เรียนรู้—ใช้เวลาไม่เกิน 45 นาที
1: ทำงานและรับผิดชอบ
-
อ่าน:เมื่อทรงขอให้อาดัมกับเอวาออกจากสวนเอเดน พระผู้เป็นเจ้าตรัสว่า “เจ้าจะต้องหากินด้วยเหงื่ออาบหน้า จนเจ้ากลับไปเป็นดิน” (ปฐมกาล 3:19) ถึงแม้พระเจ้าทรงปรารถนาจะจัดหาทุกสิ่งทุกอย่างที่เราต้องการทางโลก แต่พระองค์ทรงคาดหวังให้เราทำงานทุ่มเทและรับผิดชอบความต้องการของเราเอง สังเกตว่าผนังด้านหนึ่งบนแผนที่ความสำเร็จด้านการพิทักษ์การเงิน (ดู หน้า 8) คือ “การทำงาน” การพึ่งพาตนเองทางโลกเรียกร้องให้ทำงานทุ่มเทและขยันหมั่นเพียรอย่างต่อเนื่อง
ประธานดีเทอร์ เอฟ. อุคท์ดอร์ฟสอนว่า “พระเจ้าไม่ทรงคาดหวังให้เราทำงานหนักเกินกว่าที่เราจะทำได้ พระองค์ไม่ทรง (หรือเราไม่ควร) เปรียบเทียบผลงานของเรากับผู้อื่น พระบิดาบนสวรรค์ทรงขอให้เราทำสุดความสามารถเท่านั้น … งานเป็นยาต้านความวิตกกังวล เป็นยาบรรเทาความทุกข์ระทม และเป็นประตูสู่โอกาส เมื่อเกวียนของเราติดหล่ม พระผู้เป็นเจ้าทรงไปช่วยคนที่ออกมาดันเกวียนมากกว่าคนที่เปล่งเสียงสวดอ้อนวอนเพียงอย่างเดียว—ไม่ว่าจะสวดอ้อนวอนน่าฟังเพียงใดก็ตาม” (ดู “หลักธรรมสองข้อสำหรับเศรษฐกิจ,” เลียโฮนา, พ.ย. 2009, 69–70)
-
สนทนา:นึกถึงตัวอย่างของคนทำงานทุ่มเทในชีวิตท่าน คนเหล่านี้มีคุณลักษณะอะไรเหมือนกัน
เราต้องขจัดการพึ่งพาผู้อื่นทางโลก
-
อ่าน:ประธานสเป็นเซอร์ ดับเบิลยู. คิมบัลล์สอนว่า “ความรับผิดชอบต่อความผาสุกทางสังคม อารมณ์ วิญญาณ ร่างกาย หรือเศรษฐกิจของแต่ละบุคคลตกอยู่กับตัวเขาเป็นอันดับแรก อันดับสองคือครอบครัว และอันดับสามคือศาสนจักรถ้าเขาเป็นสมาชิกที่ซื่อสัตย์” ไม่มีวิสุทธิชนยุคสุดท้ายที่แท้จริงคนใดมีเจตนาปัดภาระในการดูแลความผาสุกของตนเองหรือครอบครัวไปให้ผู้อื่นทั้งที่สภาพร่างกายหรืออารมณ์สมบูรณ์ดี ตราบที่เขาทำได้ ภายใต้การดลใจของพระเจ้าและด้วยการทำงานของเขา เขาจะจัดหาสิ่งจำเป็นของชีวิตทั้งทางโลกและทางวิญญาณให้ตนเองและครอบครัว” (คำสอนของประธานศาสนาจักร: สเป็นเซอร์ ดับเบิลยู. คิมบัลล์ [2006], 125)
เอ็ลเดอร์เดล จี. เรนลันด์สอนโดยอ้างคำพูดของเอ็ลเดอร์วิลฟอร์ด ดับเบิลยู. แอนเดอร์เซ็นว่า “ระหว่างผู้ให้กับผู้รับ ช่องว่างยิ่งห่าง ผู้รับยิ่งอ้างสิทธิ์โดยชอบธรรม” (“เพื่อเราจะดึงมนุษย์ทั้งปวงมาหาเรา,” เลียโฮนา, พ.ค. 2016, 39) สิทธิ์โดยชอบธรรมคือความรู้สึกว่าท่านสมควรได้บางสิ่งโดยไม่ได้ทำให้สมกับที่ควรได้รับ ตรงข้ามกับความรับผิดชอบ เมื่อท่านรู้สึกว่าตนมีสิทธิ์รับพรทางโลก พระวิญญาณย่อมถอนไปจากชีวิตท่าน เมื่อท่านเข้าใกล้พระคริสต์มากขึ้น ความรู้สึกรับผิดชอบต่อสวัสดิภาพของท่านเองจะเต็มหัวใจท่าน และความรู้สึกว่าตนมีสิทธิ์โดยชอบธรรมจะค่อยๆ ลดลง
-
- สนทนา:
-
การพึ่งพาผู้อื่นจะจำกัดการเติบโตของตัวเราได้อย่างไร◦
-
เหตุใดจึงสำคัญที่ต้องไม่พึ่งรัฐบาลหรือโปรแกรมทางสังคม
-
มีความเสี่ยงอะไรอีกบ้างเกี่ยวกับการพึ่งพาผู้อื่น รวมทั้งครอบครัว สำหรับความจำเป็นส่วนตัวของเรา
-
2. ช่วยกันบริหารเงิน
-
ไตร่ตรอง:การเงินของท่านส่งผลต่อท่านทางวิญญาณและทางอารมณ์อย่างไร
-
อ่าน:เครื่องมือที่แพร่หลายและทรงพลังที่สุดอย่างหนึ่งที่ซาตานใช้ทำลายครอบครัวคือความประมาทด้านการเงินและความเครียดที่ตามมา เพราะครอบครัวเป็นศูนย์กลางในแผนของพระบิดาบนสวรรค์ (ดู ครอบครัว: ถ้อยแถลงต่อโลก) จึงสำคัญที่เราต้องหลีกเลี่ยงการโยนความผิด ความไม่เชื่อใจ และความโกรธในบ้านของเรา ไม่ว่าท่านแต่งงานหรือเป็นโสด การพิทักษ์เงินอย่างฉลาดจะทำให้บุคคลที่ท่านรักสนิทกันและสนิทกับพระผู้เป็นเจ้ามากขึ้น สามารถเป็นเครื่องคุ้มกันความชั่ว สุดท้ายแล้วแนวทางพิทักษ์เงินแบบครบวงจรจะทำให้เกิดความสำนึกคุณ ความสามัคคีปรองดอง และความสงบสุข
-
สนทนา:เหตุใดจึงสำคัญที่คู่สามีภรรยาจะเป็นหนึ่งเดียวกันเรื่องเงิน
-
อ่าน:คู่สามีภรรยามักจะมาจากพื้นเพทางวัฒนธรรม เศรษฐกิจ และศาสนาต่างกัน พวกเขาอาจมีประเพณี วิธีเลี้ยงดูบุตร และนิสัยการใช้จ่ายต่างกัน ฝ่ายหนึ่งอาจชอบบันทึกรายจ่ายและทำตามงบประมาณจนเป็นนิสัย และอีกฝ่ายอาจพบว่าน่าเบื่อและเป็นภาระ นี่อาจจุดชนวนความขัดแย้งขึ้นได้ แต่การยอมรับความแตกต่างของกันและกัน ฟังกันด้วยความรักและความอ่อนน้อมถ่อมตนจะส่งเสริมสภาพแวดล้อมของความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ถ้าท่านเป็นโสด สำคัญที่ต้องซื่อสัตย์ต่อตนเองและให้พระเจ้ามีส่วนในการตัดสินใจเรื่องเงินของท่าน
หลายคู่เชื่อว่าวิธีแก้ปัญหาการเงินของพวกเขาคือเพิ่มรายได้ แต่แนวทางบริหารเงินที่ต่างกันจะทำลายความสัมพันธ์ได้มากกว่ารายได้น้อยหรือขาดแคลนทุนทรัพย์
-
สนทนา:ความไม่ลงรอยเรื่องเงินจะส่งผลเสียมากกว่ารายได้น้อยหรือขาดแคลนทุนทรัพย์ได้อย่างไร
-
อ่าน:เอ็ลเดอร์มาร์วิน เจ. แอชตันสอนว่า “สามีภรรยาควรบริหารการเงินในครอบครัวร่วมกันด้วยความตรงไปตรงมาและความไว้วางใจ การที่ฝ่ายหนึ่งกุมเงินไว้เสมือนเป็นแหล่งพลังอำนาจย่อมก่อให้เกิดความไม่เสมอภาคในชีวิตสมรสและไม่เหมาะสม ในทางกลับกัน ถ้าคู่สมรสคู่ใดสมัครใจไม่ยุ่งเกี่ยวกับการบริหารเงินของครอบครัวโดยปล่อยให้เป็นหน้าที่ของอีกฝ่ายหนึ่ง ถือว่าคนนั้นละทิ้งความรับผิดชอบ” (One for the Money: Guide to Family Finance [จุลสาร], 2006, 3)
-
สนทนา:ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันกับคู่สมรสของท่านจะเปลี่ยนชีวิตท่านอย่างไร
การพิทักษ์การเงินอย่างฉลาดเตรียมเราให้พร้อมแต่งงาน
-
อ่าน:ไม่ว่าท่านกำลังเตรียมแต่งงานหรือเป็นโสด หย่าร้าง หรือเป็นม่าย การพิทักษ์การเงินอย่างฉลาดจะช่วยให้ท่านพร้อมสำหรับความสัมพันธ์ในอนาคต คู่แต่งงานใหม่หลายคู่มีภาระหนี้สินและนำเอานิสัยการใช้จ่ายที่ไม่ดีเข้ามาในความสัมพันธ์ เป็นเหตุให้ชีวิตแต่งงานมีปัญหาตั้งแต่ต้น การพยายามพัฒนานิสัยการใช้จ่ายที่ดี ออมเงินมากขึ้น และลดหรือล้างหนี้จะอัญเชิญพระวิญญาณเข้ามาในความสัมพันธ์ของท่านและสร้างฐานมั่นให้ชีวิตแต่งงานที่ประสบความสำเร็จ
-
สนทนา:การเป็นผู้พิทักษ์การเงินที่ฉลาดตอนนี้จะช่วยท่านเตรียมเป็นคู่ครองที่ดีขึ้นในอนาคตได้อย่างไร
3. จัดสภาครอบครัวเป็นประจำ
-
อ่าน:สัปดาห์ที่แล้วเราสนทนาความสำคัญของการปรึกษาพระเจ้า พระองค์ทรงต้องการให้ท่านประสบความสำเร็จ นอกจากการปรึกษาพระเจ้าแล้ว ศาสดาพยากรณ์ยังได้สอนความสำคัญของการจัดสภาครอบครัวเป็นประจำเช่นกัน
-
ดูวีดิทัศน์:“Family Councils” มีอยู่ที่ srs.lds.org/videos (ถ้าดูวีดิทัศน์ไม่ได้ ให้อ่าน หน้า 31)
-
สนทนา:การจัดสภาครอบครัวจะมีประโยชน์ต่อท่านและครอบครัวท่านอย่างไร
สนทนาเรื่องการพิทักษ์การเงินในสภาครอบครัวของท่าน
-
อ่าน:สภาครอบครัวที่จัดเป็นประจำระหว่างสามีภรรยาเป็นสภาวะแวดล้อมที่เหมาะจะสนทนาเรื่องการพิทักษ์การเงิน ถ้าท่านเป็นโสด จงเลือกบิดาหรือมารดาหรือสมาชิกครอบครัว เพื่อนร่วมห้อง พี่เลี้ยง หรือเพื่อนคนหนึ่ง และจัดสภาอย่างซื่อสัตย์เป็นประจำกับคนนั้นเกี่ยวกับการเงินของท่าน ถ้าท่านแต่งงานแล้ว ท่านอาจจะต้องมีการสนทนาหลายครั้งกับคู่สมรสตลอดหลักสูตรนี้ หลังจากจบหลักสูตรนี้ การจัดสภาครอบครัวเป็นประจำจะช่วยให้ท่านเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันมากขึ้นและพึ่งพาตนเองมากขึ้นต่อไป
คำมั่นสัญญาข้อหนึ่งของท่านสัปดาห์นี้คือกำหนดเวลาจัดสภาครอบครัวเป็นประจำ ท่านควรสนทนาเรื่องการเงินอันเป็นส่วนหนึ่งของสภาครอบครัว ท่านอาจต้องการใช้โครงร่าง “ตัวอย่างการสนทนาในสภาครอบครัว” ในหน้าถัดไปเพื่อเป็นแนวทางของสภาครอบครัวส่วนนี้