดสามวัน สาวกอานาเนียได้มาเยี่ยมเซาโลและรักษาการมองเห็นของเขาให้หายเป็นปกติ (ดู กิจการของอัครทูต 9:17–18) เซาโลได้รับบัพติศมาและไปยังกรุงเยรูซาเล็ม แต่เหล่าสาวก “กลัว เพราะไม่เชื่อว่าเซาโลเป็นสาวก” (กิจการของอัครทูต 9:26)

เซาโลถูกเรียกให้ไปปฏิบัติศาสนกิจต่อคนต่างชาติ และตั้งแต่นั้นมา พระคัมภีร์เรียกเขาว่าเปาโล ซึ่งเป็นชื่อละตินของเขา การเปลี่ยนใจเลื่อมใสของเปาโลเป็นพยานว่าพระกิตติคุณของพระเยซูคริสต์มีไว้สำหรับทุกคนที่กลับใจและ “ไม่ว่าเราจะอยู่ที่ใดหรือทำอะไร เรากลับไปหาพระองค์ได้เสมอ”1

ทำไมต้องเป็นเปาโล?

เปาโลเป็นอัครสาวกที่สามารถสอน “คนต่างชาติในดินแดนที่ไม่ใช่ชาวยิว ผู้ที่สามารถต้านทานคำวิจารณ์ของผู้คนในประเทศของเขาเอง (แม้แต่ในศาสนจักร) และเป็นผู้มีความรู้และได้รับการฝึกอบรมเพื่อสอนทั้งชาวยิวและคนต่างชาติในทุกระดับทางสังคมทั่วอาณาจักรโรมัน”2

เปาโล พลเมืองโรมันและอดีตฟาริสีที่พูดภาษาฮีบรู กรีก และละตินได้บ้างมีคุณสมบัติที่ไม่เหมือนใครในการปฏิบัติหน้าที่นี้ให้เกิดสัมฤทธิผล (ดู กิจการของอัครทูต 9:15)

ข่าวสารสำคัญ

ในฐานะอัครสาวก เปาโลยืนเป็นพยานถึงพระเยซูคริสต์และเดชานุภาพแห่งการไถ่ของพระองค์ “ใจความสำคัญในงานเขียนทั้งหมดของเขาคือการที่พระเยซูคริสต์ทรงไถ่โลกและการที่วิสุทธิชนจะได้รับพรแห่งการชดใช้ [ของพระองค์]”3

อ้างอิง

  1. เกอร์ริท ดับเบิลยู. กอง, “กองไฟแห่งศรัทธาของเรา,” เลียโฮนา, พ.ย. 2018, 41.

  2. Robert J. Matthews, “Saul of Tarsus: Chosen for a Special Need,” Ensign, Sept. 1987, 62.

  3. David Rolph Seely and Jo Ann H. Seely, “Paul: Untiring Witness of Christ,” Ensign, Aug. 1999, 26.

พิมพ์