รากฐานของฉัน: แสวงหาการเรียนรู้—ใช้เวลาไม่เกิน 20 นาที
-
ไตร่ตรอง:การเรียนรู้สร้างโอกาสอย่างไร
-
ดูวีดิทัศน์:“Education for a Better Life” มีอยู่ที่ srs.lds.org/videos (ถ้าดูวีดิทัศน์ไม่ได้ ให้อ่าน หน้า 165)
การศึกษาเพื่อชีวิตที่ดีขึ้น
หากท่านไม่สามารถดูวีดิทัศน์ได้ ให้อ่านบทพูดนี้
เอ็ลเดอร์โจเซฟ ดับเบิลยู. ซิตาติ: เมื่ออายุ 13 ปีข้าพเจ้าอาศัยอยู่ในเขตชนบทของเคนยา ผู้คนมีทรัพย์สมบัติน้อยมาก แต่คนที่ดูเหมือนจะสามารถซื้อสิ่งที่คนอื่นชื่นชมได้คือคนมีการศึกษาดี ข้าพเจ้าเห็นว่าการศึกษาเป็นกุญแจไขชีวิตให้ดีขึ้น
ความคิดนี้พร่ำบอกข้าพเจ้าให้ไปพูดกับครูใหญ่ของโรงเรียนหนึ่งที่ข้าพเจ้าปรารถนาจะเข้าเรียนมาก ข้าพเจ้าต้องใช้จักรยานของคุณพ่อปั่นไปครึ่งวัน ข้าพเจ้าไม่เคยออกนอกหมู่บ้านมาก่อน ข้าพเจ้าพูดภาษาอังกฤษไม่เก่ง และครูใหญ่คนนี้เป็นคนผิวขาว ข้าพเจ้าไม่เคยพบหรือพูดคุยกับคนผิวขาวมาก่อน นี่จึงเป็นความคิดที่น่าหวั่นใจ
บางอย่างในตัวข้าพเจ้าคอยผลักดันและพร่ำบอกข้าพเจ้าว่าควรทำสิ่งนี้ ด้วยเหตุนี้ข้าพเจ้าจึงไปพบครูใหญ่ ขณะมองดูเขา ข้าพเจ้าเห็นได้ว่าเขาประหลาดใจมากทีเดียวที่เห็นเด็กผู้ชายคนนี้ยืนเหมือนทหารตรงหน้าเขา เขามีแววตาใจดี จึงทำให้ข้าพเจ้ากล้าพูด ข้าพเจ้าบอกเขาว่าข้าพเจ้าต้องการเข้าโรงเรียนนี้จริงๆ และจะมีความสุขมากถ้าเขารับข้าพเจ้า เขาพูดต่อจากนั้นว่า “รอให้ผลสอบออกมาก่อน” ข้าพเจ้าพูดว่า “ขอบคุณครับ” ในเวลาไม่ถึงสี่นาทีข้าพเจ้าออกจากห้องทำงาน
สี่นาทีนั้นในห้องทำงานของเขาเป็นช่วงเวลาสำคัญที่กำหนดชีวิตข้าพเจ้า ข้าพเจ้าเป็นนักเรียนคนเดียวจากโรงเรียนประถมของข้าพเจ้าที่ได้รับคัดเลือกให้เข้าโรงเรียนดีที่สุดแห่งหนึ่งในย่านนั้น ข้าพเจ้าสำนึกคุณที่ชายแสนดีคนนี้ให้โอกาสข้าพเจ้า และโอกาสนั้นผลักดันให้ข้าพเจ้าพยายามเป็นนักเรียนที่ดีที่สุดในชั้น
เปิดโอกาสใหม่ๆ ให้ข้าพเจ้าได้ไปโรงเรียนที่ดีอีกแห่งหนึ่ง และจากนั้นก็เตรียมเข้ามหาวิทยาลัย การศึกษาของข้าพเจ้าเปิดทางให้ข้าพเจ้าได้พบภรรยาที่มหาวิทยาลัย เปิดทางให้ข้าพเจ้าได้งานในเมือง ขณะอยู่ในเมืองไนโรบี เราบังเอิญพบผู้สอนศาสนาสามีภรรยาผู้เชิญเราไปบ้านของพวกเขาและพวกเขากำลังพบปะพูดคุยกับผู้เป็นสมาชิกของศาสนจักร ถ้าข้าพเจ้าไม่ได้อยู่ที่ไนโรบีในครั้งนั้น ข้าพเจ้าคงไม่มีวันพบพระกิตติคุณ การที่ข้าพเจ้ามีงานอาชีพมั่นคงเปิดทางให้ข้าพเจ้าได้รับใช้ในศาสนจักร
ข้าพเจ้าเป็นพยานว่าการศึกษาเป็นกุญแจสู่การพึ่งพาตนเอง จะเปิดช่องทางมากมายให้ท่านได้เลี้ยงดูตนเองทางโลกและพึ่งพาตนเองทางวิญญาณเช่นกัน
กลับไป หน้า 162
-
สนทนา:เอ็ลเดอร์โจเซฟ ดับเบิลยู. ซิตาติต้องการอะไรเมื่อท่านอายุ 13 ปี ท่านทำอะไรกับความต้องการนี้
-
อ่าน:หลักคำสอนและพันธสัญญา 88:118–119 และคำพูดอ้างอิงของประธานกอร์ดอน บี. ฮิงค์ลีย์ (ด้านขวา)
-
ไตร่ตรอง:ท่านได้ความคิดและความประทับใจอะไรบ้างจากพระวิญญาณบริสุทธิ์เกี่ยวกับการปรับปรุงชีวิตท่าน
-
ให้คำมั่นสัญญา:ให้คำมั่นสัญญาว่าจะทำสิ่งต่อไปนี้ระหว่างสัปดาห์นี้ ทำเครื่องหมายในช่องสี่เหลี่ยมเมื่อท่านทำแต่ละข้อครบถ้วน
-
ทำเป้าหมายและกิจกรรมครูพี่เลี้ยงต่อไปนี้ให้ครบถ้วน
-
เขียนแผน “พันธกิจของชีวิต” ให้จบและสนทนากับครอบครัวท่าน
-
ขอให้บางคนเป็นครูพี่เลี้ยงของท่านและกำหนดเวลาพบกัน
-
กิจกรรม—ตั้งเป้าหมาย
ขั้นตอนที่ 1: อ่านคำพูดของประธานฮาเวิร์ด ดับเบิลยู. ฮันเตอร์ (ด้านขวา) ความหวังของเราเปลี่ยนเป็นการกระทำเมื่อเรามีเป้าหมาย
“นี่คือพระกิตติคุณแห่งการกลับใจ และเราต้องกลับใจและแก้ไข แน่นอนว่า กระบวนการกลับใจ การให้คำมั่นสัญญา และการตั้งเป้าหมายควรเป็นกระบวนการต่อเนื่อง … ข้าพเจ้าแนะนำให้ท่านฝึกกระบวนการนี้”
Howard W. Hunter, “The Dauntless Spirit of Resolution” (Brigham Young University devotional, Jan. 5, 1992), 2, speeches.byu.edu
เป้าหมายควรเป็นดังนี้:
-
เฉพาะเจาะจงและวัดได้
-
จดและวางไว้ให้ท่านมองเห็นอย่างน้อยทุกวัน
-
กำหนดเวลาแล้วเสร็จ
-
ระบุสิ่งที่จะทำเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย
-
ทบทวน รายงาน และอัปเดตสม่ำเสมอ
ขั้นตอนที่ 2: เขียนเป้าหมายสองหรือสามข้อที่จะช่วยให้ท่านบรรลุพันธกิจของชีวิตท่านลงในกระดาษอีกแผ่นหนึ่ง ทำตามตัวอย่างด้านล่าง วางกระดาษไว้ให้ท่านมองเห็นได้ทุกวัน
เป้าหมาย |
เพราะเหตุใด |
ระบุขั้นตอนที่จะทำให้บรรลุเป้าหมาย |
กำหนดเวลา |
ฉันจะรายงานความก้าวหน้าของฉันต่อใคร |
---|---|---|---|---|
ตัวอย่าง: อ่านพระคัมภีร์มอรมอนวันละ 30 นาที |
เพื่อให้ฉันได้รับการนำทางทุกวันจากพระวิญญาณบริสุทธิ์ |
1. ตื่น 6:30 น.ทุกวัน 2. อ่านก่อนอาหารเช้า 3. บันทึกความก้าวหน้าของฉันบนแผนภูมิ |
ฉันจะประเมินความก้าวหน้าทุกคืนก่อนเข้านอน |
ฉันจะให้สมาชิกครอบครัวดูแผนภูมิความก้าวหน้าของฉันทุกวันอาทิตย์ |
กิจกรรม—หาครูพี่เลี้ยง
ขั้นตอนที่ 1: อ่านคำพูดจากเอ็ลเดอร์โรเบิร์ต ดี. เฮลส์ (ด้านขวา) มีครูพี่เลี้ยงหลายแบบ ท่านอาจต้องการครูพี่เลี้ยงที่มีประสบการณ์มากมาตอบคำถามของท่าน—คนที่เคยทำสิ่งที่ท่านต้องการทำ ครูพี่เลี้ยงคนอื่นๆ สามารถเป็นเพื่อนหรือสมาชิกครอบครัวที่ชอบธรรม คนเหล่านี้เต็มใจใช้เวลากระตุ้นท่านมากขึ้นให้ทำการเปลี่ยนแปลงในชีวิตและรับผิดชอบความก้าวหน้าของท่านเอง
“สมัยที่ข้าพเจ้าเป็นหนุ่ม ข้าพเจ้าขอคำแนะนำจากพ่อแม่และผู้ให้คำปรึกษาที่ซื่อสัตย์ไว้ใจได้ คนหนึ่งคือผู้นำฐานะปุโรหิต อีกคนหนึ่งคือครูที่เชื่อใจข้าพเจ้า … จงสวดอ้อนวอนเลือกครูพี่เลี้ยงที่ใส่ใจความผาสุกทางวิญญาณของท่าน”
โรเบิร์ต ดี. เฮลส์, “เผชิญความท้าทายของโลกทุกวันนี้,” เลียโฮนา, พ.ย. 2015, 46
ขั้นตอนที่ 2: นึกถึงรูปแบบความช่วยเหลือที่ท่านต้องการ เขียนรายชื่อคนที่อาจจะเป็นครูพี่เลี้ยงของท่านได้ ไตร่ตรองและสวดอ้อนวอนเกี่ยวกับรายชื่อของท่าน
ขั้นตอนที่ 3: ตอบคำถามต่อไปนี้เพื่อเริ่มผูกสัมพันธ์กับครูพี่เลี้ยง เพื่อเชิญคนมาเป็นครูพี่เลี้ยงของท่าน ท่านอาจจะถามตรงๆ ว่า “ฉันกำลังพยายามทำการเปลี่ยนแปลงในชีวิต คุณยินดีจะช่วยฉันไหม”
ครูพี่เลี้ยงของฉัน |
---|
ท่านอยากให้ใครเป็นครูพี่เลี้ยงของท่าน |
ท่านจะขอให้เขาเป็นครูพี่เลี้ยงของท่านเมื่อใด |
ท่านจะพบเขาได้เมื่อใดเพื่อบอก “พันธกิจของชีวิต” และเป้าหมายของท่าน |
ท่านอยากจะพบปะพูดคุยกับครูพี่เลี้ยงของท่านบ่อยเพียงใด |
ขั้นตอนที่ 4: พึงจดจำว่าท่านต้องรับผิดชอบ “พันธกิจของชีวิต” ท่านเอง เมื่อท่านพบปะพูดคุยกับครูพี่เลี้ยงของท่านให้ทำดังนี้:
-
ทบทวนความก้าวหน้าของท่าน
-
ทบทวนอุปสรรคขัดขวางความก้าวหน้าของท่านและสิ่งที่ท่านทำอยู่เพื่อเอาชนะอุปสรรคเหล่านั้น
-
ทบทวนเฉพาะสิ่งที่ท่านวางแผนจะทำก่อนท่านพบปะพูดคุยกับครูพี่เลี้ยงของท่านอีกครั้ง