เซมินารี
ประเมินผลการเรียนรู้ของท่าน 3


ประเมินผลการเรียนรู้ของท่าน 3

มัทธิว 8–13; มาระโก 2–5; ลูกา 7–9; 11; 13

Mendoza, Argentina. A group of young men and young women attend an early morning seminary class.

บทเรียนนี้มีเจตนาจะช่วยให้ท่านประเมินเป้าหมายที่ท่านตั้งไว้ สิ่งที่ท่านกำลังเรียนรู้ และการเติบโตส่วนตัวที่ท่านได้รับจากการศึกษาพันธสัญญาใหม่ที่ผ่านมาในปีนี้

กิจกรรมการเรียนรู้ที่อาจทำได้

นึกถึงการเติบโตล่าสุดของท่าน

เปิดโอกาสให้นักเรียนใคร่ครวญถึงการเติบโตทางวิญญาณที่เพิ่งเกิดขึ้น วิธีหนึ่งที่อาจทำได้คือให้ดูคำถามต่อไปนี้และให้เวลานักเรียนบันทึกความคิดและคำตอบของพวกเขาลงในสมุดบันทึกการศึกษา

เป้าหมายอย่างหนึ่งของเซมินารีคือช่วยให้ท่านมาหาพระเยซูคริสต์และกลายเป็นสานุศิษย์ของพระองค์ ใช้เวลาสักครู่นึกถึงการเติบโตทางวิญญาณของท่านที่เพิ่งเกิดขึ้นไม่นานมานี้ คำถามต่อไปนี้จะนำทางท่านได้ ท่านอาจบันทึกคำตอบของท่านสำหรับคำถามเหล่านี้ในสมุดบันทึกการศึกษาของท่าน

  • การเปลี่ยนแปลงหนึ่งอย่างที่ท่านเพิ่งทำในชีวิตซึ่งทำให้ท่านเข้าใกล้พระเยซูคริสต์มากขึ้นคืออะไร?

  • ท่านเรียนรู้อะไรบ้างเกี่ยวกับพระผู้ช่วยให้รอดในการศึกษาครั้งล่าสุดของท่านที่มีความหมายเป็นพิเศษสำหรับท่าน?

  • ท่านรู้สึกเป็นเหมือนพระเยซูคริสต์มากขึ้นในทางใดบ้าง?

เมื่อนักเรียนใคร่ครวญถึงการเติบโตทางวิญญาณของตนแล้ว ให้เชิญพวกเขาแบ่งปันข้อคิดบางอย่างกับชั้นเรียน

กิจกรรมต่อไปนี้ออกแบบมาเพื่อช่วยให้นักเรียนประเมินการเรียนรู้และการเติบโตของตนเอง ใช้กิจกรรมเหล่านี้หรือพิจารณากิจกรรมอื่นๆ ที่จะตอบรับความต้องการของนักเรียนได้ดีขึ้น

ประเมินความสามารถของท่านในการเข้าใจพระคัมภีร์

ปีนี้ในเซมินารี ท่านได้รับการสอนทักษะหลากหลายเพื่อช่วยให้ท่านเข้าใจพระคัมภีร์ได้ดีขึ้น ทักษะบางอย่างเหล่านี้เช่น การนิยามคำยากๆ อาจช่วยให้ท่านเข้าใจภาษาที่ใช้ในพระคัมภีร์ได้ดีขึ้น ทักษะอื่นๆ เช่น รูปแบบสี่ขั้นตอนในการเข้าใจสัญลักษณ์ที่ใช้กับอุปมาอาจช่วยให้ท่านเข้าใจข่าวสารในพระคัมภีร์ได้ดีขึ้น

การสำรวจต่อไปนี้เป็นเพียงวิธีหนึ่งในการช่วยให้นักเรียนใคร่ครวญสิ่งที่พวกเขาทำเพื่อเพิ่มความสามารถในการเข้าใจพระคัมภีร์ อีกทางเลือกหนึ่งคือ นำการสนทนาในชั้นเรียนเกี่ยวกับสิ่งที่ทำได้ดีในการศึกษาพระคัมภีร์ส่วนตัวของพวกเขาและความท้าทายที่พวกเขายังเผชิญอยู่ ทางเลือกที่สามคือ อาจให้โอกาสนักเรียนสาธิตการใช้ทักษะที่ช่วยพวกเขา

  • จากระดับคะแนน 0 ถึง 5 ทักษะการศึกษาต่อไปนี้ช่วยให้ท่านเข้าใจพระคัมภีร์ได้ดีขึ้นมากน้อยเพียงใด?

0. ฉันไม่ได้ใช้ทักษะนี้

1. ไม่ช่วยเลย

2. เล็กน้อย

3. ช่วยได้บ้าง

4. ช่วยพอสมควร

5. ช่วยได้อย่างสมบูรณ์

_____ การระบุหลักธรรม

_____ การเข้าใจสัญลักษณ์และอุปลักษณ์ (ตัวอย่างเช่น ในอุปมาของพระผู้ช่วยให้รอด)

_____ การแท็ก (ในคลังค้นคว้าพระกิตติคุณ) การทำเครื่องหมาย การขีดเส้นใต้และอื่นๆ

_____ การบันทึกความคิดและความประทับใจขณะท่านศึกษา

_____ การลิงก์ (ในคลังค้นคว้าพระกิตติคุณ) หรือการอ้างโยงข้อพระคัมภีร์

_____ การศึกษาหลายมุมมอง (ตัวอย่างเช่น การศึกษาเรื่องราวเดียวกันจากมุมมองแตกต่างกัน)

_____ การนึกภาพในพระคัมภีร์

  • ท่านจะเพิ่มทักษะใดลงในรายการที่ท่านพยายามทำไปแล้วบ้าง?

  • การนำทักษะการศึกษาพระคัมภีร์มาใช้ช่วยให้ท่านรู้จักพระเยซูคริสต์และเข้าใจคำสอนของพระองค์ได้ดีขึ้นอย่างไร?

อธิบายบทบาทสำคัญของศาสดาพยากรณ์และอัครสาวกในศาสนจักรของพระผู้ช่วยให้รอด

ไม่นานมานี้ท่านเรียนรู้ว่าพระผู้ช่วยให้รอดทรงเรียกอัครสาวกสิบสองของพระองค์โดยเป็นส่วนหนึ่งของการสถาปนาศาสนจักรของพระองค์ (ดู มัทธิว 10)

2:3

จินตนาการว่าท่านมีเพื่อนที่กำลังเรียนรู้เกี่ยวกับศาสนจักรและต้องการรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับบทบาทของศาสดาพยากรณ์และอัครสาวกในศาสนจักรของพระผู้ช่วยให้รอดในปัจจุบัน สมมุติว่าเพื่อนของท่านถามคำถามต่อไปนี้ เตรียมคำตอบสำหรับเพื่อนของท่าน อาจเป็นประโยชน์ที่จะให้มีความจริงจาก มัทธิว 10 เป็นส่วนหนึ่งในคำตอบของท่าน

อาจเป็นประโยชน์ที่จะเชื้อเชิญให้นักเรียนมาทำงานเป็นคู่ขณะเตรียมคำตอบ จากนั้นอาจขอให้คู่แบ่งปันคำตอบของพวกเขากับคู่อื่นในการแสดงบทบาทสมมุติ

  • เหตุใดพระผู้ช่วยให้รอดทรงเรียกอัครสาวก?

  • เหตุใดปัจจุบันเราจึงต้องการอัครสาวกที่มีชีวิต?

ประเมินว่าท่านใช้ศรัทธาในพระเยซูคริสต์เพื่อกลับใจจากบาปของท่านอย่างไร

ท่านอาจเห็นแผนผังนี้ในบทเรียนก่อนหน้านี้ ใช้เวลาไตร่ตรองสักครู่ว่าวันนี้ท่านอาจวางตนเองตรงไหนบนแผนผังนี้ ให้คิดว่าท่านรู้สึกใกล้ชิดกับพระเจ้าเพียงใดและท่านกำลังเดินทางไปในทิศทางใด

Shows two stick figures, one going toward Christ, the other going away from Christ

เมื่อท่านศึกษาพันธสัญญาใหม่แล้ว ท่านอาจรู้สึกได้รับการดลใจให้เข้าใกล้พระเยซูคริสต์มากขึ้นโดยใช้ศรัทธาในพระองค์และกลับใจจากบาปของท่าน แม้ว่าบางครั้งการกลับใจอาจนำไปสู่ผลที่ไม่น่าพึงใจ แต่ศรัทธาในพระเยซูคริสต์และการกลับใจอย่างจริงใจจะช่วยให้เราเอาชนะความกลัวเหล่านั้นได้

เอ็ลเดอร์เดล จี. เรนลันด์แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองแบ่งปันประสบการณ์ที่แสดงถึงพรที่เราจะรับจากพระผู้ช่วยให้รอดได้ขณะเรากลับใจจากบาป

Shows two stick figures, one going toward Christ, the other going away from Christ

ถ้ายังไม่ได้สอน บทเรียนสำหรับลูกา 7:36–50 ท่านอาจปรับเปลี่ยนเนื้อหาต่อไปนี้ในวิธีที่ยังคงช่วยให้นักเรียนใคร่ครวญถึงความพยายามครั้งล่าสุดของพวกเขาในการใช้ศรัทธาในพระเยซูคริสต์เพื่อกลับใจจากบาปของตน

หากท่านมีส่วนร่วมใน บทเรียนสำหรับลูกา 7:36–50 ท่านอาจจำได้ว่าครูขอให้ท่านสร้างแผนเพื่อเพิ่มความรักของท่านต่อพระผู้ช่วยให้รอดให้ลึกซึ้งขึ้นโดยการกลับใจจากบาปของท่าน ในบทเรียนนั้น ครูขอให้ท่านตอบคำถามต่อไปนี้ในสมุดบันทึกการศึกษาของท่าน:

  • สิ่งหนึ่งที่ท่านต้องหยุดทำเพื่อเข้าใกล้พระผู้ช่วยให้รอดมากขึ้นคืออะไร? ท่านจะหยุดทำได้อย่างไร?

  • สิ่งหนึ่งที่ท่านต้องเริ่มทำเพื่อเข้าใกล้พระผู้ช่วยให้รอดมากขึ้นคืออะไร? ท่านจะเริ่มทำได้อย่างไร?

หากเป็นไปได้ กลับมาดูที่บันทึกนี้ในสมุดบันทึกการศึกษาของท่านเพื่อทบทวนว่าท่านตอบคำถามสองข้อนี้อย่างไร นึกถึงความคืบหน้าที่ท่านทำไปสู่เป้าหมายที่ท่านตั้งไว้ คำถามต่อไปนี้จะนำทางท่านได้

ท่านอาจให้นักเรียนดูคำถามสามข้อถัดไปเพื่อให้พวกเขาตอบคำถามเป็นส่วนตัวในสมุดบันทึกการศึกษาของตน คำถามเหล่านี้ไม่ได้มีเจตนาจะให้สนทนากับผู้อื่น

  • ท่านเผชิญอุปสรรคอะไรบ้างหรือท่านมีความก้าวหน้าอย่างไรขณะพยายามเปลี่ยนแปลงและเข้าใกล้พระเยซูคริสต์มากขึ้น?

  • พระเจ้าทรงช่วยท่านอย่างไร?

  • จากความคืบหน้าในปัจจุบันของท่าน ท่านคิดว่าขั้นตอนต่อไปควรเป็นอย่างไร?

หลังจากให้เวลานักเรียนตอบคำถามก่อนหน้านี้แล้ว ให้สนทนาโดยทั่วไปมากขึ้นเกี่ยวกับการกลับใจ ขอให้แน่ใจว่าท่านกระตุ้นให้นักเรียนไม่แบ่งปันข้อมูลที่อาจเป็นส่วนตัวเกินไประหว่างการสนทนานี้ ท่านอาจใช้คำถามเช่นคำถามต่อไปนี้

  • ท่านยังมีคำถามอะไรอีกบ้างเกี่ยวกับการกลับใจ?

  • การเลือกที่จะกลับใจช่วยให้ท่านเติบโตทางวิญญาณและรับปีติได้อย่างไร?

  • ท่านรู้สึกถึงความรักของพระผู้ช่วยให้รอดอย่างไรขณะพยายามกลับใจหรือเปลี่ยนแปลง?

เป็นพยานว่าเราจะรู้สึกถึงความรักของพระผู้ช่วยให้รอดได้ขณะเรากลับใจอย่างจริงใจและด้วยความอ่อนน้อมถ่อมตน กระตุ้นให้นักเรียนใช้ศรัทธาในพระผู้ช่วยให้รอดและกลับใจ