บทที่ 16
พระผู้ช่วยให้รอดทรงชดใช้บาปของมนุษยชาติทั้งปวง
คำนำ
“[พระเยซูคริสต์] ทรงสละพระชนม์ชีพเพื่อชดใช้บาปของมนุษยชาติทั้งปวง ของประทานดังกล่าวคือของประทานอันล้ำค่าที่ทรงมอบไว้เพื่อประโยชน์ของทุกคนที่จะเคยอยู่บนแผ่นดินโลก” (“พระคริสต์ผู้ทรงพระชนม์: ประจักษ์พยานของอัครสาวก,” เลียโฮนา, เม.ย. 2002, 2) เอ็ลเดอร์ริชาร์ด จี. สก็อตต์แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองสอนว่า “การชดใช้เป็นองค์ประกอบสำคัญยิ่งในแผนแห่งความสุขของพระบิดาในสวรรค์ซึ่งหากไม่มีองค์ประกอบนี้แผนไม่อาจดำเนินไปได้” (“พระทรงชนม์! เราสรรเสริญนามนั้น!” เลียโฮนา, พ.ค. 2010, 95) บทนี้จะเน้นเรื่องความทุกขเวทนาแสนสาหัสของพระผู้ช่วยให้รอด ซึ่งเริ่มต้นในเกทเสมนีและบรรลุจุดสูงสุดบนกางเขน และจะอธิบายว่าพระเยซูคริสต์ทรงสามารถช่วยเราเอาชนะบาปและทำให้เราเข้มแข็งในการดำเนินชีวิตประจำวันของเราผ่านการชดใช้ของพระองค์ได้อย่างไร
ความรู้พื้นฐานที่ควรอ่าน
-
เดวิด เอ. เบดนาร์, “การชดใช้และการเดินทางของความเป็นมรรตัย,” เลียโฮนา, เม.ย. 2012, 40–47
-
เจฟฟรีย์ อาร์. ฮอลแลนด์, “การชดใช้ของพระเยซูคริสต์,” เลียโฮนา, มี.ค. 2008, 32–38
ข้อเสนอแนะสำหรับการสอน
มาระโก 14:33–36; ลูกา 22:39–44; 2 นีไฟ 9:21
พระเยซูคริสต์เต็มพระทัยทนรับความปวดร้าวของการชดใช้
ท่านอาจจะเริ่มชั้นเรียนโดยเชื้อเชิญให้นักเรียนร้องเพลง “ฉันเฝ้าพิศวง” (เพลงสวด, บทเพลงที่ 89) หรือเพลงสวดเพลงอื่นเกี่ยวกับพระผู้ช่วยให้รอด เมื่อเริ่มบทเรียน ให้ถามว่า
-
การร้องเพลง “ฉันเฝ้าพิศวง” (หรือเพลงสวดเพลงอื่นเกี่ยวกับพระผู้ช่วยให้รอด) เตรียมท่านให้พร้อมศึกษาการชดใช้ของพระเยซูคริสต์อย่างไร
เชื้อเชิญให้นักเรียนอ่าน มาระโก 14:33–36 ในใจ โดยมองหาข้อความที่บรรยายความทุกขเวทนาของพระผู้ช่วยให้รอดในเกทเสมนี เขียนข้อความที่นักเรียนระบุไว้บนกระดาน
-
ข้อความเหล่านี้ถ่ายทอดความหมายอะไรให้ท่าน
เชื้อเชิญให้นักเรียนศึกษา ลูกา 22:39–44; 2 นีไฟ 9:21; และ โมไซยาห์ 3:7 เพื่อหารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับความทุกขเวทนาของพระผู้ช่วยให้รอดระหว่างการพลีพระชนม์ชีพเพื่อการชดใช้ ท่านอาจต้องการเสนอแนะให้นักเรียนทำอ้างโยงข้อเหล่านี้ในพระคัมภีร์ของพวกเขา
-
ข้อเหล่านี้สอนความจริงสำคัญๆ อะไรบ้างเกี่ยวกับความทุกขเวทนาที่พระเยซูทรงอดทนเพื่อเรา (คำตอบควรรวมถึงความจริงต่อไปนี้: ความทุกขเวทนาของพระเยซูคริสต์ในเกทเสมนีทำให้พระโลหิตหลั่งจากทุกรูขุมขน
ชี้ให้นักเรียนเห็นว่าการชดใช้ของพระเยซูคริสต์รวมถึงการทนทุกข์เพื่อบาปของเราในเกทเสมนีและบนกางเขน การหลั่งพระโลหิต การสิ้นพระชนม์บนกางเขน และการฟื้นคืนพระชนม์จากอุโมงค์ เชิญนักเรียนอ่านออกเสียงข้อความต่อไปนี้ของเอ็ลเดอร์บรูซ อาร์. แมคคองกีแห่งโควรัมอัครสาวกสิบสอง
“เราไม่รู้ เราไม่อาจบอก ไม่มีความคิดของมนุษย์คนใดเข้าใจได้อย่างถ่องแท้ถึงความสำคัญของสิ่งที่พระคริสต์ทรงทำในเกทเสมนี
“เรารู้ว่าพระองค์ทรงหลั่งพระโลหิต [เม็ดใหญ่] จากทุกรูขุมขนขณะดื่มตะกอนจากถ้วยอันขมขื่นที่พระบิดาประทานแก่พระองค์
“เรารู้ว่าพระองค์ทรงทนทุกข์ทรมาน ทั้งพระวรกายและวิญญาณ เกินกว่ามนุษย์จะทนรับได้ นอกเสียจากจะถึงแก่ความตาย …
“เรารู้ว่าพระองค์ทรงหมดกำลังล้มลงกับพื้นขณะความเจ็บปวดทุกข์ทรมานแสนสาหัสจากภาระอันไม่มีขอบเขตทำให้พระองค์ต้องสั่นและไม่ปรารถนาจะดื่มจากถ้วยอันขมขื่นนั้น” (“อำนาจการชำระให้บริสุทธิ์แห่งเกทเสมนี,” เลียโฮนา, เม.ย. 2011, 57)
-
ท่านรู้สึกอย่างไรเกี่ยวกับความทุกขเวทนาที่พระเยซูคริสต์ทรงอดทนในเกทเสมนีและบนกางเขน
ยอห์น 15:13; 1 เปโตร 3:18; หลักคำสอนและพันธสัญญา 19:15–19
พระเยซูทรงทนทุกข์เพื่อเราจะไม่ต้องทนทุกข์เช่นพระองค์
ถามคำถามต่อไปนี้
-
ท่านคิดว่าเหตุใดพระเยซูจึงเต็มพระทัยทนทุกข์มากขนาดนั้นเพื่อเรา
เชื้อเชิญให้นักเรียนศึกษา ยอห์น 15:13; 1 เปโตร 3:18; และ หลักคำสอนและพันธสัญญา 19:15–19 ในใจ โดยมองหาเหตุผลว่าทำไมพระเยซูคริสต์จึงเต็มพระทัยทนรับความเจ็บปวดของการชดใช้ หลังจากให้เวลาพอสมควรแล้ว ขอให้นักเรียนแบ่งปันสิ่งที่ค้นพบ ขณะที่นักเรียนตอบ ท่านอาจสรุปคำตอบของพวกเขาไว้บนกระดานดังนี้
ขณะที่ท่านถามคำถามต่อไปนี้ ให้เวลานักเรียนไตร่ตรองคำตอบของพวกเขาก่อนให้นักเรียนตอบ (เตือนนักเรียนว่าขณะพวกเขาฝึกไตร่ตรองสิ่งที่ค้นพบในพระคัมภีร์ พระวิญญาณมักจะทรงเปิดเผยความจริงเพิ่มเติมต่อพวกเขา)
-
เหตุผลเหล่านี้สำหรับความทุกขเวทนาของพระเยซูคริสต์สอนอะไรท่านเกี่ยวกับพระองค์
-
เหตุผลเหล่านี้เกี่ยวข้องกับตัวท่านอย่างไรเป็นการส่วนตัว
เน้นกับนักเรียนว่าโดยผ่านการชดใช้ พระเยซูคริสต์ทรงเป็นตัวแทนของเรา—พระองค์ทรงทำแทนเรา พระองค์ทรงรับภาระของเรา พระองค์ทรงทนทุกข์เพราะบาปของเรา อัครสาวกเปาโลกล่าวดังนี้ “พระเจ้า [พระผู้เป็นเจ้าพระบิดา] ทรงทำพระองค์ [พระคริสต์พระบุตร] ผู้ทรงไม่มีบาป [พระเยซูไม่มีบาป] ให้บาป เพราะเห็นแก่เรา เพื่อเราจะได้เป็นคนชอบธรรมของพระเจ้าทางพระองค์” (2 โครินธ์ 5:21) ประหนึ่งพระเจ้าและพระผู้ช่วยให้รอดของเราทรงมีข้อเสนอให้เราแต่ละคนดังนี้ “จงมาหาเรา เราจะรับบาปของเจ้า และเราจะให้ความชอบธรรมของเราแก่เจ้า”
เป็นพยานว่าเพราะพระเยซูคริสต์ทรงทำการชดใช้ เราจึงได้รับการอภัยบาปถ้าเรากลับใจ เพราะการเสียสละของพระองค์เพื่อเรา จึงมีทางเตรียมไว้ให้เรากลับไปอยู่กับพระบิดาบนสวรรค์ในหน่วยครอบครัวนิรันดร์ พระเยซูคริสต์ทรงยอมรับการชดใช้เพราะความรักอันยิ่งใหญ่ที่ทรงมีต่อพระบิดาบนสวรรค์และต่อเรา กระตุ้นให้นักเรียนไตร่ตรองว่าพวกเขาจะแสวงหาอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นและชื่นชมพรของการชดใช้ในชีวิตพวกเขาได้อย่างไร
แอลมา 7:11–13
การชดใช้ของพระเยซูคริสต์เผื่อแผ่พระคุณหรือเดชานุภาพอันกอปรด้วยพระปรีชาสามารถมาถึงเรา
ให้ดูคำกล่าวต่อไปนี้โดยเอ็ลเดอร์นีล เอ. แม็กซ์เวลล์แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสอง และเชิญนักเรียนคนหนึ่งอ่านออกเสียง
“เมื่อความปวดร้าวมาถึงขีดสุด นั่นเลวร้ายมาก มากเกินกว่าพระองค์จะทรงจินตนาการได้ด้วยพระปรีชาอันหาใดเทียบได้ของพระองค์! …
“น้ำหนักทบทวีของบาปทั้งหมดของมนุษย์—อดีต ปัจจุบัน และอนาคต—กดทับบนจิตวิญญาณที่ดีพร้อม ไม่มีบาป และละเอียดอ่อนของพระองค์ ความทุพพลภาพและความเจ็บป่วยทั้งหมดเป็นส่วนหนึ่งของผลลัพธ์อันน่าสะพรึงกลัวของการชดใช้เช่นกัน (ดู แอลมา 7:11–12; อิสยาห์ 53:3–5; มัทธิว 8:17) …
“… ความทุกขเวทนาของพระองค์—ตามที่เป็น หฤโหด ทวีคูณด้วย ความไม่สิ้นสุด—เป็นเหตุให้ทรงเปล่งเสียงจากห้วงลึกของจิตวิญญาณบนกางเขนในเวลาต่อมา และนั่นคือเสียงร้องของการถูกทอดทิ้ง (ดู มัทธิว 27:46)” (“Willing to Submit,” Ensign, May 1985, 72–73)
-
ท่านคิดว่าเอ็ลเดอร์แม็กซ์เวลล์หมายความว่าอย่างไรเมื่อพูดว่า “ผลลัพธ์อันน่าสะพรึงกลัวของการชดใช้”
-
นอกจากบาปของเราแล้ว เอ็ลเดอร์แม็กซ์เวลล์ระบุอะไรอีกที่เป็นสาเหตุหนึ่งของความทุกขเวทนาของพระผู้ช่วยให้รอด
เชิญนักเรียนคนหนึ่งอ่านออกเสียง แอลมา 7:11–13 ขอให้นักเรียนที่เหลือดูตามและระบุสภาพอื่นของความเป็นมรรตัยที่พระผู้ช่วยให้รอดทรงทนทุกข์ ขอให้นักเรียนรายงานสิ่งที่ระบุ และเขียนคำตอบของพวกเขาบนกระดาน (คำตอบควรรวมถึง ความเจ็บปวด ความทุกข์ การล่อลวง ความเจ็บป่วย ความทุพพลภาพ และความตาย) สนทนาความหมายของสภาพเหล่านี้และพระเยซูคริสต์จะประทานพรเราผ่านพระวิญญาณบริสุทธิ์เมื่อเราประสบสภาพดังกล่าวได้อย่างไร
เชิญนักเรียนคนหนึ่งอ่านออกเสียงคำกล่าวต่อไปนี้โดยเอ็ลเดอร์เดวิด เอ. เบดนาร์แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสอง
“พระผู้ช่วยให้รอดมิได้ทรงทนรับเพียงความชั่วช้าสามานย์ของเราเท่านั้น แต่ทรงทนรับความไม่เสมอภาค ความอยุติธรรม ความเจ็บปวด ความปวดร้าว และความหดหู่ทางอารมณ์ที่รุมเร้าเราบ่อยๆ ด้วย “ไม่มีความเจ็บปวดทางกาย ความปวดร้าวของจิตวิญญาณ ความทุกขเวทนาของวิญญาณ ความทุพพลภาพหรือความอ่อนแอใดๆ ที่ท่านหรือข้าพเจ้าประสบในช่วงการเดินทางของมรรตัยที่พระผู้ช่วยให้รอดมิได้ทรงประสบมาก่อน “ในชั่วขณะของความอ่อนแอท่านและข้าพเจ้าอาจร้องออกมาว่า ‘ไม่มีใครเข้าใจ ไม่มีใครรู้’ อาจไม่มีมนุษย์คนใดรู้ แต่พระบุตรของพระผู้เป็นเจ้าทรงรู้และเข้าพระทัยอย่างสมบูรณ์ เพราะพระองค์ทรงรู้สึกและทรงแบกภาระของเรามาก่อน เพราะพระองค์ทรงจ่ายราคาสุดท้ายและทรงแบกภาระนั้น พระองค์จึงทรงมีความเห็นใจอย่างสมบูรณ์และทรงสามารถยื่นพระพาหุแห่งความเมตตามาให้เราในช่วงต่างๆ ของชีวิต พระองค์ทรงสามารถเอื้อมพระหัตถ์มาสัมผัส ช่วยเหลือ … และทรงเสริมสร้างความเข้มแข็งให้เราเพื่อจะเป็นมากกว่าที่เราเป็นได้และทรงช่วยให้เราทำสิ่งซึ่งเราไม่อาจทำได้หากพึ่งพาพลังความสามารถของเราเพียงอย่างเดียว” (“การชดใช้และการเดินทางของความเป็นมรรตัย,” เลียโฮนา, เม.ย. 2012, 19)
ถามนักเรียนว่าพวกเขาจะสรุปคำสอนของเอ็ลเดอร์เบดนาร์ว่าอย่างไร จากนั้นให้ถามว่า
-
พรที่มีให้โดยผ่านการชดใช้เตรียมทางให้เรากลับไปที่ประทับของพระบิดาบนสวรรค์อย่างไร (ขณะที่นักเรียนตอบ ให้เน้นว่า เพราะการชดใช้ของพระเยซูคริสต์ เราจึงสามารถรับการปลอบโยนและพลังผ่านพระวิญญาณบริสุทธิ์เพื่ออดทนต่อ “ความเจ็บปวดและความทุกข์และการล่อลวงทุกอย่าง” [แอลมา 7:11])
เพื่อช่วยให้นักเรียนเข้าใจเดชานุภาพอันกอปรด้วยพระปรีชาสามารถของพระผู้ช่วยให้รอดหรือพระคุณ ให้พวกเขาศึกษาข้อพระคัมภีร์ต่อไปนี้คนละข้อและเตรียมแบ่งปันสิ่งที่เรียนรู้ (ท่านอาจจะเขียนข้ออ้างอิงเหล่านี้ไว้บนกระดาน)
หลังจากให้เวลาพอสมควรแล้ว ให้ถามว่า
-
พิจารณาด้านต่างๆในข้อเหล่านี้ที่พระเยซูคริสต์ทรงเสริมสร้างความเข้มแข็งให้ผู้คนผ่านการชดใช้ ท่านหรือคนที่ท่านรู้จักเคยได้รับความเข้มแข็งคล้ายกันเมื่อใด
-
เหตุใดจึงสำคัญที่เราต้องเข้าใจว่าเราเข้าถึงเดชานุภาพอันกอปรด้วยพระปรีชาสามารถของพระเยซูคริสต์
ให้ดูคำกล่าวต่อไปนี้โดยเอ็ลเดอร์ริชาร์ด จี. สก็อตต์แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสอง และขอให้นักเรียนคนหนึ่งอ่านออกเสียง
“เราต่างมีความจำเป็นอย่างเลี่ยงไม่ได้ที่ต้องเสริมสร้างความเข้าใจถึงความสำคัญในการชดใช้ของพระเยซูคริสต์ เพื่อให้การชดใช้นั้นกลายเป็นรากฐานมั่นคงในการสร้างชีวิตของเรา …
“ข้าพเจ้าขอกระตุ้นอย่างจริงจังให้ท่านวางแผนศึกษาส่วนตัวเพื่อให้เข้าใจมากขึ้นและสำนึกคุณยิ่งขึ้นต่อผลนิรันดร์อันหาที่เปรียบมิได้และไม่มีขอบเขตของสัมฤทธิผลอันสมบูรณ์ของพระเยซูคริสต์ในการเรียกที่ทรงได้รับแต่งตั้งจากสวรรค์ในฐานะพระผู้ช่วยให้รอดและพระผู้ไถ่” (“พระทรงชนม์! เราสรรเสริญนามนั้น!” เลียโฮนา, พ.ค. 2010, 96)
ขณะที่ท่านสรุป กระตุ้นให้นักเรียนวางแผนศึกษาส่วนตัวเกี่ยวกับพระเยซูคริสต์และการชดใช้ของพระองค์
สิ่งที่นักเรียนควรอ่าน
-
มาระโก 14:33–36; ลูกา 22:39–46; ยอห์น 15:13; 1 เปโตร 3:18; 2 นีไฟ 9:21; โมไซยาห์ 3:7; แอลมา 7:11–13; หลักคำสอนและพันธสัญญา 19:15–20
-
เดวิด เอ. เบดนาร์, “การชดใช้และการเดินทางของความเป็นมรรตัย,” เลียโฮนา, เม.ย. 2012, 40–47