พฤศจิกายน
ความคารวะคือความรักและ ความเคารพพระผู้เป็นเจ้า
“จงรักพระองค์ผู้เป็นพระเจ้าของเจ้าด้วยสุดใจสุดจิตของเจ้า และด้วยสิ้นสุดความคิดของเจ้า” (มัทธิว 22:37)
เสริมแนวคิดที่ให้ไว้ด้วยแนวคิดบางอย่างของท่านเอง วางแผนวิธีระบุหลักคำสอน ช่วยให้เด็กๆ เข้าใจ และประยุกต์ใช้ในชีวิต ถามตัวท่านว่า “เด็กต้องทำอะไรจึงจะเรียนรู้ และฉันจะช่วยให้พวกเขารู้สึกถึงพระวิญญาณได้อย่างไร”
สัปดาห์ 1: ความคารวะคือความรักและความเคารพพระผู้เป็นเจ้า
ระบุหลักคำสอน (ดูรูปและเล่นเกม): ให้ดูภาพเด็กสวด อ้อนวอน และอธิบายว่าเด็กกำลังแสดงความรักและ ความเคารพต่อพระผู้เป็นเจ้า บอกเด็กว่าท่านกำลังนึกถึง คำที่มีตัวอักษรเก้าตัวที่หมายถึงความรักและความเคารพ พระผู้เป็นเจ้า ขีดเส้นสั้นๆ เก้าขีดบนกระดาน หนึ่งขีดสำหรับหนึ่งตัวอักษรของคำว่า ความคารวะ และให้เด็กทาย ตัวอักษร เมื่อพวกเขาทายถูกให้เขียนตัวอักษรนั้นลงใน ช่องที่ถูกต้อง ท่านอาจต้องการให้เด็กโตช่วยท่าน สำหรับ เด็กเล็กให้ดูภาพและถามว่าพวกเขารู้ได้อย่างไรว่าเด็ก กำลังแสดงความคารวะ ให้เด็กพูดพร้อมกันว่า “ความ คารวะคือความรักและความเคารพพระผู้เป็นเจ้า
ส่งเสริมความเข้าใจ (อ่านพระคัมภีร์และร้องเพลง): ให้ เด็กเปิดพระคัมภีร์อ่าน ยอห์น 14:15 (ถ้าเด็กท่องจำข้อนี้ เมื่อปีที่แล้ว ท่านอาจจะให้พวกเขาท่องออกมา) ถามเด็ก ว่าเราแสดงความรักต่อพระเยซูคริสต์อย่างไร ร้องเพลง “ความคารวะคือความรัก” (พด.หน้า 12) ให้เด็กวางมือทาบ ตรงหัวใจเมื่อได้ยินคำว่า “ความคารวะ” หรือ “คารวะ”
ส่งเสริมการประยุกต์ใช้ (สนทนาเรื่องความคารวะ): แบ่ง เด็กออกเป็นกลุ่มเล็กๆ และให้เด็กสนทนาถึงวิธีที่พวกเขา จะแสดงความคารวะต่อพระบิดาบนสวรรค์และพระเยซู คริสต์ในสถานการณ์ใดสถานการณ์หนึ่งต่อไปนี้: เมื่อพวก เขาอยู่ที่โบสถ์ เมื่อสวดอ้อนวอน เมื่ออยู่ที่บ้านหรืออยู่กับ เพื่อน เด็กเล็กอาจวาดรูปสิ่งที่พวกเขาทำได้ ให้เด็กบาง คนแบ่งปันแนวคิดกับคนทั้งกลุ่ม กระตุ้นพวกเขาให้แบ่ง ปันแนวคิดกับครอบครัวที่บ้าน
สัปดาห์ 2: ความคารวะระหว่างศีลระลึกช่วยให้ฉันระลึกถึงพระเยซูคริสต์
ส่งเสริมความเข้าใจและการประยุกต์ใช้ (เรียนรู้เกี่ยว กับศีลระลึก): เชิญอธิการหรือประธานสาขาและผู้ดำรง ฐานะปุโรหิตแห่งอาโรนสองสามคนมาสอนเด็กเกี่ยวกับ ศีลระลึก หากอยู่ในวิสัยที่ทำได้ท่านอาจขอให้พวกเขาพา เด็กเข้าไปในห้องนมัสการและสอนว่าศีลระลึกเป็นสัญลักษณ์ของอะไรและให้ดูโต๊ะศีลระลึก ที่คุกเข่าสวดอ้อน วอน และผ้าที่ใช้คลุมศีลระลึก เชิญผู้ดำรงฐานะปุโรหิต แห่งอาโรนอีกคนหนึ่งอธิบายว่าเขาทำอะไรเพื่อส่งผ่าน ศีลระลึกในแต่ละสัปดาห์ไปยังผู้เข้าร่วมประชุมและ เหตุใดการทำเช่นนี้จึงเป็นสิทธิพิเศษอันศักดิ์สิทธิ์ ถาม เด็กว่าผู้ดำรงฐานะปุโรหิตทำอะไรบ้างที่แสดงถึงความ คารวะต่อพระผู้เป็นเจ้าเมื่อพวกเขาให้พรศีลระลึก (คุก เข่าสวดอ้อนวอน คลุมศีลระลึกด้วยผ้าขาว แต่งกายและ ปฏิบัติศีลระลึกด้วยความคารวะ) ให้เด็กบอกว่าพวกเขา ทำอะไรได้บ้างเพื่อแสดงความคารวะต่อพระเยซูคริสต์ ระหว่างการปฏิบัติศีลระลึก
สัปดาห์ 3: ฉันจะแสดงความคารวะต่อสถานที่ศักดิ์สิทธิ์และสิ่งศักดิ์สิทธิ์
ระบุหลักคำสอน (มีส่วนร่วมในบทเรียนที่ใช้อุปกรณ์จริง): เขียนบนกระดานว่า “ฉันสามารถแสดงความคารวะต่อ สถานที่ศักดิ์สิทธิ์และสิ่งศักดิ์สิทธิ์” ให้เด็กคนหนึ่งอ่านให้ ปฐมวัยทุกคนฟัง ขอให้เด็กหลับตาและยก มือถ้าพวกเขาได้ยินท่านทำเหรียญหรือ กระดุมตก บอกเด็กว่าอาคารศาสนจักร เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ การนั่งนิ่งๆ และ ตั้งใจฟังเป็นวิธีหนึ่งที่เราจะแสดงความ คาระของเรา ให้เด็กบอกอีกหลายๆ อย่างที่ พวกเขาทำได้ในอาคารศาสนจักรเพื่อแสดงความคารวะ
ส่งเสริมความเข้าใจ (ฟังเรื่องราวพระคัมภีร์): ให้ดูภาพ โมเสสและพุ่มไม้ที่ลุกไหม้ เล่าเรื่องราวที่พบใน อพยพ 3:1–10 อ่านออกเสียงข้อ 5 ให้เด็กๆ ฟังว่าเหตุใดพระเจ้า ทรงขอให้โมเสสถอดรองเท้า อธิบายว่าเราไม่ต้องถอด รองเท้าเพื่อแสดงความคารวะ แต่มีหลายอย่างที่เราทำได้ เพื่อแสดงความคารวะต่อสถานที่ศักดิ์สิทธิ์และสิ่งศักดิ์สิทธิ์
ส่งเสริมการประยุกต์ใช้ (เล่นเกม): ให้ดูภาพบางภาพ ต่อไปนี้: พระวิหารหรืออาคารศาสนจักร บ้าน ครอบครัว คนกำลังสวดอ้อนวอน เด็กคนหนึ่ง พระคัมภีร์ เด็กกลุ่ม หนึ่ง ชั้นเรียนปฐมวัย และศีลระลึก กางผ้าผืนใหญ่บังภาพ ทั้งหมดและดึงภาพใบหนึ่งออกไป วางผ้าที่บังไว้และให้ เด็กบอกว่าภาพใดหายไป ให้ดูภาพที่หายไปและขอให้เด็ก บอกวิธีที่พวกเขาจะแสดงความคารวะหรือความเคารพ ต่อสถานที่หรือสิ่งที่อยู่ในภาพ ทำซ้ำกับภาพอื่นๆ
สัปดาห์ 4: ความคารวะต่อพระผู้เป็นเจ้าช่วยให้ฉันเคารพและรักผู้อื่น
ส่งเสริมความเข้าใจ (ร้องเพลง): ร้องเพลงต่อไปนี้ หลัง จากร้องแต่ละเพลงจบให้สนทนาคำถามที่ให้มาสำหรับ เพลงนั้นๆ
-
“ความคารวะคือความรัก” (พด. หน้า 12) ทวนบรรทัด ที่กล่าวว่า “เมื่อฉันคารวะทั้งวาจาและการกระทำ” ถามว่า: คำหรือวลีใดบ้างที่แสดงถึงความเคารพต่อ พระบิดาบนสวรรค์หรือผู้อื่น เราทำอะไรได้บ้างเพื่อ แสดงความเคารพต่อผู้อื่น
-
“ความเมตตาเริ่มที่เรา” (พด. หน้า 83) ถามว่า: เราจะแสดงความเมตตาต่อเพื่อนๆ ของเราได้อย่างไร บ้าง
-
“ฉันเดินกับเธอ” (พด. หน้า 78–79) ถามว่า: ใครต้อง การความเมตตาจากเราบ้าง เราจะแสดงความเมตตา ต่อพวกเขาได้อย่างไร