สิงหาคม
ร่างกายของฉันเป็นวิหารของพระผู้เป็นเจ้า
เพลง “พระเจ้าประทานพระวิหารให้ฉัน”
(พด หน้า 73)
“ท่านทั้งหลายไม่รู้หรือว่าท่านเป็นวิหารของพระเจ้า และพระวิญญาณของพระเจ้าสถิตอยู่ในท่าน … วิหารของพระเจ้า เป็นที่บริสุทธิ์ศักดิ์สิทธิ์ และท่านทั้งหลายเป็นวิหารนั้น” (1 โครินธ์ 3:16–17)
เสริมแนวคิดที่ให้ไว้ด้วยแนวคิดบางอย่างของท่านเอง วางแผนวิธีระบุหลักคำสอน ช่วยให้เด็กๆ เข้าใจ และประยุกต์ใช้ในชีวิต ถามตัวท่านว่า “เด็กต้องทำอะไรจึงจะเรียนรู้ และฉันจะช่วยให้พวกเขารู้สึกถึงพระวิญญาณได้อย่างไร”
สัปดาห์ 1: ร่างกายของฉันเป็นวิหาร
ระบุหลักคำสอน (สนทนาเรื่องพระวิหาร): ก่อนเริ่มปฐมวัยให้เขียนบนกระดานว่า “ท่านเป็นวิหารของพระเจ้า” (1 โครินธ์ 3:16) ให้ดูรูปพระวิหารและถามเด็กว่าอะไรทำ ให้พระวิหารพิเศษมาก (พระวิหารเป็นบ้านของพระเจ้า สะอาด ได้รับการดูแลอย่างดี และเป็นสถานที่ซึ่งพระวิญญาณบริสุทธิ์เสด็จมาได้) เขียนคำตอบของเด็กบนกระดาน อธิบายว่าร่างกายของเราศักดิ์สิทธิ์เหมือนพระวิหาร เรา และผู้อื่นพึงปฏิบัติต่อร่างกายของเราด้วยความเคารพ
ส่งเสริมความเข้าใจและการประยุกต์ใช้ (ตอบคำถาม และระบายสี): ถ่ายเอกสารรูปภาพที่อยู่ในหน้า 47 ของคู่ มือบริบาล จงดูเด็กเล็กๆ ของเจ้า ตัดวงกลมในภาพออกแล้วนำ ไปใส่ในภาชนะ ขอให้เด็กคน หนึ่งเลือกวงกลมหนึ่งอัน ถาม เด็กว่าภาพนั้นเตือนพวกเขา ให้ปฏิบัติต่อร่างกายเหมือน พระวิหารอย่างไร แจกภาพให้เด็ก ระบายสีคนละแผ่น ให้เด็กโตเขียนสิ่งที่พวกเขาจะทำสัปดาห์นี้เพื่อปฏิบัติต่อร่างกายเหมือนพระวิหารไว้ใต้วง กลมของแต่ละภาพ ให้เด็กนำรูปภาพกลับบ้านไปสอน ครอบครัวว่าพวกเขาสามารถปฏิบัติต่อร่างกายเหมือน พระวิหารได้อย่างไร
ส่งเสริมการประยุกต์ใช้ (สนทนา มาตรฐานพระกิตติคุณ): ให้ดูสำเนา “มาตรฐานพระกิตติคุณของฉัน” ให้ เด็กบอกว่ามาตรฐานพระกิตติคุณ ข้อใดสอนวิธิปฏิบัติต่อร่างกายเหมือน พระวิหาร ให้เด็กหันไปหาคนที่นั่งข้างๆ และบอกหนึ่งวิธี ที่พวกเขากำลังปฏิบัติต่อร่างกายเหมือนพระวิหาร จาก นั้นให้เด็กคิดหนึ่งวิธีที่พวกเขาจะปรับปรุง เชิญเด็กสอง สามคนแบ่งปันความคิดกับทุกคน
สัปดาห์ 2: การแต่งกายสุภาพเรียบร้อยแสดงถึงความคารวะต่อพระบิดาบนสวรรค์และต่อตัวฉัน
ระบุหลักคำสอน (อ่านพระคัมภีร์และมาตรฐานพระกิตติคุณ): ให้เด็กเปิด 1 โครินธ์ 3:16 และอ่านออก เสียงพร้อมกัน บอกเด็กว่าวิธีหนึ่งที่เราจะปฏิบัติต่อร่างกายเหมือนพระวิหารคือแต่งกายให้สุภาพเรียบร้อย ให้ดู “มาตรฐานพระกิตติคุณของฉัน” และให้เด็กอ่านออกเสียง มาตรฐานที่กล่าวว่า “ฉันจะแต่งกายสุภาพเรียบร้อยเพื่อ แสดงความคารวะต่อพระบิดาบนสวรรค์และตนเอง”
ส่งเสริมความเข้าใจ (สนทนาเรื่องความสุภาพเรียบร้อย และอธิบายโดยใช้โปสเตอร์ประกอบ): สนทนาว่าการแต่ง กายสุภาพเรียบร้อยหมายถึงอะไร (ดูหมวด “การแต่ง กายและลักษณะท่าทาง” ใน เพื่อความเข้มแข็งของ เยาวชน) เตรียมโปสเตอร์หลายๆ แผ่นที่เขียนไว้บนสุด ว่า “ฉันจะแต่งกายสุภาพเรียบร้อยโดย…” แบ่งเด็กออก เป็นกลุ่มๆ และขอให้แต่ละกลุ่มเขียนคำมั่นสัญญาของ ตนว่าจะแต่งกายสุภาพเรียบร้อยหรือวาดรูปตนเองใน ชุดสุภาพเรียบร้อยบนโปสเตอร์แผ่นหนึ่ง ติดโปสเตอร์ เหล่านั้นในห้องปฐมวัย
สัปดาห์ 3: การดำเนินชีวิตตามพระคำแห่งปัญญาแสดงถึงความเคารพร่างกายของฉัน
ส่งเสริมความเข้าใจ (อ่านพระคัมภีร์): เขียนบนกระดาน ด้านหนึ่งว่า “พระบัญญัติ” และพระคัมภีร์อ้างอิงต่อไปนี้: คพ. 89:7–9, 12, 14, 16 เขียนอีกด้านหนึ่งว่า “คำสัญญา” และพระคัมภีร์อ้างอิงต่อไปนี้: คพ. 89:18–21 ให้เด็ก ครึ่งห้องอ่านพระคัมภีร์ชุดแรกและหาพระบัญญัติที่พระ เจ้าประทานแก่เราในพระคำแห่งปัญญา ให้เด็กอีกครึ่ง ห้องอ่านข้อพระคัมภีร์ที่เหลือและหาพรที่พระองค์ทรง สัญญากับเราถ้าเราเชื่อฟัง สนทนาว่าพระบัญญัติและพร เหล่านั้นหมายถึงอะไร
ส่งเสริมการประยุกต์ใช้ (เล่นเกม): ให้เด็กคนหนึ่งพูดว่า “ฉันจะดำเนินชีวิตตามพระคำแห่งปัญญาโดย” และเติมคำในช่องว่างโดยพูดสิ่งที่เด็กจะทำเพื่อดำเนิน ชีวิตตามพระคำแห่งปัญญา จากนั้นให้เด็กอีกคนหนึ่งทวน วลีและคำตอบของเด็กคนแรก แล้วเพิ่มคำตอบของตนเอง ให้เด็กคนที่สามทวนวลีและคำตอบของเด็กสองคนแรก แล้วเพิ่มคำตอบของตน ทำซ้ำเท่าที่เวลาจะเอื้ออำนวย โดยให้เด็กแต่ละคนเพิ่มคำตอบของเขา
พระคำแห่งปัญญา | |
---|---|
พระบัญญัติ |
คำสัญญา |
สัปดาห์ 4: การอ่าน ดู และฟังสิ่งที่ดีงามจะทำให้ความคิดของเราสะอาด
ระบุหลักคำสอน (ดูบทเรียนที่ใช้อุปกรณ์จริง): ให้เด็กดู แก้วสองใบ ใบหนึ่งใส่น้ำสกปรกและอีกใบใส่น้ำสะอาด ถามเด็กว่าพวกเขาอยากดื่มน้ำจากแก้วใบไหนและเพราะ เหตุใด บอกเด็กว่าความคิดเราเหมือนแก้ว และเราควร ใส่แต่สิ่งที่สะอาดและดีงามไว้ในความคิดของเรา เขียน ประโยคต่อไปนี้บนกระดาน และให้เด็กพูดพร้อมกับท่าน “การอ่าน ดู และฟังสิ่งที่ดีงามจะทำให้ความคิดของฉัน สะอาด” ท่านอาจสอนเด็กทำท่ามือง่ายๆ เพื่อช่วยให้พวก เขาจำประโยคได้ ตัวอย่างเช่น สำหรับคำว่า อ่าน ให้ยื่น มือออกมาคล้ายกับกำลังถือหนังสือ; สำหรับคำว่า ดู ให้ ชี้ที่ตาของท่าน สำหรับคำว่า ฟัง ให้เอามือป้องหู และสำหรับคำว่า ความคิด ให้ชี้ที่หน้าผาก ทวนประโยคหลายๆ ครั้งโดยใช้ท่าทางแทนคำพูด
ส่งเสริมความเข้าใจ (เล่นเกมและร้องเพลง): ให้เด็กดู ภาพพระเยซูคริสต์กับเด็กๆ สักสองสามวินาที ปิดภาพ นั้นและให้เด็กบอกรายละเอียดเท่าที่พวกเขาจำได้ ช่วย ให้เด็กเข้าใจว่าเราจำสิ่งที่เราเห็น อธิบายว่าเมื่อเราเติม ความคิดด้วยสิ่งดีงามเราจะคิดแต่เรื่องดีงาม ให้ดูภาพ อีกครั้ง และให้เด็กร้องเพลง “ฉันรู้สึกถึงความรักของพระ ผู้ช่วย” (พด หน้า 42–43) ให้เด็กบอกว่าเพลงนี้ทำให้พวก เขารู้สึกอย่างไร อธิบายว่าการฟังเพลงที่ดีจะช่วยให้เรารู้สึก ถึงพระวิญญาณและรักษาความคิดเราให้สะอาด